คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวีศักดิ์ ทองภักดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10594/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด: พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการตามแผนฟื้นฟูก่อนฟ้องคดี
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 เป็นมาตรการของรัฐที่ต้องการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดไม่ว่าผู้นั้นจะยินยอมเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือไม่ก็ตาม การที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีคำสั่งว่า ผู้เข้ารับการฟื้นฟูไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการฟื้นฟู ไม่มารายงานตัวตามกำหนดนัดและไม่ได้ไปพบแพทย์เพื่อรับการบำบัดรักษา พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการเตือนให้มารายงานตัวและติดตาม ผู้เข้ารับการฟื้นฟูมีเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ทำให้ผลการฟื้นฟูไม่เป็นที่น่าพอใจ จึงรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 33 วรรคสอง ซึ่งเป็นดุลพินิจของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และมาตราดังกล่าวยังบัญญัติให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการดำเนินคดีผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเมื่อผู้นั้นเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดครบถ้วนตามกำหนดแล้วแต่ผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่พอใจ
การที่จำเลยมาพบพนักงานสอบสวนหลังจากที่จำเลยหลบหนีไม่มาพบพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พนักงานสอบสวนจึงมีหน้าที่นำตัวจำเลยกลับไปบำบัดแก้ไขตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ครบถ้วนตามมาตรา 25 ก่อน การที่พนักงานสอบสวนไม่ดำเนินการดังกล่าวแต่กลับนำตัวจำเลยมาฟ้องเป็นคดีนี้ การสอบสวนจึงไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10209/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายหลังกฎหมายประกันตัวเปลี่ยนแปลง ผู้ร้องต้องดำเนินการตามกฎหมายใหม่
ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสอง ที่แก้ไขเพิ่มเติมได้บัญญัติไว้ชัดเจนให้หัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกัน แม้ไม่มีบทเฉพาะกาลเรื่องการบังคับคดีนายประกันก่อนที่มีการเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวว่าจะยังคงเป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการตามเดิมหรือเป็นของหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมตามบทบัญญัติที่เพิ่มเติมดังที่ผู้ร้องอ้างตามคำร้องก็ตาม แต่การที่ไม่มีบทเฉพาะกาลบัญญัติยกเว้นบทบัญญัติที่เพิ่มเติม ก็ต้องหมายความว่าให้ใช้บทบัญญัติเพิ่มเติมนั้นทันทีที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ ไม่มีเหตุที่จะให้ผู้ร้องเข้าใจว่าการบังคับคดีนายประกันที่มีอยู่ก่อนยังคงเป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ กรณีจึงไม่มีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10098/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค้ำประกัน, การรับสภาพหนี้, และการล้มละลายของลูกหนี้
การที่ลูกหนี้ที่ 1 ถึงที่ 6 ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ถือได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ จึงทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และเมื่ออายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้ที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้นย่อมเป็นโทษแก่ลูกหนี้ที่ 7 ผู้ค้ำประกันด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 จึงต้องเริ่มนับอายุความใหม่ ซึ่งมีผลต่อผู้ค้ำประกันด้วย เมื่อสัญญากู้ยืมเงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นหนี้ที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
ผู้ร้องมีหนังสือให้ลูกหนี้ที่ 7 มาปรับโครงสร้างหนี้ 2 ครั้ง ครั้งแรก ลูกหนี้ที่ 7 ได้รับหนังสือ ครั้งที่ 2 ลูกหนี้ที่ 7 ไม่มารับหนังสือภายในกำหนด ผู้ร้องจึงประกาศหนังสือพิมพ์แทน แต่ลูกหนี้ที่ 7 มิได้มาติดต่อกับเจ้าหนี้แต่ประการใด จึงถือว่าลูกหนี้ที่ 7 ไม่ให้ความร่วมมือในการปรับโครงสร้างหนี้ ตามที่เจ้าหนี้สั่งโดยที่ตนอยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ส่วนที่ลูกหนี้ที่ 7 ยื่นคำคัดค้านต่อสู้ว่า ตนเองมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ได้นั้น ก็มิได้นำพยานมาสืบให้เห็นว่าตนเองมีทรัพย์สินใดบ้างพอชำระหนี้หรือไม่ จึงรับฟังไม่ได้ตามที่ลูกหนี้ที่ 7 อ้าง กรณีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ที่ 7 ล้มละลาย แต่ลูกหนี้ที่ 7 ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 7 เด็ดขาดตามที่ผู้ร้องขอมาในอุทธรณ์ไม่ได้ ชอบที่ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ที่ 7 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 87 และมาตรา 84

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10095/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงิน การรับสภาพหนี้ทำให้เริ่มนับอายุความใหม่
สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงิน กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ถึงแม้ผู้ร้องมิได้นำสืบว่าการผิดนัดชำระหนี้เกิดขึ้นเมื่อใด การที่ลูกหนี้ที่ 1 ขอลดวงเงิน แสดงว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับเจ้าหนี้ยังมิได้เลิกกัน เจ้าหนี้เดิมย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องคือนับแต่วันที่ 7 เมษายน 2543 และวันที่ 28 ธันวาคม 2542 ตามลำดับ เมื่อต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2552 ลูกหนี้ที่ 1 ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ โดยยอมรับสภาพหนี้ว่า เพียง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548 ลูกหนี้ที่ 1 เป็นหนี้ผู้ร้อง 268,157,036.43 บาท ถือว่าลูกหนี้ที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นรับสภาพหนี้ต่อผู้ร้องตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้ที่ 1 ย่อมเป็นโทษแก่ลูกหนี้ที่ 3 ผู้ค้ำประกันด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 และมาตรา 193/14 ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ ต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2552 ผู้ร้องนำสิทธิเรียกร้องมายื่นคำร้องขอคดีนี้วันที่ 8 มิถุนายน 2553 คดีของผู้ร้องไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10079/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังปลดล้มละลาย: การติดตามทรัพย์สินก่อนปลดล้มละลายและการเพิกถอนการชำระหนี้
คำสั่งปลดจำเลยจากล้มละลายมีผลเพียงให้จำเลยพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย มีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินหรือกิจการของตนซึ่งได้มานับแต่วันที่ได้รับการปลดจากล้มละลายแล้วเท่านั้น ส่วนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังคงมีอำนาจในการจัดการและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 ทั้งจำเลยซึ่งได้ถูกปลดจากล้มละลายนั้นยังมีหน้าที่ช่วยในการจำหน่ายและแบ่งทรัพย์สินของตนซึ่งตกอยู่กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องการ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 79 เมื่อผู้ร้องอ้างในคำร้องว่าหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด จำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์โดยไม่มีอำนาจ เป็นการให้เปรียบเจ้าหนี้รายอื่น ขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ดังกล่าว ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ชอบที่จะไต่สวนให้ได้ความเสียก่อนว่า จำเลยได้กระทำการดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้างหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการที่ผู้ร้องจักได้จัดการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9955/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีทุจริต: การตีความบทบัญญัติขยายอายุความโดยเคร่งครัด และผลกระทบต่อคดีที่เกิดขึ้นก่อนมีผลบังคับใช้
ขณะเกิดเหตุ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ที่ให้เพิ่มความตามมาตรา 98 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ซึ่งให้นำมาตรา 74/1 มาใช้บังคับโดยอนุโลมยังไม่มีผลใช้บังคับ เมื่อมาตรา 98 ประกอบมาตรา 74/1 เป็นบทบัญญัติที่มิให้นับระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความด้วย ประกอบกับ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มิได้มีบทเฉพาะกาลให้นำมาตรา 98 ประกอบมาตรา 74/1 มาใช้บังคับแก่คดีที่เกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การตีความกฎหมายจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด จะขยายความไปถึงคดีที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับโดยที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดอันจะเป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่ เพราะจะขัดต่อความรับผิดของบุคคลในการรับโทษทางอาญา ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคหนึ่ง กรณีจึงนำมาตรา 98 ประกอบมาตรา 74/1 มาใช้ย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยมิได้ อายุความการฟ้องคดีอาญาแก่จำเลยที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนแล้วมีมติแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลย จึงต้องพิจารณาตามความใน ป.อ. มาตรา 95 เมื่อความผิดตาม ป.อ. มาตรา 148 ประกอบมาตรา 83 และ 86 ที่โจทก์ฟ้องมีอายุความยี่สิบปีนับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (1) การที่โจทก์ฟ้องและได้ตัวจำเลยมาดำเนินคดีนี้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2556 เกินกว่ายี่สิบปีนับแต่วันกระทำความผิดแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9718/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่า/เซ้งในทรัพย์สินที่ถูกขายทอดตลาดหลังล้มละลาย: สิทธิส่วนบุคคลไม่มีผลผูกพันผู้ซื้อ
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดที่ดินพร้อมอาคารของจำเลยแก่ผู้ซื้อทรัพย์แล้ว จำเลยและบริวารจำต้องออกไปจากทรัพย์สินดังกล่าว ส่วนการที่ผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องจ่ายค่าเซ้งอาคารชั้นที่ 3 ให้แก่จำเลยและทำการซ่อมแซมตกแต่งอาคารชั้นที่ 3 ดังกล่าวนั้น แม้ผู้ร้องจะจ่ายเงินดังกล่าวไปจริง แต่เมื่อผู้ร้องมิได้มีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน สิทธิดังกล่าวของผู้ร้องหากมีก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิระหว่างผู้ร้องกับจำเลย มิใช่ทรัพยสิทธิ จึงไม่มีผลไปถึงผู้ซื้อทรัพย์ของจำเลยจากการขายทอดตลาด ผู้ร้องมีฐานะเป็นบริวารจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9440/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด: อำนาจฟ้องเมื่อผู้ต้องหาต้องโทษจำคุกคดีอื่น
พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 กำหนดหลักเกณฑ์ผู้ซึ่งจะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดต้องเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามลักษณะชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้าไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด คำว่า ถ้าไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาลนั้น หมายถึง วันที่จำเลยกระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดนั้นจำเลยต้องหาหรือถูกดำเนินคดีอื่นหรืออยู่ระหว่างรับโทษจำคุก หาใช่วันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยตามที่จำเลยแก้ฎีกาไม่ จำเลยกระทำความผิดคดีนี้วันที่ 13 ธันวาคม 2554 ซึ่งในขณะนั้นจำเลยต้องคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้จำคุก ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1801/2553 ของศาลชั้นต้น จำเลยจึงเป็นผู้อยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ดังนี้ พนักงานสอบสวนจึงไม่ต้องนำตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9126/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายฝากที่ไม่สุจริต และประเด็นสินสมรสที่ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
แม้การขายฝากที่ดินพิพาทจะมีการทำนิติกรรมต่อเจ้าพนักงานที่ดินตามหนังสือสัญญาขายฝากที่ดิน แต่ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ราคาขายฝากที่ดินต่ำกว่าราคาตลาด ทั้ง ส. ซึ่ง จ.ผู้ขายฝากอ้างว่าเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันนั้น ก็เป็นญาติกับจำเลยผู้รับซื้อฝาก และราคาขายฝากนั้นจำเลยยอมรับว่าได้นำหนี้ของ ส. มารวมเข้าในราคาขายฝากด้วย แต่ไม่ปรากฏว่าเป็นหนี้เท่าใด รวมทั้งไม่มีหลักฐานการเป็นหนี้มาแสดง นอกจากนี้ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์เสนอไถ่ถอนที่ดินพิพาทคืนในราคา 8,000,000 บาท แต่จำเลยไม่ยินยอม อันแสดงให้เห็นว่าที่ดินพิพาทมีราคาสูงกว่าราคาที่ขายฝาก ตามพฤติการณ์แห่งคดีพอรับฟังได้ว่าจำเลยรับซื้อที่ดินพิพาทไว้โดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9108/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างขนส่งยังไม่เกิดขึ้นหากไม่มีการลงนามในสัญญา แม้จะมีการตกลงรายละเอียดเบื้องต้น
เดิมจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขนสินค้าเองบางส่วนที่เหลือให้โจทก์และบริษัทอื่นรับจ้างขนสินค้าคิดค่าจ้างเป็นรายเที่ยว จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับโจทก์มีสัญญาต่อกันในการรับจ้างขนสินค้าบางส่วนดังกล่าว ครั้นต่อมาโจทก์ได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนด้านการจัดส่งสินค้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่ง ธ. กรรมการผู้มีอำนาจโจทก์ยอมรับว่ายังไม่มีการทำสัญญาเนื่องจากสัญญาจะทำขึ้นในภายหลัง แสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเจตนาว่าสัญญาอันมุ่งจะทำต่อกันนั้นต้องทำเป็นหนังสือ แต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังไม่สามารถลงนามในสัญญาได้ เนื่องจากยังไม่สามารถตกลงกันได้ในรายละเอียด ดังนั้น เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังไม่ได้ลงนามในสัญญา ต้องถือว่ายังไม่มีสัญญาต่อกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง สัญญาว่าจ้างรถห้องเย็นขนส่งสินค้าที่ว่าจ้างโจทก์แต่ผู้เดียวตามฟ้องจึงยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงจะฟ้องให้อีกฝ่ายปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายหาได้ไม่
of 12