คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 143

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนอง: การผิดนัดชำระดอกเบี้ยรายเดือน ทำให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองก่อนครบกำหนดสัญญา
แม้ตามสัญญาจำนองที่ดินจะระบุว่า สัญญาจำนองมีกำหนดเวลา 5 ปี แต่ก็มีข้อตกลงในสัญญาจำนองเกี่ยวกับการชำระ ดอกเบี้ยไว้ว่า ผู้จำนองตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป ดังนั้น การที่จำเลยผู้จำนองจะไม่ต้องถูกบังคับจำนองก่อนครบเวลา 5 ปี จำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนองคือต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เป็นรายเดือน เมื่อปรากฏว่า จำเลยไม่เคยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เลย จำเลยจึงเป็นผู้ผิดนัด ชำระหนี้ตามสัญญาจำนองทั้งหมดโจทก์ย่อมมีอำนาจบอกกล่าวทวงถาม และฟ้องบังคับจำนองได้ โดยไม่จำต้องรอให้ครบกำหนดเวลา 5 ปี เสียก่อน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้บังคับจำนองกับที่ดิน โฉนดเลขที่ 3382 เป็นการคลาดเคลื่อนไป โดยที่ดินแปลงที่จำเลย นำมาจำนองไว้กับโจทก์คือที่ดินโฉนดเลขที่ 3386 ศาลฎีกาควรแก้ไข เสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7436/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์, ความรับผิดขนส่งสินค้าเสียหาย, ดอกเบี้ยผิดสัญญา, การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาท
ภาระการพิสูจน์ของคู่ความต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและหากชั้นชี้สองสถานศาลกำหนดภาระการพิสูจน์ผิดพลาดไป ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาคดีไปตามภาระการพิสูจน์ที่ถูกต้องได้ โจทก์และจำเลยได้สืบพยานไปตามคำสั่งศาลชั้นต้นจนสิ้นกระแสความ และศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยพยานโจทก์จำเลยไปตามที่คู่ความได้นำสืบโดยฟังว่าสินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างการขนส่งของจำเลย แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีว่า ความเสียหายเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดตามสภาพแห่งของนั้นเองหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยต้องเปลี่ยนแปลงไป เพราะปัญหาดังกล่าวไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยให้การว่า รถเทรลเลอร์ ที่ขนตู้คอนเทนเนอร์ ตามฟ้องของโจทก์เป็นรถของบริษัท ท. รายละเอียดและพยานหลักฐานจำเลยที่ 2 จะได้นำเสนอต่อศาลในชั้นพิจารณาต่อไป คำให้การของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวหาได้มีข้อต่อสู้ที่จำเลยจะนำสืบได้ว่าสินค้าอาจเสียหายก่อนที่จำเลยจะได้รับจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยและความรับผิดของจำเลยสิ้นสุดลงเมื่อสินค้าถูกส่งขึ้นรถเทรลเลอร์ แล้ว จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด การที่ศาลล่างทั้งสองมิได้หยิบยกประเด็นข้อนี้ขึ้นมาวินิจฉัยจึงชอบแล้ว เมื่อปรากฏว่า ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าเสียหายไป แต่กลับพิพากษาให้ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนซึ่งไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7436/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์, ความรับผิดจากการขนส่ง, การแก้ไขคำพิพากษาเรื่องดอกเบี้ย
ภาระการพิสูจน์ของคู่ความต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและหากชั้นชี้สองสถานศาลกำหนดภาระการพิสูจน์ผิดพลาดไป ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาคดีไปตามภาระการพิสูจน์ที่ถูกต้องได้
โจทก์และจำเลยได้สืบพยานไปตามคำสั่งศาลชั้นต้นจนสิ้นกระแสความ และศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยพยานโจทก์จำเลยไปตามที่คู่ความได้นำสืบโดยฟังว่าสินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างการขนส่งของจำเลย แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีว่า ความเสียหายเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดตามสภาพแห่งของนั้นเองหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่ง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยต้องเปลี่ยนแปลงไป เพราะปัญหาดังกล่าวไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยให้การว่า รถเทรลเลอร์ที่ขนตู้คอนเทนเนอร์ตามฟ้องของโจทก์เป็นรถของบริษัท ท. รายละเอียดและพยานหลักฐาน จำเลยที่ 2จะได้นำเสนอต่อศาลในชั้นพิจารณาต่อไป คำให้การของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวหาได้มีข้อต่อสู้ที่จำเลยจะนำสืบได้ว่าสินค้าอาจเสียหายก่อนที่จำเลยจะได้รับจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยและความรับผิดของจำเลยสิ้นสุดลงเมื่อสินค้าถูกส่งขึ้นรถเทรลเลอร์แล้ว จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด การที่ศาลล่างทั้งสองมิได้หยิบยกประเด็นข้อนี้ขึ้นมาวินิจฉัยจึงชอบแล้ว
เมื่อปรากฏว่า ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าเสียหายไป แต่กลับพิพากษาให้ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนซึ่งไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6339/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทางภารจำยอมโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้มีทางสาธารณะ ศาลแก้ไขแนวทางผิดพลาด
โจทก์และบริวารเดินผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1อย่างปรปักษ์ นานเกินกว่า 10 ปี แม้ที่ดินของโจทก์ด้านหนึ่งจะติดกับทางสาธารณะอยู่แล้วก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่โจทก์จะได้สิทธิในทางภารจำยอมผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401ประกอบด้วยมาตรา 1382 ศาลล่างพิพากษากำหนดแนวของทางภารจำยอมผิดพลาดโดยกำหนดแนวของทางอยู่นอกเขตที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเลยล้ำเข้าไปเขตที่ดินข้างเคียง ทั้งที่ได้วินิจฉัยในคำพิพากษาแล้วว่าทางอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 และมีความกว้าง 2 ศอก กรณีถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยมีผลทำให้คำวินิจฉัยและคำพิพากษาขัดกัน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6339/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภาระจำยอมโดยการครอบครองปรปักษ์ และการแก้ไขคำพิพากษาที่ผิดพลาด
โจทก์และบริวารเดินผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 อย่างปรปักษ์นานเกินกว่า 10 ปี แม้ที่ดินของโจทก์ด้านหนึ่งจะติดกับทางสาธารณะอยู่แล้วก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่โจทก์จะได้สิทธิในทางภาระจำยอมผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382
ศาลล่างพิพากษากำหนดแนวของทางภาระจำยอมผิดพลาดโดยกำหนดแนวของทางอยู่นอกเขตที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเลยล้ำเข้าไปในเขตที่ดินข้างเคียง ทั้งที่ได้วินิจฉัยในคำพิพากษาแล้วว่าทางอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 และมีความกว้าง 2 ศอก กรณีถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยมีผลทำให้คำวินิจฉัยและคำพิพากษาขัดกัน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5880/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างในระหว่างการชำระบัญชีองค์กร, สิทธิลูกจ้างชั่วคราว, และการคำนวณค่าชดเชย
จำเลยที่ 10 และที่ 11 มิได้เป็นนายจ้างของโจทก์มิได้เกี่ยวกับการเลิกจ้าง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 10 และที่ 11 ให้รับผิดในส่วนนี้เกี่ยวกับการเลิกจ้าง
ตาม พ.ร.ฎ.ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่พ.ศ.2520 พ.ศ.2528 มาตรา 4 องค์การเหมืองแร่จำเลยที่ 1 ซึ่งได้ถูกยกเลิกตามมาตรา 3 ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีและมาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตั้งบุคคลขึ้นคณะหนึ่งเป็นคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 11 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เป็นคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 มีอำนาจแต่งตั้งคณะผู้ช่วยผู้ชำระบัญชีเพื่อดำเนินการชำระบัญชีได้ และการที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 มีคำสั่งจ้างโจทก์เป็นผู้ช่วยผู้ชำระบัญชีก็เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.ฎ.ดังกล่าวเพื่อให้การดำเนินการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 เสร็จสิ้นไป หากพนักงาน ลูกจ้าง และคนงานผู้ใดหมดหน้าที่หรือหมดความจำเป็นที่จะปฏิบัติงานต่อไป จำเลยก็ย่อมมีสิทธิเลิกจ้างเป็นรายบุคคลได้ดังนี้ เมื่องานเกี่ยวกับการชำระบัญชีหมดลง กรณีไม่จำเป็นที่จะต้องจ้างโจทก์เพื่อปฏิบัติงานต่อไป การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามพ.ร.ฎ.ดังกล่าวที่ให้อำนาจไว้ จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิใช่เป็นหนี้เงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะตกเป็นผู้ผิดนัดรับผิดชำระดอกเบี้ยต่อเมื่อลูกจ้างทวงถาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใดจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ค่าจ้าง
สำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่โจทก์มิได้หยุดและค่าชดเชยเป็นหนี้เงินที่กฎหมายบัญญัติให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้างโดยไม่ต้องทวงถามดังนั้น จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินแต่ละจำนวนดังกล่าวนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ดังกล่าว
คำฟ้องโจทก์ระบุอัตราค่าจ้างของโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 8ไว้แล้ว และจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธอัตราค่าจ้างของโจทก์แต่ละคนดังกล่าวไว้ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าชดเชยแก่โจทก์ผิดพลาดจากข้อเท็จจริงในสำนวน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 คำนวณค่าชดเชยตามคำขอท้ายฟ้องมาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อความเป็นธรรมศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์ดังกล่าวได้รับค่าชดเชยในจำนวนที่ถูกต้อง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว การที่โจทก์มาทำงานภายหลังวันที่จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว
ศาลฎีกาเคยย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นเรื่องค่าบำเหน็จแล้ว แต่ศาลแรงงานไม่ได้วินิจฉัย เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนอีกได้
จำเลยจ้างโจทก์มีกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจ้างเพียงฉบับละ 1 เดือน เป็นการจ้างชั่วคราวเพื่อให้การชำระบัญชีของจำเลยที่ 1เสร็จสิ้นไป หากพนักงานลูกจ้างและคนงานผู้ใดหมดหน้าที่หรือหมดความจำเป็นที่จะพึงปฏิบัติงานต่อไป จำเลยก็จะเลิกจ้างเป็นรายบุคคลไป แต่ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จผู้ปฏิบัติงานในองค์การเหมืองแร่ ข้อ 5กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี เมื่อออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ นอกจากถูกลงโทษ ปลดออก หรืออื่น ๆ มีสิทธิได้รับบำเหน็จเท่ากับเงินเดือนหรือค่าจ้างเดือนสุดท้ายที่พ้นจากตำแหน่งคูณด้วยระยะเวลาที่ได้ปฏิบัติงานคิดเป็นปีและโจทก์จะทำงานติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีก็ตาม แต่เมื่อการนับเวลาทำงานตามข้อ 6 ให้ถือหลักเกณฑ์โดยนับแต่วันที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับการบรรจุในอัตราประจำ ดังนี้การที่จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานในระหว่างการชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เป็นการชั่วคราวมีระยะเวลาจ้างครั้งละ 1 เดือน หาได้บรรจุในอัตราประจำไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 หนังสือเรื่องโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ปรับโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจใหม่ ประกอบบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนของพนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจและโครงสร้างเงินเดือนกับโครงสร้างเงินเดือนที่ปรับใหม่มีระบุอัตราเงินเดือน ขั้นเงินเดือนถึง 53 ขั้น และมีขั้นวิ่ง ซึ่งการปรับโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานลูกจ้างรัฐวิสาหกิจนั้นใช้กับพนักงานลูกจ้างที่ทำงานประจำโดยมีการบรรจุในอัตราประจำ แต่เมื่อจำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานในระหว่างการชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เป็นการชั่วคราว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชย โดยไม่ระบุให้จำเลยคนใดต้องรับผิดนั้น ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5880/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างชั่วคราวและผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง: บำเหน็จ, ค่าจ้าง, และการปรับโครงสร้างเงินเดือน
จำเลยที่ 10 และที่ 11 มิได้เป็นนายจ้างของโจทก์มิได้เกี่ยวกับการเลิกจ้าง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 10และที่ 11 ให้รับผิดในส่วนนี้เกี่ยวกับการเลิกจ้าง ตามพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ.2520 พ.ศ.2528 มาตรา 4 องค์การเหมืองแร่จำเลยที่ 1 ซึ่งได้ถูกยกเลิกตามมาตรา 3 ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีและมาตรา 5ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตั้งบุคคลขึ้นคณะหนึ่งเป็นคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 11 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เป็นคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีจำเลยที่ 1และให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 มีอำนาจแต่งตั้งคณะผู้ช่วยผู้ชำระบัญชีเพื่อดำเนินการชำระบัญชีได้ และการที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9มีคำสั่งจ้างโจทก์เป็นผู้ช่วยผู้ชำระบัญชีก็เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเพื่อให้การดำเนินการชำระบัญชีจำเลยที่ 2 เสร็จสิ้นไป หากพนักงาน ลูกจ้างและคนงานผู้ใดหมดหน้าที่หรือหมดความจำเป็นที่จะปฏิบัติงานต่อไป จำเลยก็ย่อมมีสิทธิเลิกจ้างเป็นรายบุคคลได้ดังนี้ เมื่องานเกี่ยวกับการชำระบัญชีหมดลง กรณีไม่จำเป็นที่จะต้องจ้างโจทก์เพื่อปฏิบัติงานต่อไป การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวที่ให้อำนาจไว้ จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิใช่เป็นหนี้เงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะตกเป็นผู้ผิดนัดรับผิดชำระดอกเบี้ยต่อเมื่อลูกจ้างทวงถาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใดจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ค่าจ้าง สำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่โจทก์มิได้หยุดและค่าชดเชยเป็นหนี้เงินที่กฎหมายบัญญัติให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้างโดยไม่ต้องทวงถาม ดังนั้น จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินแต่ละจำนวนดังกล่าวนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ดังกล่าว คำฟ้องโจทก์ระบุอัตราค่าจ้างของโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 8ไว้แล้ว และจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธอัตราค่าจ้างของโจทก์แต่ละคนดังกล่าวไว้ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้อง ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวัดหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าชดเชยแก่โจทก์ผิดพลาดจากข้อเท็จจริงในสำนวน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 คำนวณค่าชดเชยตามคำขอท้ายฟ้องมาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อความเป็นธรรมศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์ดังกล่าวได้รับค่าชดเชยในจำนวนที่ถูกต้อง จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว การที่โจทก์มาทำงานภายหลังวันที่จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว ศาลฎีกาเคยย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นเรื่องค่าบำเหน็จแล้ว แต่ศาลแรงงานไม่ได้วินิจฉัย เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนอีกได้ จำเลยอ้างโจทก์มีกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจ้างเพียงฉบับละ 1 เดือน เป็นการจ้างชั่วคราวเพื่อให้การชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เสร็จสิ้นไป หากพนักงานลูกจ้างและคนงานผู้ใดหมดหน้าที่หรือหมดความจำเป็นที่จะพึงปฏิบัติงานต่อไป จำเลยก็จะเลิกจ้างเป็นรายบุคคลไป แต่ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จผู้ปฏิบัติงานในองค์การเหมืองแร่ข้อ 5 กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี เมื่อออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ นอกจากถูกลงโทษปลดออก หรืออื่น ๆ มีสิทธิได้รับบำเหน็จเท่ากับเงินเดือนหรือค่าจ้างเดือนสุดท้ายที่พ้นจากตำแหน่งคูณด้วยระยะเวลาที่ได้ปฏิบัติงานคิดเป็นปีและโจทก์จะทำงานติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีก็ตาม แต่เมื่อการนับเวลาทำงานตามข้อ 6 ให้ถือหลักเกณฑ์โดยนับแต่วันที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับการบรรจุในอัตราประจำดังนี้การที่จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานในระหว่างการชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เป็นการชั่วคราวมีระยะเวลาจ้างครั้งละ 1 เดือนหาได้บรรจุในอัตราประจำไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 หนังสือเรื่องโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ปรับโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจใหม่ ประกอบบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนของพนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจและโครงสร้างเงินเดือนกับโครงสร้างเงินเดือนที่ปรับใหม่มีระบุอัตราเงินเดือนขั้นเงินเดือนถึง 53 ขั้น และมีขั้นวิ่ง ซึ่งการปรับโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานลูกจ้างรัฐวิสาหกิจนั้นใช้กับพนักงานลูกจ้างที่ทำงานประจำโดยมีการบรรจุในอัตราประจำ แต่เมื่อจำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานในระหว่างการชำระบัญชีของจำเลยที่ 1เป็นการชั่วคราว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชยโดยไม่ระบุให้จำเลยคนใดต้องรับผิดนั้น ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4130/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้าง และการแก้ไขคำพิพากษาที่ผิดพลาด
เกิดเหตุรถชนแล้วจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขับรถคู่กรณีหลบหนีไปส่อแสดงพิรุธว่าเป็นฝ่ายกระทำผิดจริง และยังต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้กระทำผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 แม้ฝ่ายโจทก์จะมิได้นำสืบ น. ซึ่งเป็นพยานคู่กับโจทก์ที่ 1ในคราวเดียวกันก็ดี แต่ศาลย่อมใช้ดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักคำพยานดังกล่าวแล้วได้กฎหมายมิได้บัญญัติห้ามมิให้รับฟัง ร้อยตำรวจเอกป.เป็นพนักงานสอบสวนผู้ตรวจสถานที่เกิดเหตุการพบร่องรอยตลอดจนเศษวัสดุต่าง ๆ ที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุจึงเป็นประจักษ์พยานไม่ใช่เป็นพยานบอกเล่า สำเนาใบเสร็จรับเงินเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ที่ 1 ที่โรงพยาบาลออกให้เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตามเอกสารดังกล่าวจริง ดังนี้แม้ฝ่ายโจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 แต่กรณีเห็นได้ว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในเรื่องค่ารักษาพยาบาล ฉะนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานข้างต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ในกรณีทำให้เสียหายแก่ร่างกายนั้น ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้ เพราะไม่สามารถประกอบการงาน และค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนทั้งในเวลาปัจจุบันและในเวลาอนาคตด้วยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 443 วรรคสอง และมาตรา 444 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนี้ ผู้ทำละเมิดจึงต้องใช้ค่าขาดรายได้อันเป็นค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ทำมาหาได้อีกส่วนหนึ่ง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 กล่าวคือ ค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์เป็นเงิน 40,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลเป็นเงิน 29,564 บาทค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนเพราะทุพพลภาพเป็นเงิน 60,000 บาท และค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานเป็นเงิน 120,000 บาท รวมค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 249,564 บาท แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กลับพิพากษาให้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 209,564 บาท กรณีเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเกิดจากความผิดพลาดหรือผิดหลงในการรวมคำนวณยอดค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยที่แก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ให้ถูกต้องได้ ส.มีหน้าที่ควบคุมดูแลตรวจสอบการทำงานของคนขับรถของจำเลยที่ 1 หากคนขับไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับส.สามารถเสนอเรื่องให้กรรมการของจำเลยที่ 1 ลงโทษได้นอกจากนี้ด้านข้างของรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุระบุตัวอักษรชื่อย่อของจำเลยที่ 1 อีกทั้งภายหลังเกิดเหตุ ส. พนักงานของจำเลยที่ 1 ยังไปติดต่อขอชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ถูกกระทำละเมิด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 2 มีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และได้กระทำไปในทางการที่จ้าง จำเลยทั้งสองฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเฉพาะเกี่ยวกับโจทก์ที่ 1 เท่านั้น และมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เพราะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาของทุนทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ให้แก่จำเลยทั้งสองทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4127/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำพิพากษาศาลล่างที่มีข้อผิดหลงเล็กน้อย: อำนาจศาลฎีกาและข้อยกเว้นการยื่นคำร้อง
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟ้องให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดในค่าซ่อมรถให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 100,000 บาท และรับผิดในค่าเสื่อมราคาและในค่าไม่มีรถใช้ในการประกอบกิจการค้าให้แก่จำเลยที่ 1 รวมจำนวน121,500 บาท และศาลชั้นต้นวินิจฉัยกำหนดให้โจทก์ที่ 2 รับผิดในค่าซ่อมรถจำนวน100,000 บาท ค่าเสื่อมราคาและค่าไม่มีรถใช้ในการประกอบกิจการค้ารวมจำนวน30,000 บาท แล้ว แต่ในคำพิพากษากลับระบุให้โจทก์ที่ 2 ชำระเงินจำนวน100,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 และชำระเงินจำนวน 30,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 เช่นนี้ ย่อมเป็นการผิดหลงไปเล็กน้อย ชอบที่ศาลชั้นต้นจะแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยนั้นได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่จำเลยที่ 1และที่ 2 มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว กลับอุทธรณ์เฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยเท่านั้น ดังนี้ แม้ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิด และมิได้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวจำเลยทั้งสองก็มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ เพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยอีกเช่นนี้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ย่อมไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 ชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสองเสีย แต่เมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา(ชั้นขอแก้ไขคำพิพากษา) และปรากฏว่าคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองดังกล่าวมีข้อผิดหลงเล็กน้อย ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4127/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาศาลล่างที่มีข้อผิดหลงเล็กน้อย และอำนาจของศาลฎีกาในการแก้ไข
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟ้องให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดในค่าซ่อมรถให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 100,000 บาท และรับผิดในค่าเสื่อมราคาและในค่าไม่มีรถใช้ในการประกอบกิจการค้าให้แก่จำเลยที่ 1 รวมจำนวน 121,500 บาท และศาลชั้นต้นวินิจฉัยกำหนดให้โจทก์ที่ 2 รับผิดในค่าซ่อมรถจำนวน 100,000 บาท ค่าเสื่อมราคาและค่าไม่มีรถใช้ในการประกอบกิจการค้ารวมจำนวน 30,000 บาท แล้ว แต่ในคำพิพากษากลับระบุให้โจทก์ที่ 2 ชำระเงินจำนวน 100,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 และชำระเงินจำนวน 30,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 เช่นนี้ ย่อมเป็นการผิดหลงไปเล็กน้อยชอบที่ศาลชั้นต้นจะแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยนั้นได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว กลับอุทธรณ์เฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยเท่านั้น ดังนี้ แม้ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์ที่ 1ร่วมรับผิด และมิได้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าว จำเลยทั้งสองก็มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ เพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยอีก เช่นนี้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ย่อมไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสองเสีย แต่เมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา (ชั้นขอแก้ไขคำพิพากษา) และปรากฏว่าคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองดังกล่าวมีข้อผิดหลงเล็กน้อยศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
of 54