พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7810/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกรในการทำนิติกรรม และอายุความในการเรียกค่าหนี้ซื้อปุ๋ย
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การของรัฐบาลพ.ศ. 2496 โดยจัดตั้งขึ้นตาม พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ. 2517 โจทก์จึงมีอำนาจเป็นตัวการที่จะกระทำ การใดหรือทำนิติกรรมใด ๆ ได้ด้วยตัวเองตามกฎหมาย เป็นการ ดำเนินการในฐานะตัวแทนของ รัฐบาลและกระทรวง ทบวง กรม ที่รับนโยบายรัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติในนามของโจทก์เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร หาใช่โจทก์กระทำการใด ๆ ในฐานะที่เป็นตัวแทนกระทำการแทนตัวการที่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจตั้งตัวแทนไม่ โจทก์จึงมีอำนาจกระทำนิติกรรมใด ๆ กับจำเลยได้ โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจจากกระทรวงทบวง กรม แต่อย่างใด และมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ตามกฎหมาย องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรโจทก์มีอำนาจกระทำการใด ๆหรือนิติกรรมใด ๆ ได้ด้วยตนเองตามกฎหมายแล้ว เมื่อป. ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการของโจทก์ ป. จึงมีอำนาจกระทำการใดหรือทำนิติกรรมใด ๆ รวมทั้งการฟ้องคดีและอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์ตามวัตถุประสงค์ที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ. 2517 แทนโจทก์ได้ โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจแต่งตั้ง เป็นตัวแทนของกระทรวง ทบวง กรมใด ๆ จำเลยทำสัญญาซื้อเชื่อปุ๋ยจากโจทก์และได้รับปุ๋ยจากโจทก์ทุกครั้ง อีกทั้งตามข้อบังคับของจำเลยได้ระบุผู้ที่มีอำนาจลงลายมือชื่อในนิติกรรมและเอกสารทั้งปวงแทนจำเลยว่าจะต้องเป็นประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการหรือเลขานุการหรือเหรัญญิกหรือผู้จัดการคนใดคนหนึ่ง เมื่อตามสัญญาซื้อเชื่อปุ๋ยดังกล่าวมี ผ.ประธานกรรมการและส.เลขานุการเป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาตามความประสงค์ในการประชุมคณะกรรมการของจำเลย สัญญาซื้อเชื่อปุ๋ยดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยตามกฎหมาย แม้ในการซื้อปุ๋ยแต่ละครั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรไม่เคยอนุมัติวงเงินซื้อปุ๋ยและไม่เคยให้ความเห็นชอบให้จำเลยซื้อเชื่อปุ๋ยก็ตาม ก็เป็นเรื่องไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของจำเลยเท่านั้น หามีผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของสัญญาซื้อเชื่อปุ๋ยระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรพ.ศ. 2517 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 (1) (8) หาใช่ประกอบ การค้าโดยทำการซื้อสินค้ามาแล้วขายไปเพื่อหากำไรตามปกติ จึงมิใช่เป็นพ่อค้าตามมาตรา 165 (1) จะนำอายุความ 2 ปี มาใช้บังคับในกรณีขอให้ลูกหนี้ชำระค่าปุ๋ยไม่ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6400/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายผ้า, อายุความ, การร่วมรับผิดของหุ้นส่วน, และการหักหนี้
อุทธรณ์ของโจทก์มีใจความว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับว่าเป็นหนี้โจทก์จำนวน 1,889,967.75 บาท แล้ว จึงฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้จำนวนนี้จริงจะนำข้อต่อสู้เรื่องอายุความมาตัดทอนจำนวนหนี้ที่รับกันหาได้ไม่ ที่ศาลชั้นต้นหักค่าผ้าเป็นเงิน 198,864.80 บาท ออกจากจำนวนหนี้ที่รับฟังเป็นยุติแล้ว จึงคลาดเคลื่อนต่อกฎหมายและการซื้อขายผ้าตามฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ชำระเป็นเงินสดแสดงว่าเป็นการซื้อขายระบบสินเชื่อมีระยะเวลา 90 วัน ตามที่โจทก์นำสืบ เช่นนี้ถือได้ว่า โจทก์ได้อุทธรณ์เรื่องอายุความ เกี่ยวกับสินค้าที่โจทก์ได้ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว การซื้อขายผ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะต้องชำระราคาภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับผ้า โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระราคาผ้านับแต่วันส่งมอบผ้า โจทก์ส่งผ้าตามฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2528 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2528โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 30 เมษายน 2530 ค่าผ้าที่โจทก์ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2528 รวม 2 รายการเป็นเงิน 198,864.80 บาท จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(เดิม) จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในยอดหนี้จำนวนดังกล่าว การหักกลบลบหนี้เป็นเรื่องบุคคลสองฝ่ายต่างมีความผูกพันเป็นหนี้กัน และหนี้ซึ่งผูกพันกันอยู่อันจะเกิดการหักกลบลบหนี้กันได้นี้ต้องเป็นหนี้สองรายหรือต่างรายกัน แต่ความรับผิดของจำเลยที่จะต้องชำระราคาผ้ากับความรับผิดของโจทก์ใน การรับคืนผ้าที่ขายเพราะเหตุชำรุดบกพร่องนี้เกิดจากสัญญาซื้อขายผ้ารายเดียวกัน ซึ่งต่างฝ่ายต่างผูกพันในหนี้อันเดียวกัน ดังนั้น การหักราคาผ้าที่โจทก์รับคืนเพราะเหตุชำรุดบกพร่องออกจากราคาผ้าที่โจทก์ขายไป จึงไม่ใช่ เรื่องหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 นับตั้งแต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำการค้าระหว่างกันจนกระทั่งฟ้องร้องคดีนี้ไม่เคยมีการหักทอนบัญชีแต่อย่างใดเนื่องจากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับตัวเลขแสดงว่ามิได้มีการตกลงกำหนดเวลาให้มีการหักทอนบัญชีในกิจการค้าระหว่างโจทก์กับ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสาระสำคัญข้อหนึ่งเกี่ยวกับสัญญา บัญชีเดินสะพัด แม้กฎหมายจะไม่บังคับว่าการจดแจ้งทางบัญชี จะต้องทำอย่างไรและจะต้องถูกต้องตามหลักการทำบัญชีก็ตาม แต่พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ปฏิบัติต่อกันดังที่ นำสืบมานั้นเป็นเรื่องซื้อขายผ้ากันธรรมดา ถือไม่ได้ว่า กิจการค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เข้าลักษณะเป็น สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 จำเลยทั้งสี่ฎีกาอ้างว่าผ้าที่โจทก์ต้องรับคืนตามฟ้องแย้ง ไม่ใช่ผ้าชำรุดบกพร่อง หากแต่เป็นผ้าที่ไม่อาจใช้งานของ จำเลยที่ 1 ได้ แต่นำไปใช้งานอย่างอื่นได้ กรณีไม่ใช่เป็น การเรียกเอาค่าสินค้าที่เกิดจากความชำรุดบกพร่อง ฟ้องแย้ง จึงไม่ขาดอายุความนั้น ข้ออ้างตามฎีกาจำเลยทั้งสี่ดังกล่าว ขัดกับคำให้การและฟ้องแย้งที่ว่า ผ้าที่โจทก์ส่งแก่จำเลย ที่ 1 หากเกิดชำรุดบกพร่องโดยการทอก็ดี การฟอกย้อมก็ดี และหรือเหตุอื่นใดก็ดี เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ไม่อาจ ใช้ประโยชน์ตามมุ่งหมายแห่งสัญญา โจทก์ยอมรับคืน ซึ่งหมายความ ว่าหากผ้าที่โจทก์ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 มีลักษณะดังกล่าว ข้างต้น แม้จะสามารถนำไปใช้งานอย่างอื่นได้ก็ให้ถือว่า เป็นผ้าที่ชำรุดบกพร่องในการที่โจทก์จะต้องรับคืนจากจำเลย ที่ 1 นั่นเอง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 474 ได้บัญญัติในเหตุที่ว่านี้ให้ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ พบเห็นความบกพร่อง เมื่อปรากฎว่าโจทก์ส่งผ้าให้แก่ จำเลยที่ 1 ปี 2528 จึงเชื่อว่าฝ่ายจำเลยย่อมจะพบเห็น ความชำรุดบกพร่องของผ้าดังกล่าวตั้งแต่ปีดังกล่าวแล้วการที่จำเลยทั้งสี่มาฟ้องแย้งโจทก์ในปี 2530 จึงเกิน 1 ปีนับแต่ที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องฟ้องแย้งจึงขาดอายุความ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมรับผิดกับห้าง จำเลยที่ 1 ในหนี้ค่าผ้าทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะ หุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งหมายถึงในฐานะที่ เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดด้วย เพราะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1087 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องให้แต่เฉพาะผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด เท่านั้นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1 มาก่อน ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัด ความรับผิด แม้ต่อมาในขณะฟ้องจำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็น หุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้ เปลี่ยนแปลงเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด จึงถือว่า จำเลยที่ 2 ยังเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดอยู่ ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ปรากฏว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้าง จำเลยที่ 1 จึงเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด เช่นกัน ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะมิได้ซื้อผ้า จากโจทก์เป็นการส่วนตัวก็ตาม จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็ต้อง รับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัด จำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) ด้วย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมรับผิด กับจำเลยที่ 1 ตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าจ้างหลังการโอนสิทธิเรียกร้อง: ใช้บังคับตามสัญญาเดิม
การโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 2 ลักษณะ 1 หมวด 4 นั้น เป็นการโอนสิทธิตามที่เป็นอยู่ตามสภาพเดิมให้แก่ผู้รับโอนเข้ามาเป็นเจ้าหนี้แทน มิได้มีการเปลี่ยนแปลงสิทธิ และโดยปกติลูกหนี้มีข้อต่อสู้เจ้าหนี้คนเดิมอย่างไรก็ยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องนั้นได้ ซึ่งย่อมรวมทั้งข้อต่อสู้เรื่องอายุความด้วย โดยเหตุนี้อายุความที่ลูกหนี้จะยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจึงต้องใช้อายุความเดียวกับที่ลูกหนี้สามารถยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้คนเดิมได้ เมื่อสิทธิเรียกร้องในคดีนี้เป็นค่าจ้างตามสัญญาจ้างทำของระหว่างจำเลยกับ อ.ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำ จึงมีอายุความ2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(เดิม) หรือมาตรา 193/34(1)(ใหม่) นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างแต่ละงวดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169(เดิม)หรือ มาตรา 193/12(ใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6144/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายและจ้างทำของ: การสั่งทอผ้าและการบังคับคดี
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น การซื้อขาย ต่างจากการรับจ้างทำของตรงที่การซื้อขายมุ่งถึงการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ส่วนการรับจ้างทำของมุ่งถึงการงานที่ทำและผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ ซึ่งในเรื่องจ้างทำของนั้น ป.พ.พ. มาตรา 592 ได้กำหนดหน้าที่ของผู้รับจ้างไว้ว่าผู้รับจ้างต้องยอมให้ผู้ว่าจ้างหรือตัวแทนของผู้ว่าจ้างตรวจตราการงานได้ตลอดเวลา และมาตรา 605 กำหนดสิทธิของผู้ว่าจ้างไว้ว่าถ้าการที่จ้างยังทำไม่แล้วเสร็จอยู่ตราบใด ผู้ว่าจ้างอาจบอกเลิกสัญญาได้เมื่อเสียค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับจ้างเพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญา คดีนี้ การติดต่อสั่งทอผ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยในครั้งแรก ๆ ได้ทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือ ต่อมาจึงสั่งทอด้วยวาจาโดยจำเลยสั่งโจทก์ให้ทอผ้าตามลายที่จำเลยกำหนดโดยกำหนดจำนวนที่จำเลยต้องการแน่นอน ข้อตกลงในการส่งมอบผ้าและการชำระราคายังเป็นไปตามที่เคยกำหนดไว้ในสัญญาและในการทอผ้าตามที่จำเลยสั่ง โจทก์จะแจ้งให้ผู้อื่นเป็นผู้ทอให้ ในระหว่างที่มีการทอผ้าจำเลยไม่ได้เข้าไปควบคุมตรวจตราการทอและจะบอกยกเลิกการทอไม่ได้ ดังนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้สั่งให้โจทก์ทอผ้าหลายครั้ง การสั่งทอผ้าครั้งใดที่มีราคาเกินกว่า 500 บาท และไม่ได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดหรือได้วางประจำไว้หรือได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้วโจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 สำหรับผ้าที่มีการสั่งทอในครั้งดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3890/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการทำกล่องกระดาษ: พิจารณาความหมายของ 'อุตสาหกรรม' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ให้คำนิยามความหมายของคำว่า "อุตสาหกรรม" ไว้ว่า การทำสิ่งของเพื่อให้เกิดผลประโยชน์เป็นกำไร ดังนี้ เมื่อกล่องกระดาษที่โจทก์ทำขึ้นนั้น จำเลยนำมาใช้สำหรับบรรจุเครื่องไฟฟ้าที่ผลิตสำเร็จแล้ว กล่องกระดาษเช่นว่านี้โดยลำพังคงเป็นเพียงอุปกรณ์ใช้ประจำอยู่กับสินค้าที่ผลิตเท่านั้นหาได้เป็นสินค้าที่จำเลยจำหน่ายได้ผลประโยชน์เป็นกำไรไม่เท่ากับการประดิษฐ์กล่องกระดาษนั้นมิได้อยู่ในความหมายที่ว่า เป็นการที่ได้ทำเพื่ออุตสาหกรรมของฝ่ายลูกหนี้นั้นเองซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคท้ายสิทธิเรียกร้องหนี้สินรายนี้ของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปีโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว คดีจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ซื้อขายเสร็จเด็ดขาดตามสภาพ & อายุความการเรียกร้องค่าสินค้า
เมื่อการซื้อขายแท่นพิมพ์พิพาทเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดตามสภาพที่เป็นอยู่ จำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยอ้างว่าส่งมอบแท่นพิมพ์ไม่ตรงตามคำพรรณนา สิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นการที่บุคคลผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของที่ขายและจำเลยใช้แท่นพิมพ์ที่ซื้อพิมพ์หนังออกขาย จึงเป็นการที่ได้ทำเพื่ออุตสาหกรรมของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) เดิม เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายแท่นพิมพ์พิพาทวันที่ 17 พฤษภาคม 2528 และโจทก์ส่งมอบแท่นพิมพ์พิพาทวันที่ 27 พฤษภาคม 2528 นับถึงวันที่ 9 มกราคม 2530 อันเป็นวันฟ้องยังไม่ถึง 5 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายใบยาสูบ: ประเด็นอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 และการวินิจฉัยนอกประเด็น
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์อย่างสิ้นเชิงว่าไม่เคยทำสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้องโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์จริง จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยได้รับเงินจากโจทก์ตามสัญญาหรือไม่ แม้ศาลล่างจะรับวินิจฉัยในประเด็นนี้ให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินที่จ่ายล่วงหน้าเป็นค่าซื้อของส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าของที่จำเลยส่งมอบแล้วคืน มีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มิใช่กรณีตามมาตรา 165 (1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าไฟฟ้าและขอบเขตความรับผิดของผู้ใช้ไฟฟ้าเดิมที่ไม่แจ้งยกเลิกบริการ
โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์จ่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนได้รับทุนจากงบประมาณแผ่นดิน โจทก์จึงมิใช่พ่อค้าตาม ป.พ.พ.มาตรา 165(1) โจทก์ต้องฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าภายในอายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 จำเลยขอใช้ไฟฟ้าในบ้านของตนต่อโจทก์ แม้ต่อมาจำเลยจะโอนบ้านให้ผู้อื่นไป แต่จำเลยมิได้บอกเลิกหรือโอนการใช้ไฟฟ้าแก่ผู้อื่นให้โจทก์ทราบ จำเลยย่อมรับผิดในค่าไฟฟ้าตลอดไปตามข้อบังคับการบริการและใช้ไฟฟ้าของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างก่อสร้าง: เริ่มนับจากวันส่งมอบงาน ไม่ใช่ทำงานเสร็จ การต่ออายุสัญญาก่อนส่งมอบงานไม่กระทบอายุความ
จำเลยที่ 1 ต่ออายุสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างให้แก่โจทก์ ระยะเวลาที่ต่ออายุสัญญาครบกำหนดก่อนวันที่โจทก์ส่งมอบงานงวดสุดท้าย การต่ออายุสัญญาดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการนับอายุความ เพราะสิทธิเรียกร้องสินจ้างในการก่อสร้างนั้นต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่มีการส่งมอบงาน หาใช่นับตั้งแต่วันที่ทำงานเสร็จไม่
เงินค่าปรับที่โจทก์ได้รับคืนไปจากจำเลยที่ 1 นั้น เกิดจากจำเลยที่ 1 หักค่าจ้างไว้เป็นค่าปรับเนื่องจากโจทก์ผิดสัญญาส่งมอบงานล่าช้า ต่อมาโจทก์ขอต่ออายุสัญญาอีกแต่ไม่ได้รับการต่อให้ คงได้รับเงินส่วนลดค่าปรับตามมติคณะรัฐมนตรี การคืนค่าปรับให้ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่และไม่ใช่การชำระค่าจ้างตามสัญญา ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลยที่ 1 อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างเป็นเวลาเกิน 2 ปีนับแต่วันที่มีการส่งและรับมอบงานกัน คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1)
เงินค่าปรับที่โจทก์ได้รับคืนไปจากจำเลยที่ 1 นั้น เกิดจากจำเลยที่ 1 หักค่าจ้างไว้เป็นค่าปรับเนื่องจากโจทก์ผิดสัญญาส่งมอบงานล่าช้า ต่อมาโจทก์ขอต่ออายุสัญญาอีกแต่ไม่ได้รับการต่อให้ คงได้รับเงินส่วนลดค่าปรับตามมติคณะรัฐมนตรี การคืนค่าปรับให้ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่และไม่ใช่การชำระค่าจ้างตามสัญญา ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลยที่ 1 อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างเป็นเวลาเกิน 2 ปีนับแต่วันที่มีการส่งและรับมอบงานกัน คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างก่อสร้าง เริ่มนับจากวันส่งมอบงาน การต่ออายุสัญญาไม่กระทบอายุความ
จำเลยที่ 1 ต่ออายุสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างให้แก่โจทก์ระยะเวลาที่ต่ออายุสัญญาครบกำหนดก่อนวันที่โจทก์ส่งมอบงานงวดสุดท้าย การต่ออายุสัญญาดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการนับอายุความเพราะสิทธิเรียกร้องสินจ้างในการก่อสร้างนั้นต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่มีการส่งมอบงาน หาใช่นับตั้งแต่วันที่ทำงานเสร็จไม่ เงินค่าปรับที่โจทก์ได้รับคืนไปจากจำเลยที่ 1 นั้น เกิดจากจำเลยที่ 1 หักค่าจ้างไว้เป็นค่าปรับเนื่องจากโจทก์ผิดสัญญาส่งมอบงานล่าช้า ต่อมาโจทก์ขอต่ออายุสัญญาอีกแต่ไม่ได้รับการต่อให้คงได้รับเงินส่วนลดค่าปรับตามมติคณะรัฐมนตรี การคืนค่าปรับให้ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่มี หน้าที่และไม่ใช่การชำระค่าจ้างตามสัญญาถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลยที่ 1 อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างเป็นเวลาเกิน 2 ปีนับแต่วันที่มีการส่งและรับมอบงานกัน คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)