คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิเทศจรรยารักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 817 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่: เพียงกล่าวอ้างเช่าเพื่อทำการค้าถือว่าเพียงพอ แม้ไม่ได้ระบุประเภทการค้า
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยเช่าตึกเพื่อทำการค้า เป็นการเพียงพอที่แสดงว่าจำเลยเช่าเพื่อทำการค้า ไม่ใช่เพื่ออยู่อาศัย โจทก์ไม่จำเป็นต้องกล่าวว่าจำเลยทำการค้าอะไร จำเลยไม่เสียเปรียบในการต่อสู้คดี ฟ้องไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขับไล่-ค่าเสียหาย: เพียงกล่าวว่าเช่าเพื่อค้าเพียงพอ ไม่เคลือบคลุม
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยเช่าตึกเพื่อทำการค้า เป็นการเพียงพอที่แสดงว่าจำเลยเช่าเพื่อทำการค้า ไม่ใช่เพื่ออยู่อาศัย โจทก์ไม่จำเป็นต้องกล่าวว่าจำเลยทำการค้าอะไร จำเลยไม่เสียเปรียบในการต่อสู้คดี ฟ้องไม่เคลือบคลุม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อจากสำนวนคดีอาญา ต้องมีคำพิพากษาลงโทษในคดีเดิมก่อน จึงจะนับโทษต่อได้
การขอนับโทษต่อ
หลักในเรื่องการนับโทษต่อจากสำนวนคดีเรื่องใด จะต้องปรากฏว่าคดีเรื่องนั้นศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยไว้ก่อนแล้ว เมื่อศาลพิพากษาคดีเรื่องหลังจึงจะนับโทษต่อจากกำหนดโทษในสำนวนเรื่องก่อนได้ เมื่อสำนวนคดีเรื่องก่อนยังไม่ปรากฏว่าได้พิพากษา(ยังเป็นคดีดำอยู่)จึงไม่มีโทษอันใดที่ศาลจะไปนับต่อให้ได้ แม้จะเป็นความจริงตามข้อฎีกาของโจทก์ที่ว่าคดีเรื่องก่อนนั้นในเวลาต่อมา ศาลได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้ว แต่ในสำนวนคดีเรื่องหลังก็ไม่ปรากฏว่าสำนวนคดีเรื่องก่อนได้พิพากษาลงโทษไปแล้วก่อนคดีเรื่องหลัง จึงนับโทษคดีเรื่องหลังต่อจากโทษในคดีเรื่องก่อนนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อ: ต้องมีคำพิพากษาลงโทษในคดีก่อนแล้ว จึงจะนับโทษต่อได้
การขอนับโทษต่อ
หลักในเรื่องการนับโทษต่อจากสำนวนคดีเรื่องใด จะต้องปรากฎว่าคดีเรื่องนั้นศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยไว้ก่อน แล้ว เมื่อศาลพิพากษาคดีเรื่องหลังจึงจะนับโทษต่อจากกำหนดโทษในสำนวนเรื่องก่อนได้ เมื่อสำนวนคดีเรื่องก่อนยังไม่ปรากฎว่าได้พิพากษา(ยังเป็นคดีดำอยู่) จึงไม่มีโทษอันใดที่ศาลจะไปนับต่อให้ได้ แม้จะเป็นความจริงตามข้อฎีกาของโจทก์ที่ว่าคดีเรื่องก่อนนั้น ในเวลาต่อมา ศาลได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้วแต่ในสำนวนคดีเรื่องหลังก็ไม่ปรากฎว่าสำนวนคดีเรื่องก่อนได้พิพากษาลงโทษไปแล้วก่อนคดีเรื่องหลัง จึงนับโทษคดีเรื่องหลังต่อจากโทษในคดีเรื่องก่อนนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นมาตรา 94(ข) พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง: การนำสืบข้อเท็จจริงระหว่างตัวการ-ตัวแทน แม้ขัดกับเอกสาร
กรณีที่จะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) นั้น ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องนำพยานเอกสารมาแสดง ในกรณีเช่นว่านี้จะขอนำสืบเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารนั้นไม่ได้
แต่การขอสืบความจริงสำหรับกรณีอื่น เช่น ระหว่างตัวการกับตัวแทน ไม่เกี่ยวแก่การบังคับหรือไม่บังคับนิติกรรมนั้นอย่างไร แม้ข้อเท็จจริงจะต้องแตกต่างไปจากที่ปรากฏในหนังสือก็ย่อมนำสืบได้
โจทก์ขอสืบความจริงว่าโจทก์โอนที่ดินให้จำเลยไปจัดการแบ่งปันให้ทายาทตามเหตุผลในฟ้องเป็นเรื่องระหว่างตัวการกับตัวแทนซึ่งเป็นลักษณะส่วนหนึ่งแห่งกฎหมายนั้น เป็นการนำสืบในกรณีว่าส่วนหนึ่งต่างหาก โจทก์ย่อมนำสืบได้(อ้างฎีกาที่ 838/2493) (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานนอกเหนือจากเอกสารสัญญา: กรณีตัวการ-ตัวแทน
กรณีที่จะต้องห้ามตามป.วิ.แพ่ง มาตรา 94 (ข) นั้น ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องนำพยานเอกสารมาแสดงในกรณีเช่นว่านี้จะขอนำสืบเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารนั้นไม่ได้
แต่การขอสืบความจริงสำหรับกรณีอื่น เช่น ระหว่างตัวการกับตัวแทน ไม่เกี่ยวแก่การบังคับหรือไม่บังคับนิติกรรมนั้นอย่างไร แม้ข้อเท็จจริงจะต้องแตกต่างไปจากที่ปรากฎในหนังสือ ก็ย่อมนำสืบได้
โจทก์ขอสืบความจริงว่าโจทก์โอนที่ดินให้จำเลยไปจัดการแบ่งปันให้ทายาทตามเหตุผลในฟ้องเป็นเรื่องระหว่างตัวการกับตัวแทนซึ่งเป็นลักษณะส่วนหนึ่งแห่งกฎหมายนั้น เป็นการนำสืบในกรณีอีกส่วนหนึ่งต่างหาก โจทก์ย่อมนำสืบได้
(อ้างฎีกาที่ 838/2493)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษมาตรฐานโดยไม่คำนึงถึงพฤติการณ์อาจไม่เป็นธรรม ศาลสูงกว่ามีอำนาจพิจารณาโทษใหม่ได้
การกำหนดอัตราโทษเป็นมาตรฐาน โดยไม่คำนึงถึงพฤติการณ์ประกอบการกระทำผิดตามหลักวิชาธรรมศาสตร์ อาจก่อให้เกิดความอยุติธรรมได้ง่าย เมื่อศาลที่สูงกว่าไม่เห็นด้วยในดุลพินิจเช่นนั้น ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับเป็นข้อควรคำนึงในการอำนวยความยุติธรรมต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดแก้คดีและการขาดนัดพิจารณา: การนัดให้จำเลยแก้คดีไม่ใช่การนัดพิจารณาคดี และโจทก์ไม่ขาดนัด
โจทก์ฟ้องจำเลยหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทใส่ความ ศาลนัดไต่สวนแล้ว สั่งว่าคดีมีมูลให้ประทับฟ้อง และให้หมายเรียกจำเลยมาแก้คดีในวันที่ 22 มีนาคม 2499 และให้โจทก์เซ็นทราบไว้ด้วย ครั้นถึงวันที่ 22 มีนาคม 2499 จำเลยยื่นคำให้การ ศาลเรียกคู่ความเพื่อสอบถามคำให้การจำเลยแต่โจทก์ไม่มาศาลในวันนี้ ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเสียโดยหาว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไม่ได้ เพราะไม่มีการนัดเป็นกิจลักษณะว่าจะดำเนินกระบวนพิจารณา และกรณีไม่เข้าตามมาตรา 174 แห่งวิธีพิจารณาความแพ่งฯไม่เป็นการทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดพิจารณาคดีและการขาดนัด: ศาลต้องนัดให้คู่ความมาพร้อมกันเพื่อสอบคำให้การ หากโจทก์ไม่มาถือว่าขาดนัดได้ต่อเมื่อมีการนัดพิจารณาอย่างชัดเจน
โจทก์ฟ้องจำเลยหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทใส่ความ ศาลนัดไต่สวนแล้ว สั่งว่าคดีมีมูลให้ประทับฟ้อง และให้หมายเรียกจำเลยมาแก้คดีในวันที่ 22 มีนาคม 2499 และให้โจทก์เซ็นทราบไว้ด้วย ครั้นถึงวันที่ 22 มีนาคม 2499 จำเลยยื่นคำให้การ ศาลเรียกคู่ความเพื่อสอบถามคำให้การจำเลย แต่โจทก์ไม่มาศาลในวันนี้ ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเสียโดยหาว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไม่ได้ เพราะไม่มีการนัดเป็นกิจลักษณะว่าจะดำเนินกระบวนพิจารณา และกรณีไม่เข้าตามมาตรา 174 แห่งวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่เป็นการทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286-1288/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่ทุจริตยักยอกเงินผลประโยชน์ของรัฐ การรับเงินจากผู้ขอรับบริการเป็นหน้าที่นำส่งไม่ใช่การฝากส่วนตัว
จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมตำรวจ ตำแหน่ง เสมียนยานพาหนะมีหน้าที่รับเงินจากผู้ยื่นคำร้องหรือเงินเสียภาษี จำเลยจะรับไว้จากสถานที่ใด (แม้ที่บ้านของจำเลยเองก็เป็นเงินผลประโยชน์ของรัฐ ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องนำส่ง กรมตำรวจจึงเป็นผู้เสียหาย หาใช่เป็นการมอบฝากกันเป็นส่วนตัวไม่ เพราะถ้าจำเลยไม่ใช่เจ้าหน้าที่โดยเฉพาะบุคคลผู้เกี่ยวข้องก็จะไม่มอบส่งเงินให้
of 82