พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6221/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาหลังจำเลยเสียชีวิต และผลกระทบต่อคำขอส่วนแพ่ง
แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำพิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 120,000 บาท แก่โจทก์ร่วมที่ 1 และคืนเงิน 600,000 บาท ให้แก่โจทก์ร่วมที่ 2 แต่จำเลยยังคงยื่นฎีกา คดีจึงยังไม่ถึงที่สุด เมื่อจำเลยถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินแทนโจทก์ร่วมทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 อีก คำขอส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมทั้งสองที่ขอถือตามคำฟ้องของพนักงานอัยการย่อมตกไป ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจออกคำบังคับให้ผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของจำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในส่วนแพ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6219/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้จะซื้อที่ดินที่ถูกบังคับคดี: ผู้จะซื้อไม่ใช่บริวารเจ้าหนี้
ผู้ร้องเป็นผู้จะซื้อที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินจากจำเลยโดยผู้ร้องได้ชำระราคาบางส่วนและได้เข้าครอบครองทรัพย์สินตามสัญญาจะซื้อขายแล้ว ผู้ร้องเป็นผู้จะซื้อมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่ผู้ร้องโดยผู้ร้องต้องชำระราคาที่เหลือ การเข้าครอบครองก่อนการโอนกรรมสิทธิ์เป็นการเข้าครอบครองโดยอาศัยสิทธิของจำเลย กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลยและไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6067/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการค้ำประกันหลังล้มละลาย: โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามขั้นตอน หากไม่ทำ สิทธิขาดอายุ และจำเลยหลุดพ้นจากหนี้
จำเลยที่ 2 ถูกศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2535 อำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ห้ามมิให้จำเลยที่ 2 กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน เว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ดังที่บัญญัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และ มาตรา 24 แต่เมื่อศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2536 จำเลยที่ 2 ย่อมกลับมามีอำนาจในการประกอบกิจการและทรัพย์สินของตนเองได้อีกต่อไปจวบจนกระทั่งศาลจังหวัดแพร่ได้มีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้ และพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ได้ความตามสำเนาคำพิพากษาคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3657/2542 ของศาลจังหวัดเชียงราย ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2540 โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน และตามสำเนาคำพิพากษาคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3741/2542 ส. และ ว. จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีดังกล่าวกู้ยืมเงินโจทก์เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2540 โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน อันเป็นช่วงเวลาที่จำเลยที่ 2 กลับมามีอำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของตนเองเนื่องจากศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของจำเลยที่ 2 ดังนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจทำสัญญาค้ำประกันหนี้แก่โจทก์ได้โดยชอบ มูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยที่ 2 ทั้งสองคดีดังกล่าวจึงสมบูรณ์ ไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และมาตรา 24
ศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 60 วรรคสอง บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคำพิพากษาในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ ในคำโฆษณาให้ระบุชื่อ ตำบลที่อยู่ อาชีพของลูกหนี้ และวันที่ได้มีคำพิพากษาทั้งให้แจ้งกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้ทั้งหลายเสนอคำขอรับชำระหนี้ที่ลูกหนี้ได้กระทำขึ้นในระหว่างวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ถึงวันที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย มูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำไปฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งทั้งสองคดีเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ของจำเลยที่ 2 ถึงวันที่ศาลจังหวัดแพร่พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย ซึ่งโจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 60 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2547 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 81/1 วรรคท้าย และมาตรา 77 ซึ่งมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระหนี้ได้ เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสองคดีมีมูลแห่งหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 กระทำขึ้นในระหว่างวันที่ศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ถึงวันที่ศาลจังหวัดแพร่พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย อันเป็นหนี้ที่โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายหมายเลขแดงที่ ล.3/2535 ของศาลจังหวัดแพร่ ตามมาตรา 60 วรรคสอง ทั้งเป็นหนี้ที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 (1) และ (2) จำเลยที่ 2 ย่อมหลุดพ้นจากหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำไปฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสองคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีล้มละลายได้อีก
ศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 60 วรรคสอง บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคำพิพากษาในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ ในคำโฆษณาให้ระบุชื่อ ตำบลที่อยู่ อาชีพของลูกหนี้ และวันที่ได้มีคำพิพากษาทั้งให้แจ้งกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้ทั้งหลายเสนอคำขอรับชำระหนี้ที่ลูกหนี้ได้กระทำขึ้นในระหว่างวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ถึงวันที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย มูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำไปฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งทั้งสองคดีเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ของจำเลยที่ 2 ถึงวันที่ศาลจังหวัดแพร่พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย ซึ่งโจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 60 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2547 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 81/1 วรรคท้าย และมาตรา 77 ซึ่งมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระหนี้ได้ เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสองคดีมีมูลแห่งหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 กระทำขึ้นในระหว่างวันที่ศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ถึงวันที่ศาลจังหวัดแพร่พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย อันเป็นหนี้ที่โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายหมายเลขแดงที่ ล.3/2535 ของศาลจังหวัดแพร่ ตามมาตรา 60 วรรคสอง ทั้งเป็นหนี้ที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 (1) และ (2) จำเลยที่ 2 ย่อมหลุดพ้นจากหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำไปฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสองคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีล้มละลายได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6011/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดค้ามนุษย์กับเจ้าของสถานค้าประเวณีเป็นคนละกรรม ศาลฎีกายกประเด็นเพื่อแก้ไขคำพิพากษา
ความผิดฐานค้ามนุษย์ ฐานเป็นธุระจัดหาบุคคลไปเพื่อให้กระทำการค้าประเวณี และฐานเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหาเพื่อการอนาจารซึ่งชายหรือหญิง กฎหมายมุ่งที่จะบังคับแก่ผู้ที่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเป็นธุระจัดหาหญิงไปเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เพื่อการอนาจารหรือเพื่อให้กระทำการค้าประเวณี ไม่ว่าการเป็นธุระจัดหาดังกล่าวกระทำขึ้นโดยวิธีการใด ส่วนความผิดฐานเป็นเจ้าของ ผู้ดูแล ผู้จัดการกิจการการค้าประเวณีหรือสถานการค้าประเวณีนั้น กฎหมายมุ่งที่จะบังคับแก่ผู้จัดการกิจการหรือสถานที่ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าประเวณีหรือเพื่อใช้ในการติดต่อหรือจัดหาบุคคลเพื่อกระทำการค้าประเวณีเป็นการเฉพาะ เมื่อสภาพแห่งความผิดทั้งสองอย่างดังกล่าวมีความมุ่งหมายให้เกิดผลต่อผู้กระทำความผิดที่มีเจตนากระทำความผิดแตกต่างกัน จึงเป็นความผิดต่างกรรม มิใช่กรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกปัญหานี้ขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์ไม่ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษในความผิดฐานเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ดูแลหรือผู้จัดการสถานการค้าประเวณีโดยกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 11 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดได้ เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มโทษจำเลยซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5726/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากเจ้าหน้าที่, ความรับผิดของหน่วยงาน, อายุความ, ความเสียหายจากการประกอบธุรกิจ
คำฟ้องของโจทก์ระบุว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ เอกสารที่จำเลยที่ 2 ทำปลอมขึ้นได้กระทำที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์ทั้งสองคันดังกล่าวมาขายให้แก่โจทก์ที่ร้านของโจทก์ที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ร้านของโจทก์ดังกล่าวจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ถือได้ว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่าขาดอายุความเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด และในวรรคสองที่ว่า แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดที่มีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา และมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่า ก็ให้เอาอายุความที่ยาวกว่ามาบังคับนั้น คงใช้บังคับได้แต่ในกรณีการเรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดจากตัวผู้กระทำผิดหรือร่วมกระทำผิดโดยเฉพาะเท่านั้น มิได้รวมถึงการเรียกร้องจากผู้อื่นซึ่งมิได้เป็นผู้กระทำผิดหรือร่วมในการกระทำผิดด้วย
จำเลยที่ 4 มิได้เป็นผู้กระทำผิดหรือร่วมในการกระทำผิด เพียงแต่เป็นหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดของจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกโจทก์กล่าวหาว่ากระทำการโดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ปลอมใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์พิพาททำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง กำหนดให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวต้องรับผิดทางแพ่งต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยเท่านั้นหาได้บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดร่วมกับเจ้าหน้าที่ของตนซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดดังเช่นในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างไม่ จึงไม่อาจนำกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มาใช้บังคับแก่กรณีนั้นได้ แต่เนื่องจากตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มิได้บัญญัติอายุความฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 จะให้การต่อสู้ว่า โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2548 แต่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2550 ยังไม่พ้นกำหนดสิบปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่าขาดอายุความเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด และในวรรคสองที่ว่า แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดที่มีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา และมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่า ก็ให้เอาอายุความที่ยาวกว่ามาบังคับนั้น คงใช้บังคับได้แต่ในกรณีการเรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดจากตัวผู้กระทำผิดหรือร่วมกระทำผิดโดยเฉพาะเท่านั้น มิได้รวมถึงการเรียกร้องจากผู้อื่นซึ่งมิได้เป็นผู้กระทำผิดหรือร่วมในการกระทำผิดด้วย
จำเลยที่ 4 มิได้เป็นผู้กระทำผิดหรือร่วมในการกระทำผิด เพียงแต่เป็นหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดของจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกโจทก์กล่าวหาว่ากระทำการโดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ปลอมใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์พิพาททำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง กำหนดให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวต้องรับผิดทางแพ่งต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยเท่านั้นหาได้บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดร่วมกับเจ้าหน้าที่ของตนซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดดังเช่นในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างไม่ จึงไม่อาจนำกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มาใช้บังคับแก่กรณีนั้นได้ แต่เนื่องจากตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มิได้บัญญัติอายุความฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 จะให้การต่อสู้ว่า โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2548 แต่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2550 ยังไม่พ้นกำหนดสิบปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5695/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลายและการรับสภาพหนี้ การชำระหนี้บางส่วนไม่กระทบอายุความ
การนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งอันถึงที่สุดมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย ไม่ใช่เรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาที่ถึงที่สุด มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 คดีดังกล่าวศาลแพ่งอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นวันที่คดีถึงที่สุด อายุความจึงเริ่มนับ แต่ปรากฏว่าระหว่างยังไม่พ้นอายุความในวันที่ 21 มกราคม 2554 จำเลยชำระหนี้บางส่วนตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์เป็นเงิน 2,064,440 บาท กรณีถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องโดยชำระหนี้ให้บางส่วน ย่อมมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลง ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นจึงไม่นับเข้าในอายุความ ต้องเริ่มนับอายุความใหม่นับถัดจากวันที่ 21 มกราคม 2554 ไปอีก 10 ปี ตามมาตรา 193/14 (1) ประกอบมาตรา 193/15 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2555 จึงอยู่ในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลง โจทก์จึงมีสิทธินำมูลหนี้ตามคำพิพากษานั้นมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ และแม้ว่าเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2554 จำเลยได้นำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์บางส่วนเป็นเงิน 2,064,440 บาท เพื่อให้โจทก์ถอนการบังคับคดีแพ่งเฉพาะจำเลย ซึ่งโจทก์ไม่ดำเนินการ แต่ก็เป็นเงินจำนวนไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับยอดหนี้ตามคำพิพากษาและจำเลยคงเป็นหนี้โจทก์ถึงวันฟ้องเป็นเงินรวมทั้งสิ้นถึง 12,584,200.40 บาท และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์อีกเลย พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5258/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปลอมเอกสารโดยไม่มีอำนาจหน้าที่โดยตรง ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 161
การที่จำเลยกระทำการปลอมเอกสารใบรับฝากส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษของที่ทำการไปรษณีย์พิษณุโลก ด้วยการกรอกข้อความให้ปรากฏว่าเป็นการรับฝากส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษว่าได้ส่งไปตามหน่วยราชการต่าง ๆ แล้วอันเป็นเท็จ นั้น ตามใบรับฝากไปรษณีย์ในประเทศ รวม 7 ฉบับ ด้านบนมีข้อความระบุว่า ผู้ฝากส่งเป็นผู้กรอกข้อความ เมื่อผู้ฝากส่งกรอกข้อความแล้วได้นำส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ เพื่อนำซองเอกสารนั้นชั่งน้ำหนักและดำเนินการต่อโดยกรอกข้อความในส่วนด้านล่างที่มีข้อความระบุว่า เจ้าหน้าที่เป็นผู้กรอกข้อความซึ่งหมายถึงเจ้าพนักงานไปรษณีย์ผู้มีหน้าที่โดยตรงในการจัดทำเอกสารดังกล่าวซึ่งเป็นเอกสารของที่ทำการไปรษณีย์พิษณุโลก ดังนั้น การที่จำเลยกระทำการปลอมเอกสารดังกล่าว โดยจำเลยมีหน้าที่ตามคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบล ผ. เพียงเป็นผู้ปลดและผู้นำส่งประกาศประกวดราคาจ้างเหมาของผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการจัดทำเอกสารใบรับฝากส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษดังกล่าว การที่จำเลยปลอมเอกสารดังกล่าว จึงไม่ถือว่ากระทำโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 161 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยได้รับการแต่งตั้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผ. ให้เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ เป็นเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ปลดและนำส่งเอกสารประกาศประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างของผู้เสียหายซึ่งกำหนด ให้มีหน้าที่นำเอกสารประกาศประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างดังกล่าว เผยแพร่ไปยังสถานที่ราชการต่าง ๆ รวมเจ็ดแห่ง ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2538 ข้อ 31 ดังนั้น ข้อฎีกาของโจทก์ที่ว่าจำเลยมีหน้าที่กรอกข้อความในใบรับฝากไปรษณีย์ด่วนพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2542 และตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจึงเป็นการนอกฟ้องและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยได้รับการแต่งตั้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผ. ให้เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ เป็นเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ปลดและนำส่งเอกสารประกาศประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างของผู้เสียหายซึ่งกำหนด ให้มีหน้าที่นำเอกสารประกาศประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างดังกล่าว เผยแพร่ไปยังสถานที่ราชการต่าง ๆ รวมเจ็ดแห่ง ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2538 ข้อ 31 ดังนั้น ข้อฎีกาของโจทก์ที่ว่าจำเลยมีหน้าที่กรอกข้อความในใบรับฝากไปรษณีย์ด่วนพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2542 และตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจึงเป็นการนอกฟ้องและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4502/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิดฐานขับรถเสพยาเสพติด: การออกข้อกำหนดของอธิบดีและการตีความตามพจนานุกรม
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งคำว่า "ทั้งนี้" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า ตามที่กล่าวมานี้ ดังนี้ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงครอบคลุมถึงเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ซึ่งเป็นข้อความที่กล่าวไว้ก่อนคำว่าตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มิใช่ครอบคลุมเฉพาะกรณีวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทเท่านั้น เมื่ออธิบดีกรมตำรวจออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน ตามข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่อง กำหนดชื่อและประเภทวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและประเภทของรถที่ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจสอบผู้ขับขี่ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2537 โดยยังไม่ได้ออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพฝิ่นซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4439/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล: การจำกัดสิทธิเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง และผลของการไม่อุทธรณ์ตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4359/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีสัญญาประกันในคดีอาญา แม้เกิน 10 ปี และเหตุผลที่ศาลอนุญาตขยายระยะเวลาได้
การทำสัญญาประกันอันเนื่องมาจากศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยมีประกันหรือมีประกันและหลักประกันบัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 112 ส่วนการบังคับในกรณีมีการผิดสัญญาประกันบัญญัติไว้ในมาตรา 119 จึงถือได้ว่า การบังคับตามสัญญาประกันเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาทางอาญาโดยแท้ การพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ที่ทำสัญญาประกันต่อศาลจึงต้องพิจารณาจากบริบทของคดีอาญาเป็นสำคัญ โดยในคดีอาญานั้น ผู้ประกันซึ่งทำสัญญาประกันว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลมีหน้าที่จะต้องนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมามอบต่อศาลตามกำหนดหรือตามที่ศาลมีหมายเรียก ซึ่งหากผิดสัญญาก็มิใช่เพียงแต่ก่อให้เกิดความเสียหายภายในวงเงินตามสัญญาประกันเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมทางศาลด้วย และตราบใดที่ผู้ประกันยังไม่ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลก็ต้องถือว่ายังคงผิดสัญญาประกันที่ทำไว้ต่อศาลอยู่ตราบนั้น แต่หากผู้ประกันขวนขวายได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาภายในอายุความทางอาญา ศาลในคดีนั้น ๆ ก็ยังอาจลดค่าปรับลงได้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีแม้จะส่งมอบ ตัวเกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับนายประกันก็ตาม เมื่อผู้ประกันในคดีอาญาต่าง ๆ รวมทั้งผู้ประกันในคดีนี้มีสิทธิและหน้าที่ดังเช่นที่กล่าวมา ผู้ร้องในคดีนี้จึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งของศาลที่สั่งปรับผู้ประกันได้ แม้จะเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน เมื่อผู้ร้องยังคงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ผู้ประกันได้ก็หาจำต้องร้องขอขยายระยะเวลาในการบังคับคดีไม่ กรณีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยฎีกาของผู้ประกันว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะขยายระยะเวลาให้แก่ผู้ร้องหรือไม่