พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2856/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทตัวการตัวแทน, อายุความ, การรับฟังพยานหลักฐาน, ความเสียหายจากการไม่ส่งมอบหุ้น
แม้โจทก์จะอ้างพยานหลักฐานฝ่าฝืนต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคแรก แต่จำเลยก็ไม่เสียเปรียบในเชิงคดีทั้ง มาตรา 87 (2) ให้ศาล มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตรา 90 ได้ ในกรณีที่ศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 เป็นบทบังคับเพื่อความสมบูรณ์ของสัญญาที่ตัวแทนทำต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น มิได้ใช้บังคับสำหรับข้อพิพาทระหว่างตัวการกับตัวแทน มูลหนี้ตามสัญญาตัวแทนจึงไม่ตกอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าวเมื่อโจทก์เป็นตัวแทนจำเลยในการขายหุ้นจำเลยซึ่งเป็นตัวการจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในการจัดทำกิจการที่จำเลยมอบหมายแม้การตั้งตัวแทนระหว่างจำเลยกับโจทก์จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ตาม
ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้สมาชิกถือปฏิบัติ หากสมาชิกใดฝ่าฝืนก็อาจถูกลงโทษตามข้อบังคับดังกล่าวแต่ไม่ทำให้ความผูกพันระหว่างจำเลยกับโจทก์ในฐานะตัวการกับตัวแทนเสียไป
จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งมอบหุ้นที่จำเลยสั่งขายให้แก่โจทก์เพื่อส่งมอบแก่ผู้ซื้อภายใน 4 วัน แต่จำเลยไม่ส่งมอบให้ โจทก์จึงต้องเอาหุ้นที่โจทก์มีอยู่ในครอบครองส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อแล้วซื้อหุ้นใหม่มาทดแทนพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนต้องเสียหายเนื่องจากการขายหุ้นตามคำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นตัวการ โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ และความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเมื่อชำระหนี้แทนจำเลย จึงต้องคิดค่าเสียหายตามราคาหุ้นในวันที่โจทก์มอบหุ้นให้แก่ผู้ซื้อ จะถือตามราคาหุ้นในวันที่โจทก์ซื้อหุ้นใหม่มาทดแทนหาได้ไม่
โจทก์มิใช่เป็นพ่อค้าตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) หรือ (7) แต่โจทก์เป็นตัวแทนเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยซึ่งเป็นตัวการตามมาตรา 816 วรรคท้าย ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดระยะเวลาให้ใช้บังคับสิทธิเรียกร้องไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ10 ปี ตามมาตรา 164
แม้ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเป็นเหตุให้จำเลยไม่ได้ถามค้าน ส. พยานโจทก์ แต่จำเลยก็ได้อ้างและนำส. เข้าเบิกความเป็นพยานจำเลย ทั้งเอกสารที่จำเลยประสงค์จะถามค้านก็มิใช่เอกสารสำคัญในการวินิจฉัยคดี จึงไม่จำเป็นต้องให้โอกาสจำเลยถามค้าน ส. อีก
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 เป็นบทบังคับเพื่อความสมบูรณ์ของสัญญาที่ตัวแทนทำต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น มิได้ใช้บังคับสำหรับข้อพิพาทระหว่างตัวการกับตัวแทน มูลหนี้ตามสัญญาตัวแทนจึงไม่ตกอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าวเมื่อโจทก์เป็นตัวแทนจำเลยในการขายหุ้นจำเลยซึ่งเป็นตัวการจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในการจัดทำกิจการที่จำเลยมอบหมายแม้การตั้งตัวแทนระหว่างจำเลยกับโจทก์จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ตาม
ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้สมาชิกถือปฏิบัติ หากสมาชิกใดฝ่าฝืนก็อาจถูกลงโทษตามข้อบังคับดังกล่าวแต่ไม่ทำให้ความผูกพันระหว่างจำเลยกับโจทก์ในฐานะตัวการกับตัวแทนเสียไป
จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งมอบหุ้นที่จำเลยสั่งขายให้แก่โจทก์เพื่อส่งมอบแก่ผู้ซื้อภายใน 4 วัน แต่จำเลยไม่ส่งมอบให้ โจทก์จึงต้องเอาหุ้นที่โจทก์มีอยู่ในครอบครองส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อแล้วซื้อหุ้นใหม่มาทดแทนพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนต้องเสียหายเนื่องจากการขายหุ้นตามคำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นตัวการ โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ และความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเมื่อชำระหนี้แทนจำเลย จึงต้องคิดค่าเสียหายตามราคาหุ้นในวันที่โจทก์มอบหุ้นให้แก่ผู้ซื้อ จะถือตามราคาหุ้นในวันที่โจทก์ซื้อหุ้นใหม่มาทดแทนหาได้ไม่
โจทก์มิใช่เป็นพ่อค้าตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) หรือ (7) แต่โจทก์เป็นตัวแทนเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยซึ่งเป็นตัวการตามมาตรา 816 วรรคท้าย ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดระยะเวลาให้ใช้บังคับสิทธิเรียกร้องไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ10 ปี ตามมาตรา 164
แม้ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเป็นเหตุให้จำเลยไม่ได้ถามค้าน ส. พยานโจทก์ แต่จำเลยก็ได้อ้างและนำส. เข้าเบิกความเป็นพยานจำเลย ทั้งเอกสารที่จำเลยประสงค์จะถามค้านก็มิใช่เอกสารสำคัญในการวินิจฉัยคดี จึงไม่จำเป็นต้องให้โอกาสจำเลยถามค้าน ส. อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2856/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง, สัญญาตัวแทน, ค่าเสียหายจากการไม่ส่งมอบหุ้น, และอายุความ
แม้โจทก์จะอ้างพยานหลักฐานฝ่าฝืนต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 วรรคแรก แต่จำเลยก็ไม่เสียเปรียบในเชิงคดีทั้ง มาตรา 87(2) ให้ศาล มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตรา 90 ได้ ในกรณีที่ศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 เป็นบทบังคับเพื่อความสมบูรณ์ของสัญญาที่ตัวแทนทำต่อบุคคลภายนอกเท่านั้นมิได้ใช้บังคับสำหรับข้อพิพาทระหว่างตัวการกับตัวแทนมูลหนี้ตามสัญญาตัวแทนจึงไม่ตกอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าวเมื่อโจทก์เป็นตัวแทนจำเลยในการขายหุ้นจำเลยซึ่งเป็นตัวการจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในการจัดทำกิจการที่จำเลยมอบหมาย แม้การตั้งตัวแทนระหว่างจำเลยกับโจทก์จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ตาม ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้สมาชิกถือปฏิบัติ หากสมาชิกใดฝ่าฝืนก็อาจถูกลงโทษตามข้อบังคับดังกล่าวแต่ไม่ทำให้ความผูกพันระหว่างจำเลยกับโจทก์ในฐานะตัวการกับตัวแทนเสียไป จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งมอบหุ้นที่จำเลยสั่งขายให้แก่โจทก์เพื่อส่งมอบแก่ผู้ซื้อภายใน 4 วัน แต่จำเลยไม่ส่งมอบให้ โจทก์จึงต้องเอาหุ้นที่โจทก์มีอยู่ในครอบครองส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อแล้วซื้อหุ้นใหม่มาทดแทนพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนต้องเสียหายเนื่องจากการขายหุ้นตามคำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นตัวการ โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ และความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเมื่อชำระหนี้แทนจำเลย จึงต้องคิดค่าเสียหายตามราคาหุ้นในวันที่โจทก์มอบหุ้นให้แก่ผู้ซื้อ จะถือตามราคาหุ้นในวันที่โจทก์ซื้อหุ้นใหม่มาทดแทนหาได้ไม่ โจทก์มิใช่เป็นพ่อค้าตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) หรือ (7) แต่โจทก์เป็นตัวแทนเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยซึ่งเป็นตัวการตามมาตรา 816 วรรคท้าย ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดระยะเวลาให้ใช้บังคับสิทธิเรียกร้องไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ10 ปี ตามมาตรา 164 แม้ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเป็นเหตุให้จำเลยไม่ได้ถามค้าน ส. พยานโจทก์ แต่จำเลยก็ได้อ้างและนำส. เข้าเบิกความเป็นพยานจำเลย ทั้งเอกสารที่จำเลยประสงค์จะถามค้านก็มิใช่เอกสารสำคัญในการวินิจฉัยคดี จึงไม่จำเป็นต้องให้โอกาสจำเลยถามค้าน ส. อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การละเมิดสิทธิลูกจ้าง และการคำนวณค่าชดเชย
แม้การลงหมายเลขสมาชิกสหกรณ์ในใบเสร็จรับเงินสด จะมีผลให้พี่สาวโจทก์เจ้าของหมายเลขสมาชิกได้รับเงินปันผล หรือเงินเฉลี่ยคืน แต่เงินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินของบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินนี้ เพราะไม่ได้เป็นสมาชิกสหกรณ์ ของที่ซื้อจากร้านสหกรณ์ก็ได้นำไปใช้ในบริษัทจำเลยทั้งสิ้น ไม่มีผู้ใดนำไปใช้ส่วนตัว ทั้งมีราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไปไม่ทำให้ บริษัทจำเลยเสียหายจากการซื้อสินค้านั้น ดังนั้น การที่บริษัทจำเลย ให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างนั้นหาเป็นการละเมิดตามกฎหมายไม่ หากแต่เป็นสิทธิของนายจ้างที่จะกระทำได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 การกระทำละเมิดอันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงานนั้นต้องสืบเนื่องมาจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน คดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำการอย่างใดอันจะเป็นการละเมิดเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ ฉะนั้น ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 8(5) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ
จำเลยอุทธรณ์เรื่องจำนวนค่าชดเชยว่าคำนวณไม่ถูกต้อง ข้ออุทธรณ์นี้จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้ว และศาลก็ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าชดเชยหรือไม่เพียงใด แต่ศาลแรงงานกลางมิได้หยิบยกขึ้นพิจารณาและการคำนวณค่าชดเชยนั้นยังโต้เถียงกันอยู่ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้แล้ว พิพากษาใหม่ตามรูปคดี
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างนั้นหาเป็นการละเมิดตามกฎหมายไม่ หากแต่เป็นสิทธิของนายจ้างที่จะกระทำได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 การกระทำละเมิดอันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงานนั้นต้องสืบเนื่องมาจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน คดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำการอย่างใดอันจะเป็นการละเมิดเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ ฉะนั้น ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 8(5) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ
จำเลยอุทธรณ์เรื่องจำนวนค่าชดเชยว่าคำนวณไม่ถูกต้อง ข้ออุทธรณ์นี้จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้ว และศาลก็ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าชดเชยหรือไม่เพียงใด แต่ศาลแรงงานกลางมิได้หยิบยกขึ้นพิจารณาและการคำนวณค่าชดเชยนั้นยังโต้เถียงกันอยู่ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้แล้ว พิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการพิจารณาค่าชดเชย: การกระทำที่ไม่เข้าข่ายละเมิดและอำนาจศาลแรงงาน
แม้การลงหมายเลขสมาชิกสหกรณ์ในใบเสร็จรับเงินสด จะมีผลให้พี่สาวโจทก์เจ้าของหมายเลขสมาชิกได้รับเงินปันผล หรือเงินเฉลี่ยคืนแต่เงินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินของบริษัทจำเลยบริษัทจำเลยไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินนี้เพราะไม่ได้เป็นสมาชิกสหกรณ์ ของที่ซื้อจากร้านสหกรณ์ก็ได้นำไปใช้ในบริษัทจำเลยทั้งสิ้น ไม่มีผู้ใดนำไปใช้ส่วนตัวทั้งมีราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไปไม่ทำให้ บริษัทจำเลยเสียหายจากการซื้อสินค้านั้นดังนั้นการที่บริษัทจำเลย ให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม การที่นายจ้างเลิกจ้างนั้นหาเป็นการละเมิดตามกฎหมายไม่หากแต่เป็นสิทธิของนายจ้างที่จะกระทำได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 การกระทำละเมิด อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงานนั้นต้องสืบเนื่อง มาจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน คดีนี้ไม่ ปรากฏว่าจำเลยกระทำการอย่างใดอันจะเป็นการละเมิดเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ฉะนั้นศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 8(5) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ จำเลยอุทธรณ์เรื่องจำนวนค่าชดเชยว่าคำนวณไม่ถูกต้องข้ออุทธรณ์นี้จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้วและศาลก็ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าชดเชยหรือไม่เพียงใด แต่ศาลแรงงานกลาง มิได้หยิบยกขึ้นพิจารณาและการคำนวณค่าชดเชยนั้นยังโต้เถียงกันอยู่ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้แล้ว พิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 323/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาอุทธรณ์ให้คู่ความที่ไม่ถูกต้อง และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ผู้ร้องที่ 3 ที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดกแล้วผู้ร้องที่ 3 ที่ 4 ได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องนั้น ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตและพิจารณาต่อมาเฉพาะคดีเกี่ยวกับผู้จัดการมรดกยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งผู้รองที่ 1 ที่ 2 ยื่นคำแถลงคัดค้าน ผู้ร้องที่ 3 ที่ 4 ซึ่งมิได้เป็นผู้คัดค้านจึงมิใช่คู่ความในคดีเกี่ยวกับคำร้องนี้ เมื่อผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้จัดการมรดกลาออกจากตำแหน่งได้ ผู้ร้องที่ 3 ที่ 4 จึงมิใช่จำเลยอุทธรณ์ แต่ผู้จัดการมรดกเท่านั้นที่เป็นจำเลยอุทธรณ์ ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของผู้ร้องแก่ผู้ร้องที่ 3 ที่ 4 โดยมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้ผู้จัดการมรดก และศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีมาโดยมิได้สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อนนั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณา ตามมาตรา 247 ประกอบด้วยมาตรา 243(2) ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นส่งสำเนาอุทธรณ์ให้ผู้จัดการมรดกแล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 323/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาคำอุทธรณ์ให้คู่ความที่ไม่ใช่จำเลยอุทธรณ์ เป็นเหตุให้ศาลอุทธรณ์ไม่ปฏิบัติตามวิธีพิจารณาความแพ่ง
ผู้ร้องที่ 3 ที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดกแล้วผู้ร้องที่ 3 ที่ 4 ได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องนั้น ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตและพิจารณาต่อมาเฉพาะคดีเกี่ยวกับผู้จัดการมรดกยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งผู้รองที่ 1ที่ 2 ยื่นคำแถลงคัดค้าน ผู้ร้องที่ 3 ที่ 4 ซึ่งมิได้เป็นผู้คัดค้านจึงมิใช่คู่ความในคดีเกี่ยวกับคำร้องนี้เมื่อผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้จัดการมรดกลาออกจากตำแหน่งได้ผู้ร้องที่ 3 ที่ 4 จึงมิใช่จำเลยอุทธรณ์ แต่ผู้จัดการมรดกเท่านั้นที่เป็นจำเลยอุทธรณ์ ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของผู้ร้องแก่ผู้ร้องที่ 3 ที่ 4 โดยมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้ผู้จัดการมรดก และศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีมาโดยมิได้สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อนนั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณา ตามมาตรา 247ประกอบด้วยมาตรา 243(2) ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นส่งสำเนาอุทธรณ์ให้ผู้จัดการมรดกแล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง: จำเลยต้องพิสูจน์สถานะตัวแทน และข้อเท็จจริงการประพฤติชั่วร้ายแรงตามกฎข้อบังคับ
จำเลยเพียงให้การว่าโจทก์ปิดประกาศข้อความโดยมีเจตนาที่จะให้ อ. ผู้จัดการโรงงานซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบว่า อ. เป็นตัวแทนของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยต่างไม่ติดใจสืบพยานและข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่า อ. เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลยเท่านั้น ไม่ได้ความว่าได้รับมอบหมายให้กระทำการหรือมีอำนาจหน้าที่อย่างใด บ้างอันจะถือว่าเป็นตัวแทนของจำเลย ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าอ. เป็นตัวแทนของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบและถึงแม้อ. จะเป็นตัวแทนของจำเลย ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับอ. เท่านั้น แต่เมื่อจำเลยให้การไว้ด้วยว่าการกระทำของโจทก์เป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงเป็นความผิดตามข้อบังคับของโจทก์ด้วย จำเลยจึงอาจเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ และศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาปัญหาดังกล่าวแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318-329/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินไม่มีโฉนด การครอบครองก่อน/หลัง พ.ร.บ.ที่ดิน และการแย่งการครอบครองที่ดินของรัฐ
ที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์โจทก์และจำเลยจึงอาจมีได้แต่สิทธิครอบครองที่ดินเมื่อโจทก์ได้เข้าครอบครองที่พิพาทภายหลังประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับแล้ว จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ส่วนจำเลยแม้จะครอบครองที่พิพาทมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ แต่ จำเลยก็หาได้แจ้งการครอบครองภายในกำหนดเวลาตามที่พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน ฯ มาตรา 5 บัญญัติไว้ไม่ โจทก์และจำเลยจึงต่างไม่มีกรรมสิทธิ์และ สิทธิครอบครองในที่พิพาทโดยชอบดังนั้น แม้โจทก์จะแย่ง การครอบครองที่พิพาทจากจำเลยเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว ก็ เป็นการเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับ อนุญาต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินเป็นของโจทก์ คงมีอำนาจฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนเท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาทจำเลยต่อสู้ว่ารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งให้ออกหลักฐานสิทธิครอบครองที่พิพาทแก่จำเลย หาก ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยต่อสู้ จำเลยอาจมี สิทธิครอบครองที่พิพาทดีกว่าโจทก์โดยการที่รัฐจัดที่ดิน ให้แก่จำเลยตามกฎหมาย จึงชอบที่จะฟังข้อเท็จจริงไป ก่อนหาควรด่วนงดสืบพยานไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาทจำเลยต่อสู้ว่ารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งให้ออกหลักฐานสิทธิครอบครองที่พิพาทแก่จำเลย หาก ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยต่อสู้ จำเลยอาจมี สิทธิครอบครองที่พิพาทดีกว่าโจทก์โดยการที่รัฐจัดที่ดิน ให้แก่จำเลยตามกฎหมาย จึงชอบที่จะฟังข้อเท็จจริงไป ก่อนหาควรด่วนงดสืบพยานไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318-329/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินไม่มีโฉนด: การครอบครองก่อน/หลัง พ.ร.บ.ที่ดิน และผลของการยึดถือที่ดินของรัฐ
ที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์และจำเลยจึงอาจมีได้แต่สิทธิครอบครองที่ดิน เมื่อโจทก์ได้เข้าครอบครองที่พิพาทภายหลังประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับแล้วจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ส่วนจำเลยแม้จะครอบครองที่พิพาทมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ แต่จำเลยก็หาได้แจ้งการครอบครองภายในกำหนดเวลาตามที่พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน ฯ มาตรา 5 บัญญัติไว้ไม่ โจทก์และจำเลยจึงต่างไม่มีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่พิพาทโดยชอบดังนั้น แม้โจทก์จะแย่งการครอบครองที่พิพาทจากจำเลยเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว ก็เป็นการเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิได้รับอนุญาต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินเป็นของโจทก์ คงมีอำนาจฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนเท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาท จำเลยต่อสู้ว่ารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งให้ออกหลักฐานสิทธิครอบครองที่พิพาทแก่จำเลย หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยต่อสู้ จำเลยอาจมีสิทธิครอบครองที่พิพาทดีกว่าโจทก์โดยการที่รัฐจัดที่ดิน ให้แก่จำเลยตามกฎหมาย จึงชอบที่จะฟังข้อเท็จจริงไปก่อนหาควรด่วนงดสืบพยานไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาท จำเลยต่อสู้ว่ารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งให้ออกหลักฐานสิทธิครอบครองที่พิพาทแก่จำเลย หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยต่อสู้ จำเลยอาจมีสิทธิครอบครองที่พิพาทดีกว่าโจทก์โดยการที่รัฐจัดที่ดิน ให้แก่จำเลยตามกฎหมาย จึงชอบที่จะฟังข้อเท็จจริงไปก่อนหาควรด่วนงดสืบพยานไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์อนุญาตอ้างพยานเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ และเหตุสมควรในการไม่อนุญาต
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(2) ประกอบด้วยมาตรา 88 วรรคสาม ศาลอุทธรณ์มีอำนาจอนุญาตให้คู่ความอ้างพยานเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ได้