คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 165 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาประกันภัย: การผิดสัญญาชำระเบี้ยประกันและสิทธิเรียกร้องค่าเคลมคืน
เดิมบริษัทประกันภัยโจทก์ได้ฟ้องจำเลยให้ชำระเบี้ยประกันภัยศาลฎีกาพิพากษาว่าตามเงื่อนไขท้ายสัญญาประกันภัย มิใช่ให้โจทก์เรียกเบี้ยประกันภัยระหว่างที่พักกรมธรรม์นั้นได้ แต่ให้อำนาจเพียงที่จะเรียกร้องเงินค่าเคลมคืนเท่านั้น(ค่าเคลมคือค่าเสียหายที่บริษัทประกันภัยชดใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปตามกรมธรรม์ประกันภัย) จึงพิพากษายกฟ้องบริษัทประกันภัยโจทก์มาฟ้องคดีนี้ ขอให้จำเลยชำระเงินค่าเคลมคืนตามเงื่อนไขในท้ายสัญญาประกันภัยได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะคดีแรกกับคดีนี้เป็นประเด็นคนละเรื่องกัน
เงื่อนไขแนบกรมธรรม์สัญญาประกันภัยมีว่า "กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ต้องชำระเบี้ยประกันให้กับบริษัทครบอายุ 1 ปีแต่ทางบริษัทอนุโลมให้ผ่อนชำระเบี้ยประกันได้ ทั้งนี้ต้องชำระเบี้ยประกันทุกๆ งวดโดยไม่มีการพักกรมธรรม์ หากผู้เอาประกันไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้ ผู้เอาประกันภัยยินดีจะให้เรียกร้องเงินค่าเคลมซึ่งบริษัทได้จ่ายไปนั้นๆทั้งหมด" นั้น เป็นการทำสัญญาประกันภัยมีกำหนด 1 ปี จำเลยส่งเบี้ยประกันเพียง 29 งวด ไม่ได้ส่งจนครบอายุ 1 ปีจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องรับผิดคืนเงินค่าเคลมที่บริษัทโจทก์จ่ายไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
โจทก์เป็นบริษัทรับประกันภัย ไม่ได้ทำการค้าขายอย่างใดไม่ใช่พ่อค้า การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินค่าเคลมที่จ่ายไปคืนจากจำเลยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์สัญญาประกันภัย ไม่ใช่การเรียกเอาค่าที่ (พ่อค้า) ได้ส่งมอบของ แต่เรียกเอาในฐานที่จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาประกันภัย จึงไม่จำต้องฟ้องภายในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาประกันภัย: การคืนเงินค่าเคลมเมื่อผู้เอาประกันผิดสัญญาชำระเบี้ยประกัน
เดิมบริษัทประกันภัยโจทก์ได้ฟ้องจำเลยให้ชำระเบี้ยประกันภัย.ศาลฎีกาพิพากษาว่าตามเงื่อนไขท้ายสัญญาประกันภัย.มิใช่ให้โจทก์เรียกเบี้ยประกันภัยระหว่างที่พักกรมธรรม์นั้นได้. แต่ให้อำนาจเพียงที่จะเรียกร้องเงินค่าเคลมคืนเท่านั้น(ค่าเคลมคือค่าเสียหายที่บริษัทประกันภัยชดใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปตามกรมธรรม์ประกันภัย). จึงพิพากษายกฟ้องบริษัทประกันภัยโจทก์มาฟ้องคดีนี้ ขอให้จำเลยชำระเงินค่าเคลมคืนตามเงื่อนไขในท้ายสัญญาประกันภัยได้. ไม่เป็นฟ้องซ้ำ. เพราะคดีแรกกับคดีนี้เป็นประเด็นคนละเรื่องกัน.
เงื่อนไขแนบกรมธรรม์สัญญาประกันภัยมีว่า 'กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ต้องชำระเบี้ยประกันให้กับบริษัทครบอายุ 1 ปีแต่ทางบริษัทอนุโลมให้ผ่อนชำระเบี้ยประกันได้. ทั้งนี้ต้องชำระเบี้ยประกันทุกๆ งวดโดยไม่มีการพักกรมธรรม์. หากผู้เอาประกันไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้. ผู้เอาประกันภัยยินดีจะให้เรียกร้องเงินค่าเคลมซึ่งบริษัทได้จ่ายไปนั้นๆทั้งหมด' นั้น เป็นการทำสัญญาประกันภัยมีกำหนด 1 ปี จำเลยส่งเบี้ยประกันเพียง 29 งวด.ไม่ได้ส่งจนครบอายุ 1 ปี.จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องรับผิดคืนเงินค่าเคลมที่บริษัทโจทก์จ่ายไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย.
โจทก์เป็นบริษัทรับประกันภัย. ไม่ได้ทำการค้าขายอย่างใด. ไม่ใช่พ่อค้า.การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินค่าเคลมที่จ่ายไปคืนจากจำเลยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์สัญญาประกันภัย. ไม่ใช่การเรียกเอาค่าที่ (พ่อค้า) ได้ส่งมอบของ. แต่เรียกเอาในฐานที่จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาประกันภัย. จึงไม่จำต้องฟ้องภายในอายุความ 2 ปี. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารพาณิชย์ไม่ใช่พ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ อายุความฟ้องคดีไม่ขาด การผ่อนเวลาชำระหนี้ไม่ถือเป็นการละเมิด
คำว่าพ่อค้าตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(1) ต้องถือตามความรู้สึกของประชาชนธรรมดาทั่วๆ ไป เข้าใจกัน. คือหมายถึงบุคคลที่ประกอบการค้าโดยทำการซื้อสินค้ามาแล้วขายไปเป็นปกติธุระ. ไม่หมายความถึงผู้ประกอบการค้า ซึ่งไม่ได้ทำการซื้อและขายสินค้า.ธนาคารพาณิชย์ซึ่งประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์. ไม่ใช่พ่อค้าตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(1). จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปีตามบทมาตราดังกล่าว.
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้อง. จำเลยให้การรับว่า ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องจริง. แต่ต่อสู้ว่าลงชื่อในฐานะกรรมการกระทำการแทนบริษัทนิติบุคคล. ไม่มีเจตนาค้ำประกันเป็นส่วนตัว. ตามคำให้การจำเลยถือได้ว่า จำเลยรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันจริง. แม้สัญญาค้ำประกันนั้นจะมิได้ปิดอากรแสตมป์. ซึ่งตามประมวลรัษฎากรห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง. คดีก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยสัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐาน. เพราะมีประเด็นแต่เพียงว่าจำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกันเป็นส่วนตัวหรือไม่.
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ซึ่งทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้น. จะต้องมีการตกลงผ่อนเวลากันแน่นอนและมีผลว่า ในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องมิได้. หากเพียงแต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้.ยังถือไม่ได้ว่า. เป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้.เพราะเจ้าหนี้อาจใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อไรก็ได้.
การที่หนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว. เจ้าหนี้ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานโดยมิได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้น.เป็นสิทธิของเจ้าหนี้โดยชอบ. มิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ค้ำประกัน. (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่11/2512).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารไม่ใช่พ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ อายุความ 2 ปี และการผ่อนเวลาชำระหนี้ไม่ถือเป็นการละเมิด
คำว่าพ่อค้าตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ต้องถือตามความรู้สึกของประชาชนธรรมดาทั่ว ๆ ไป เข้าใจกัน คือหมายถึงบุคคลที่ประกอบการค้าโดยทำการซื้อสินค้ามาแล้วขายไปเป็นปกติธุระ ไม่หมายความถึงผู้ประกอบการค้า ซึ่งไม่ได้ทำการซื้อและขายสินค้า ธนาคารพาณิชย์ซึ่งประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ ไม่ใช่พ่อค้าตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 (1) จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามบทมาตรา ดังกล่าว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยให้การับว่า ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องจริง แต่ต่อสู้ว่าลงชื่อในฐานะกรรมการกระทำการแทนบริษัทนิติบุคคล ไม่มีเจตนาค้ำประกันเป็นส่วนตัว ตามคำให้การจำเลยถือได้ว่า จำเลยรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันจริง แม้สัญญาค้ำประกันนั้นจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ซึ่งตามประมวลรัษฎากรห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง คดีก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยสัญญาค้ำประกันพยานหลักฐาน เพราะมีประเด็นแต่เพียงว่าจำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกันเป็นส่วนตัวหรือไม่
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ซึ่งทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้น จะต้องมีการตกลงผ่อนเวลากันแน่นอนและมีผลว่า ในระหว่างผ่อนเวลานั้น เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องมิได้ หากเพียงแต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ ยังถือไม่ได้ว่า เป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ เพราะเจ้าหนี้อาจใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อไรก็ได้
การที่หนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว เจ้าหนี้ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานได้มิได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ เป็นสิทธิของเจ้าหนี้โดยชอบ มิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ค้ำประกัน
(ข้อกฎหมายตามวรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารไม่ใช่พ่อค้าตาม ปพพ.มาตรา 165(1) อายุความฟ้อง 2 ปีไม่ใช้กับคดีนี้ สัญญาค้ำประกันไม่ปิดอากรแสตมป์ใช้ได้
คำว่าพ่อค้าตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(1) ต้องถือตามความรู้สึกของประชาชนธรรมดาทั่วๆ ไป เข้าใจกัน คือหมายถึงบุคคลที่ประกอบการค้าโดยทำการซื้อสินค้ามาแล้วขายไปเป็นปกติธุระ ไม่หมายความถึงผู้ประกอบการค้า ซึ่งไม่ได้ทำการซื้อและขายสินค้า ธนาคารพาณิชย์ซึ่งประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ ไม่ใช่พ่อค้าตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปีตามบทมาตราดังกล่าว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องจำเลยให้การรับว่า ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องจริง แต่ต่อสู้ว่าลงชื่อในฐานะกรรมการกระทำการแทนบริษัทนิติบุคคล ไม่มีเจตนาค้ำประกันเป็นส่วนตัว ตามคำให้การจำเลยถือได้ว่า จำเลยรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันจริง แม้สัญญาค้ำประกันนั้นจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ซึ่งตามประมวลรัษฎากรห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง คดีก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยสัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐาน เพราะมีประเด็นแต่เพียงว่าจำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกันเป็นส่วนตัวหรือไม่
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ซึ่งทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้น จะต้องมีการตกลงผ่อนเวลากันแน่นอนและมีผลว่า ในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องมิได้ หากเพียงแต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ยังถือไม่ได้ว่า เป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ เพราะเจ้าหนี้อาจใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อไรก็ได้
การที่หนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว เจ้าหนี้ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานโดยมิได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้น เป็นสิทธิของเจ้าหนี้โดยชอบ มิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ค้ำประกัน (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ vs. แปลงหนี้ใหม่ และอายุความพ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 165
หนังสือสัญญารับใช้เงิน มีข้อความแสดงอยู่ชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้าโจทก์อยู่จริง และรับว่าคงค้างชำระอยู่ 2 จำนวน คือ 19,406.61 บาท และ 8,043 บาท ขอผัดชำระไป 6 เดือน ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าจะให้มีการเปลี่ยนแปลงสารสำคัญในหนี้เดิมอย่างใด จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ใช่แปลงหนี้ใหม่
องค์การ อ.จ.ส.โจทก์จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดซื้อและจำหน่ายสินค้า พ.ศ.2497 ซึ่งบัญญัติให้ดำเนินการค้าได้ เมื่อองค์การโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยในฐานะเป็นพ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตามฟ้องกล่าวว่า จำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้าย เมื่อเดือนสิงหาคม 2501 แม้นับอายุความใหม่ตั้งแต่วันชำระหนี้ครั้งสุดท้าย อันเป็นวันถือว่าจำเลยรับสภาพหนี้ตามมาตรา 172 จนถึงวันที่ 5 มีนาคม 2507 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ฟ้องก็เกิน 2 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ อายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)
หนังสือสัญญารับใช้เงิน มีข้อความแสดงอยู่ชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้าโจทก์อยู่จริง และรับว่าคงค้างชำระอยู่ 2 จำนวน คือ 19,436.61 บาท และ 8,043 บาท ขอผัดชำระไป 6 เดือน ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าจะให้มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในหนี้เดิมอย่างใด จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ใช่แปลงหนี้ใหม่
องค์การ อ.จ.ส. โจทก์จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดซื้อและจำหน่ายสินค้า พ.ศ. 2497 ซึ่งบัญญัติให้ดำเนินการค้าได้ เมื่อองค์การโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยในฐานะเป็นพ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตามฟ้องกล่าวว่า จำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้าย เมื่อเดือนสิงหาคม 2501 แม้นับอายุความใหม่ตั้งแต่วันชำระหนี้ครั้งสุดท้าย อันเป็นวันถือว่าจำเลยรับสภาพหนี้ตามมาตรา 172 จนถึงวันที่ 5 มีนาคม 2507 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ฟ้องก็เกิน 2 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1364/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินค่าไม้สัก: ไม่ใช่เงินทดรอง แต่เป็นเงินราคาค่าของ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินราคาค่าไม้สักที่จำเลยได้รับล่วงหน้าไปคืน ไม่ใช่ฟ้องเรียกเอาค่าที่โจทก์ส่งมอบของ ทำของและค่าดูแลกิจการของผู้อื่น รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) มาบังคับไม่ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1364/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินค่าไม้สัก: ไม่ใช่เงินทดรอง แต่เป็นเงินราคาค่าของ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินราคาค่าไม้สักที่จำเลยได้รับล่วงหน้าไปคืน ไม่ใช่ฟ้องเรียกเอาค่าที่โจทก์ส่งมอบของ ทำของและค่าดูแลกิจการของผู้อื่น รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) มาบังคับไม่ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องราคาอ้อย: การซื้อขายเพื่ออุตสาหกรรม
จำเลยซื้ออ้อยโจทก์ไปทำเป็นน้ำตาลเพื่อจำหน่าย น้ำตาลนั้นจะเป็นน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลทรายก็ตาม ก็ถือได้ว่าการซื้อขายเป็นการทำเพื่อการอุตสาหกรรมของฝ่ายลูกหนี้คือจำเลย เพราะฉะนั้นสิทธิเรียกร้องราคาอ้อยมีอายุความ 5 ปี
of 15