คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิเทศจรรยารักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 817 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินกับคนต่างด้าว: สัญญาซื้อขายสมบูรณ์หากกฎหมายไม่ได้ห้าม เงื่อนไขทางวาจาไม่มีผลบังคับ อายุความครอบครองเป็นปัจจัยสำคัญ
การขายที่ดินให้คนต่างด้าวนั้น พระราชบัญญัติที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว 2486 มิได้ห้ามเด็ดขาดการซื้อขายจึงสมบูรณ์
ข้อตกลงด้วยวาจาว่าถ้าผู้ซื้อแปลงชาติเป็นไทยไม่ได้ผู้ซื้อต้องขายที่ดินคืนให้ผู้ขายนั้น ไม่มีผลบังคับได้
คำร้องขอขายที่ดินมีว่า ถ้าผู้ซื้อเป็นคนต่างด้าวผู้ขายขอถอนคำร้องนั้น ถ้าผู้ขายรู้ความจริงอยู่แล้วขืนทำสัญญาขายไปย่อมเป็นการซื้อขายเด็ดขาด ไม่มีการเพิกถอน
ที่ดินมือเปล่าซึ่งคนต่างด้าวซื้อมา. และครอบครองเกิน 1 ปีคนต่างด้าวย่อมได้สิทธิครอบครองและจำหน่ายที่ดินนั้นได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน 2497 มาตรา94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยการเช่าเพื่อการค้าหรือไม่ พิจารณาตามความเป็นจริง ไม่ใช่เพียงตัวอักษรในสัญญาเช่า
การวินิจฉัยการเช่าว่า เพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อค้านั้น
ศาลพิจารณาตามความเป็นจริง ไม่ใช่พิจารณาเฉพาะตัวอักษรในสัญญาเช่าเท่านั้น เช่าอาคารในย่านตลาด และทำการค้าไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 572/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีอาญา: เหตุผลแห่งความสงสัยต้องสมควรและมีน้ำหนัก
อันประโยชน์แห่งความสงสัยที่จะยกให้เป็นผลดีแก่จำเลยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 นั้นมีหลักอยู่ว่าจะต้องมีเหตุผลอันสมควรที่จะทำให้เกิดความสงสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 572/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีอาญาโดยใช้หลักความสงสัยอันสมควร และการรับฟังพยานหลักฐาน
อันประโยชน์แห่งความสงสัยที่จะยกให้เป็นผลดีแก่จำเลยตาม ป.วิ.อาญา ม.227 นั้น มีหลักอยู่ว่าจะต้องมีเหตุผลอันสมควรที่จะทำให้เกิดความสงสัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 569/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าเพื่ออยู่อาศัย พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ และผลของการระบุเงื่อนไขในสัญญาเช่าเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ธรรมดาโดยหลักกฎหมายธรรมดาศาลต้องวินิจฉัยข้อความตามที่ปรากฏในสัญญาเช่าแต่เมื่อการเช่านั้นจำเลยอ้างว่าเช่าอยู่อาศัยได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯ ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษคุ้มครองการเช่าเคหะเพื่ออยู่อาศัยศาลจึงไม่ต้องแปลข้อความในเอกสารการเช่าเพราะกฎหมายไม่ประสงค์ที่จะให้เลี่ยงพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ ศาลต้องวินิจฉัยตามสภาพที่เป็นจริงแห่งการเช่าว่าเป็นการเช่าเพื่ออยู่อาศัยตามพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯหรือไม่เท่านั้น
เมื่อโจทก์รับว่าจำเลยอยู่อาศัยดังนี้ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้แล้ว ไม่ต้องสืบพยานต่อไป การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยสืบพยานต่อไปได้คำสั่งเช่นนี้จะเป็นการขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87-88 หรือไม่นั้น ก็ไม่ทำให้โจทก์ชนะคดีได้ ฎีกาโจทก์ข้อนี้ จึงเป็นข้ออ้างที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรต้องวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242(1) และ 147 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 5) มาตรา 22 และ 24
การที่ผู้ให้เช่าพิมพ์ข้อความกล่าวอ้างความยินยอมของผู้เช่าที่จะออกจากห้องเช่าของโจทก์ไว้ล่วงหน้าในสัญญาเช่า เป็นการผูกมัดผู้เช่าเพื่อเลี่ยง พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯจึงไม่ใช่ความยินยอมของผู้เช่าตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ 2489 มาตรา16(5)
เมื่อจำเลยดำเนินคดีเองจึงไม่มีค่าทนายที่โจทก์ควรจะต้องใช้แทนจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้เช่าช่วงและการบังคับคดีต่อผู้เช่าช่วงที่ไม่ใช่บริวารของผู้เช่าเดิม
แม้สัญญาเช่าที่ดินจะห้ามมิให้เช่าช่วง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรก็ดีถ้าผู้ให้เช่ายินยอมให้เช่าช่วงได้แม้ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ก็ต้องถือว่าผู้ให้เช่ายินยอม
ผู้ให้เช่าที่ดินยินยอมให้เช่าช่วงที่ดิน ผู้เช่าช่วงปลูกเรือนให้เช่าผู้เช่าเรือนไม่ใช่บริวารของผู้เช่าที่ดินผู้ให้เช่าฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมแล้วจะขอให้ศาลบังคับตลอดถึงผู้เช่าเรือนโดยมิได้ฟ้องผู้เช่าช่วงที่ดินด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายวิธีพิจารณาคดีและการบังคับใช้กับคดีที่ฟ้องร้องไว้แล้ว
แม้ขณะที่ฟ้องคดีศาลชั้นต้นกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งใช้อยู่ขณะนั้นจะให้อำนาจคู่ความฎีกาได้เพราะทุนทรัพย์ถึง4,000 บาท แต่ถ้าหากต่อมาเมื่อคดีนั้นจะฎีกา มีกฎหมายแก้ไขทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาให้มากขึ้น โดยกำหนดว่าถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในข้อเท็จจริง ทุนทรัพย์ต้องเกิน 5,000 บาท จึงจะฎีกาได้ก็ต้องถือเอาตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เพราะกฎหมายอันเกี่ยวด้วยระเบียบวิธีพิจารณานั้นบังคับได้ทันที

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีนอกเหนือจากคำพิพากษาเดิม ศาลไม่อาจบังคับได้ แม้คู่กรณีคืนทรัพย์สินบางส่วน
ภรรยาโจทก์และจำเลยแลกเปลี่ยนที่ดินโดยทำนิติกรรมยกให้ซึ่งกันและกัน โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย ซึ่งในที่สุดศาลพิพากษาว่าเป็นโมฆะและให้จำเลยคืนที่ดินนั้นให้โจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลพิพากษาเฉพาะเพียงเท่านี้จำเลยจะมาร้องในคดีเดิมขอให้ศาลบังคับโจทก์ให้คืนที่ดินที่แลกเปลี่ยนนั้นแก่จำเลยเพื่อให้คืนสู่ฐานะเดิมหาได้ไม่เพราะเป็นอีกคดีหนึ่งซึ่งจำเลยมิได้ฟ้องร้องเป็นคดีขึ้นมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีนอกเหนือจากคำพิพากษาเดิม ศาลไม่อาจบังคับได้ จำเลยต้องฟ้องเป็นคดีใหม่
ภรรยาโจทก์และจำเลยแลกเปลี่ยนที่ดินโดยทำนิติกรรมยกให้ซึ่งกันและกัน โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย ซึ่งในที่สุดศาลพิพากษาว่าเป็นโมฆะและให้จำเลยคืนที่ดินนั้นให้โจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลพิพากษาฉะเพาะเพียงเท่านี้ จำเลยจะมาร้องในคดีเดิมขอให้ศาลบังคับโจทก์ให้คืนที่ดินที่แลกเปลี่ยนนั้นแก่จำเลยเพื่อให้คืนสู่ฐานะเดิมหาได้ไม่ เพราะเป็นอีกคดีหนึ่งซึ่งจำเลยมิได้ฟ้องร้องเป็นคดีขึ้นมา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องร้องต้องเกิดจากการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างคู่ความ การขอให้แบ่งแยกที่ดินของตนเองมิใช่เรื่องที่จำเลยต้องเกี่ยวข้อง
สิทธิการฟ้องร้อง
โจทก์ต้องการจะแบ่งแยกที่ดินส่วนหนึ่งซึ่งศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่าเป็นของจำเลย. ออกไปเสียจากโฉนดของโจทก์ก็เป็นเรื่องของโจทก์เองไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับจำเลยคดีของโจทก์ยังไม่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างโจทก์จำเลย โจทก์ยังไม่มีสิทธิที่จะมาฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
of 82