คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิเทศจรรยารักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 817 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย: เงื่อนไขการลงโทษและอำนาจฟ้องแยก
โจทก์ฟ้องขอให้กักกันจำเลยในฐานเป็นผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายโดยจำเลยเคยทำผิดต้องโทษจำคุกอันมิใช่ประมาทหรือลหุโทษมา 4 ครั้ง และมาทำผิดฐานชิงทรัพย์อีกโจทก์จึงฟ้องขอให้กักกันจำเลยฐานเป็นผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายเมื่อคดีมาสู่ศาลฎีกาเมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญาแล้วศาลฎีกาเห็นว่าการลงโทษผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายตาม พ.ร.บ.กักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ.2479นั้น มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ศาลฎีกาจึงยกบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญาอันมีมาตรา 43,41 เป็นต้นมาใช้แทนและชี้ว่าตาม มาตรา43 โจทก์มีอำนาจแยกฟ้องได้แต่ตาม มาตรา 41 จะลงโทษกักกันได้ต่อเมื่อจำเลยเคยต้องโทษกักกันมาแล้ว หรือเคยถูกศาลพิพากษาให้จำคุกมาไม่ต่ำกว่า 6 เดือนไม่น้อยกว่า 2 ครั้งและมาทำผิด จำเลยนี้เคยต้องโทษเกิน 6เดือนครั้งเดียว จึงยังฟ้องให้ลงโทษกักกันจำเลยไม่ได้ ให้ยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษกักกันผู้กระทำผิดซ้ำ ศาลฎีกาพิจารณาเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายอาญาแทน พ.ร.บ.กักกันผู้ร้าย
โจทก์ฟ้องขอให้กักกันจำเลยในฐานเป็นผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย โดยจำเลยเคยทำผิดต้องโทษจำคุกอันมิใช่ประมาทหรือลหุโทษมา 4 ครั้ง และมาทำผิดฐานชิงทรัพย์อีก โจทก์จึงฟ้องขอให้กักกันจำเลยฐานเป็นผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย เมื่อคดีมาสู่ศาลฎีกาเมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ศาลฎีกาเห็นว่าการลงโทษผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายตาม พ.ร.บ. กักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ. 2479 นั้น มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ศาลฎีกาจึงยกบทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายอาญาอันมีมาตรา 43, 41 เป็นต้นมาใช้แทน และชี้ว่าตาม ม.43 โจทก์มีอำนาจแยกฟ้องได้ แต่ตาม ม.41 จะลงโทษกักกันได้ต่อเมื่อจำเลยเคยต้องโทษกักกันมาแล้ว หรือเคยถูกศาลพิพากษาให้จำคุกมาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง และมาทำผิด จำเลยนี้เคยต้องโทษเกิน 6 เดือนครั้งเดียว จึงยังฟ้องให้ลงโทษกักกันจำเลย ไม่ได้ ให้ยกฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสินบนจากราษฎรเพื่อเอื้อประโยชน์ในการตรวจรับรองที่ดิน การแก้ไขโทษทางอาญา
เพียงแต่พยานโจทก์ผู้เสียเงินให้จำเลยประมาณวันเวลาที่จำเลยไปตรวจที่จับจองและเรียกร้องเอาเงินและจำเลยก็รับว่าได้ไปตรวจที่ดินจริงทั้งมีสมุดลงเวลาทำงานเป็นหลักฐานต้องตามวันที่โจทก์ฟ้องดังนี้ยังฟังไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวันเวลาตามทางพิจารณาต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา136 ลงโทษจำคุก 2 ปี ลดตามมาตรา59 ให้ 1 ใน 3 คงจำไว้ 1 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์แก้เฉพาะบทเป็นว่าจำเลยผิดตามมาตรา 138 นอกนั้นยืน ดังนี้ เป็นการแก้น้อย จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสินบนเจ้าพนักงาน: การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาจากเดิมเล็กน้อยและการพิจารณาความแตกต่างของข้อเท็จจริงในฟ้อง
เพียงแต่พยานโจทก์ผู้เสียเงินให้จำเลยประมาณวันเวลาที่จำเลยไปตรวจที่จับจองและเรียกร้องเอาเงิน และจำเลยก็ รับว่าได้ไปตรวจที่ดินจริง ทั้งมีสมุดลงเวลาทำงานเป็นหลักฐานต้องตามวันที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ยังฟังไม่ได้ว่าข้อเท็จจริง เกี่ยวกับวันเวลาตามทางพิจารณาต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 136 ลงโทษจำคุก 2 ปี ลดตามมาตรา 59 ให้ 1 ใน 3 คงจำไว้ 1 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์แก้เฉพาะบทเป็นว่าจำเลยผิดตามมาตรา 138 นอกนั้นยืน ดังนี้ เป็นการแก้น้อย จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 710/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในข้อเท็จจริง & การป้องกันตัวสมควรแก่เหตุ ทำให้ไม่เป็นความผิดอาญา
จำเลยเป็นลูกเลี้ยงผู้ตายอยู่เรือนเดียวกับผู้ตาย คืนเกิดเหตุจำเลยนอนเฝ้าเรือนอยู่คนเดียวที่ระเบียง ส่วนผู้ตายไปเที่ยว สัก 4 น. มีคนจะขึ้นมาบนเรือน จำเลยได้ร้องถามไปคนนั้นก็ไม่ตอบ
จำเลยสำคัญว่าเป็นคนร้ายจะขึ้นมาลักทรัพย์บนเรือนจึงตีไป 2 - 3 ที คนนั้นตกบันไดไป เอาตะเกียงมาส่องดูจึงรู้ว่าเป็นนายทองบิดาเลี้ยง ซึ่งเป็นที่รักของจำเลย จำเลยว่าถ้ารู้ว่าเป็นนายทองก็จะไม่ตี ดั่งนี้ เป็นการสำคัญผิดในข้อเท็จจริงและเป็นการป้องกันตัวและทรัพย์สมควรแก่เหตุ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องไม่ลงโทษจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 710/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในข้อเท็จจริงและการป้องกันทรัพย์สิน: เหตุยกฟ้องจำเลย
จำเลยเป็นลูกเลี้ยงผู้ตายอยู่เรือนเดียวกับผู้ตายคืนเกิดเหตุจำเลยนอนเฝ้าเรือนอยู่คนเดียวที่ระเบียงส่วนผู้ตายไปเที่ยวสัก 4 น.มีคนจะขึ้นมาบนเรือนจำเลยได้ร้องถามไปคนนั้นก็ไม่ตอบจำเลยสำคัญว่าเป็นคนร้ายจะขึ้นมาลักทรัพย์บนเรือนจึงตีไป 2-3 ทีคนนั้นตกบันไดไป เอาตะเกียงมาส่องดูจึงรู้ว่าเป็นนายทองบิดาเลี้ยงซึ่งเป็นที่รักของจำเลย จำเลยว่าถ้ารู้ว่าเป็นนายทองก็จะไม่ตีดั่งนี้เป็นการสำคัญผิดในข้อเท็จจริงและเป็นการป้องกันตัวและทรัพย์สมควรแก่เหตุ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องไม่ลงโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 708/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากบาดแผลและการใช้สันขวานตี ศาลฎีกาตัดสินว่าเจตนาไม่ชัดเจน เพียงฐานฆ่าโดยไม่เจตนา
ใช้ขวานตีศีรษะกระดูกแตกตายในคืนนั้นแต่ไม่ปรากฏว่าขวานใหญ่ขนาดไหน แผลลึกแค่ไหนยังไม่พอแสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างลูกหนี้ร่วมไม่ผูกพันลูกหนี้ที่ไม่ได้ร่วมทำสัญญา และไม่ถือเป็นการแปลงหนี้
การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 - 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยที่ 1 - 2 ยอมใช้ต้นเงิน 100,000 บาทกับดอกเบี้ย ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้เซ็นชื่อกู้เงินนี้จากโจทก์ ร่วมกับจำเลยที่ 1 - 2 นั้น ไม่ทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งต่อสู้คดีไปคนละประเด็นกับจำเลยที่ 1 - 2 พ้นผิด เพราะการทำสัญญาประนีประนอมดังกล่าวเป็นแต่สัญญาระงับข้อพิพาท ไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ ไม่ใช่เป็นการที่ลูกหนี้ร่วมชำระหนี้ และไม่ใช่เป็นการปลดหนี้ เพราะในสัญญาประนีประนอมนั้นมิได้ระบุให้จำเลยที่ 3 พ้นความผิด ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาคดีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมระหว่างลูกหนี้ร่วมไม่ผูกพันลูกหนี้ที่ไม่ได้ร่วมทำสัญญา และไม่ถือเป็นการแปลงหนี้
การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1-2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยที่ 1-2 ยอมใช้ต้นเงิน 100,000 บาท กับดอกเบี้ยซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้เซ็นชื่อกู้เงินนี้จากโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1-2 นั้นไม่ทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งต่อสู้คดีไปคนละประเด็นกับจำเลยที่ 1-2พ้นผิด เพราะการทำสัญญาประนีประนอมดังกล่าวเป็นแต่สัญญาระงับข้อพิพาท ไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ ไม่ใช่เป็นการที่ลูกหนี้ร่วมชำระหนี้ และไม่ใช่เป็นการปลดหนี้เพราะในสัญญาประนีประนอมนั้นมิได้ระบุให้จำเลยที่ 3 พ้นความผิด ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาคดีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรม 2 ฉบับ ข้อความเหมือนกัน ฉบับสมบูรณ์ใช้ได้ แม้ฉบับหนึ่งไม่สมบูรณ์
พินัยกรรมทำขึ้น 2 ฉบับ ข้อความเหมือนกัน ฉบับหนึ่งที่คู่ความนำส่งศาลนั้นทำครบถ้วนตามแบบพินัยกรรมอีกฉบับหนึ่งทำไม่ครบถ้วนถูกต้องและคู่ความอีกฝ่ายก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าฉบับที่ทำถูกต้องนั้นใช้ไม่ได้ ดังนี้ฉบับที่ทำไม่ถูกต้องไม่ทำให้ฉบับที่สมบูรณ์พลอยเสียไปด้วย
of 82