พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4016/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งริบยาเสพติด: แม้โจทก์มิได้ขอริบ แต่กล่าวถึงการยึดยาเสพติดในฟ้อง ก็สั่งริบได้
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 บัญญัติว่า บรรดายาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 ประเภท 4 หรือประเภท 5... ให้ริบเสียทั้งสิ้น ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 บัญญัติว่าทรัพย์สินใดที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิดและมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวทั้งที่เป็นบทเฉพาะและบททั่วไปมีความสอดคล้องต้องกันแสดงให้เห็นว่ามีเจตนารมณ์มุ่งประสงค์ให้ศาลสั่งริบยาเสพติดให้โทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้เสียทั้งสิ้น ซึ่งเป็นบทบังคับเด็ดขาด ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ขอให้ริบเมทแอมเฟตามีนมาในคำขอท้ายฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ได้กล่าวในฟ้องแล้วว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้กล่าวไว้ในฟ้องแล้ว ศาลมีอำนาจสั่งริบเมทแอมเฟตามีนของกลางได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น หาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2232/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษคดีละเมิดลิขสิทธิ์และควบคุมวัสดุโทรทัศน์ พิจารณาจากปริมาณของกลางและลักษณะการประกอบกิจการ
ความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31(1) และ 70 วรรคสองบัญญัติให้ลงโทษจำคุกสามเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อภาพยนตร์วีดีโอซีดีแผ่นวีซีดีและแผ่นซีดีรอมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของกลาง ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของบริษัทผู้เสียหายและจำเลยนำมาจำหน่ายเพื่อการหากำไรมีจำนวนเพียง 155 แผ่น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ให้จำคุก 1 ปี และปรับ 300,000 บาท จึงหนักเกินไปส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ มาตรา 6วรรคหนึ่ง และมาตรา 34 ที่ลงโทษปรับจำเลย 20,000 บาท ก็สูงเกินไปด้วย ไม่เหมาะสมแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดของจำเลยซึ่งประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวัสดุโทรทัศน์ของกลางบริเวณลานจอดรถของห้างสรรพสินค้าอันมิได้ประกอบกิจการโดยตั้งเป็นร้านค้าถาวรแต่อย่างใด ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ เห็นควรกำหนดโทษในความผิดทั้งสองฐานเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดของจำเลย
วีดีโอภาพยนตร์ แผ่นวีซีดีและซีดีรอมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของกลาง ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของบริษัทผู้เสียหายย่อมตกเป็นของผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 75 จึงไม่ชอบที่จะริบของกลางดังกล่าว
วีดีโอภาพยนตร์ แผ่นวีซีดีและซีดีรอมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของกลาง ซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของบริษัทผู้เสียหายย่อมตกเป็นของผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 75 จึงไม่ชอบที่จะริบของกลางดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องชั่งผิดอัตรา: หลักฐานฟังไม่ได้ว่าเครื่องชั่งชำรุดจริง ศาลยกฟ้อง
แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามข้อหาที่เจ้าพนักงานผู้จับกุมแจ้งว่ามีและใช้เครื่องชั่งที่ผิดอัตราเพื่อเอาเปรียบในการค้าโดยใต้แท่นเครื่องชั่งของกลางไม่มีแผ่นเหล็กบังคับห่วงคู่ด้านหน้าก็ตาม แต่ผู้จับกุมดังกล่าวไม่มีความชำนาญเกี่ยวกับเครื่องชั่งไม่ทราบว่าเครื่องชั่งของกลางจะมีการดัดแปลงหรือไม่ ทั้ง อ. เจ้าพนักงานชั่ง ตวง วัด ซึ่งเป็นผู้พิสูจน์เครื่องชั่งดังกล่าวก็มิได้ยืนยันว่า การที่ขาดแผ่นเหล็กบังคับห่วงคู่ด้านหน้าจะมีผลทำให้เครื่องชั่งผิดอัตราไป แม้จะปรากฏว่าขอห้อยรองรับตุ้มถ่วงปลายคันชั่งชำรุดอันอาจทำให้ผู้ใช้เครื่องชั่งสามารถเพิ่มหรือลดน้ำหนักที่ขอห้อยได้ตามความต้องการ และมีการพิสูจน์น้ำหนักโดยเทียบกับมาตราตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน โดยสอบน้ำหนักขั้นต่าง ๆ แล้วพบว่ามีน้ำหนักเกินมาตรฐานอยู่บ้าง แต่ อ. ก็เบิกความตอบคำถามค้านว่าเครื่องชั่งของกลางได้ผ่านการตรวจสอบให้คำรับรองมาแล้วทั้งขณะที่ตรวจเครื่องชั่งยังไม่มีการเพิ่มหรือลดเครื่องชั่ง เพียงแต่อยู่ในลักษณะที่สามารถเพิ่มหรือลดเครื่องชั่งตามความต้องการของผู้ใช้ กรณีจึงขัดแย้งกับการพิสูจน์น้ำหนักเครื่องชั่งของกลางที่ว่า น้ำหนักเกินมาตรฐานดังกล่าว ส่วนการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเครื่องชั่งของกลางถูกดัดแปลงแก้ไขนอตยึดแกนล้อถูกเชื่อมพอกให้หนาขึ้นเพื่อเวลาใช้เครื่องชั่งจะทำให้แกนล้อเลื่อนไปมาได้ และทำให้ส่วนที่เชื่อมพอกบนแกนล้อไปหนุนคานรับน้ำหนักใต้แท่นชั่งเมื่อทำการชั่งจะทำให้น้ำหนักที่ชั่งได้ไม่ตรงตามมาตรฐานที่ทางราชการเคยรับรองไว้โดยจะชั่งน้ำหนักได้น้อยกว่าความจริงนั้น ในชั้นพิจารณาโจทก์ก็ไม่มีพยานปากใดเบิกความถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ฉะนั้น การที่เครื่องชั่งของกลางมีขอห้อยรองรับตุ้มถ่วงปลายคันชั่งชำรุด แม้จะทำให้เครื่องชั่งอยู่ในลักษณะที่จะเพิ่มหรือลดเครื่องชั่งได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ก็จะสันนิษฐานให้เป็นผลร้ายว่า จำเลยที่ 1ใช้เครื่องชั่งให้ผิดอัตราไปในทางเพิ่มหรือลดเครื่องชั่งไม่ได้ พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าเครื่องชั่งของกลางเป็นเครื่องชั่งที่ผิดอัตรา
เมื่อฟังไม่ได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัดฯ จึงไม่อาจยึดเครื่องชั่ง ตุ้มน้ำหนักและคานแขวนลูกตุ้มของกลางตามมาตรา 38 ได้ทั้งของกลางดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดและมิใช่ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด จึงไม่อาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33
เมื่อฟังไม่ได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัดฯ จึงไม่อาจยึดเครื่องชั่ง ตุ้มน้ำหนักและคานแขวนลูกตุ้มของกลางตามมาตรา 38 ได้ทั้งของกลางดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดและมิใช่ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด จึงไม่อาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง (โทรศัพท์มือถือ) ในคดียาเสพติด ต้องพิสูจน์การใช้เพื่อกระทำผิดโดยตรง
เมื่อทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำโทรศัพท์มือถือของกลางมาใช้สำหรับติดต่อซื้อขายยาเสพติดให้โทษอย่างไร โทรศัพท์มือถือจึงไม่ใช่เครื่องมือเครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิด ซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่กระทำในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 และ 33(2) จึงไม่อาจริบได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาเห็นควรหยิบยกว่ากล่าวและสั่งคืนแก่เจ้าของได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9546/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดฐานฉายวิดีโอคาราโอเกะโดยไม่ได้รับอนุญาต และการริบของกลาง
ผู้ร้องเป็นเจ้าของตู้คาราโอเกะ อันประกอบด้วยเครื่องรับโทรทัศน์สี เครื่องเล่นวิดีโอซีดี แผ่นวิดีโอซีดี และเครื่องเสียงพร้อมลำโพง ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาให้ริบตาม ป.อ. มาตรา 33 เพราะจำเลยได้นำไปฉายหรือให้บริการ วิดีโอซีดีคาราโอเกะที่มีการแสดงภาพและเสียงเพลงบริการลูกค้าโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ควมคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 4, 20 วรรคสอง, 38 แต่ผู้ร้องทราบความต้องการของจำเลยว่าจำเลยต้องการติดตั้งตู้คาราโอเกะอย่างเร่งด่วนในทันทีแม้จำเลยยังไม่ได้รับใบอนุญาต ทั้งนี้เพื่อเป็นการเอาใจลูกค้ารวมถึงกิจการค้าขายเจริญขึ้นตามไปด้วย ดังนี้รับฟังได้ว่า ผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุด ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้จัดให้มีการฉายวิดีโอซีดีที่มีการแสดงภาพและเสียงเพลงขึ้นในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ แม้คำพิพากษาดังกล่าวไม่ผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอก แต่เมื่อผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้ใช้ตู้คาราโอเกะของกลางอันประกอบด้วยเครื่องรับโทรทัศน์สีวิดีโอซีดี เครื่องเล่นวิดีโอซีดี เครื่องเสียงและลำโพงในการกระทำความผิดฐานฉายวิดีโอซีดีของกลางที่มีการแสดงภาพและ เสียงเพลงในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต จึงต้องฟังว่าทรัพย์ทั้งหมดถูกใช้ในการกระทำผิดของจำเลย ทรัพย์ชิ้นใดโดยตัวของมันเองจะเป็นวัสดุโทรทัศน์หรือไม่ก็ตาม ทรัพย์นั้นก็ยังคงเป็นทรัพย์ที่ ถูกใช้ร่วมกับทรัพย์อื่นในการกระทำความผิดฐานฉายวิดีโอซีดีที่มีการแสดงภาพและเสียงเพลงขึ้นในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตอันควรต้องริบตาม ป.อ. มาตรา 33 อยู่ดี จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาว่าทรัพย์ชิ้นใดเป็นวัสดุโทรทัศน์อันจะริบตาม พ.ร.บ. ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 4 หรือไม่
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุด ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้จัดให้มีการฉายวิดีโอซีดีที่มีการแสดงภาพและเสียงเพลงขึ้นในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ แม้คำพิพากษาดังกล่าวไม่ผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอก แต่เมื่อผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้ใช้ตู้คาราโอเกะของกลางอันประกอบด้วยเครื่องรับโทรทัศน์สีวิดีโอซีดี เครื่องเล่นวิดีโอซีดี เครื่องเสียงและลำโพงในการกระทำความผิดฐานฉายวิดีโอซีดีของกลางที่มีการแสดงภาพและ เสียงเพลงในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต จึงต้องฟังว่าทรัพย์ทั้งหมดถูกใช้ในการกระทำผิดของจำเลย ทรัพย์ชิ้นใดโดยตัวของมันเองจะเป็นวัสดุโทรทัศน์หรือไม่ก็ตาม ทรัพย์นั้นก็ยังคงเป็นทรัพย์ที่ ถูกใช้ร่วมกับทรัพย์อื่นในการกระทำความผิดฐานฉายวิดีโอซีดีที่มีการแสดงภาพและเสียงเพลงขึ้นในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตอันควรต้องริบตาม ป.อ. มาตรา 33 อยู่ดี จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาว่าทรัพย์ชิ้นใดเป็นวัสดุโทรทัศน์อันจะริบตาม พ.ร.บ. ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 4 หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9072/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งริบยาเสพติด แม้โจทก์มิได้ขอริบ โดยอาศัยเจตนารมณ์ของกฎหมาย
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 32 มีเจตนารมณ์มุ่งประสงค์ให้ศาลต้องสั่งริบยาเสพติดให้โทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้เสียทั้งสิ้นซึ่งเป็นบทบังคับเด็ดขาด ฉะนั้น แม้โจทก์จะมิได้ขอให้ริบเมทแอมเฟตามีนของกลางมา แต่เมื่อโจทก์ได้กล่าวในฟ้องแล้วว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ ศาลจึงมีอำนาจสั่งริบได้ กรณีเป็นการพิพากษาหรือสั่งตามที่โจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องแล้ว ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7766/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าบุพการี-ครอบครองอาวุธ: ศาลฎีกายืนโทษฐานฆ่า แต่ยกข้อหาครอบครองปืนของผู้ตาย
อาวุธปืนของกลางเป็นของผู้ตาย การที่จำเลยหยิบอาวุธปืนของผู้ตายที่วางอยู่บริเวณที่เกิดเหตุขึ้นมายิงผู้ตายนั้น อาวุธปืนดังกล่าวยังอยู่ในความครอบครองของผู้ตาย จำเลยไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่ออาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนไม่มีทะเบียน ผู้ใดมีไว้เป็นความผิดจึงต้องริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเลื่อยโซ่ที่ถูกริบและนำออกขายทอดตลาดโดยมิชอบ แม้ผู้ซื้อจะสุจริต แต่เลื่อยโซ่ยังคงเป็นของต้องห้ามตามกฎหมายศุลกากร
การกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ เกี่ยวกับการช่วยรับเอาไว้ซึ่งของต้องห้ามหรือต้องจำกัดนี้ ของต้องห้ามดังกล่าวได้แก่ของซึ่งมีกฎหมายห้ามการนำเข้าหรือส่งออกไว้
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 91) พ.ศ. 2521 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ. ควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2496 ได้กำหนดว่า เลื่อยโซ่พร้อมอุปกรณ์เป็นสินค้าต้องห้ามจะนำเข้าในราชอาณาจักรมิได้ หากเจ้าพนักงานยึดเลื่อยโซ่ได้จะต้องส่งเลื่อยโซ่ ดังกล่าวให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่อยู่ใกล้เคียงที่สุด จากนั้นกรมศุลกากรจะทำการทำลายเครื่องเลื่อยโซ่โดยไม่มีการ นำออกมาจากจำหน่าย ดังนั้น โดยสภาพของเลื่อยโซ่จึงไม่อาจนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้เพราะต้องห้าม ตามกฎหมายดังกล่าว แม้ต่อมาจะได้มีการนำเลื่อยโซ่ดังกล่าวออกขายทอดตลาดอันเป็นการดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ใช้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ โดยดำเนินการขายตามความใน พ.ร.บ. ป่าไม้ มาตรา 64 ทวิ แต่เนื่องจากทรัพย์ของกลางเป็นของต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ศุลกากรกรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 120 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร ที่บัญญัติว่า เมื่อใดบทบัญญัติใน พ.ร.บ. ศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายอื่นก็ให้ยกบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ศุลกากรใช้บังคับ เมื่อศาลสั่งริบเลื่อยโซ่ของกลางอันเป็นของต้องห้าม จึงต้องมีการจัดการให้เป็นไปตามมาตรา 25 การที่ เจ้าหน้าที่ได้นำของต้องห้ามดังกล่าวมาขายทอดตลาดโดยขัดต่อบทกฎหมาย การขายทอดตลาดจึงหาทำให้เลื่อยโซ่ซึ่งเป็นของต้องห้าม กลับเป็นของชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่
แม้เลื่อยโซ่ของกลางเป็นของต้องห้าม แต่จำเลยผู้ครอบครองทรัพย์ที่ได้จากการที่มีผู้ซื้อทรัพย์มาจากการ ขายทอดตลาด โดยจำเลยรู้ว่าทรัพย์ของกลางดังกล่าวได้มาจากการทอดตลาดโดยเปิดเผยและจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าเลื่อยโซ่ดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ประชาชนครอบครองใช้สอยได้ และมิใช่ของต้องห้ามหรือของต้องจำกัด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 91) พ.ศ. 2521 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ. ควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2496 ได้กำหนดว่า เลื่อยโซ่พร้อมอุปกรณ์เป็นสินค้าต้องห้ามจะนำเข้าในราชอาณาจักรมิได้ หากเจ้าพนักงานยึดเลื่อยโซ่ได้จะต้องส่งเลื่อยโซ่ ดังกล่าวให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่อยู่ใกล้เคียงที่สุด จากนั้นกรมศุลกากรจะทำการทำลายเครื่องเลื่อยโซ่โดยไม่มีการ นำออกมาจากจำหน่าย ดังนั้น โดยสภาพของเลื่อยโซ่จึงไม่อาจนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้เพราะต้องห้าม ตามกฎหมายดังกล่าว แม้ต่อมาจะได้มีการนำเลื่อยโซ่ดังกล่าวออกขายทอดตลาดอันเป็นการดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ใช้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ โดยดำเนินการขายตามความใน พ.ร.บ. ป่าไม้ มาตรา 64 ทวิ แต่เนื่องจากทรัพย์ของกลางเป็นของต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ศุลกากรกรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 120 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร ที่บัญญัติว่า เมื่อใดบทบัญญัติใน พ.ร.บ. ศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายอื่นก็ให้ยกบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ศุลกากรใช้บังคับ เมื่อศาลสั่งริบเลื่อยโซ่ของกลางอันเป็นของต้องห้าม จึงต้องมีการจัดการให้เป็นไปตามมาตรา 25 การที่ เจ้าหน้าที่ได้นำของต้องห้ามดังกล่าวมาขายทอดตลาดโดยขัดต่อบทกฎหมาย การขายทอดตลาดจึงหาทำให้เลื่อยโซ่ซึ่งเป็นของต้องห้าม กลับเป็นของชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่
แม้เลื่อยโซ่ของกลางเป็นของต้องห้าม แต่จำเลยผู้ครอบครองทรัพย์ที่ได้จากการที่มีผู้ซื้อทรัพย์มาจากการ ขายทอดตลาด โดยจำเลยรู้ว่าทรัพย์ของกลางดังกล่าวได้มาจากการทอดตลาดโดยเปิดเผยและจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าเลื่อยโซ่ดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ประชาชนครอบครองใช้สอยได้ และมิใช่ของต้องห้ามหรือของต้องจำกัด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6831/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำลายรังนกอีแอ่นและการมีไว้ในครอบครองโดยมิชอบเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การริบของกลางกรณีผู้กระทำผิดถึงแก่ความตาย
ที่เกิดเหตุเป็นเกาะมีถ้ำที่นกอีแอ่นทำรังอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นเขตห้ามตาม พ.ร.ฎ. กำหนดเกาะที่นกอีแอ่นทำรังอยู่ตามธรรมชาติเป็นเขตห้าม พ.ศ. 2485 บริษัทรังนกแหลมทอง (สยาม) จำกัด ผู้เสียหายเป็นผู้ได้รับสัมปทานเก็บรังนกอีแอ่นบนเกาะดังกล่าว ตาม พ.ร.บ. อากรรังนกอีแอ่น พ.ศ. 2482 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้ในขณะเกิดเหตุนั้น มาตรา 5 บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการใด ๆ อันสามารถอาจเป็นอันตรายแก่นกอีแอ่นหรืออาจเป็นเหตุให้นกอีแอ่นละที่อาศัยไปจากเกาะที่ทำรังอยู่ตามธรรมชาติหรือกระทำความเสียหายแก่รังนกอีแอ่น บรรดาที่มีอยู่ตามธรรมชาติบนเกาะ มาตรา 7 บัญญัติว่า ผู้ใดจะเก็บรังนกอีแอ่นบรรดาที่มีอยู่ตามธรรมชาติบนเกาะ ต้องได้รับอนุญาตและเสียเงินอากรตามวิธีการซึ่งจะได้กำหนดในกฎกระทรวง และมาตรา 9 บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งรังนกอีแอ่นอันตนรู้ว่าได้มาโดยกระทำผิดตาม พ.ร.บ.นี้ จึงเห็นได้ว่าการกระทำผิดฐานกระทำความเสียหายแก่รังนกอีแอ่นต้องมีเจตนาในการกระทำต่อรังนกอีแอ่นในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รังนกที่มีอยู่ตามธรรมชาติเป็นกรณีที่อาศัยเจตนาอย่างหนึ่ง ส่วนการมีไว้ในครอบครองซึ่งรังนกอีแอ่นนั้น เป็นการกระทำที่ต้องอาศัยเจตนาในการยึดถือเพื่อตนซึ่งรังนกอีแอ่น การกระทำผิด ทั้งสองฐานดังกล่าวอยู่ในมาตราเดียวกันก็เป็นเพียงการบัญญัติลักษณะของการกระทำผิดต่าง ๆ มากำหนดโทษไว้ในที่แห่งเดียวเพราะมีอัตราโทษเท่ากันเท่านั้น แม้จำเลยกระทำผิดทั้งสองฐานในคราวเดียวกันและต่อเนื่องกัน การกระทำผิดของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
อาวุธปืนออโตเมติก ขนาด 9 มม. ซึ่งเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียน จำนวน 1 กระบอก ซองบรรจุกระสุน 1 อัน กระสุนปืนขนาด 9 มม. จำนวน 2 นัด ซองพก 1 ซอง และปลอกกระสุนปืนขนาด 9 มม. 1 ปลอก ของกลางที่ ย. ใช้ยิงต่อสู้เจ้าพนักงานตำรวจเป็นของ ย. แต่ ย. ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยิงตายในที่เกิดเหตุ สิทธินำคดีอาญา มาฟ้อง ย. ย่อมระงับไป ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) และโทษย่อมระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 38 ศาลจึงไม่อาจริบของกลางดังกล่าวได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
อาวุธปืนออโตเมติก ขนาด 9 มม. ซึ่งเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียน จำนวน 1 กระบอก ซองบรรจุกระสุน 1 อัน กระสุนปืนขนาด 9 มม. จำนวน 2 นัด ซองพก 1 ซอง และปลอกกระสุนปืนขนาด 9 มม. 1 ปลอก ของกลางที่ ย. ใช้ยิงต่อสู้เจ้าพนักงานตำรวจเป็นของ ย. แต่ ย. ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยิงตายในที่เกิดเหตุ สิทธินำคดีอาญา มาฟ้อง ย. ย่อมระงับไป ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) และโทษย่อมระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 38 ศาลจึงไม่อาจริบของกลางดังกล่าวได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4519/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายยาเสพติด (เมทแอมเฟตามีน) พยานหลักฐานเชื่อมโยง จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลพิพากษาลงโทษและริบของกลาง
ในข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ การที่ศาลชั้นต้นยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยที่ 1 เฉพาะความผิดข้อหานี้ไม่มีผลทำให้คำเบิกความของพยานโจทก์ในข้อหาอื่น
ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังไปด้วย
จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการกระทำกรรมเดียวคือการขายตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 (เหตุเกิดวันที่ 11 สิงหาคม 2538)
โจทก์มีคำขอให้ริบเมทแอมเฟตามีนของกลางกับผ้าห่มและถุงย่ามของกลางที่ใช้บรรจุและซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีนของกลาง แม้โจทก์จะอ้างบทมาตราตาม ป.อ. มาตรา 32 , 33 โดยมิได้อ้างมาตรา 116 แห่ง พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 แต่เมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 89 จึงต้องริบเมทแอมเฟตามีนของกลางกับผ้าห่มและถุงย่ามของกลางที่ใช้บรรจุและซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีนของกลาง อันเป็นภาชนะหรือหีบห่อที่บรรจุเกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายหรือจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เห็นสมควรตามมาตรา 116 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเพียงว่า ให้ริบเมทแอมเฟตามีน ผ้าห่ม และถุงย่ามของกลางเท่านั้น จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังไปด้วย
จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการกระทำกรรมเดียวคือการขายตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 (เหตุเกิดวันที่ 11 สิงหาคม 2538)
โจทก์มีคำขอให้ริบเมทแอมเฟตามีนของกลางกับผ้าห่มและถุงย่ามของกลางที่ใช้บรรจุและซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีนของกลาง แม้โจทก์จะอ้างบทมาตราตาม ป.อ. มาตรา 32 , 33 โดยมิได้อ้างมาตรา 116 แห่ง พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 แต่เมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 89 จึงต้องริบเมทแอมเฟตามีนของกลางกับผ้าห่มและถุงย่ามของกลางที่ใช้บรรจุและซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีนของกลาง อันเป็นภาชนะหรือหีบห่อที่บรรจุเกี่ยวเนื่องกับความผิดในคดีให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลายหรือจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เห็นสมควรตามมาตรา 116 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเพียงว่า ให้ริบเมทแอมเฟตามีน ผ้าห่ม และถุงย่ามของกลางเท่านั้น จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง