คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิเทศจรรยารักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 817 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจต่างประเทศ: หลักเกณฑ์การพิจารณาความสมบูรณ์และการใช้ ม.47(3) ป.วิ.พ.
จะนำบทบัญญัติของประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.47(3) มาใช้ก็แต่ในกรณีที่ศาลมีความสงสัยในความแท้จริงของใบมอบอำนาจ จึงจะต้องจัดให้มีการปฏิบัติตาม ม.47(3) ถ้าใบมอบอำนาจใดศาลเชื่อแล้วก็ไม่ต้องนำ ม.47(3) นี้มาใช้และ ม.47(3) นี้ไม่ใข่บทบัญญัติที่บัญญัติถึงแบบของใบมอบอำนาจอย่างใดด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ประโยชน์ที่ดินจากการอนุญาตของเจ้าของ และการละเมิดจากผู้มีกรรมสิทธิร่วม
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของและปกครองที่พิพาทอยู่ได้อนุญาตให้โจทก์ใช้ที่ดินเพาะพันธุ์ข้าวได้แล้ว โจทก์ก็มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะใช้ที่ดินนั้นได้ เมื่อโจทก์สับถางที่ดินไว้เรียบร้อยแล้วจำเลย ที่ 2 แม้มีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วยในที่พิพาทกลับเข้าไปแย่งปลูกข้าวในที่ดินนั้นโดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์เข้าทำอยู่ก่อน การกระทำของจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งทำประโยชน์ในที่ดินร่วมของผู้มีกรรมสิทธิ์ การกระทำละเมิดและการคุ้มครองสิทธิผู้ทำประโยชน์
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของและปกครองที่พิพาทอยู่ ได้อนุญาตให้โจทก์ใช้ที่ดินเพาะพันธ์ข้าวได้แล้ว โจทก์ก็มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะใช้ดินนั้นได้ เมื่อโจทก์สับถางที่ดินไว้เรียบร้อยแล้ว จำเลยที่ 2 แม้มีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วยในที่พิพาท กลับเข้าไปแย่งปลูกข้าวในที่ดินนั้นโดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์เข้าทำอยู่ก่อน การกระทำของจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางผ่านที่ดิน: ไม่เป็นภาระจำยอมหากเป็นการอนุญาตชั่วคราว
การที่วัดอนุญาตให้ผู้เช่าที่ดินของโจทก์อาศัยใช้รถยนต์ผ่านที่ดินของวัดชั่วครั้งคราวนั้นไม่กระทำให้เป็นทางจำเป็นหรือตกเป็นภาระจำยอมสำหรับที่ดินของโจทก์ตามกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางผ่านชั่วคราว ไม่ก่อให้เกิดภาระจำยอม
การที่วัดอนุญาตให้ผู้เช่าที่ดินของโจทก์อาศัยใช้รถยนต์ผ่านที่ดินของวัดชั่วครั้งคราวนั้นไม่กระทำให้เป็นทางจำเป็นหรือตกเป็นภาระจำยอมสำหรับที่ดินของโจทก์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเอาทรัพย์จำนองหลุดในคดีที่เจ้าหนี้อื่นยึดทรัพย์ ผู้ร้องต้องแสดงสิทธิและพิสูจน์ราคาทรัพย์
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองที่ดินไว้จากจำเลยมิได้ฟ้องผู้จำนอง (จำเลย)เพื่อเอาทรัพย์ (ที่ดิน) จำนองหลุด แต่ได้ร้องเข้ามาในคดีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา(โจทก์)ได้ยึดที่ดินนั้นเพื่อเอาชำระหนี้เช่นนี้ผู้ร้องจะว่าเป็นหน้าที่ของผู้จำนองจะต้องนำสืบว่าราคาทรัพย์สินนั้นท่วมจำนวนเงินอันค้างชำระ ฟังไม่ได้เพราะไม่ใช่คดีระหว่างผู้รับจำนองกับผู้จำนอง
เมื่อผู้ร้องต้องการเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นสิทธิเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและยึดทรัพย์สินนั้นไว้ผู้ร้องก็ต้องแสดงสิทธิของตนให้ปรากฏโจทก์โต้แย้งอยู่ว่าราคาทรัพย์สินไม่ท่วมจำนวนหนี้ของผู้ร้อง ซึ่งศาลรับฟังเป็นประเด็นข้อพิพาทเมื่อผู้ร้องไม่นำสืบ ก็แสดงสิทธิที่จะเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา289 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการนำสืบของผู้รับจำนองในการคดีที่เจ้าหนี้อื่นยึดทรัพย์จำนอง ผู้รับจำนองต้องแสดงสิทธิของตน
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองที่ดินไว้จากจำเลยมิได้ฟ้องผู้จำนอง (จำเลย) เพื่อเอาทรัพย์ (ที่ดิน) จำนองหลุด แต่ได้ร้องเข้ามาในคดีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา(โจทก์) ได้ยึดที่ดินนั้นเพื่อเอาชำระหนี้เช่นนี้ ผู้ร้องจะว่าเป็นหน้าที่ของผู้จำนองจะต้องนำสืบว่าราคาทรัพย์สินนั้นท่วมจำนวนเงินอันค้างชำระ ฟังไม่ได้เพราะไม่ใช่คดีระหว่างผู้รับจำนองกับผู้จำนอง
เมื่อผู้ร้องต้องการเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นสิทธิ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและยึดทรัพย์สินนั้นไว้ ผู้ร้องก็ต้องแสดงสิทธิของตนให้ปรากฎ โจทก์โต้แย้งอยู่ว่าราคาทรัพย์สินไม่ท่วมจำนวนหนี้ของผู้ร้อง ซึ่งศาลรับฟังเป็นประเด็นข้อพิพาท เมื่อผู้ร้องไม่นำสืบ ก็แสดงสิทธิที่จะเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นสิทธิตาม ป.วิ.แพ่ง ม.289 ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933-934/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เปลี่ยนแปลงโทษฉ้อโกงจากกฎหมายลักษณะอาญาเป็นประมวลกฎหมายอาญาและผลกระทบต่อตัวการ-ผู้สนับสนุน
จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานเป็นตัวการฉ้อโกงเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้ ตามกฎหมายลักษณะอาญา ม.304,306(2) และจำเลยที่ 2 มี ความผิดฐานเป็นผู้ช่วยเหลืออุปการะในการกระทำผิดดังกล่าวผิดตาม กฎหมายลักษณะอาญา ม.304,306,65 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิดบัดนี้ประมวลกฎหมายอาญาได้เปลี่ยนแปลงความผิดฐานฉ้อโกงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดโดยการใช้อุบายพิเศษเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้นั้นเป็นอันยกเลิกไปเสียแล้วและที่โจทก์กล่าวฟ้องในเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เป็นกรณีพิเศษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.342 ฉะนั้นการกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341 ตรงกับกฎหมายลักษณะอาญา ม.304 เท่านั้นอันมีอัตราโทษจำคุกเพียงไม่เกิน 3 ปี เบากว่าอัตราโทษตาม กฎหมายลักษณะอาญา ม.306(2) มาก แม้เรื่องนี้เฉพาะโจทก์ร่วมฝ่ายเดียวฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ให้หนักขึ้น แต่ความผิดฐานฉ้อโกงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิดดังกล่าวแล้วซึ่งประมวลกฎหมายอาญา ม.3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิดและเป็นเหตุในลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายอาญา ม.89 จึงมีผลเกี่ยวพันไปถึงตัวจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาขึ้นมานั้นด้วยจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการจึงผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341,83 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดรายนี้ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญาม.341 ประกอบด้วย ม.86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933-934/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เปลี่ยนแปลงโทษฉ้อโกง: กฎหมายใหม่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด, ศาลพิจารณาโทษจำเลยตามกฎหมายที่ใช้บังคับ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานเป็นตัวการฉ้อโกงเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้ ตามก.ม.ลักษณะอาญา ม.304,306(2) และจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานเป็นผู้ช่วยเหลืออุปการะในการกระทำผิดดังกล่าวผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.304,306,65 อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิด บัดนี้ประมวลกฎหมายอาญาได้เปลี่ยนแปลงความผิดฐานฉ้อโกงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดโดยการใช้อุบายพิเศษเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้นั้น เป็นอันยกเลิกไปเสียแล้ว และที่โจทก์กล่าวฟ้องในเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เป็นกรณีพิเศษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.342 ฉะนั้นการกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341 ตรงกับ ก.ม.ลักษณะอาญา ม.304 เท่านั้น อันมีอัตราโทษจำคุกเพียงไม่เกิน 3 ปี เบากว่าอัตราโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.306(2) มาก แม้เรื่องนี้เฉพาะโจทก์ร่วมฝ่ายเดียวฎีกา ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ให้หนักขึ้น แต่ความผิดฐานฉ้อโกงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิดดังกล่าวแล้ว ซึ่งประมวลกฎหมายอาญาม.3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิด และเป็นเหตุในลักษณะคดีตามประมวลกฏหมายอาญาม.89 จึงมีผลเกี่ยวพันไปถึงตัวจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาขึ้นมานั้นด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการจึงผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341,83 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดรายนี้ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341 ประกอบด้วย ม.82.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงทำนาต่อหน้าศาลมีผลผูกพันบังคับได้ แม้จะไม่ได้รวมอยู่ในคำพิพากษา
โจทก์จำเลยตกลงกันต่อหน้าศาลให้โจทก์ทำนาพิพาทในระหว่างพิจารณาคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่โดยกำหนดค่าเช่าปีละ1,500 บาทศาลพิพากษายกฟ้อง จำเลยขอให้ศาลออกคำบังคับให้โจทก์ชำระค่าเช่าให้จำเลยตามข้อตกลงได้ไม่เป็นการนอกเหนือคำพิพากษา
of 82