พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5826/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยปริยาย สิทธิเรียกร้องค่าขาดราคา/ค่าขาดประโยชน์เป็นเบี้ยปรับ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาด
ตามสัญญาเช่าซื้อกำหนดให้ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกค่าขาดราคาเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379แต่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยปริยาย ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายตามสัญญาได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์เรียกร้องว่าเป็นเบี้ยปรับที่โจทก์พึงได้รับตามข้อกำหนดแห่งสัญญาเช่าซื้อ แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าสูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดลงโดยวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเป็นเงิน 60,000 บาทแต่ในคำพิพากษาตอนต่อมาเมื่อนำไปรวมกับค่าขาดราคากลับระบุค่าขาดประโยชน์คือ45,000 บาท เห็นได้ชัดว่า จำนวนเงินที่ระบุในตอนหลังนี้พิมพ์ผิดพลาดไป กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 143 เมื่อข้อผิดพลาดเล็กน้อยดังกล่าวปรากฏแก่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขโดยถูกต้องได้ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์และเพิ่งหยิบยกขึ้นในชั้นฎีกาก็ตาม
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์เรียกร้องว่าเป็นเบี้ยปรับที่โจทก์พึงได้รับตามข้อกำหนดแห่งสัญญาเช่าซื้อ แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าสูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดลงโดยวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเป็นเงิน 60,000 บาทแต่ในคำพิพากษาตอนต่อมาเมื่อนำไปรวมกับค่าขาดราคากลับระบุค่าขาดประโยชน์คือ45,000 บาท เห็นได้ชัดว่า จำนวนเงินที่ระบุในตอนหลังนี้พิมพ์ผิดพลาดไป กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 143 เมื่อข้อผิดพลาดเล็กน้อยดังกล่าวปรากฏแก่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขโดยถูกต้องได้ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์และเพิ่งหยิบยกขึ้นในชั้นฎีกาก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประนีประนอมยอมความไม่กระทบความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, แก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้อง
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยอมรับผิดต่อโจทก์เต็มตามฟ้องทุกประการ ทั้งยอดหนี้รวม ยอดหนี้ซึ่งใช้เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยต่อไปตลอดทั้งกำหนดเวลาในการเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยอีก นอกจากนี้การตกลงประนีประนอมยอมความเกิดขึ้นขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณา ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นกรณีที่คู่ความเฉพาะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แสดงเจตนาระงับข้อพิพาทตามฟ้องโดยประสงค์ให้ศาลพิพากษาให้ข้อตกลงดังกล่าวบังเกิดผล จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มิได้มีผลเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมในหนี้เดิม ถือไม่ได้ว่าหนี้เดิมระงับและไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ และการที่โจทก์ตกลงให้เวลา 6 เดือน ในการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นับแต่วันที่ตกลงกัน จำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็ต้องห้ามมิให้อ้างเป็นเหตุปลดเปลื้องความรับผิดดังที่ระบุไว้ใน สัญญาค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาดังกล่าว
ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ จำเลยที่ 1 นำที่ดินมาจำนอง 4 แปลง แต่ในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นระบุที่ดินจำนองตกไป 1 แปลง เป็นข้อผิดหลงเล็กน้อย และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไข ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ จำเลยที่ 1 นำที่ดินมาจำนอง 4 แปลง แต่ในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นระบุที่ดินจำนองตกไป 1 แปลง เป็นข้อผิดหลงเล็กน้อย และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไข ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9314/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลไม่มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาหากพิพากษาไม่ตรงตามคำฟ้อง แม้จะอ้างว่าเป็นความผิดพลาดเล็กน้อย
การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามชำระเงิน 2,973,482 บาท แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงิน 2,927,761 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19ต่อปีของต้นเงิน 2,927,761 บาท และศาลชั้นต้นก็ได้พิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระเงินตามจำนวนในคำท้ายฟ้อง จึงเท่ากับว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระเงินไม่เต็มตามคำฟ้องของโจทก์ เงินที่ขาดไปไม่ใช่เป็นข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143ศาลย่อมไม่มีอำนาจแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9314/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแก้ไขคำพิพากษา: ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ต่ำกว่าคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ แม้ไม่ใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามชำระเงิน 2,973,482 บาท แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินเพียง 2,927,761 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีของต้นเงิน 2,927,761 บาท และศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระเงินตามจำนวนในคำขอท้ายฟ้อง จึงเท่ากับว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระไม่เต็มตามคำฟ้องของโจทก์ เงินที่ขาดไปไม่ใช่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ เมื่อกรณีไม่ใช่เป็นข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยศาลชั้นต้นย่อมไม่มีอำนาจแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9314/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแก้ไขคำพิพากษา ศาลแก้ไขได้เฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย หากพิพากษาไม่ตรงตามคำฟ้องจำนวนมาก ถือมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามชำระเงิน 2,973,482 บาท แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินเพียง 2,927,761 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19ต่อปีของต้นเงิน 2,927,761 บาท และศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระเงินตามจำนวนในคำขอท้ายฟ้อง จึงเท่ากับว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระไม่เต็มตามคำฟ้องของโจทก์ เงินที่ขาดไปไม่ใช่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆเมื่อกรณีไม่ใช่เป็นข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ศาลชั้นต้นย่อมไม่มีอำนาจแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7996/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาให้ชำระราคาที่ดินมรดกที่ถูกขายไปแล้วโดยสุจริต ไม่เกินคำขอเดิม แม้จะมีการแก้ไขเลขที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิรับมรดกของ ส. หนึ่งในสามส่วนของที่ดินมรดก 13 ไร่เศษ ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินมรดกดังกล่าวเป็นมรดกตกทอดมายังโจทก์หนึ่งในสามส่วน และขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนแบ่งแยกให้แก่โจทก์โดยมิได้ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินหรือชดใช้ราคาแทนที่ดิน ข้อเท็จจริงในการพิจารณาได้ความเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินมรดกบางส่วนให้จำเลยที่ 3 ไปแล้วและจำเลยที่ 3 รับโอนโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ดังนี้กรณีจึงไม่อาจเพิกถอนการโอนได้ แต่เงินที่จำเลยที่ 1 รับมาจากการขายที่ดินมรดกเป็นเงินเข้าแทนที่ที่ดินมรดก ถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นมรดกในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 วรรคสองโดยมีส่วนที่โจทก์มีสิทธิได้รับรวมอยู่ด้วย ฉะนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษา ให้จำเลยที่ 1ใช้ราคาที่ดินแก่โจทก์จึงไม่นอกเหนือหรือเกินไปจากคำขอ
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ มิใช่เป็นเรื่องผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลง แต่เป็นเรื่องทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอให้แก้ไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ได้ และการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเลขที่ น.ส.3 ก. จากเลขที่ 3706 และ 3707 ในคำพิพากษาซึ่งพิมพ์ผิดพลาดเป็นเลขที่ 3906 และ 3907 นั้น เมื่อคำพิพากษาไม่มีกรณีจะต้องบังคับเกี่ยวกับที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าว จึงไม่จำเป็นต้องแก้ไข
การที่โจทก์ไม่เห็นด้วยในผลตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โจทก์จะต้องฎีกาคัดค้านเพื่อให้ได้รับผลตามที่ประสงค์ โจทก์ไม่มีสิทธิขอมาในคำร้องหรือคำแก้ฎีกา
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ มิใช่เป็นเรื่องผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลง แต่เป็นเรื่องทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอให้แก้ไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ได้ และการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเลขที่ น.ส.3 ก. จากเลขที่ 3706 และ 3707 ในคำพิพากษาซึ่งพิมพ์ผิดพลาดเป็นเลขที่ 3906 และ 3907 นั้น เมื่อคำพิพากษาไม่มีกรณีจะต้องบังคับเกี่ยวกับที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าว จึงไม่จำเป็นต้องแก้ไข
การที่โจทก์ไม่เห็นด้วยในผลตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โจทก์จะต้องฎีกาคัดค้านเพื่อให้ได้รับผลตามที่ประสงค์ โจทก์ไม่มีสิทธิขอมาในคำร้องหรือคำแก้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7996/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอและผลของการโอนมรดกโดยสุจริต ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิรับมรดกของ ส. หนึ่งในสามส่วนของที่ดินมรดก 13 ไร่เศษ ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกตกทอดมายังโจทก์หนึ่งในสามส่วน และขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามขอถือเอาคำพิพากษาแทน การแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินหรือชดใช้ราคาแทนที่ดินดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินมรดกบางส่วนให้จำเลยที่ 3 แล้ว และจำเลยที่ 3 รับโอนโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต จึงไม่อาจเพิกถอนการโอนได้ ดังนั้นเงินที่จำเลยที่ 1 รับมาจากการขายที่ดินมรดกดังกล่าวจึงเข้าแทนที่ที่ดินมรดก ซึ่งถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นมรดกในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง โดยมีส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับรวมอยู่ด้วย ฉะนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ราคาที่ดินแก่โจทก์จึงไม่นอกเหนือหรือเกินจากคำขอ
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องผิดพลาดเล็กน้อย หรือผิดหลง แต่เป็นเรื่องทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปโจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอให้แก้ไขตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 ได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเลขที่ น.ส. 3 ก. จากเลขที่ 3706 และ 3707 เป็นเลขที่ 3906 และ 3907 ซึ่งในคำพิพากษาได้พิมพ์ผิดพลาดนั้น เมื่อตามคำพิพากษาฎีกาไม่มีกรณีจะต้องบังคับเกี่ยวกับที่ดินทั้งสองแปลง ดังกล่าว การแก้ไขตามคำขอจึงไม่จำเป็น เพราะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่ประการใด
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องผิดพลาดเล็กน้อย หรือผิดหลง แต่เป็นเรื่องทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปโจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอให้แก้ไขตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 ได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเลขที่ น.ส. 3 ก. จากเลขที่ 3706 และ 3707 เป็นเลขที่ 3906 และ 3907 ซึ่งในคำพิพากษาได้พิมพ์ผิดพลาดนั้น เมื่อตามคำพิพากษาฎีกาไม่มีกรณีจะต้องบังคับเกี่ยวกับที่ดินทั้งสองแปลง ดังกล่าว การแก้ไขตามคำขอจึงไม่จำเป็น เพราะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7487/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับดอกเบี้ยผิดนัดสูงเกินควร ศาลมีอำนาจลดอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมตามสภาวะตลาด
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินจากโจทก์โดยมีข้อตกลงว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ที่โจทก์ประกาศภายใต้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด เว้นแต่เมื่อจำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่โจทก์ประกาศกำหนด ภายใต้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว แทนอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ซึ่งขณะทำสัญญาอัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ 15.25, 16.25 ต่อปี และอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไป เสมือนหนึ่งเป็นค่าเสียหายในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระถูกต้องสมควร โจทก์จะเรียกในรูปของดอกเบี้ย ค่าปรับ หรืออย่างอื่นก็ได้ เมื่อมีลักษณะดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า การกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขเป็นเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลอุทธรณ์ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรกำหนดย้อนหลังไปจนถึงวันผิดนัดชำระหนี้ เพื่อให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยน้อยลงโดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ก็ได้ เพราะเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้
การพิจารณาว่าเบี้ยปรับตามสัญญามีอยู่จำนวนเท่าใด จะต้องนำอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดในขณะผิดนัด หักออกด้วยอัตราดอกเบี้ยในขณะที่ไม่ผิดนัด แล้วศาลจึงพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยจากส่วนต่างดังกล่าวข้างต้น
ในการกู้ยืมหรือกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ซึ่งโจทก์ประกาศคิดก่อนปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดในอัตราร้อยละ 15.5 และ 15.75 ต่อปี และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี การที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับ โดยพิพากษาให้จำเลยคงรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาขณะที่ไม่ผิดนัด ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องไปเสียทีเดียว เมื่อพิจารณาสภาวะอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินของประเทศ ประกอบกับทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลฎีกาสมควรลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัด คงเหลือร้อยละ 16 ต่อปี
โจทก์ฟ้องขอบังคับจำนองที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 461 และเลขที่ 2378 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้ตามขอ แต่ในคำพิพากษาได้ระบุหมายเลข น.ส.3 ก.จากเลขที่ 461 เป็นเลขที่462 ซึ่งเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า การกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขเป็นเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลอุทธรณ์ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรกำหนดย้อนหลังไปจนถึงวันผิดนัดชำระหนี้ เพื่อให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยน้อยลงโดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ก็ได้ เพราะเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้
การพิจารณาว่าเบี้ยปรับตามสัญญามีอยู่จำนวนเท่าใด จะต้องนำอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดในขณะผิดนัด หักออกด้วยอัตราดอกเบี้ยในขณะที่ไม่ผิดนัด แล้วศาลจึงพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยจากส่วนต่างดังกล่าวข้างต้น
ในการกู้ยืมหรือกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ซึ่งโจทก์ประกาศคิดก่อนปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดในอัตราร้อยละ 15.5 และ 15.75 ต่อปี และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี การที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับ โดยพิพากษาให้จำเลยคงรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาขณะที่ไม่ผิดนัด ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องไปเสียทีเดียว เมื่อพิจารณาสภาวะอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินของประเทศ ประกอบกับทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลฎีกาสมควรลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัด คงเหลือร้อยละ 16 ต่อปี
โจทก์ฟ้องขอบังคับจำนองที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 461 และเลขที่ 2378 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้ตามขอ แต่ในคำพิพากษาได้ระบุหมายเลข น.ส.3 ก.จากเลขที่ 461 เป็นเลขที่462 ซึ่งเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7487/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญากู้ยืม ศาลมีอำนาจลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดหากสูงเกินส่วน
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินจากโจทก์โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ที่โจทก์ประกาศภายใต้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด เว้นแต่เมื่อจำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่โจทก์ประกาศกำหนด ภายใต้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว แทนอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปซึ่งขณะทำสัญญาอัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ 15.25,16.25 ต่อปี และอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไป เสมือนหนึ่งเป็นค่าเสียหายในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระถูกต้องสมควร โจทก์จะเรียกในรูปของดอกเบี้ย ค่าปรับ หรืออย่างอื่นก็ได้ เมื่อมีลักษณะดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า การกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขเป็นเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลอุทธรณ์ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรกำหนดย้อนหลังไปจนถึงวันผิดนัดชำระหนี้ เพื่อให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยน้อยลงโดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ก็ได้ เพราะเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้
การพิจารณาว่าเบี้ยปรับตามสัญญามีอยู่จำนวนเท่าใด จะต้องนำอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดในขณะผิดนัด หักออกด้วยอัตราดอกเบี้ยในขณะที่ไม่ผิดนัด แล้วศาลจึงพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยจากส่วนต่างดังกล่าวข้างต้น
ในการกู้ยืมหรือกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ซึ่งโจทก์ประกาศคิดก่อนปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดในอัตราร้อยละ 15.5 และ 15.75 ต่อปี และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี การที่ศาลล่างทั้งใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับ โดยพิพากษาให้จำเลยคงรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาขณะที่ไม่ผิดนัด ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องไปเสียทีเดียว เมื่อพิจารณาสภาวะอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินของประเทศ ประกอบกับทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้วศาลฎีกาสมควรลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัด คงเหลือร้อยละ 16 ต่อปี
โจทก์ฟ้องขอบังคับจำนองที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 461 และเลขที่ 2378พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้ตามขอแต่ในคำพิพากษาได้ระบุหมายเลข น.ส.3 ก. จากเลขที่ 461 เป็นเลขที่ 462 ซึ่งเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า การกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขเป็นเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลอุทธรณ์ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรกำหนดย้อนหลังไปจนถึงวันผิดนัดชำระหนี้ เพื่อให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยน้อยลงโดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ก็ได้ เพราะเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้
การพิจารณาว่าเบี้ยปรับตามสัญญามีอยู่จำนวนเท่าใด จะต้องนำอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดในขณะผิดนัด หักออกด้วยอัตราดอกเบี้ยในขณะที่ไม่ผิดนัด แล้วศาลจึงพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยจากส่วนต่างดังกล่าวข้างต้น
ในการกู้ยืมหรือกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ซึ่งโจทก์ประกาศคิดก่อนปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดในอัตราร้อยละ 15.5 และ 15.75 ต่อปี และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี การที่ศาลล่างทั้งใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับ โดยพิพากษาให้จำเลยคงรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาขณะที่ไม่ผิดนัด ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องไปเสียทีเดียว เมื่อพิจารณาสภาวะอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินของประเทศ ประกอบกับทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้วศาลฎีกาสมควรลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัด คงเหลือร้อยละ 16 ต่อปี
โจทก์ฟ้องขอบังคับจำนองที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 461 และเลขที่ 2378พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้ตามขอแต่ในคำพิพากษาได้ระบุหมายเลข น.ส.3 ก. จากเลขที่ 461 เป็นเลขที่ 462 ซึ่งเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7113/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตทางภาระจำยอม: ศาลมีอำนาจกำหนดความกว้างของทางเดินภาระจำยอมตามความจำเป็น เพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปได้
ตามคำพิพากษาได้ระบุว่าที่ดินของจำเลยตามเส้นสีเขียวด้านที่ติดกับลำห้วยน้ำใสยาว 25 เมตร ตามแผนที่พิพาทเป็นทางภาระจำยอม ย่อมหมายถึงเส้นสีเขียวด้านที่ติดกับลำห้วยน้ำใสเท่านั้น หาได้หมายถึงเส้นสีเขียวในแผนที่สังเขปด้านทิศตะวันตกอีกเส้นหนึ่งที่อยู่ถัดไปไม่ เมื่อคำพิพากษานั้นไม่กำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภาระจำยอมนั้นไว้ ศาลก็ย่อมกำหนดความกว้างของทางเดินพิพาทนั้นได้เพื่อให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ดำเนินไปได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
ที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันออกติดลำห้วยน้ำใส บริเวณริมห้วยมีทางพิพาทซึ่งเป็นทางเดินระยะทางยาวประมาณ 25 เมตร เมื่อทางภาระจำยอมเป็นเพียงทางเดินเท่านั้น ทางพิพาทดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องมีความกว้างตามที่ระบุไว้ในแผนที่พิพาท ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภาระจำยอมไว้เพียง 1.50 เมตร ได้
ที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันออกติดลำห้วยน้ำใส บริเวณริมห้วยมีทางพิพาทซึ่งเป็นทางเดินระยะทางยาวประมาณ 25 เมตร เมื่อทางภาระจำยอมเป็นเพียงทางเดินเท่านั้น ทางพิพาทดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องมีความกว้างตามที่ระบุไว้ในแผนที่พิพาท ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภาระจำยอมไว้เพียง 1.50 เมตร ได้