คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 144

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 533 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีประกันแจ้งตกหล่น การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้ที่เกินกำหนดเวลา มีผลผูกพันตามกฎหมายล้มละลาย
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องว่า เหตุที่ผู้คัดค้านมิได้ระบุหลักประกันเหนือที่ดินของลูกหนี้ในคำขอรับชำระหนี้ที่ผู้คัดค้านได้ยื่นไว้ด้วยเนื่องจากพลั้งเผลอ และขออนุญาตเพิ่มเติมหลักประกันในคำขอรับชำระหนี้ มิใช่เรื่องการเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ในคำขอรับชำระหนี้ แต่ก็เป็นการกล่าวอ้างว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีประกันด้วยต้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 97 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องโดยเห็นว่าการละเว้นนั้นมิได้เกิดจากการพลั้งเผลอ คดีถึงที่สุดย่อมมีผลผูกพันผู้คัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายฯ พ.ศ.2522 มาตรา 14 และมีผลให้ผู้คัดค้านจะต้องคืนหลักประกันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องและสิทธิเหนือทรัพย์นั้นเป็นอันระงับตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 97 ผู้คัดค้านย่อมไม่อาจยกข้อกล่าวอ้างหรือนำสืบในภายหลังอันเกี่ยวกับประเด็นกันนั้นอีกได้ การที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านคัดค้านคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ผู้คัดค้านคืนหลักประกันและเพิกถอนรายการจดทะเบียนจำนองหลักประกันว่า ผู้คัดค้านมิได้ปกปิดหลักประกันก็ดี ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีประกันแต่มิได้แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันเนื่องจากความพลั้งเผลอก็ดี ล้วนเป็นข้ออ้างในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามคำร้องของผู้คัดค้านมาแล้ว จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายฯ พ.ศ.2542 มาตรา 14 อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากคอนกรีตผสมเสร็จ: ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ หากเป็นคนละจำนวนและประเด็น
คอนกรีตผสมเสร็จที่จำเลยนำไปอ้างเป็นเหตุฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ในคดีของศาลแพ่งธนบุรี เป็นสินค้าที่จำเลยซื้อจากโจทก์เมื่อวันที่ 12, 16 และ 18 กันยายน 2544 ส่วนคอนกรีตผสมเสร็จที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระราคาในคดีนี้ เป็นสินค้าที่จำเลยซื้อจากโจทก์เมื่อระหว่างวันที่ 11 ถึง 31 มกราคม 2545 และระหว่างวันที่ 1 ถึง 18 กุมภาพันธ์ 2545 สินค้าที่เป็นมูลเหตุให้ฟ้องร้องกันในคดีทั้งสองจึงเป็นคนละจำนวนกัน แม้ว่าสินค้าที่จำเลยซื้อแต่ละคราวในคดีนี้กับคดีก่อนจะสืบเนื่องมาจากใบเสนอราคาของโจทก์ฉบับเดียวกัน ก็ไม่มีผลทำให้ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกันอันจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าที่สิ้นผลผูกพัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายอ้างว่าสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ เนื่องจากจำเลยใช้อุบายหลอกลวงเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีเดิมคือ จำเลยได้กระทำกลฉ้อฉลโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมหรือไม่ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าบัดนี้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยครบกำหนดระยะเวลาจึงสิ้นผลผูกพันแล้ว สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหา เป็นเรื่องที่สัญญาเช่าที่พิพาทมีผลบังคับเพียงใด และสิ้นผลผูกพันแล้วหรือไม่ ข้ออ้างหรือประเด็นพิพาทที่ศาลต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าที่สิ้นผลผูกพัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายอ้างว่าสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ เนื่องจากจำลยใช้อุบายหลอกลวงเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าบัดนี้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยครบกำหนดระยะเวลา 3 ปี จึงสิ้นผลผูกพันแล้ว ข้ออ้างหรือประเด็นพิพาทที่ศาลต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีขับไล่ก่อนแล้วฟ้องขอโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเดิม ศาลฎีกาเห็นพ้องว่าเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ฟ้องขับไล่โจทก์คดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 ร. เป็นจำเลยที่ 2 ให้ออกไปจากที่ดินของ ป. ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ขับไล่โจทก์คดีนี้และ ร. ให้ออกจากที่ดินโดยฟังว่าที่ดินเป็นของ ป. คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์กลับมาฟ้องคดีนี้ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. ให้ร่วมกันคืนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์มาใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของดังเดิมอ้างว่าที่ดินเป็นของโจทก์จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องหนี้สินที่ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ แม้มีการฟ้องร้องคู่กัน เนื่องจากข้อหาและประเด็นข้อพิพาทแตกต่างกัน
แม้โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างก็ฟ้องขอให้บังคับอีกฝ่ายหนึ่งรับผิดชำระหนี้โดยอ้างสัญญากู้ยืมเงิน และบันทึกข้อตกลงปลอดจำนองที่ดินหลักประกันก็ตาม แต่ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 26197/2541 นั้น โจทก์ (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ผิดข้อตกลงที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงปลอดจำนองที่ดินหลักประกันทำให้โจทก์ (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) ไม่สามารถนำโฉนดที่ดินไปให้เจ้าพนักงานที่ดินตรวจสอบประทับตราอนุญาตให้จัดสรรที่ดินและโอนให้แก่ผู้ซื้อได้ ส่วนในคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 กับพวก รับผิดชำระเงินที่กู้ยืมคืนโจทก์โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 กับพวกไม่ชำระเงินที่กู้ยืมคืนภายในกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีนี้จึงแตกต่างกับในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 26197/2541 กรณีจึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่วินิจฉัยชี้ขาดมาแล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวกในคดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1571/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นสิทธิครอบครองที่ดินที่ศาลฎีกาวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
ชั้นบังคับคดีในคดีก่อนเป็นคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้ในฐานะผู้ร้องยื่นคำร้องว่าไม่ใช่บริวาร โจทก์กับจำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ทั้งคดีก่อนและคดีนี้ต่างมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเช่นเดียวกัน ซึ่งคดีก่อนศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ฉะนั้นการที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทอีก ในประเด็นเดียวกันย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5564/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามเรื่องการอ้างเหตุเดิมเพื่อขอให้ศาลพิจารณาคดีซ้ำหลังศาลฎีกาชี้ขาดแล้ว
เดิมศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่ว่าโรงเรือนพิพาทปลูกสร้างอยู่บนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบ จำเลยไม่อาจอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวมาสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องโดยเหตุว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยใหม่ในประเด็นข้ออื่น ไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้องว่าโรงเรือนพิพาทปลูกสร้างอยู่บนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาใหม่แล้ว จำเลยกลับยื่นฎีกาเข้ามาใหม่ขอให้ศาลฎีกายกฟ้องโจทก์โดยอ้างเหตุเดิมอีกว่า โรงเรือนพิพาทปลูกสร้างอยู่บนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดีที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาชี้ขาดคดีไปแล้ว ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนการพิจารณาซ้ำ และสิทธิในการถอดถอนผู้จัดการมรดกที่ตกทอดไปยังทายาท
ผู้คัดค้านและ น. เป็นบุตรของ ม. และผู้ร้อง ม. เคยยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. เนื่องจากผู้ร้องขายที่ดินทรัพย์มรดกของ น. และเก็บเงินไว้แต่เพียงผู้เดียวทำให้ ม. และผู้คัดค้านเสียหาย ต่อมา ม. ถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านได้ขอเข้ารับมรดกความแทนที่ ม. แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการเฉพาะตัวของ ม. ผู้คัดค้านไม่สามารถเข้าเป็นคู่ความแทนที่ได้ จึงไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ม.ดังนั้น เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องอ้างเหตุเดียวกันซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ผู้คัดค้านยังไม่ได้สืบสิทธิของ ม. ในการรับมรดกของ น.และเหตุตามคำร้องมิได้เป็นเรื่องที่โต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านมาเพื่อให้ศาลพิจารณาว่าเป็นเหตุให้ถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. หรือไม่ ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยก่อนว่า เหตุตามคำร้องเป็นสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของ ม. ที่จะตกทอดไปยังผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทของ ม. ให้มีอำนาจยกขึ้นอ้างเพื่อถอดถอนผู้จัดการมรดกได้หรือไม่ อันเป็นการวินิจฉัยในข้อที่ศาลได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วในคดีที่ ม. ยื่นคำร้องคัดค้านขอให้ศาลถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. นั่นเอง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนการพิจารณาซ้ำในคดีถอดถอนผู้จัดการมรดก – สิทธิทายาทรับมรดก
เหตุตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ขอให้ศาลสั่งถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. คือ กรณีผู้ร้องได้ขายที่ดินทรัพย์มรดกของ น. และเก็บเงินไว้แต่เพียงผู้เดียวทำให้ ม. และผู้คัดค้านได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นเหตุที่มีอยู่ก่อนที่ผู้คัดค้านจะสืบสิทธิของ ม. ที่จะรับมรดกของ น. ทั้งยังเป็นเหตุเดียวกันกับที่ ม. เคยยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. ด้วย ซึ่งในคดีนั้นเมื่อ ม. ถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านได้ขอเข้ารับมรดกความแทนที่ ม. แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการเฉพาะตัวของ ม. ผู้คัดค้านไม่สามารถเข้าเป็นคู่ความแทนที่ได้ จึงไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ม. ซึ่งคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าววินิจฉัยว่าการขอถอดถอนผู้จัดการมรดกเป็นเรื่องเฉพาะตัวของ ม. ไม่ตกทอดไปยังทายาทของ ม. ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านอ้างเหตุเดียวกันซึ่งเกิดขึ้นมาตั้งแต่ผู้คัดค้านยังไม่ได้สืบสิทธิของ ม. ในการรับมรดกของ น. และเหตุตามคำร้องขอดังกล่าวก็มิได้เป็นเรื่องที่โต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านมาเพื่อให้ศาลพิจารณาว่าเป็นเหตุให้ถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. หรือไม่ ซ้ำอีก ซึ่งศาลต้องวินิจฉัยก่อนว่า เหตุตามคำร้องขอเป็นสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของ ม. ที่จะตกทอดไปยังผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทของ ม. ให้มีอำนาจยกขึ้นอ้างเพื่อถอดถอนผู้จัดการมรดกได้หรือไม่ อันเป็นการวินิจฉัยในข้อที่ศาลได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วในคดีที่ ม. ยื่นคำร้องขอให้ศาลถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. นั่นเอง ดังนั้นที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอในคดีนี้ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
of 54