พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14477/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบอาวุธปืน: การบรรยายฟ้อง 'ไม่ปรากฏเครื่องหมายทะเบียน' ไม่ทำให้เป็นทรัพย์สินที่ต้องริบ หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นของผู้อื่นที่มีทะเบียน
คำว่า "ปรากฏ" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า สำแดงออกมาให้เห็น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองว่า เป็นอาวุธปืนที่ไม่ปรากฏเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับ จึงมีความหมายว่า เป็นอาวุธปืนที่ไม่สำแดงออกมาให้เห็นถึงเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับ กรณีจึงยังไม่เป็นการแน่นอนว่าอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองนั้น เป็นอาวุธปืนที่มีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้หรือไม่ จึงต้องฟังข้อเท็จจริงให้เป็นคุณแก่จำเลยว่า อาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น เป็นอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และความผิดดังกล่าวอยู่ที่การไม่ได้รับใบอนุญาต หาทำให้อาวุธปืนของกลางที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นอาวุธปืนผิดกฎหมายไปไม่ อาวุธปืนของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดอันจะพึงต้องริบ และไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 ไม่อาจริบตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ ชอบที่จะต้องส่งคืนแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12152/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนของกลาง (อาวุธปืน) กรณีเจ้าของมิได้รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำผิด จำเลยไม่ต่อสู้คดีหลัก
คดีร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบนั้น ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องมีเพียงว่าศาลจะสั่งคืนอาวุธปืนของกลางให้แก่เจ้าของซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่เท่านั้นส่วนอาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนที่มีเครื่องหมายทะเบียนหรือไม่ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีหลักซึ่งถึงที่สุดแล้ว ที่ผู้ร้องทั้งสองอ้างว่า ผู้ร้องที่ 1 ให้จำเลยยืมอาวุธปืนของกลาง ส่วนผู้ร้องที่ 2 ฝากอาวุธปืนของกลางอีกกระบอกหนึ่งไว้กับจำเลย เมื่อผู้ร้องทั้งสองทราบว่าจำเลยถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับอาวุธปืนของกลาง ผู้ร้องทั้งสองย่อมนำใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนของกลางให้จำเลยต่อสู้ในคดีหลักเพื่อพิสูจน์ว่าอาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนที่มีเครื่องหมายทะเบียนหรือไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่ได้ต่อสู้ในคดีหลัก ผู้ร้องทั้งสองจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาในคำร้องขอคืนของกลางต่อไปอีกไม่ได้
ป.อ. มาตรา 36 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลสั่งให้ริบทรัพย์สินตามมาตรา 33 หรือมาตรา 34 ไปแล้ว หากปรากฏในภายหลังโดยคำเสนอของเจ้าของที่แท้จริงว่า ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ก็ให้ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สิน..." เมื่อคดีหลักของคดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบอาวุธปืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 32 ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่มีอำนาจยื่นคำขอให้คืนอาวุธปืนของกลางตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นได้
ป.อ. มาตรา 36 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลสั่งให้ริบทรัพย์สินตามมาตรา 33 หรือมาตรา 34 ไปแล้ว หากปรากฏในภายหลังโดยคำเสนอของเจ้าของที่แท้จริงว่า ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ก็ให้ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สิน..." เมื่อคดีหลักของคดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบอาวุธปืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 32 ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่มีอำนาจยื่นคำขอให้คืนอาวุธปืนของกลางตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6418/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินและการคืนทรัพย์สินแก่เจ้าของที่แท้จริง ผู้มิได้รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิด
ป.อ. มาตรา 36 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลสั่งให้ริบทรัพย์สินตามมาตรา 33 หรือมาตรา 34 ไปแล้ว หากปรากฏในภายหลังโดยคำเสนอของเจ้าของที่แท้จริงว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของแท้จริง มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ก็ให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สิน ...." เมื่อคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1666/2555 ของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นคดีหลักของคดีนี้ โจทก์ขอให้ริบอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 32 และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ซึ่งเป็นการริบทรัพย์สินตาม ป.อ. มาตรา 32 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้คืนอาวุธปืนของกลางตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบโทรศัพท์มือถือที่ใช้ในการติดต่อส่งมอบยาเสพติด แม้เป็นพยานบอกเล่า แต่มีเหตุผลเชื่อได้ว่าใช้ในการกระทำผิด
ดาบตำรวจ ศ. ผู้ร่วมจับกุมเบิกความว่า จำเลยรับว่าใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางติดต่อในการขนส่งเมทแอมเฟตามีน และจำเลยให้การในชั้นสอบสวนว่า ชายที่ให้จำเลยขนเมทแอมเฟตามีนเป็นคนมอบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางให้จำเลยใช้โดยให้รับสายอย่างเดียว แม้คำรับและคำให้การในชั้นสอบสวนดังกล่าวเป็นเพียงพยานบอกเล่า แต่ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมที่จำเลยมีหน้าที่ขับรถนำเมทแอมเฟตามีนจำนวนมากไปส่งให้แก่ผู้รับ เชื่อว่าผู้ว่าจ้างต้องมอบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางให้จำเลยไว้ใช้ติดต่อในการส่งมอบเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยได้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางในการติดต่อส่งมอบเมทแอมเฟตามีน จึงต้องริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางต้องเป็นไปตามคำขอ ศาลสั่งริบเกินคำขอเป็นเหตุให้ต้องยกคำพิพากษา
แม้รถยนต์หมายเลขทะเบียน กค 812 ปราจีนบุรี ของกลาง เป็นยานพาหนะที่จำเลยที่ 3 ร่วมกับพวกใช้ในการนำเมทแอมเฟตามีนของกลางไปส่งให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ อันเป็นยานพาหนะที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ซึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 บัญญัติให้ริบเสียทั้งสิ้นก็ตาม แต่รถยนต์ของกลางไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 32 ดังนั้น เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบของกลางทั้งหมดที่เจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้ ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางที่เหลือจากการตรวจพิสูจน์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง เจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้ ดังนี้ เท่ากับโจทก์ขอให้ริบเมทแอมเฟตามีนและโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางเท่านั้น โจทก์มิได้มีคำขอให้ริบรถยนต์ของกลาง เช่นนี้ศาลย่อมไม่อาจสั่งริบรถยนต์ของกลางได้เพราะจะเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8474/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบอาวุธปืน: ความผิดฐานมีอาวุธปืนของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ทำให้ทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินที่ต้องริบ
จำเลยกระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ความผิดจึงอยู่ที่การไม่ได้รับใบอนุญาต หาทำให้อาวุธปืนและซองกระสุนปืนที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนผิดกฎหมายไปไม่ อาวุธปืนดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดอันจะพึงต้องริบ และไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 ไม่อาจริบตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ ชอบที่จะต้องส่งคืนแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8411/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขับรถโดยใช้เอกสารราชการปลอม และประเด็นการริบของกลางตามมาตรา 32 ป.อ.
แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ แผ่นป้ายเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีและใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ที่มีผู้ทำปลอมขึ้นเป็นทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่าผู้ใดทำขึ้นเป็นความผิดซึ่งต้องริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นของผู้กระทำความผิด และมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ตาม ป.อ. มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20050/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกต่อเนื่องเมื่อจำเลยกระทำความผิดซ้ำระหว่างรอการลงโทษ และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาลงโทษคดีเดิมแล้ว
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ต้องคำพิพากษาให้จำคุก 2 ปี 11 เดือน และปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 4 ปี และภายในระยะเวลาที่ศาลรอการลงโทษ จำเลยที่ 1 กลับมากระทำความผิดคดีนี้ แม้คดีก่อนจะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็ไม่ใช่เหตุที่ศาลชั้นต้นจะนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกกับโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ไม่ได้ แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาในคดีก่อนให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 6 ปี 11 เดือน และคดีถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ในคดีนี้ จึงไม่มีโทษจำคุกที่ศาลรอการลงโทษในคดีก่อนที่จะนำมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้อีก อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาในคดีนี้ และโจทก์แก้ฎีกาขอให้นับโทษจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีก่อน ดังนั้น จึงชอบที่จะนับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีก่อน ซึ่งเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะสั่งให้นับโทษต่อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22722/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาคดีภาษียาสูบ: การบรรยายฟ้องต้องระบุองค์ประกอบความผิดชัดเจน การไม่มีหลักฐานสันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อขาย ไม่อาจลงโทษได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมียาสูบซึ่งผลิตในต่างประเทศโดยมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบหลายยี่ห้อ รวม 861 ซอง โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบดังกล่าว แม้ในฟ้องจะระบุฐานความผิดว่า ขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบและมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวก็ตาม ซึ่งก็มิใช่การบรรยายฟ้องในส่วนที่เป็นองค์ประกอบความผิดเพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) อีกทั้งการที่จำเลยมียาสูบของกลางจำนวนมากไว้ในครอบครอง ก็ไม่มีกฎหมายสันนิษฐานว่ามีไว้ขายหรือเพื่อขาย แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจรับฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานขายหรือมีไว้เพื่อขายตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่ามีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 จึงไม่อาจริบบุหรี่ของกลางเป็นของกรมสรรพสามิตตาม พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา 44 ทั้งไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด และไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด จึงไม่อาจริบของกลางดังกล่าวตาม ป.อ. มาตรา 32 และมาตรา 33 อีกทั้งคดีนี้ศาลไม่ได้ลงโทษจำเลย จึงไม่อาจพิพากษาให้จ่ายสินบนและรางวัลตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 7, 8 ตามที่โจทก์ขอ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่ามีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 จึงไม่อาจริบบุหรี่ของกลางเป็นของกรมสรรพสามิตตาม พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา 44 ทั้งไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด และไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด จึงไม่อาจริบของกลางดังกล่าวตาม ป.อ. มาตรา 32 และมาตรา 33 อีกทั้งคดีนี้ศาลไม่ได้ลงโทษจำเลย จึงไม่อาจพิพากษาให้จ่ายสินบนและรางวัลตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 7, 8 ตามที่โจทก์ขอ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5698/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด: โทรศัพท์ที่ใช้ติดต่อซื้อขายต้องริบ แต่รถจักรยานยนต์ที่ใช้เดินทางไม่ถือเป็นเครื่องมือในการกระทำผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และขอให้ศาลสั่งริบโทรศัพท์เคลื่อนที่และรถจักรยานยนต์ของกลางโดยอ้างว่าจำเลยใช้ติดต่อและใช้เป็นยานพาหนะในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อขายเมทแอมเฟตามีนโดยนัดส่งมอบบริเวณที่เกิดเหตุ ต่อมาจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนของกลางไปบริเวณที่เกิดเหตุและเจ้าพนักงานตำรวจยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางได้ที่ตัวจำเลย โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางจึงเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันพึงต้องริบตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102
ส่วนรถจักรยานยนต์ของกลาง ทางนำสืบโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยนำมาใช้เป็นยานพาหนะสำหรับการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และเจ้าพนักงานตำรวจไม่ได้ค้นพบเมทแอมเฟตามีนที่รถจักรยานยนต์ของกลาง ดังนี้ รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้เดินทางมายังที่เกิดเหตุ ไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่ทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2) จึงไม่อาจริบได้
ส่วนรถจักรยานยนต์ของกลาง ทางนำสืบโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยนำมาใช้เป็นยานพาหนะสำหรับการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และเจ้าพนักงานตำรวจไม่ได้ค้นพบเมทแอมเฟตามีนที่รถจักรยานยนต์ของกลาง ดังนี้ รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้เดินทางมายังที่เกิดเหตุ ไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่ทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2) จึงไม่อาจริบได้