คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 143

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามสัญญาอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน: การระบุจำนวนเงินและขอบเขตความรับผิด
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าให้จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 รับผิดชำระหนี้ตามสัญญาขอให้โจทก์อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน (ที่ถูก คือ สัญญาข้อตกลงขอให้ธนาคารเป็นผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน) โดยระบุชื่อสัญญาไม่ถูกต้องและมิได้กล่าวถึง
จำนวนเงินไว้ เป็นการระบุชื่อสัญญาไม่ถูกต้องและกำหนดความรับผิดไว้ไม่ชัดแจ้ง แม้ศาลชั้นต้นจะได้ระบุจำนวนเงินความรับผิดของจำเลยที่ 1 ไว้แล้วก็ตาม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดการบังคับชำระหนี้ตามคำขอท้ายฟ้อง ศาลไม่อาจพิพากษาเกินจำนวนที่ระบุ แม้หนี้จริงจะมากกว่า
แม้หนี้ทั้งห้ารายการ ตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องเป็นเงิน 20,234,177.54 บาท แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเป็นเงินเพียง 12,357,821.97 บาท ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นการคำนวณผิดพลาดก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้ดำเนินการขอแก้ไขคำฟ้องให้ถูกต้อง ถือว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับชำระหนี้ตามจำนวนหนี้ที่ระบุในคำขอท้ายฟ้องดังกล่าว ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 12,357,821.97 บาท เท่าที่ศาลเห็นชัดแจ้งแล้วว่า จำนวนหนี้ในคดีนี้ที่รวมเป็นเงิน 20,234,177.54 บาท แต่ก็ไม่อาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวได้เพราะเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 142 ที่ห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอ จึงเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในกรอบแห่งกระบวนพิจารณามิใช่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่งที่โจทก์จะขอให้แก้ไขได้ แต่โจทก์ชอบที่จะต้องอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ให้สิทธิไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลไม่อนุญาตแก้ไขคำพิพากษาเมื่อโจทก์คำนวณหนี้ผิดพลาดในคำฟ้อง ต้องอุทธรณ์โต้แย้ง
จำนวนหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดตามที่โจทก์บรรยายมาในตอนต้นของคำฟ้องรวมแล้วเป็นเงิน 20,234,177.54 บาท แต่ในตอนท้ายของคำฟ้องโจทก์กลับสรุปว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์รวมเป็นเงิน 12,357,821.97 บาท พร้อมกับมีคำขอบังคับให้ชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการคำนวณผิดพลาด แต่โจทก์ก็มิได้ขอแก้ไขคำฟ้องให้ถูกต้อง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ยอดหนี้ทั้ง 5 รายการ เป็นเงิน 20,234,177.54 บาท แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเป็นเงินเพียง 12,357,821.97 บาท ถือว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับชำระหนี้ตามจำนวนหนี้ที่ระบุในคำขอท้ายฟ้อง และพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 12,357,821.97 บาท นั้น เท่ากับศาลชั้นต้นเห็นแล้วว่าจำนวนหนี้รวมเป็นเงิน 20,234,177.54 บาท แต่ไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวได้ เพราะเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตามมาตรา 142 ที่ห้ามมิให้ศาลพิพากษาเกินคำขอ จึงเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีในกรอบแห่งกระบวนพิจารณา มิใช่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ตามมาตรา 143 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์จะขอให้แก้ไขได้ แต่โจทก์ชอบที่จะต้องอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามที่มาตรา 223 ให้สิทธิไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำพิพากษาข้อผิดหลงเล็กน้อยเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในต้นเงิน 133,186.90 บาท ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2545 ซึ่งไม่ตรงกับที่โจทก์ขอโดยไม่ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาด้วยวาจาเพราะดำเนินคดีอย่างคดีมโนสาเร่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 วรรคท้าย 194,196 เนื้อหาของคำพิพากษาจึงมีเพียงให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์และรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมเท่านั้น แต่การที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงตรงตามคำฟ้องโดยศาลชั้นต้นมิได้รับฟังข้อเท็จจริงแตกต่างจากทางนำสืบของโจทก์ทั้งในคำพิพากษาก็ระบุจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดไม่เกิน 48,159.19 บาท สอดคล้องกับทางนำสืบของโจทก์ จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยเห็นด้วยกับทางนำสืบของโจทก์ทุกประการ เพียงแต่เขียนคำพิพากษาตามรูปแบบของคำพิพากษาด้วยวาจาระบุวันเดือนปีที่คิดดอกเบี้ยผิดพลาดไปจากข้อวินิจฉัย การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขวันเดือนปีที่คิดดอกเบี้ยเป็นวันที่ 29 ตุลาคม 2541 ให้ถูกต้อง จึงเป็นกรณีขอแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยตามมาตรา 143 วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ชอบที่ศาลชั้นต้นจะแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง: คำพิพากษาให้ขนย้ายทรัพย์สินครอบคลุมถึงการรื้อถอน
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท พร้อมส่งมอบคืนให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อย จำเลยทั้งสี่จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการรื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมส่งมอบคืนให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อยตามคำพิพากษาถ้าจำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติ โจทก์ย่อมขอให้บังคับให้ปฏิบัติได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 เบญจ โดยไม่จำต้องยื่นคำร้องขอให้เพิ่มเติมคำว่า "รื้อถอน" ลงในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5346/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งคำร้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาเป็นของศาลฎีกา การวินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
การสั่งคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาซึ่งอ้างว่าเป็นการผิดระเบียบในชั้นฎีกาเป็นอำนาจของศาลฎีกา ที่ศาลแรงงานกลางสั่งยกคำร้องของโจทก์โดยไม่ส่งมาให้ศาลฎีกาสั่ง จึงเป็นการไม่ชอบ และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งในเรื่องดังกล่าวเป็นที่สุด ที่ศาลแรงงานกลางสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบ จึงให้ยกคำสั่งของศาลแรงงานกลางดังกล่าวเสีย และคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้วเห็นสมควรพิจารณาคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบของโจทก์ โดยเห็นว่า คำพิพากษาศาลฎีกาถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านให้คู่ความฟังจะเพิ่มเติมแก้ไขมิได้ เว้นแต่กรณีมีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย คดีนี้ศาลฎีกาพิพากษายกอุทธรณ์โจทก์โดยวินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหมดเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยหรือไม่ อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง จึงไม่รับวินิจฉัย คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงวินิจฉัยครบถ้วนตามประเด็นในอุทธรณ์ของโจทก์แล้วมิได้มีข้อผิดพลาดหรือผิดหลง โจทก์จึงไม่อาจขอให้เพิ่มเติมแก้ไขได้
(คำสั่งคำร้อง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำพิพากษาข้อผิดพลาดเนื้อที่ดิน: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุเนื้อที่ดินแต่ละแปลงของที่ดิน 10 แปลง ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไว้ด้วย ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วมีเนื้อที่เพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ทั้งโจทก์แถลงยอมรับข้อเท็จจริงในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนรวม 10 แปลง มีจำนวนเนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา เช่นเดียวกับสำเนาโฉนดที่ดินที่ถูกเวนคืนรวม 10 ฉบับ ท้ายคำแถลงของจำเลยที่ 1 ซึ่งปรากฏว่าที่ดิน 10 แปลงของโจทก์รวมกันแล้วมีจำนวนเนื้อที่ที่แท้จริงเพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ไม่ใช่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ดังที่โจทก์รวมเนื้อที่ดินไว้ในคำฟ้อง ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับผลรวมของจำนวนเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนและคำขอให้ชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจึงเกิดจากการคำนวณที่ผิดพลาด เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มโดยถือเอาจากจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์รวมผิดพลาดดังกล่าวในฟ้อง จึงมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยซึ่งไม่ใช่ข้อผิดพลาดในสาระสำคัญแม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทรณ์ดังกล่าวจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง เพราะการเพิ่มเติมแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยตามบทกฎหมายดังกล่าวจะกระทำเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความที่เพิ่มภาระหนี้เดิมไม่ได้ แม้จำเลยไม่คัดค้าน
โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคแรก แต่ข้อความที่โจทก์ขอแก้ไขโดยเพิ่มเติมข้อความว่า พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 18.5 ต่อปี จากต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันทำยอมเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ต่อจากข้อความที่ว่า จำเลยยอมรับผิดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน 892,456.72 บาทนั้น เป็นการเพิ่มความรับผิดให้จำเลยต้องรับผิดในส่วนของดอกเบี้ยมากขึ้นกว่าเดิม จึงไม่ใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ แม้จำเลยจะไม่คัดค้าน โจทก์ก็ไม่อาจแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาเพื่อความถูกต้องของต้นเงินคำนวณดอกเบี้ย เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่ศาลทำได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแก้ไขคำพิพากษาในส่วนของจำนวนเงินที่เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามคำร้องของจำเลย เป็นการแก้ไขให้ถูกต้องตรงกับเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาจึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย มิใช่เป็นการทำคำสั่งซึ่งเป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำพิพากษาเรื่องดอกเบี้ยผิดนัด: การแก้ไขต้นเงินคำนวณดอกเบี้ยให้ตรงกับเหตุผลในคำวินิจฉัยศาล ถือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแก้ไขคำพิพากษาตามคำร้องของจำเลยจากการให้จำเลยชำระเงิน 5,267,594.91 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22มีนาคม 2542 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ เป็นให้จำเลยชำระเงิน 5,267,594.91 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 4,627,729.55บาท นับแต่วันที่ 22 มีนาคม 2542 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์นั้น เป็นการแก้ไขเพื่อให้ถูกต้องตรงกับเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาว่าจำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดของต้นเงินค่าสินค้าตามใบแจ้งหนี้แต่ละฉบับ เมื่อคิดถึงวันฟ้องแล้วรวมเป็นเงิน 5,267,594.91 บาท จำนวนเงินดังกล่าวจึงเป็นยอดรวมของค่าสินค้ากับดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดถึงวันฟ้อง ทั้งเมื่อรวมค่าสินค้าตามใบแจ้งหนี้แต่ละฉบับเข้าด้วยกันแล้วจะได้เท่ากับ 4,627,729.55 บาท ตรงกับต้นเงินที่จำเลยต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แก้ไขคำพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง กรณีมิใช่เป็นการทำคำสั่งซึ่งเป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม
of 54