คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 32

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2961/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีอาญา และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
จำเลยกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ แล้วจำเลยยังทำร้ายผู้เสียหายและชักหรือแสดงอาวุธในการวิวาทต่อสู้ แต่เจ้าพนักงานตำรวจไม่สามารถยึดอาวุธปืนที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดมาเป็นของกลาง และโจทก์มิได้มีคำขอให้ริบอาวุธปืน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบอาวุธปืนซึ่งมีไว้เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา32 จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา192 วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไข ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2961/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอเรื่องการริบของกลาง และอำนาจศาลฎีกาในการแก้ไขปัญหาข้อกฎหมาย
จำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯแล้วจำเลยยังทำร้ายผู้เสียหายและชักหรือแสดงอาวุธในการวิวาทต่อสู้แต่เจ้าพนักงานตำรวจไม่สามารถยึดอาวุธปืนที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดมาเป็นของกลาง และโจทก์มิได้มีคำขอให้ริบอาวุธปืนการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบอาวุธปืนซึ่งมีไว้เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่งและศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไข ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินในคดีละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า ต้องพิสูจน์การกระทำความผิดและทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามเป็นผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ และ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ จึงถือไม่ได้ว่าใบส่งของ ใบปะหน้าส่งสินค้า และกล่องเปล่าของกลางตามฟ้องเป็นทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสามได้ใช้กระทำความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้กระทำความผิดคดีนี้ หรือเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด จึงไม่ใช่ทรัพย์สินอันพึงริบตามบทกฎหมายที่โจทก์อ้าง ส่วนแผงวงจรป้องกันไวรัสของกลางนั้น โจทก์มีคำขอมาท้ายฟ้องโดยชัดแจ้งว่า ขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์ของกลางดังกล่าวตกเป็นของผู้เสียหาย (โจทก์ร่วม) เท่ากับว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ศาลสั่งริบทรัพย์ของกลางดังกล่าวตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 115 ศาลฎีกาจึงไม่อาจสั่งให้ริบได้ และไม่อาจสั่งให้ทรัพย์ของกลางดังกล่าวตกเป็นของผู้เสียหาย (โจทก์ร่วม) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาต้องชัดเจนในองค์ประกอบความผิด การพิพากษาเกินฟ้องเป็นเหตุให้ต้องยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 1 วรรคสอง เพียงว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวน 540 เม็ด น้ำหนัก 45.679 กรัม ซึ่งคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 5.643 กรัม อันเป็นจำนวนเกินปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดไว้ในครอบครองของจำเลยโดยไม่ได้ใบอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องไว้ในครอบครองเพื่อขาย อันเป็นการขายเมทแอมเฟตามีนตามความหมายของพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 4 ซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่งโจทก์บรรยายฟ้องต่อมาในข้อ 2 ว่าเจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขายตามฟ้องข้อ 1 เป็นของกลางเป็นเพียงขยายความเมทแอมเฟตามีนที่ถูกยึดเป็นของกลางเท่านั้น ไม่ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย และแม้จะอ้างบทมาตราเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวมาในฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ศาลฎีกายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายจึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯมาตรา 116 ได้ แต่การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเป็นความผิดจึงให้ริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจนและการปรับบทลงโทษตามกฎหมายยาเสพติดที่แก้ไข
ฟ้องโจทก์ข้อ 1 วรรคสองมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องไว้ในครอบครองเพื่อขาย อันเป็นการขายเมทแอมเฟตามีนตามความหมายของ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4อันเป็นสาระสำคัญแห่งองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่โจทก์บรรยายฟ้องในข้อต่อมาว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขายตามฟ้องข้อ 1 เป็นของกลาง ก็เป็นเพียงขยายความเมทแอมเฟตามีนที่ถูกยึดเป็นของกลางเท่านั้น ยังไม่ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย และแม้โจทก์จะอ้างบทมาตราเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวมาในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 89 จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ขณะจำเลยกระทำความผิด การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 5.643 กรัม อันเป็นจำนวนเกินปริมาณ 0.500 กรัม ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดไว้ในครอบครองเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 ทวิ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท ต่อมาเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522เท่านั้น จึงมีผลให้การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 5.643 กรัมไม่ถึง 20 กรัม ไว้ในครอบครองเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 67 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทเท่านั้น ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 อีกต่อไป และเมื่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 67 มีระวางโทษเบากว่าระวางโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 106 ทวิ ซึ่งใช้อยู่ในขณะจำเลยกระทำความผิด จึงเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ตาม ป.อ.มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม จำเลยยกขึ้นกล่าวอ้างในศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ศาลยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย จึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 116 ได้ แต่การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเป็นความผิด จึงได้ริบตาม ป.อ.มาตรา 32

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางจากความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: หลักเกณฑ์การพิจารณาว่าทรัพย์สินนั้นเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดหรือไม่
ธนบัตร เหรียญ สร้อยคอทองคำ และสร้อยข้อมือทองคำ ของกลางที่โจทก์ขอให้ริบ โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องและคำฟ้องฎีกาว่า เป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนก่อนหน้านี้ ของกลางดังกล่าวเมื่อมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือวัตถุอื่น ซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยกระทำความผิดซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่กระทำในคดีนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33(2) ศาลจึงไม่ริบ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2543)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิดยาเสพติด: พิจารณาเฉพาะทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดหรือได้มาจากการกระทำผิดในคดีเดียวกัน
การที่โจทก์ขอให้ริบทรัพย์ของกลางที่กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่าจำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนก่อนหน้าคดีที่เสนอสู่ศาลนี้เมื่อปรากฏว่าของกลางดังกล่าวไม่ใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือวัตถุอื่นซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิด ซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่กระทำในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33(2) จึงไม่อาจริบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์จากการกระทำผิดยาเสพติด: ทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้หรือได้มาจากการกระทำผิดโดยตรงไม่ถูกริบ
ธนบัตร เหรียญ สร้อยคอทองคำ และสร้อยข้อมือทองคำของกลางที่โจทก์ขอให้ริบ โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องและคำฟ้องฎีกาว่า เป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนก่อนหน้านี้ ของกลางดังกล่าวเมื่อมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือวัตถุอื่น ซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยกระทำความผิดซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่กระทำในคดีนี้ ตาม ป.อ.มาตรา 32, 33 (2) ศาลจึงไม่ริบ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2543)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมียาเสพติด ศาลยกฟ้องเนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอและคำรับสารภาพไม่น่าเชื่อถือ
ส. ได้ขับรถยนต์กระบะของจำเลยทั้งสองมาตั้งแต่ก่อนวันเกิดเหตุ จนถึงเวลาเช้าของวันเกิดเหตุ และก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะติดตามรถยนต์กระบะไปบ้าน ส. เพื่อตรวจค้นและจับกุม ส. ก็ยังขับรถยนต์กระบะโดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองได้นั่งอยู่ในรถยนต์กระบะกับ ส. หรือได้เกี่ยวข้องกับรถยนต์กระบะแต่อย่างใด กลับได้ความว่าเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจติดตามไปที่บ้านของ ส. พบจำเลยทั้งสองอยู่ที่บ้านของ ส. แต่ ส. ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์กระบะได้หลบหนีไปก่อนจะมีการตรวจค้นและจับกุม ดังนี้ จึงไม่อาจเป็นข้อบ่งชี้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางที่ค้นพบในรถกระบะของจำเลยเป็นของจำเลยทั้งสองแต่อาจเป็นของ ส. ก็เป็นได้ แม้โจทก์มีคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสองในชั้นจับกุม แต่จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณาและโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของจำเลยทั้งสองจึงมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยทั้งสอง
ศาลจะสั่งริบเมทแอมเฟตามีนให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 116 ได้ต้องเป็นกรณีที่มีการลงโทษตามมาตรา 89 เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องจึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้ แต่การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเป็นความผิด ศาลริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32
ธนบัตรชนิดต่าง ๆ จำนวน 30,000 บาท ไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยการกระทำผิดในคดีนี้ ซึ่งการริบทรัพย์สินเป็นโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18(5) จึงต้องมีการฟ้องจำเลยในความผิดดังกล่าวและพิสูจน์ความผิดของจำเลยต่อศาลเสียก่อน เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยถึงการกระทำดังกล่าวในครั้งก่อนโดยตรง เพียงแต่กล่าวพาดพิงว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาจากการขายเมทแอมเฟตามีนเท่านั้นจึงยังไม่เป็นการเพียงพอ ศาลไม่อาจริบเงิน30,000 บาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิด ต้องมีการฟ้องและพิสูจน์ความผิดก่อน จึงจะริบได้
ทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)(2) จะต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยได้กระทำความผิด ซึ่งหมายถึงว่า จะต้องมีการฟ้องจำเลยในความผิดดังกล่าว และได้มีการพิสูจน์ความผิดนั้นต่อศาล และศาลพิพากษาว่าจำเลยได้กระทำความผิดจึงจะริบทรัพย์สินนั้นได้ อันถือเป็นการลงโทษอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18(5)
ธนบัตรของกลางมิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 เมื่อโจทก์ยังมิได้ฟ้องจำเลยถึงการกระทำความผิดในครั้งก่อนโดยตรง กรณีเพียงแต่การกล่าวอ้างพาดพิงถึงว่าธนบัตรของกลางเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาจากการขายเมทแอมเฟตามีนไปก่อนหน้านี้ จึงยังไม่เป็นการเพียงพอตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18(5) และ 33(2) เพื่อลงโทษจำเลยด้วยการริบทรัพย์สิน แม้จำเลยจะได้ให้การรับสารภาพในคดีนี้ ศาลก็ไม่อาจริบธนบัตรของกลางดังกล่าวได้
of 27