พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสินค้าชำรุด: ข้อตกลงรับคืนกระป๋องชำรุดไม่ยกเว้นอายุความ 1 ปี ตาม ม.474
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยติดต่อค้าขายกันหลายปี โดยโจทก์รับซื้อกระป๋องบรรจุน้ำมันหล่อลื่น จากจำเลยมีข้อตกลงว่า ถ้ากระป๋องชำรุดรั่วใช้การไม่ได้จำเลยยอมรับคืนและยอมใช้ค่ากระป๋องในราคาที่จำเลยขายให้โจทก์ โจทก์ได้ส่งกระป๋องที่ชำรุดจำนวนหนึ่งคืนจำเลย แต่จำเลยไม่ใช้ราคา โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จำเลยขายให้โจทก์ชำรุดบกพร่องโดยตรง ตกอยู่ภายใต้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 474 ไม่ใช่เรื่องโจทก์ฟ้องเรียกราคาค่าขายกระป๋องชำรุดอันจะใช้อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาจ้างทำของและการกำหนดเขตอำนาจศาล กรณีมูลคดีเกิดในเขตอำนาจศาลอื่น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ต่อตัวถังรถยนต์ราคา 50,000 บาท จำเลยมอบเงินให้โจทก์ไปแล้ว 15,000 บาทที่เหลือ 35,000 บาท จำเลยชำระเป็นเช็ค แต่เช็คขึ้นเงินไม่ได้ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินค่าต่อตัวถังรถยนต์ที่ค้างชำระ ดังนี้ เป็นการฟ้องตามมูลสัญญาจ้างทำของกรณีต้องบังคับในเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165
โจทก์ฟ้องเรียกหนี้ตามมูลสัญญาจ้างทำของโจทก์จึงมีอำนาจขออนุญาตฟ้องที่ศาลซึ่งมูลคดีเกิดขึ้นในเขตได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2)
โจทก์ฟ้องเรียกหนี้ตามมูลสัญญาจ้างทำของโจทก์จึงมีอำนาจขออนุญาตฟ้องที่ศาลซึ่งมูลคดีเกิดขึ้นในเขตได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาจ้างทำของ และเขตอำนาจศาล: คดีเกิดที่ไหน ฟ้องที่ไหน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ต่อตัวถังรถยนต์ราคา 50,000 บาท จำเลยมอบเงินให้โจทก์ไปแล้ว 15,000 บาท ที่เหลือ 35,000 บาท จำเลยชำระเป็นเช็ค แต่เช็คขึ้นเงินไม่ได้ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินค่าต่อตัวถังรถยนต์ที่ค้างชำระ ดังนี้เป็นการฟ้องตามมูลสัญญาจ้างทำของ กรณีต้องบังคับในเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165
โจทก์ฟ้องเรียกหนี้ตามมูลสัญญาจ้างทำของ โจทก์จึงมีอำนาจขออนุญาตฟ้องที่ศาล ซึ่งมูลคดีเกิดขึ้นในเขตได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (2)
โจทก์ฟ้องเรียกหนี้ตามมูลสัญญาจ้างทำของ โจทก์จึงมีอำนาจขออนุญาตฟ้องที่ศาล ซึ่งมูลคดีเกิดขึ้นในเขตได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการจ้างทำของขาดอายุความเป็นเหตุไม่ควรให้ล้มละลาย แม้จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ทำการโฆษณาสินค้าและภาพยนตร์ซึ่งเป็นการจ้างทำของ หนี้รายนี้จึงมีอายุความให้ฟ้องร้องได้ภายในกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1) เมื่อนับจากวันที่หนี้รายนี้เกิดขึ้นถึงวันที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากค้างชำระสินจ้างดังกล่าวเป็นเวลาเกินสองปีแล้ว หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงขาดอายุความ
คดีล้มละลายจำเลยไม่จำต้องให้การสู้คดีเช่นคดีแพ่งสามัญจึงไม่มีประเด็นอย่างใดเกิดขึ้น การพิจารณาคดีล้มละลายผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะพระราชบัญญัติล้มละลายเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนมีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนมีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ว่าคดีมีเหตุที่ควรหรือไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ ฉะนั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกข้อต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าหนี้ตามฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ จึงเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 94 (1) ถือได้ว่าเป็นเหตุที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 14 ดังกล่าว ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้
คดีล้มละลายจำเลยไม่จำต้องให้การสู้คดีเช่นคดีแพ่งสามัญจึงไม่มีประเด็นอย่างใดเกิดขึ้น การพิจารณาคดีล้มละลายผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะพระราชบัญญัติล้มละลายเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนมีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนมีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ว่าคดีมีเหตุที่ควรหรือไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ ฉะนั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกข้อต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าหนี้ตามฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ จึงเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 94 (1) ถือได้ว่าเป็นเหตุที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 14 ดังกล่าว ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการจ้างทำของในคดีล้มละลาย ศาลพิจารณาเหตุไม่สมควรให้ล้มละลายได้ แม้จำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ทำการโฆษณาสินค้าและภาพยนตร์ซึ่งเป็นการจ้างทำของ หนี้รายนี้จึงมีอายุความให้ฟ้องร้องได้ภายในกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา165(1) เมื่อนับจากวันที่หนี้รายนี้เกิดขึ้นถึงวันที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากค้างชำระสินจ้างดังกล่าวเป็นเวลาเกินสองปีแล้ว หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงขาดอายุความ
คดีล้มละลายจำเลยไม่จำต้องให้การสู้คดีเช่นคดีแพ่งสามัญจึงไม่มีประเด็นอย่างใดเกิดขึ้น. การพิจารณาคดีล้มละลายผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญ เพราะพระราชบัญญัติล้มละลายเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนมีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าคดีมีเหตุที่ควรหรือไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ฉะนั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกข้อต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าหนี้ตามฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ จึงเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 94(1) ถือได้ว่าเป็นเหตุที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 14 ดังกล่าวศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้
คดีล้มละลายจำเลยไม่จำต้องให้การสู้คดีเช่นคดีแพ่งสามัญจึงไม่มีประเด็นอย่างใดเกิดขึ้น. การพิจารณาคดีล้มละลายผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญ เพราะพระราชบัญญัติล้มละลายเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนมีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าคดีมีเหตุที่ควรหรือไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ฉะนั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกข้อต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าหนี้ตามฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ จึงเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 94(1) ถือได้ว่าเป็นเหตุที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 14 ดังกล่าวศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่ากระแสไฟฟ้า: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่ใช่พ่อค้า, ใช้ อายุความ 10 ปี
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินกิจการสาธารณูปโภคตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503 มิใช่เป็นพ่อค้าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) การเรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าจึงไม่ใช่มีอายุความเพียง 2 ปี และโดยที่ค่ากระแสไฟฟ้าประจำเดือนมิใช่จำนวนเงินที่ตกลงกันไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา กรณีก็ไม่ต้องด้วยอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 166 จึงต้องนำอายุความทั่วไปมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 164 มาใช้บังคับในเรื่องสิทธิเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินค้า: หินทรายส่งมอบรายเดือน ชำระภายใน 7 วัน นับจากสิ้นเดือน
จำเลยซื้อหินและทรายจากโจทก์ ตกลงกันว่า หินและทรายที่โจทก์ส่งให้นั้นถึงสิ้นเดือนจึงจะคิดบัญชีกันครั้งหนึ่งและจำเลยจะต้องชำระราคาภายใน 7 วัน นับแต่วันคิดบัญชี ดังนี้ สิทธิเรียกร้องให้ชำระราคาของโจทก์ย่อมจะเกิดขึ้นในวันสิ้นเดือนของแต่ละเดือนและสิทธิเรียกร้องดังกล่าวนั้น โจทก์จะต้องฟ้องเรียกร้องเสียภายในกำหนด สองปี มิฉะนั้นเป็นอันขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการชำระราคาสินค้าจากการส่งมอบเป็นงวดและการมีตัวแทน
จำเลยซื้อหินและทรายจากโจทก์ ตกลงกันว่า หินและทรายที่โจทก์ส่งให้นั้นถึงสิ้นเดือนจึงจะคิดบัญชีกันครั้งหนึ่งและจำเลยจะต้องชำระราคาภายใน 7 วันนับแต่วันคิดบัญชี ดังนี้ สิทธิเรียกร้องให้ชำระราคาของโจทก์ย่อมจะเกิดขึ้นในวันสิ้นเดือนของแต่ละเดือนและสิทธิเรียกร้องดังกล่าวนั้น โจทก์จะต้องฟ้องเรียกร้องเสียภายในกำหนดสองปี มิฉะนั้นเป็นอันขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร ถือเป็นผู้ประกอบการค้า ต้องเสียภาษี
คำว่าผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มีความหมายกว้างกว่าคำว่าพ่อค้าในมาตรา 165 (1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะคำว่าการค้าในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 หมายความรวมถึงการประกอบธุรกิจและอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นปัญหาว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินหรือไม่ จึงมิใช่จะอาศัยแต่เพียงโจทก์ไปซื้อที่ดิน แล้วขายไปเป็นปกติธุระหรือไม่ แต่ต้องอาศัยพฤติการณ์ทั่ว ๆ ไปของโจทก์ประกอบกัน
โจทก์ซื้อที่ดินไว้เป็นจำนวนถึงร้อยกว่าโฉนด โดยไม่ปรากฏว่าได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน และได้ขายไปเป็นจำนวนถึง 20 กว่าโฉนดในระยะเวลา 3 ปี มีกำไรทุกแปลงบางแปลงกำไรหลายเท่าตัว ส่วนมากขายให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งโจทก์ซื้อที่ดินเหล่านั้นไว้ในระยะเวลาที่ทางการมีนโยบายจะให้ท้องที่นั้นเป็นย่านอุตสาหกรรม ดังนี้ ย่อมแสดงว่าโจทก์มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินจำนวนมากเหล่านั้นไว้ เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญ การที่โจทก์ซื้อที่ดินไว้โดยมุ่งในทางการค้า หรือหากำไรมาแต่เดิม และได้ขายที่ดินดังกล่าวไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 11 และต้องเสียภาษีเงินได้จากรายรับ เพราะเงินที่โจทก์ได้รับจากการขายที่ดินเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (8) ทั้งไม่เข้าข่ายที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตามความในมาตรา 42 (9)
โจทก์ซื้อที่ดินไว้เป็นจำนวนถึงร้อยกว่าโฉนด โดยไม่ปรากฏว่าได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน และได้ขายไปเป็นจำนวนถึง 20 กว่าโฉนดในระยะเวลา 3 ปี มีกำไรทุกแปลงบางแปลงกำไรหลายเท่าตัว ส่วนมากขายให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งโจทก์ซื้อที่ดินเหล่านั้นไว้ในระยะเวลาที่ทางการมีนโยบายจะให้ท้องที่นั้นเป็นย่านอุตสาหกรรม ดังนี้ ย่อมแสดงว่าโจทก์มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินจำนวนมากเหล่านั้นไว้ เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญ การที่โจทก์ซื้อที่ดินไว้โดยมุ่งในทางการค้า หรือหากำไรมาแต่เดิม และได้ขายที่ดินดังกล่าวไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 11 และต้องเสียภาษีเงินได้จากรายรับ เพราะเงินที่โจทก์ได้รับจากการขายที่ดินเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (8) ทั้งไม่เข้าข่ายที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตามความในมาตรา 42 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไรและการเป็นผู้ประกอบการค้าภายใต้ประมวลรัษฎากร
คำว่าผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มีความหมายกว้างกว่าคำว่า พ่อค้าในมาตรา 165(1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพราะคำว่าการค้าในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 หมายความรวมถึงการประกอบธุรกิจและอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นปัญหาว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินหรือไม่ จึงมิใช่จะอาศัยแต่เพียงโจทก์ไปซื้อที่ดิน แล้วขายไปเป็นปกติธุระหรือไม่ แต่ต้องอาศัยพฤติการณ์ทั่ว ๆ ไปของโจทก์ประกอบกัน
โจทก์ซื้อที่ดินไว้เป็นจำนวนถึงร้อยกว่าโฉนด โดยไม่ปรากฎว่าได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน และได้ขายไปเป็นจำนวนถึง 20 กว่าโฉนดในระยะเวลา 3 ปี มีกำไรทุกแปลงบางแปลงกำไรหลายเท่าตัว ส่วนมากขายให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งโจทก์ซื้อที่ดินเหล่านั้นไว้ในระยะเวลาที่ทางการมีนโยบายจะให้ท้องที่นั้นเป็นย่านอุตสาหกรรม ดังนี้ ย่อมแสดงว่าโจทก์มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินจำนวนมากเหล่านั้นไว้ เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญ การที่โจทก์ซื้อที่ดินไว้โดยมุ่งในทางการค้า หรือหากำไรมาแต่เดิม และได้ขายที่ดินดังกล่าวไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 11 และต้องเสียภาษีเงินได้จากรายรับ เพราะเงินที่โจทก์ได้รับจากการขายที่ดินเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ทั้งไม่เข้าข่ายที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตามความในมาตรา 42(9)
โจทก์ซื้อที่ดินไว้เป็นจำนวนถึงร้อยกว่าโฉนด โดยไม่ปรากฎว่าได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน และได้ขายไปเป็นจำนวนถึง 20 กว่าโฉนดในระยะเวลา 3 ปี มีกำไรทุกแปลงบางแปลงกำไรหลายเท่าตัว ส่วนมากขายให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งโจทก์ซื้อที่ดินเหล่านั้นไว้ในระยะเวลาที่ทางการมีนโยบายจะให้ท้องที่นั้นเป็นย่านอุตสาหกรรม ดังนี้ ย่อมแสดงว่าโจทก์มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินจำนวนมากเหล่านั้นไว้ เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญ การที่โจทก์ซื้อที่ดินไว้โดยมุ่งในทางการค้า หรือหากำไรมาแต่เดิม และได้ขายที่ดินดังกล่าวไปเป็นทางการค้าหรือหากำไร ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 11 และต้องเสียภาษีเงินได้จากรายรับ เพราะเงินที่โจทก์ได้รับจากการขายที่ดินเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) ทั้งไม่เข้าข่ายที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ตามความในมาตรา 42(9)