พบผลลัพธ์ทั้งหมด 533 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอฎีกาอย่างคนอนาถาต้องแสดงหลักฐานความยากจนเพิ่มเติม หากศาลเคยวินิจฉัยแล้วว่าไม่เข้าข่าย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ในชั้นฎีกาฉบับแรกว่าโจทก์ไม่นำพยานมาไต่สวน ให้ยกคำร้องขออนาถาของโจทก์ เท่ากับวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำร้องของโจทก์แล้วว่า โจทก์ไม่ใช่คนอนาถา ซึ่งโจทก์ต้องขออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนยากจนจริง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่โดยไม่ได้ขอนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติม ประกอบกับคดีนี้ไม่มีการไต่สวนสืบพยานเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานและไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนครั้งแรก จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาฉบับใหม่ของโจทก์ไว้จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5851/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาซ้ำ ศาลมีสิทธิยกคำร้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ยื่นต่อศาลครั้งที่ 3 มีข้ออ้างและคำขอเช่นเดียวกับที่จำเลยยื่นในครั้งแรกและครั้งที่ 2 ซึ่งคำร้องทั้งสองฉบับดังกล่าวศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง แม้จะเป็นการยกคำร้องเพราะจำเลยไม่ได้นำพยานมาสืบก็ถือว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นในเรื่องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวอีกย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นไต่สวนอนาถาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าว
การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นไต่สวนอนาถาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาสองครั้งในประเด็นเดียวกัน ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องอันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นในเรื่องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่แล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่อีกในประเด็นเดียวกัน ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2740/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีจำนองที่มีต่อคดีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และการบังคับชำระหนี้
ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคดีนี้ โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ถูกโจทก์ในคดีดังกล่าวยึดไว้ มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่น เพราะจำเลยจดทะเบียนจำนองประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีคดีนี้ในวงเงิน 7,000,000 บาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 คดีดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้วโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเลิกเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม2529 ให้โจทก์ในฐานะผู้ร้องในคดีดังกล่าวได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญในต้นเงินไม่เกิน 7,000,000 บาท เมื่อโจทก์และจำเลยต่างเป็นคู่ความเดียวกัน คำวินิจฉัยของศาลในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันคดีนี้ตามมาตรา 145 วรรคหนึ่ง จึงต้องฟังว่า สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเลิกกันตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2529
การที่โจทก์ยื่นคำร้องในคดีก่อนขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญหากมีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เท่านั้น ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินจากการขายทอดตลาด จะนำวงเงินดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนหนี้ทั้งหมดแล้วพิพากษาในคดีนี้ให้ในส่วนที่คงเหลือไม่ได้
การที่โจทก์ยื่นคำร้องในคดีก่อนขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญหากมีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เท่านั้น ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินจากการขายทอดตลาด จะนำวงเงินดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนหนี้ทั้งหมดแล้วพิพากษาในคดีนี้ให้ในส่วนที่คงเหลือไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำเกี่ยวกับสัญญาเช่าเดิม แม้ฟ้องก่อนมีคำพิพากษาในคดีก่อน ก็ต้องห้ามตามมาตรา 144
คดีก่อนจำเลยฟ้องขับไล่โจทก์ว่าสัญญาเช่าที่ทำกันไว้ 7 ปี ใช้บังคับได้เพียง 3 ปีและโจทก์ผิดสัญญาเช่าเพราะไม่ชำระค่าเช่าสัญญาเช่าจึงเป็นอันเลิกกัน โจทก์ให้การว่ามิได้ผิดสัญญาเช่า ขอให้ยกฟ้อง การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่าสัญญาเช่ามีกำหนด3 ปี ขึ้นไป แต่ไม่ได้จดทะเบียนจึงตกเป็นโมฆะ ขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำตามสัญญาเช่าให้แก่โจทก์ ย่อมเป็นการขัดกับคำให้การของโจทก์ในคดีก่อนเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตทั้งคำฟ้องคดีนี้ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลวินิจฉัยเกี่ยวกับสัญญาเช่าในทรัพย์สินเดียวกับคดีก่อนที่สืบเนื่องมาจากประเด็นเดียวกับที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในคดีก่อน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144แม้ว่าโจทก์จะได้ฟ้องคดีนี้ไว้ก่อนที่ศาลในคดีก่อนจะได้วินิจฉัยชี้ขาดก็ตาม แต่เมื่อศาลในคดีก่อนได้พิจารณาชี้ขาดแล้ว ก็ตกอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 144 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเช่าทรัพย์ซ้ำซ้อน แม้ฟ้องก่อนมีคำพิพากษา แต่เมื่อมีคำพิพากษาแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คดีนี้กับคดีก่อน โจทก์และจำเลยเป็นคู่ความรายเดียวกัน ทรัพย์สินที่ให้เช่าทั้งสองคดีเป็นทรัพย์สินเดียวกันมีกำหนด 7 ปี คดีก่อนจำเลยเคยฟ้องขับไล่โจทก์ว่าสัญญาเช่าที่ทำกันใช้บังคับได้เพียง 3 ปี และโจทก์ผิดสัญญาเช่าเพราะไม่ชำระค่าเช่าสัญญาเช่าจึงเป็นอันเลิกกัน โจทก์ให้การว่ามิได้ผิดสัญญาเช่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่า คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่าสัญญาเช่าทั้งหมดตกเป็นโมฆะ ขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำตามสัญญาเช่าโจทก์นั้น ย่อมเป็นการขัดกับคำให้การของโจทก์ในคดีก่อนเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทั้งคดีนี้ก็เป็นเรื่องที่ศาลวินิจฉัยเกี่ยวกับสัญญาเช่าที่สืบเนื่องมาจากประเด็นเดียวกับที่ศาลชั้นต้นในคดีก่อนได้วินิจฉัยมาแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 แม้ว่าโจทก์คดีนี้จะได้ฟ้องไว้ก่อนที่ศาลในคดีก่อนจะได้วินิจฉัยชี้ขาดก็ตาม แต่เมื่อศาลในคดีก่อนได้พิจารณาชี้ขาดแล้ว กรณีย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 144 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ฟ้องไม่เคลือบคลุม-การคำนวณหนี้-เอกสารประกอบพยาน-การส่งเอกสารต่อศาล
หนังสือมอบอำนาจทั่วไป มิได้มุ่งหมายให้ตัวแทนกระทำกิจการใดโดยเฉพาะเจาะจง ทั้งการฟ้องคดีก็มิได้ระบุตัวบุคคลผู้เป็นลูกหนี้หรือบุคคลที่จะถูกฟ้องว่าเป็นบุคคลใด ย่อมมีผลเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว โจทก์จึงใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวฟ้องลูกหนี้ของโจทก์ได้ทุกคดีโดยไม่มีจำกัดจำนวนคดีและตัวบุคคล แม้โจทก์จะเคยใช้หนังสือมอบอำนาจฟ้องจำเลยมาแล้ว โจทก์ก็มีอำนาจใช้หนังสือมอบอำนาจฉบับเดิมมาฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงินรวม1,500,000 บาท โดยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และมีการจำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้ หลังจากนั้นมีการสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีเรื่อยมา ระยะหลังจำเลยเบิกเงินจากบัญชีจำนวนมากแต่นำเงินเข้าหักทอนบัญชีจำนวนน้อย โจทก์จึงบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง โจทก์คำนวณหนี้คิดเพียงวันที่ 12 เมษายน 2539 ซึ่งเป็นวันเลิกบัญชีเดินสะพัด จำเลยเป็นหนี้โจทก์1,877,571.48 บาท ตามบันทึกการคำนวณดอกเบี้ยเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ถือว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาพอให้จำเลยเข้าใจได้แล้ว ส่วนขั้นตอนของการคำนวณดอกเบี้ยแต่ละเดือนและยอดสรุปของหนี้แต่ละเดือนเป็นอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้ในคดีแรกโจทก์เคยฟ้องจำเลยในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนองศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่ายอดหนี้สำหรับหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีคำนวณไม่ถูกต้องจึงให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีในส่วนนี้มาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุความ และต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีที่สองในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีรายเดียวกันอีก ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องโดยคำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาลกำหนดไว้ โจทก์ฟ้องและนำสืบในประเด็นเดิม จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ซึ่งคดีทั้งสองดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าได้มีคำพิพากษาชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ทั้งคดีนี้โจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ในคดีก่อนแล้ว จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดมาแล้วในคดีเดิม ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือฟ้องซ้ำ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงินรวม1,500,000 บาท โดยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และมีการจำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้ หลังจากนั้นมีการสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีเรื่อยมา ระยะหลังจำเลยเบิกเงินจากบัญชีจำนวนมากแต่นำเงินเข้าหักทอนบัญชีจำนวนน้อย โจทก์จึงบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง โจทก์คำนวณหนี้คิดเพียงวันที่ 12 เมษายน 2539 ซึ่งเป็นวันเลิกบัญชีเดินสะพัด จำเลยเป็นหนี้โจทก์1,877,571.48 บาท ตามบันทึกการคำนวณดอกเบี้ยเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ถือว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาพอให้จำเลยเข้าใจได้แล้ว ส่วนขั้นตอนของการคำนวณดอกเบี้ยแต่ละเดือนและยอดสรุปของหนี้แต่ละเดือนเป็นอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้ในคดีแรกโจทก์เคยฟ้องจำเลยในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนองศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่ายอดหนี้สำหรับหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีคำนวณไม่ถูกต้องจึงให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีในส่วนนี้มาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุความ และต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีที่สองในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีรายเดียวกันอีก ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องโดยคำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาลกำหนดไว้ โจทก์ฟ้องและนำสืบในประเด็นเดิม จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ซึ่งคดีทั้งสองดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าได้มีคำพิพากษาชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ทั้งคดีนี้โจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ในคดีก่อนแล้ว จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดมาแล้วในคดีเดิม ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำประเด็นเดิม: การฟ้องเรียกหนี้จากทายาทโดยธรรมที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ป. ผู้ตายซึ่งเป็นบิดาชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ศาลวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของ ป. จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มายื่นฟ้องคดีนี้ขอให้บังคับจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ป. ชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวอีก ประเด็นแห่งคดีทั้งสองเป็นประเด็นเดียวกันว่าจำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายหรือไม่ คู่ความทั้งสองฝ่ายก็เป็นรายเดียวกันคำฟ้องโจทก์คดีนี้จึงต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นนั้นอีก เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและฟ้องซ้ำด้วย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 และมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6664/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันบังคับคดี: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันยังคงอยู่จนกว่าจำเลยชำระหนี้หรือศาลมีคำสั่งกลับ
ผู้ร้องทำหนังสือประกันไว้ต่อศาลชั้นต้นเพื่อค้ำประกันการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นบางส่วนโดยยังคงให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์แต่จำเลยไม่ชำระและจำเลยฎีกา ซึ่งศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์บางส่วน และยังคงให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ เช่นนี้ ผู้ร้องจึงยังต้องรับผิดตามเนื้อความในหนังสือประกันดังกล่าว ความรับผิดของผู้ร้องตามหนังสือประกันดังกล่าวจะสิ้นไปต่อเมื่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ หรือในระหว่างฎีกาได้มีการทำหนังสือประกันขึ้นใหม่ หรือเมื่อโจทก์มิได้ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและไม่แถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของจำเลยและผู้ร้องภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271
ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการอายัดที่ดินที่ผู้ร้องนำมาวางเป็นหลักประกันและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ตรวจคืนโฉนดที่ดินที่นำมาวางเป็นหลักประกันให้แก่ผู้ร้องไปทั้งที่ผู้ร้องยังคงต้องรับผิดตามเนื้อความในหนังสือประกันอยู่ ซึ่งต่อมาภายหลังเมื่อเห็นว่าเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นนัดพร้อมและสอบถามโจทก์ จำเลยกับผู้ร้องแล้วมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง จึงเป็นการสั่งตามอำนาจที่ศาลชั้นต้นมีอยู่ตามมาตราดังกล่าวหาใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไม่
ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการอายัดที่ดินที่ผู้ร้องนำมาวางเป็นหลักประกันและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ตรวจคืนโฉนดที่ดินที่นำมาวางเป็นหลักประกันให้แก่ผู้ร้องไปทั้งที่ผู้ร้องยังคงต้องรับผิดตามเนื้อความในหนังสือประกันอยู่ ซึ่งต่อมาภายหลังเมื่อเห็นว่าเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นนัดพร้อมและสอบถามโจทก์ จำเลยกับผู้ร้องแล้วมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง จึงเป็นการสั่งตามอำนาจที่ศาลชั้นต้นมีอยู่ตามมาตราดังกล่าวหาใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3064/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องร้องเมื่อถูกโต้แย้งสิทธิในที่ดิน แม้ยังมิได้ถูกบังคับคดี
การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ว่าจำเลยยื่นฟ้องขับไล่ ส. และจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี ให้โจทก์ในฐานะบริวารของ ส. ออกจากที่พิพาท เมื่อโจทก์เห็นว่าตนมิใช่บริวารของ ส. แต่เป็นเจ้าของครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทมานานแล้ว แสดงว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลยตามกฎหมายแพ่งอันเกี่ยวกับสิทธิในที่พิพาทแล้ว โจทก์มีสิทธิเสนอคดีของตนต่อศาลโดยยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ได้ แม้โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะปิดประกาศกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3)ในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่ ส. ออกจากที่พิพาทก็ตาม เพราะบทบัญญัติดังกล่าวแม้หากบุคคลนั้นไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ก็เป็นเพียงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลนั้นเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหาได้มีผลเป็นการตัดสิทธิห้ามบุคคลนั้นจะฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ไม่ และเมื่อโจทก์มิได้ร้องขอเข้าไปในคดีที่จำเลยบังคับขับไล่ ส. โจทก์จึงมิได้อยู่ในฐานะเป็นคู่ความในคดีนั้นย่อมไม่ผูกพันในผลแห่งคดีดังกล่าวหรือจะถูกต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องไม่ว่าจะด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ