พบผลลัพธ์ทั้งหมด 533 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: การฟ้องกู้ยืมเงินหลังคดีซื้อขายเป็นโมฆะ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องไม่ซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยอ้างว่าจำเลยยังคงอยู่ในบ้านและที่ดินโดยไม่มีสิทธิเพราะขายให้แก่โจทก์ไปแล้ว อันเป็นการฟ้องในมูลละเมิด ซึ่งมีประเด็นวินิจฉัยว่าจำเลยขายบ้านพร้อมที่ดินให้แก่โจทก์และยังคงอยู่ในบ้านและที่ดินเป็นการกระทำโดยละเมิดหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปแล้วผิดนัดไม่ชำระเงินคืนโจทก์ อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้กู้ยืมเงิน ซึ่งมีประเด็นวินิจฉัยว่า จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้กู้ยืมเงินหรือไม่ จึงเป็นการฟ้องคนละเรื่องคนละประเด็นกับคดีก่อน แม้ในคดีก่อนจำเลยให้การว่าหนังสือสัญญาการซื้อขายทำขึ้นเป็นเรื่องที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ แต่ก็ไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีก่อนว่าจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้กู้ยืมเงินที่จำเลยให้การถึงหรือไม่ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน
ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้บังคับว่าต้องเป็นหลักฐานที่ผู้ยืมทำขึ้นเพื่อมอบแก่ผู้ให้ยืมไว้ในความยึดถือ คำเบิกความของจำเลยในสำนวนคดีก่อนที่ว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ 200,000 บาท ซึ่งจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างหนึ่งที่ได้ลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์นำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมในการฟ้องคดีได้
ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้บังคับว่าต้องเป็นหลักฐานที่ผู้ยืมทำขึ้นเพื่อมอบแก่ผู้ให้ยืมไว้ในความยึดถือ คำเบิกความของจำเลยในสำนวนคดีก่อนที่ว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ 200,000 บาท ซึ่งจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างหนึ่งที่ได้ลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์นำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมในการฟ้องคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-การใช้คำเบิกความเป็นหลักฐาน: ศาลฎีกาพิพากษากลับ คดีกู้ยืมเงินที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องซ้ำ
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณารับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงและผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาได้รับรองแล้ว แต่ตามฎีกาของโจทก์ทุกข้อเป็นข้อกฎหมาย จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ แต่ไม่มีผลต่อการวินิจฉัยคดีของศาลฎีกาจึงไม่จำต้องเพิกถอน
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าจำเลยขายบ้านพร้อมที่ดินให้โจทก์ตามหนังสือสัญญาการซื้อขาย แต่จำเลยไม่ซื้อบ้านและที่ดินคืนภายในกำหนดและยังคงอยู่ในบ้านและที่ดินโดยละเมิด ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์แต่ไม่มีแบบพิมพ์ จึงนำแบบพิมพ์หนังสือสัญญาการซื้อขายมากรอกแทนสัญญากู้ยืมเงิน คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้ยกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าหนังสือสัญญาการซื้อขายที่โจทก์นำมาฟ้องมีข้อตกลงระบุว่าเป็นสัญญาขายฝากบ้านและที่ดินมือเปล่า เมื่อไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ยังไม่มีสิทธิครอบครองที่จะมีอำนาจฟ้อง ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระคืนตามกำหนด เห็นว่าคดีเดิมเป็นการฟ้องในมูลละเมิด ส่วนคดีนี้ฟ้องในมูลหนี้กู้ยืมเงิน จึงเป็นการฟ้องคนละเรื่องคนละประเด็นกับคดีก่อน แม้ในคดีก่อนจำเลยให้การต่อสู้ว่าหนังสือสัญญาการซื้อขายเป็นเรื่องที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ก็ตาม แต่ก็ไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้กู้ยืมเงินหรือไม่ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้บังคับว่าหลักฐานการกู้ยืมต้องเป็นหลักฐานที่ผู้ยืมทำขึ้นเพื่อมอบแก่ผู้ให้ยืมไว้ในความยึดถือ คำเบิกความของจำเลยในสำนวนคดีก่อนที่ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างหนึ่งที่ได้ลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์นำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมในการฟ้องร้องได้
สำเนาคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนที่แนบมาท้ายฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่อจำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่ามิได้กู้ยืมเงินถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์อ้างมาในคำฟ้องแล้วว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ นอกจากนี้จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านถึงการมีอยู่ของต้นฉบับ ทั้งให้การรับว่าเป็นคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนจริง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยว่าจำเลยเคยเบิกความไว้ในคดีก่อนมีข้อความตามที่ปรากฏในสำเนาคำเบิกความที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้อง โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนด้วยต้นฉบับอีก เมื่อศาลชั้นต้นไม่จำต้องรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบ ย่อมไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นจะรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าจำเลยขายบ้านพร้อมที่ดินให้โจทก์ตามหนังสือสัญญาการซื้อขาย แต่จำเลยไม่ซื้อบ้านและที่ดินคืนภายในกำหนดและยังคงอยู่ในบ้านและที่ดินโดยละเมิด ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์แต่ไม่มีแบบพิมพ์ จึงนำแบบพิมพ์หนังสือสัญญาการซื้อขายมากรอกแทนสัญญากู้ยืมเงิน คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้ยกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าหนังสือสัญญาการซื้อขายที่โจทก์นำมาฟ้องมีข้อตกลงระบุว่าเป็นสัญญาขายฝากบ้านและที่ดินมือเปล่า เมื่อไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ยังไม่มีสิทธิครอบครองที่จะมีอำนาจฟ้อง ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระคืนตามกำหนด เห็นว่าคดีเดิมเป็นการฟ้องในมูลละเมิด ส่วนคดีนี้ฟ้องในมูลหนี้กู้ยืมเงิน จึงเป็นการฟ้องคนละเรื่องคนละประเด็นกับคดีก่อน แม้ในคดีก่อนจำเลยให้การต่อสู้ว่าหนังสือสัญญาการซื้อขายเป็นเรื่องที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ก็ตาม แต่ก็ไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้กู้ยืมเงินหรือไม่ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้บังคับว่าหลักฐานการกู้ยืมต้องเป็นหลักฐานที่ผู้ยืมทำขึ้นเพื่อมอบแก่ผู้ให้ยืมไว้ในความยึดถือ คำเบิกความของจำเลยในสำนวนคดีก่อนที่ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างหนึ่งที่ได้ลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์นำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมในการฟ้องร้องได้
สำเนาคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนที่แนบมาท้ายฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่อจำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่ามิได้กู้ยืมเงินถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์อ้างมาในคำฟ้องแล้วว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ นอกจากนี้จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านถึงการมีอยู่ของต้นฉบับ ทั้งให้การรับว่าเป็นคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนจริง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยว่าจำเลยเคยเบิกความไว้ในคดีก่อนมีข้อความตามที่ปรากฏในสำเนาคำเบิกความที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้อง โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนด้วยต้นฉบับอีก เมื่อศาลชั้นต้นไม่จำต้องรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบ ย่อมไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นจะรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องซ้ำเพื่อขอให้วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
จำเลยยื่นคำร้องฉบับแรก ขอให้ศาลคำมีสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ศาลมีคำสั่งโดยไม่ได้ไต่สวนว่า ตามคำร้องยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้เป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียม ให้ยกคำร้อง แม้ศาลจะมิได้ล่าวถึงกรณีโจทก์ไม่มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ในราชอาณาจักร แต่คำสั่งดังกล่าวก็เป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่ง จำเลยมิได้อุทธรณ์ กลับยื่นคำร้องฉบับหลังว่า ศาลสมควรจะมีคำสั่งให้รับคำร้องของจำเลยฉบับแรกไว้พิจารณาไต่สวนแล้วมีคำสั่ง ขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น โดยอ้างข้อเท็จจริงและเหตุผลเหมือนกับคำร้องฉบับแรก เพียงแต่เพิ่มเติมว่ามีคดีอื่นที่โจทก์ฟ้องจำเลยและบัดนี้ศาลในคดีดังกล่าวเพิ่งมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามคำร้องของจำเลยไว้แล้ว ซึ่งแม้ส่วนที่อ้างเพิ่มเติมเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่ แต่ก็ยังเป็นเพียงข้อที่อ้างเพื่อสนับสนุนว่าหากโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เสียไปอันควรที่จะสั่งให้โจทก์วางเงินเหมือนคำร้องฉบับแรก จึงมีข้ออ้างอันเป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องวินิจฉัยชี้ชาดเช่นเดียวกับคำร้องฉบับแรก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7603/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการฟ้องซ้อนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ซึ่งการฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นขอให้พิจารณาใหม่ก็อยู่ในบังคับของบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกัน ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านดุลพินิจของศาลล่างทั้งสองที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาในชั้นขอให้พิจารณาใหม่ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ถือเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (3) หลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 แล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ กรณีถือว่าคดีเกี่ยวกับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 22 ตุลาคม 2544 โดยอ้างเหตุเดิมอีกในระหว่างนั้น จึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) มิใช่เรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้อน
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ถือเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (3) หลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 แล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ กรณีถือว่าคดีเกี่ยวกับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 22 ตุลาคม 2544 โดยอ้างเหตุเดิมอีกในระหว่างนั้น จึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) มิใช่เรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกในบันทึกข้อตกลงการหย่า: สิทธิฟ้องของคู่สัญญา
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์จำเลยในฐานะคู่สัญญาต่างตอบแทน โดยยอมหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยานอกจากจะระบุยกทรัพย์สินบางรายการให้แก่กันและกันแล้ว ยังมีข้อตกลงเรื่องหนี้สินของ ป. มารดาโจทก์ ท. และ บ. พี่โจทก์ซึ่งจำเลยยินยอมรับผิดชดใช้หนี้ให้แก่บุคคลทั้งสามด้วย เป็นผลให้มีฐานะเป็นบุคคลภายนอกที่จะได้รับประโยชน์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคหนึ่ง จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามโดยชำระหนี้ให้แก่ ป. ท. และ บ. โจทก์ในฐานะคู่สัญญาโดยตรงกับจำเลยย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาที่ให้ไว้ต่อกันได้
ป. ท. และ บ. เป็นโจทก์ในคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น โดยมีโจทก์คดีนี้เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทน ส่วนโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยใช้สิทธิของตนเองในฐานะคู่สัญญาเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญา จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีแพ่งอีกคดีหนึ่งได้วินิจฉัยว่าบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าไม่ใช่หลักฐานการกู้เป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ป. ท. และ บ. ไม่อาจนำมาฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดชำระหนี้โดยอ้างว่าจำเลยกู้ไปจากตนได้ การที่โจทก์นำบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามาฟ้องจำเลยคดีนี้ในฐานะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ป. ท. และ บ. เป็นโจทก์ในคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น โดยมีโจทก์คดีนี้เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทน ส่วนโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยใช้สิทธิของตนเองในฐานะคู่สัญญาเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญา จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีแพ่งอีกคดีหนึ่งได้วินิจฉัยว่าบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าไม่ใช่หลักฐานการกู้เป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ป. ท. และ บ. ไม่อาจนำมาฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดชำระหนี้โดยอ้างว่าจำเลยกู้ไปจากตนได้ การที่โจทก์นำบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามาฟ้องจำเลยคดีนี้ในฐานะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6641/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ: ค่าเสียหายจากละเมิด - ค่าปลงศพ, ค่าขาดไร้อุปการะ, ค่าเสียหายรถจักรยานยนต์
คดีก่อน ศ. พี่สาวโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 กรณีจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้ ม. บิดาโจทก์ และ ศ. ถึงแก่ความตาย ขอให้ชดใช้ค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นการฟ้องในฐานะที่ ศ. เป็นบุตรผู้ตายที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดเช่นนี้ สำหรับค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ เป็นการฟ้องเพื่อประโยชน์ของทายาท ม. ผู้ตาย ทุกคนรวมถึงโจทก์ด้วย ส่วนค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของทายาทแต่ละคนที่ได้รับความเสียหาย และตามคำฟ้องคดีก่อน ศ. ไม่ได้ฟ้องแทนโจทก์ แม้ต่อศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์แก่ ศ. ก็เป็นการพิพากษาโดยไม่ชอบไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งมิใช่เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว เมื่อขณะโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 คดีนี้เรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้ ม. บิดาโจทก์ถึงแก่ความตาย ขอให้ชดใช้ค่าปลงศพ ค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ อันเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีก่อนที่ ศ. ฟ้องจำเลยที่ 1 และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในเรื่องเรียกค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์จึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) และได้ความว่าต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์แก่ ศ. อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์เรื่องเดียวกับคดีนี้แล้ว ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำมาตรา 144 โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ได้เฉพาะค่าขาดไร้อุปการะเท่านั้น
ส่วนฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยินยอมให้จำเลยที่ 1 ใช้รถในกิจการของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ของผู้ตายหรือไม่ ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่ได้เป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อนที่ ศ. ฟ้องจำเลยที่ 1 คดีโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144
ส่วนฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยินยอมให้จำเลยที่ 1 ใช้รถในกิจการของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ของผู้ตายหรือไม่ ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่ได้เป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อนที่ ศ. ฟ้องจำเลยที่ 1 คดีโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6641/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: คดีค่าเสียหายจากละเมิดที่ฟ้องซ้ำและคดีที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว
คดีก่อน ศ. พี่สาวโจทก์ทั้งสอง ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา กรณีจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้ ม. บิดาโจทก์ทั้งสองและ ศ. ถึงแก่ความตาย ขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ โดยปรากฏว่า ศ. ฟ้องในฐานะเป็นบุตรผู้ตายที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เช่นนี้ สำหรับค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ จึงเป็นการฟ้องเพื่อประโยชน์ของทายาท ม. ผู้ตาย ทุกคนรวมถึงโจทก์ทั้งสองด้วย ส่วนค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของทายาทแต่ละคนที่ได้รับความเสียหาย และตามคำฟ้องคดีก่อนไม่ปรากฏข้อความว่า ศ. ฟ้องแทนโจทก์ทั้งสอง แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ทั้งสองแก่ ศ. ก็เป็นการพิพากษาโดยไม่ชอบไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสองซึ่งมิใช่เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว เมื่อได้ความจากคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองว่าขณะโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 คดีนี้ เรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้ ม. บิดาโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตายขอให้ชดใช้ค่าปลงศพ ค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ อันเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีก่อนที่ ศ. ฟ้องจำเลยที่ 1 และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา คดีระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 ในเรื่องเรียกค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) และได้ความว่า ต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์แก่ ศ. ตามคำฟ้องแล้ว อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องค่าปลงศพและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์เรื่องเดียวกับคดีนี้แล้ว ฟ้องของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 ได้เฉพาะค่าขาดไร้อุปการะเท่านั้น ส่วนฟ้องโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยินยอมให้จำเลยที่ 1 ใช้รถในกิจการของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัย รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับนั้น ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะและค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ของผู้ตายหรือไม่ เพียงใด ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่ได้เป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อนที่ ศ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ดังนี้ คดีโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6162/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกหลังการถึงแก่กรรมของคู่ความเดิม และการพิจารณาคำคัดค้านจากผู้มีส่วนได้เสีย
ว. ยื่นคำร้องขอให้ตั้ง ว. เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. ผู้ตาย การที่ ว. ถึงแก่ความตายจึงไม่เป็นประโยชน์ที่จะพิจารณาคดีต่อไปเพราะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของ ว. ไม่ใช่คดีที่ทายาทหรือผู้อื่นจะร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ ทั้งศาลชั้นต้นได้ยกคำร้องของ พ. ที่ร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ว. และจำหน่ายคดีของ พ. ออกจากสารบบความแล้ว พ. จึงเป็นบุคคลภายนอกคดี และศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นตามคำร้องของ พ. ดังนี้ คำคัดค้านของ พ. ที่ยื่นคัดค้านผู้ร้องที่ 1 ว่าไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและขอให้ตั้ง พ. เป็นผู้จัดการมรดก เนื่องจาก พ. เป็นบุตรของ ว. ภริยาของผู้ตาย ทั้ง ว. ถึงแก่ความตายแล้ว พ. เป็นผู้จัดการมรดก ผู้ตายจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก และมีความเหมาะสมมากกว่าผู้ร้องที่ 1 คำคัดค้านของ พ. ที่ยื่นมาภายหลังเป็นการยื่นตามสิทธิของตนเอง ซึ่งมีสิทธิทำได้ จึงมิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำคัดค้านของผู้ร้องขอที่ 1 ที่ 2 และให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ใหม่ กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเริ่มต้นใหม่ด้วยการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ที่ขอให้ตั้งผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. ดังนั้น ก่อนที่ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 พ. ซึ่งเป็นบุตรของ ว. ภริยาของ ช. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านและขอให้ศาลรับคำคัดค้านของตนไว้พิจารณาได้ ทั้งเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่าผู้ใดในระหว่างผู้ร้องที่ 1 และ พ. เป็นผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. การดำเนินกระบวนของศาลชั้นต้นจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกินกว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำคัดค้านของผู้ร้องขอที่ 1 ที่ 2 และให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ใหม่ กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเริ่มต้นใหม่ด้วยการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ที่ขอให้ตั้งผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. ดังนั้น ก่อนที่ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 พ. ซึ่งเป็นบุตรของ ว. ภริยาของ ช. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านและขอให้ศาลรับคำคัดค้านของตนไว้พิจารณาได้ ทั้งเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่าผู้ใดในระหว่างผู้ร้องที่ 1 และ พ. เป็นผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. การดำเนินกระบวนของศาลชั้นต้นจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกินกว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4689/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่เคยตัดสินแล้วในศาลอุทธรณ์
ที่จำเลยฎีกาว่า สัญญาหมาย จ. 6 โจทก์เป็นผู้ร่างขึ้น จำเลยได้ทักท้วงสัญญาข้อที่ 8 ไว้ก่อนลงนามในสัญญาแล้ว แต่โจทก์ยังคงกำหนดข้อสัญญาข้อนี้ไว้เพื่อเอาเปรียบจำเลย สัญญาข้อนี้จึงเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ขัดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 จึงตกเป็นโมฆะ นั้น ในปัญหาข้อนี้ เดิมเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในครั้งแรกด้วยเหตุที่ว่า ข้อสัญญาข้อ 8 เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ศาลอุทธรณ์ได้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยวินิจฉัยว่าข้อสัญญาดังกล่าวไม่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ในประเด็นอื่น ๆ ตามรูปคดี จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยจะหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4650/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการซ้ำ: ศาลยกคำร้องหากช่องทางฟื้นฟูไม่มีสาระสำคัญต่างจากเดิม แม้มีรายละเอียดต่างกัน
บทบัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำนั้น พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 ไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 ที่ว่านำมาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้น หมายความถึงว่านำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับกฎหมายล้มละลายส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ป.วิ.พ. บัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไว้ในมาตรา 144 ว่า "เมื่อศาลใดมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น?" บทบัญญัติของกฎหมายล้มละลายส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาองค์กรทางธุรกิจไว้ และเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/8 บัญญัติว่า "ผู้ร้องจะขอถอนคำร้องขอไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต แต่ถ้าศาลได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว ศาลจะอนุญาตให้ถอนคำร้องขอไม่ได้ ในกรณีที่ผู้ร้องทิ้งคำร้องขอ หรือขาดนัดพิจารณา หรือศาลอนุญาตให้ถอนคำร้องขอ ก่อนที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดี ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อยหนึ่งฉบับเพื่อให้เจ้าหนี้ทั้งหลายและลูกหนี้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน" และมาตรา 90/9 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อศาลสั่งรับคำร้องขอแล้ว ให้ดำเนินการไต่สวนเป็นการด่วน? กับให้ส่งสำเนาคำร้องขอแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายเท่าที่ทราบ?" จากวัตถุประสงค์และหลักกฎหมายดังกล่าวจึงเห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งตามมาตรา 90/4 นั้นเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งหลาย การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีฟื้นฟูกิจการโดยผู้ร้องขอฟื้นฟูกิจการในคดีหนึ่งถือเสมือนหนึ่งว่า เป็นการกระทำการแทนบุคคลอื่น ๆ ด้วย เช่นนี้หากคดีก่อนศาลได้วินิจฉัยเกี่ยวกับช่องทางในการฟื้นฟูกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วว่าไม่เป็นช่องทางในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และในคดีหลังมีการเสนอช่องทางในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่มีสาระสำคัญเหมือนกับคดีก่อน การพิจารณาวินิจฉัยคดีหลังย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
ในคดีก่อนลูกหนี้ขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างเหตุช่องทางการฟื้นฟูกิจการว่า จะพัฒนาพื้นที่ให้เช่าตอบสนองความต้องการของลูกค้า จัดสรรให้มีพื้นที่เช่าสูงสุดเพื่อให้ผลกำไรของลูกหนี้เพิ่มขึ้นโดยมีแผนกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ คือ แผนด้านผลิตภัณฑ์ จะพัฒนาสาธารณูปโภคได้แก่ ไฟฟ้า น้ำประปา ที่จอดรถ การรักษาความปลอดภัย ให้เป็นที่น่าพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้าและผู้ใช้บริการ แผนด้านราคา เน้นการกำหนดราคาที่หลากหลายขึ้นอยู่กับจำนวนพื้นที่เช่าและรูปแบบการเช่า อาศัยความได้เปรียบของทำเลที่ตั้งอาคารเปรียบเทียบกับค่าบริการของอาคารให้เช่าอื่น ๆ ในระดับใกล้เคียงกัน แผนด้านช่องทางการจัดจำหน่าย เน้นที่ความหลากหลายของโครงการ เช่น การจัดนิทรรศการต่าง ๆ ภายในอาคาร เพื่อช่วยเพิ่มการหมุนเวียนของผู้ใช้บริการในอาคาร ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า แนวทางดังกล่าวไม่น่าเชื่อว่าจะทำให้ลูกหนี้มีรายได้เพิ่มสูงขึ้นจนเพียงพอที่จะนำมาหมุนเวียนในกิจการและแบ่งสรรไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ในเมื่อผู้ร้องขอก็ไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการระดมทุนตลอดถึงแหล่งเงินทุนที่จะมาสนับสนุนวิกฤติการณ์ทางการเงินอันเป็นข้อสำคัญของการฟื้นฟูกิจการ การปรับโครงสร้างหนี้กับบรรดาเจ้าหนี้ก็ดี การติดตามหนี้สินที่ลูกค้าของลูกหนี้ค้างชำระก็ดี การเจรจากับเจ้าหนี้ภาระค้ำประกันโดยขอให้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ชั้นต้นให้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ภาระค้ำประกันก่อนก็ดี ล้วนเป็นเรื่องที่เลื่อนลอยไม่อาจคาดหมายได้ คดีไม่มีเหตุอันสมควรและไม่มีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอ คดีนี้ผู้ร้องขอเสนอช่องทางฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ว่า จะทำให้กิจการของลูกหนี้เกิดผลกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความสามารถในการบริหารจัดการทางการเงินให้มีกระแสเงินสดหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ภาระหนี้สินต่อทรัพย์สินอยู่ในอัตราที่เหมาะสมตามแนวทางต่าง ๆ ได้แก่ การเพิ่มมูลค่าทรัพย์สิน โดยปรับปรุงคุณภาพสถานที่เพื่อให้เป็นอาคารสำนักงานที่มีความโดดเด่นที่สุดอาคารหนึ่งในย่านสีลมและพื้นที่ใกล้เคียง ปรับเปลี่ยนพื้นที่เช่าบางส่วนให้เป็นสถานบันเทิงแบบครบวงจร เช่น โรงภาพยนต์ขนาดเล็ก ลานโบว์ลิ่ง หรือลานเบียร์สด โดยอาศัยความได้เปรียบด้านที่ตั้งและพื้นที่ของอาคาร การเพิ่มรายได้ด้านอื่น ๆ คือเพิ่มค่าเช่าสำนักงานและพื้นที่การให้เช่า ให้บริการที่จอดรถ ให้เช่าพื้นที่จัดนิทรรศการต่าง ๆ เรียกเก็บค่าบริการและค่าสาธารณูปโภคจากลูกค้า รับเป็นผู้บริหารอาคารสำนักงานอื่น ๆ ขายพื้นที่หรือเช่าพื้นที่ระยะยาวโดยได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้มีประกัน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น การชำระหนี้จะมีการปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ทั้งหลาย รายละเอียดตามตารางการชำระหนี้ที่จะเสนอภายหลัง ช่องทางฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ผู้ร้องขอเสนอมาดังกล่าวมีความแตกต่างจากช่องทางที่ลูกหนี้เสนอในคดีก่อนเพียงถ้อยคำและรายละเอียดวิธีปฏิบัติตามช่องทาง แต่สาระสำคัญหรือหลักการเหมือนกับคดีก่อน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
ในคดีก่อนลูกหนี้ขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างเหตุช่องทางการฟื้นฟูกิจการว่า จะพัฒนาพื้นที่ให้เช่าตอบสนองความต้องการของลูกค้า จัดสรรให้มีพื้นที่เช่าสูงสุดเพื่อให้ผลกำไรของลูกหนี้เพิ่มขึ้นโดยมีแผนกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ คือ แผนด้านผลิตภัณฑ์ จะพัฒนาสาธารณูปโภคได้แก่ ไฟฟ้า น้ำประปา ที่จอดรถ การรักษาความปลอดภัย ให้เป็นที่น่าพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้าและผู้ใช้บริการ แผนด้านราคา เน้นการกำหนดราคาที่หลากหลายขึ้นอยู่กับจำนวนพื้นที่เช่าและรูปแบบการเช่า อาศัยความได้เปรียบของทำเลที่ตั้งอาคารเปรียบเทียบกับค่าบริการของอาคารให้เช่าอื่น ๆ ในระดับใกล้เคียงกัน แผนด้านช่องทางการจัดจำหน่าย เน้นที่ความหลากหลายของโครงการ เช่น การจัดนิทรรศการต่าง ๆ ภายในอาคาร เพื่อช่วยเพิ่มการหมุนเวียนของผู้ใช้บริการในอาคาร ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า แนวทางดังกล่าวไม่น่าเชื่อว่าจะทำให้ลูกหนี้มีรายได้เพิ่มสูงขึ้นจนเพียงพอที่จะนำมาหมุนเวียนในกิจการและแบ่งสรรไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ในเมื่อผู้ร้องขอก็ไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการระดมทุนตลอดถึงแหล่งเงินทุนที่จะมาสนับสนุนวิกฤติการณ์ทางการเงินอันเป็นข้อสำคัญของการฟื้นฟูกิจการ การปรับโครงสร้างหนี้กับบรรดาเจ้าหนี้ก็ดี การติดตามหนี้สินที่ลูกค้าของลูกหนี้ค้างชำระก็ดี การเจรจากับเจ้าหนี้ภาระค้ำประกันโดยขอให้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ชั้นต้นให้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ภาระค้ำประกันก่อนก็ดี ล้วนเป็นเรื่องที่เลื่อนลอยไม่อาจคาดหมายได้ คดีไม่มีเหตุอันสมควรและไม่มีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอ คดีนี้ผู้ร้องขอเสนอช่องทางฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ว่า จะทำให้กิจการของลูกหนี้เกิดผลกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความสามารถในการบริหารจัดการทางการเงินให้มีกระแสเงินสดหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ภาระหนี้สินต่อทรัพย์สินอยู่ในอัตราที่เหมาะสมตามแนวทางต่าง ๆ ได้แก่ การเพิ่มมูลค่าทรัพย์สิน โดยปรับปรุงคุณภาพสถานที่เพื่อให้เป็นอาคารสำนักงานที่มีความโดดเด่นที่สุดอาคารหนึ่งในย่านสีลมและพื้นที่ใกล้เคียง ปรับเปลี่ยนพื้นที่เช่าบางส่วนให้เป็นสถานบันเทิงแบบครบวงจร เช่น โรงภาพยนต์ขนาดเล็ก ลานโบว์ลิ่ง หรือลานเบียร์สด โดยอาศัยความได้เปรียบด้านที่ตั้งและพื้นที่ของอาคาร การเพิ่มรายได้ด้านอื่น ๆ คือเพิ่มค่าเช่าสำนักงานและพื้นที่การให้เช่า ให้บริการที่จอดรถ ให้เช่าพื้นที่จัดนิทรรศการต่าง ๆ เรียกเก็บค่าบริการและค่าสาธารณูปโภคจากลูกค้า รับเป็นผู้บริหารอาคารสำนักงานอื่น ๆ ขายพื้นที่หรือเช่าพื้นที่ระยะยาวโดยได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้มีประกัน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น การชำระหนี้จะมีการปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ทั้งหลาย รายละเอียดตามตารางการชำระหนี้ที่จะเสนอภายหลัง ช่องทางฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ผู้ร้องขอเสนอมาดังกล่าวมีความแตกต่างจากช่องทางที่ลูกหนี้เสนอในคดีก่อนเพียงถ้อยคำและรายละเอียดวิธีปฏิบัติตามช่องทาง แต่สาระสำคัญหรือหลักการเหมือนกับคดีก่อน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14