พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ครูใช้อำนาจทางตำแหน่งกระทำอนาจารและข่มขืนนักเรียนในความดูแล ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277, 279
คืนเกิดเหตุมีการจัดงานในโรงเรียน การที่จำเลยซึ่งเป็นครูประจำชั้นจูงมือผู้เสียหายอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปต่อหน้าบิดาผู้เสียหายและคนอื่นเป็นการใช้อำนาจของครูต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นศิษย์ แม้จะกระทำต่อหน้าศิษย์นอกเวลาเรียนก็ถือว่าศิษย์นั้นอยู่ในความดูแล แล้วจำเลยกระทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสองและ มาตรา 279 วรรคสองประกอบมาตรา 285 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 277 วรรคสองประกอบมาตรา 285 อันเป็นบทที่โทษหนักที่สุดตามมาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนลูกเลี้ยง: ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 285 ไม่ครอบคลุม & การระงับคดีอาญาจากผู้เสียหาย
การข่มขืนกระทำชำเราลูกเลี้ยงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำชำเราแก่ผู้สืบสันดานและผู้อยู่ในความปกครองตาม ป.อ. มาตรา 285 ผู้อยู่ในความปกครองตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องหมายถึงผู้อยู่ในความปกครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้เสียหายเป็นเพียงลูกเลี้ยงของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามกฎหมายไม่ได้อยู่ในความปกครองของจำเลยที่ 1 และผู้เสียหายไม่ใช่ผู้สืบสันดานของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราแก่ผู้สืบสันดานและผู้อยู่ในความปกครองตาม ป.อ. มาตรา 285 คงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11981/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษอาญาโดยศาลอุทธรณ์ และข้อจำกัดในการฎีกาเกี่ยวกับดุลพินิจลงโทษ
ป.อ. มาตรา 285 เป็นเหตุฉกรรจ์หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก ประกอบมาตรา 285เป็นลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก แม้จะแก้โทษด้วยก็เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8595/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามข่มขืนกระทำชำเรา: การพิเคราะห์ความสัมพันธ์ 'ผู้อยู่ในความปกครอง' และการรับฟังพยานหลักฐาน
ผู้เสียหายมิใช่ผู้สืบสันดานตามความเป็นจริงของจำเลย และคำว่า "ผู้อยู่ใต้อำนาจปกครอง" ตาม ป.อ. มาตรา 285 หมายถึง ความปกครองตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิใช่ตามพฤตินัย การที่จำเลยและภริยารับผู้เสียหายมาอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษา ผู้เสียหายมิได้อยู่ในความปกครองของจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่จำเลยพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งเป็นลูกเลี้ยง จึงไม่เป็นความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราแก่ผู้อยู่ในความปกครองตาม ป.อ. มาตรา 285
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9890/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ครูทำอนาจารนักเรียนในความดูแล ศาลตัดสินผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 ประกอบ 285
จำเลยเป็นครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์ในสายชั้นเรียนให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยใช้ผู้เสียหายให้นำผ้าไปซักในห้องน้ำเกิดเหตุ เป็นที่เห็นได้ว่าขณะนั้นผู้เสียหายเป็นศิษย์อยู่ในความดูแลของจำเลย ทั้งต้องเชื่อฟังจำเลยด้วย เมื่อจำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายในขณะนั้น จำเลยจึงต้องมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคแรก ประกอบมาตรา 285
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยในฐานะเจ้าอาวาสและประธานมูลนิธิ
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าอาวาสวัด ส. และเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของคณะกรรมการมูลนิธิ ห. กับเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิดังกล่าว เมื่อมูลนิธิมีวัตถุประสงค์เผยแผ่พระพุทธศาสนาและรับเด็กยากจนมาอาศัยอยู่ที่วัด ส. เพื่อส่งเสียให้ได้รับการศึกษา การอบรมให้เด็กเหล่านั้นประพฤติอยู่ในศีลธรรมอันดีตามหลักพุทธศาสนาและตั้งใจศึกษาเล่าเรียนย่อมอยู่ในวัตถุประสงค์ของมูลนิธิด้วย แม้การเงินของมูลนิธิแยกออกจากวัดเพราะมีฐานะป็นนิติบุคคลแตกต่างกัน แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะประธานกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิย่อมต้องอบรมสั่งสอนผู้เสียหายทั้งแปดซึ่งอยู่ในความดูแลของตนให้ปฏิบัติดีเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นั้นมิให้เงินที่ผู้บริจาคเพื่อการศึกษาของเด็กยากจนสิ้นเปลืองเปล่า เมื่อมูลนิธิมาก่อตั้งภายในอาณาเขตวัด ส. เด็กๆ รวมทั้งผู้เสียหายทั้งแปดย่อมต้องเชื่อฟังจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าอาวาสวัด ส. ดังเช่นที่เป็นศิษย์วัดอีกสถานหนึ่ง กล่าวได้ว่า จำเลยที่ 1 ดูแลผู้เสียหายทั้งแปดในฐานะเป็นครูอาจารย์ดูแลนักเรียนในปกครองกับฐานะเจ้าอาวาสดูแลศิษย์ไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 8 จึงเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความปกครองดูแลของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงในความดูแลของเจ้าอาวาสและประธานมูลนิธิ: ศาลฎีกายืนโทษจำเลย
ขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าอาวาสและเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของคณะกรรมการมูลนิธิซึ่งมีวัตถุประสงค์เผยแผ่พระพุทธศาสนาและรับเด็กยากจนมาอาศัยอยู่ที่วัดเพื่อส่งเสียให้ได้รับการศึกษา ดังนั้น การอบรมให้เด็กเหล่านั้นประพฤติอยู่ในศีลธรรมอันดีตามหลักพุทธศาสนาและตั้งใจศึกษาเล่าเรียนย่อมอยู่ในวัตถุที่ประสงค์ของมูลนิธิด้วย แม้ด้านการเงินของมูลนิธิแยกออกจากวัดเพราะมีฐานะเป็นนิติบุคคลแตกต่างกัน แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะประธานกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิย่อมต้องอบรมสั่งสอนผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเด็กหญิงชาวเขาที่จำเลยที่ 1 รับมาอยู่ในความดูแลของตนที่วัดให้ปฏิบัติดีเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นั้น ทั้งมูลนิธิก็ตั้งอยู่ในอาณาเขตของวัด ผู้เสียหายย่อมต้องเชื่อฟังจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าอาวาสดังเช่นที่เป็นศิษย์วัดอีกสถานหนึ่ง เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ดูแลผู้เสียหายในฐานะเป็นครูอาจารย์ดูแลเด็กนักเรียนในปกครองกับในฐานะเจ้าอาวาสดูแลศิษย์ไปพร้อมๆ กัน การที่จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหาย ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำต่อศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพยายามกระทำชำเราเด็กหญิงซึ่งอยู่ในความดูแลตามหน้าที่ราชการ พยานหลักฐานน้ำหนักเพียงพอ
การรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยมีความผิดหรือบริสุทธิ์เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการตามที่เห็นสมควร เมื่อโจทก์เห็นว่าพยานหลักฐานในสำนวนนี้มีน้ำหนักเพียงพอที่จะลงโทษจำเลย การที่โจทก์ไม่สั่งให้พนักงานสอบสวนสอบปากคำเด็กหญิง ส. และเด็กหญิง น. ไว้เป็นพยานและนำมาเบิกความต่อศาลจึงไม่เป็นพิรุธแต่ประการใด
การที่จำเลยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยครูใหญ่ จำเลยย่อมมีหน้าที่ปกครองดูแลผู้เสียหายซึ่งเป็นศิษย์ของจำเลย เมื่อจำเลยพยายามกระทำชำเราผู้เสียหายจำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 80, 277 วรรคสอง (เดิม), 284 วรรคแรก, 285
การที่จำเลยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยครูใหญ่ จำเลยย่อมมีหน้าที่ปกครองดูแลผู้เสียหายซึ่งเป็นศิษย์ของจำเลย เมื่อจำเลยพยายามกระทำชำเราผู้เสียหายจำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 80, 277 วรรคสอง (เดิม), 284 วรรคแรก, 285
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาประเด็นใหม่ & การลงโทษตามมาตรา 277/285 ไม่ถือเป็นการเพิ่มโทษ
คดีนี้จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาเพียงประการเดียว การกระทำความผิดตามฟ้องของจำเลยเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยที่ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
การกระทำความผิดของจำเลยต้องตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ประกอบมาตรา 285 ซึ่งตามมาตรา 285 เป็นเรื่องที่ต้องวางโทษจำเลยหนักกว่าโทษที่บัญญัติไว้ในมาตรา 277 วรรคสอง หนึ่งในสาม จึงหาใช้เป็นเรื่องการเพิ่มโทษไม่ กรณีไม่อาจนำ ป.อ. มาตรา 54 มาปรับแก่คดีนี้ได้
การกระทำความผิดของจำเลยต้องตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ประกอบมาตรา 285 ซึ่งตามมาตรา 285 เป็นเรื่องที่ต้องวางโทษจำเลยหนักกว่าโทษที่บัญญัติไว้ในมาตรา 277 วรรคสอง หนึ่งในสาม จึงหาใช้เป็นเรื่องการเพิ่มโทษไม่ กรณีไม่อาจนำ ป.อ. มาตรา 54 มาปรับแก่คดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราศิษย์: การพิสูจน์ความสัมพันธ์ 'ศิษย์' และผลกระทบต่อการลงโทษ
ความหมายของคำว่า "ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล" ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 285 มิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ซึ่งมีหน้าที่สอนศิษย์เท่านั้นแต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย เมื่อจำเลยเป็นเพียงครูหรืออาจารย์ในการสอนกวดวิชา ซึ่งผู้สมัครเรียนชำระค่าสมัครแล้วจะไปเรียนหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความสนใจที่จะใฝ่หาความรู้ อีกทั้งไม่ได้ความว่าสถาบันกวดวิชาของจำเลยมีระเบียบหรือข้อเคร่งครัดอย่างใด แสดงว่าจำเลยไม่มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์ตลอดระยะเวลาที่ทำการสอน ดังนั้น แม้จำเลยจะข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 2 ก็มิใช่การกระทำต่อศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยอันจะทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 หากแต่เป็นความผิดตามมาตรา 276 วรรคแรก และมิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมที่ 2รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย จึงเป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 281เมื่อโจทก์ร่วมทั้งสองถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลชั้นต้น แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งคำร้องดังกล่าวแต่เมื่อพิจารณารายงานกระบวนพิจารณาแล้ว พออนุมานได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมทั้งสองถอนคำร้องทุกข์แล้ว จึงมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)