พบผลลัพธ์ทั้งหมด 533 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7844/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องห้าม: คดีประเด็นเดียวกันกับคดีที่ศาลแพ่งธนบุรีตัดสินแล้ว
ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับคดีที่จำเลยคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยที่ 6 ในคดีของศาลแพ่งธนบุรีมีประเด็นข้อพิพาทซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ค้ำประกันและจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันหนี้จริงหรือไม่ เมื่อศาลแพ่งธนบุรีได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยให้โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยแล้ว ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แม้ว่าโจทก์จะได้ฟ้องคดีนี้ไว้ก่อนคดีของศาลแพ่งธนบุรีแต่เมื่อศาลแพ่งธนบุรีได้พิพากษาชี้ขาดคดีแล้ว กรณีก็ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 144 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1574/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: การแจ้งวันขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้การขายทอดตลาดเป็นโมฆะ
การยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 1 อาจกระทำได้ไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่า 15 วัน นับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีเพิ่งขายทอดตลาดไปเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2547 และยังมิได้จ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดแก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้การบังคับคดีจึงยังไม่เสร็จลงตามมาตรา 296 วรรคสี่ ส่วนที่ต้องไม่ช้ากว่า 15 วัน นับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนให้ได้ความก่อนว่ามีข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นหรือไม่และจำเลยที่ 1 ทราบแล้วหรือไม่ เมื่อใด เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งโดยไม่ไต่สวนจึงเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 14 ธันวาคม 2547 ฉบับแรก ขอให้รับคำร้องขอเพิกถอนการพิจารณาของจำเลยที่ 1 ไว้ไต่สวนต่อไป ย่อมเป็นการแสดงว่าจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
จำเลยที่ 1 เพิ่งทราบเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2547 ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดไปแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมอบให้ ว. ไปขอคัดถ่ายเอกสารการขายทอดตลาดที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดสมุทรสาคร และเพิ่งได้รับเอกสารมาเมื่อวันที่ 7 เดือนเดียวกัน ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตั้งแต่วันที่ 7 เดือนดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 1 ทราบแล้วก็มอบให้ทนายความของจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ทนายความของจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดฉบับลงวันที่ 9 ธันวาคม 2547 จึงเป็นการยื่นคำร้องไม่ช้ากว่า 15 วัน นับแต่วันที่ทราบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม
จำเลยที่ 1 เพิ่งทราบเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2547 ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดไปแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมอบให้ ว. ไปขอคัดถ่ายเอกสารการขายทอดตลาดที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดสมุทรสาคร และเพิ่งได้รับเอกสารมาเมื่อวันที่ 7 เดือนเดียวกัน ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตั้งแต่วันที่ 7 เดือนดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 1 ทราบแล้วก็มอบให้ทนายความของจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ทนายความของจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดฉบับลงวันที่ 9 ธันวาคม 2547 จึงเป็นการยื่นคำร้องไม่ช้ากว่า 15 วัน นับแต่วันที่ทราบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีสัญญา: ศาลฎีกาวินิจฉัยแล้ว ห้ามศาลชั้นต้นวินิจฉัยซ้ำ
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องและพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในประเด็นอำนาจฟ้องจึงถึงที่สุดแล้ว ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยซ้ำอีกไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่า โจทก์มิได้ถูกโต้แย้งสิทธิตามสัมปทานทำไม้ป่าชายเลน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยในเนื้อหาเช่นเดียวกับที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ดังกล่าวแล้วข้างต้นนั่นเองจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดรังวัดที่ดินเกินแนวเขต, ค่าเสียหาย, การชำระหนี้, ศาลแก้คำพิพากษา
ปัญหาเรื่องโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยทั้งห้าชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นเจ้าหน้าที่ตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ต่อโจทก์ทั้งสองเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่แทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นหน่วยงานของรัฐโดยตรง แต่จะฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5
สำนวนแรกโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก เรื่องละเมิดที่จำเลยที่ 5 ชี้และปักหลักหมุดกำหนดแนวเขตทางรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกให้การว่าการชี้แนวเขตทางของจำเลยไม่เป็นละเมิดขอให้ยกฟ้อง คดีจึงมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองหรือไม่ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองแล้วพิพากษาว่าที่ดินยังเป็นของโจทก์ทั้งสอง มิได้ถูกเวนคืน แต่หากฝ่ายจำเลยก่อสร้างถนนบนที่ดินพิพาทแล้ว ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ทั้งสองที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 2 ก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินบนที่ดินพิพาทเสร็จแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงนำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นการยื่นคำฟ้องต่อเนื่องกันกับสำนวนแรก เพื่อเรียกร้องเอาค่าเสียหายที่ศาลฎีกามิได้พิพากษาให้ การฟ้องสำนวนหลังจึงมิได้อาศัยมูลละเมิดอันเกิดจากการก่อสร้างทางในที่ดินพิพาทมาเป็นข้ออ้างเพื่อเป็นหลักแห่งข้อหา ฉะนั้นปัญหาตามคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ในสำนวนหลังจึงเป็นประเด็นแห่งคดีเหมือนกันกับสำนวนแรกจึงต้องห้ามมิให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาในปัญหาดังกล่าวซ้ำอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยกเรื่องมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองขึ้นต่อสู้อีกไม่ได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่า มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองจึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นเจ้าหน้าที่ตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ต่อโจทก์ทั้งสองเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่แทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นหน่วยงานของรัฐโดยตรง แต่จะฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5
สำนวนแรกโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก เรื่องละเมิดที่จำเลยที่ 5 ชี้และปักหลักหมุดกำหนดแนวเขตทางรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกให้การว่าการชี้แนวเขตทางของจำเลยไม่เป็นละเมิดขอให้ยกฟ้อง คดีจึงมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองหรือไม่ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองแล้วพิพากษาว่าที่ดินยังเป็นของโจทก์ทั้งสอง มิได้ถูกเวนคืน แต่หากฝ่ายจำเลยก่อสร้างถนนบนที่ดินพิพาทแล้ว ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ทั้งสองที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 2 ก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินบนที่ดินพิพาทเสร็จแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงนำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นการยื่นคำฟ้องต่อเนื่องกันกับสำนวนแรก เพื่อเรียกร้องเอาค่าเสียหายที่ศาลฎีกามิได้พิพากษาให้ การฟ้องสำนวนหลังจึงมิได้อาศัยมูลละเมิดอันเกิดจากการก่อสร้างทางในที่ดินพิพาทมาเป็นข้ออ้างเพื่อเป็นหลักแห่งข้อหา ฉะนั้นปัญหาตามคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ในสำนวนหลังจึงเป็นประเด็นแห่งคดีเหมือนกันกับสำนวนแรกจึงต้องห้ามมิให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาในปัญหาดังกล่าวซ้ำอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยกเรื่องมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองขึ้นต่อสู้อีกไม่ได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่า มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9467/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 กรณีประเด็นข้อพิพาทเดียวกันกับคดีที่ถึงที่สุดแล้ว
แม้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ก่อนคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นก็ตาม แต่ประเด็นข้อพิพาทซึ่งศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือ ป. เป็นประเด็นข้อพิพาทประเด็นเดียวกัน คู่ความเดียวกัน เมื่อคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยชี้ขาดแล้วว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว กรณีต้องตกอยู่ภายใต้บังคับเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แม้ว่าโจทก์จะฟ้องคดีนี้ไว้ก่อนที่ศาลในคดีก่อนจะได้วินิจฉัยชี้ขาดคดีก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5772/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องซ้ำเพื่อขอเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ศาลเคยมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว เป็นการดำเนินกระบวนการซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทอดตลาดได้ โดยให้เหตุผลว่า สถานที่ตั้งทรัพย์ไม่ตรงกับแผนที่ประกอบประกาศขายทอดตลาด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง เพราะผู้ร้องไม่ไปศาล ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นว่า อุทธรณ์ของผู้ร้องไม่เป็นสาระสำคัญแก่คดี ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ต่อมาผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดในลักษณะเดิมอีก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จากข้อเท็จจริงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องในการตรวจสอบรายละเอียดที่ตั้งของทรัพย์ตามแผนที่ในประกาศขายทอดตลาด การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง ผู้ร้องจึงมายื่นคำร้องในคดีนี้อีก ซึ่งรายละเอียดในคำร้องไม่ว่าจะเป็นตัวทรัพย์ที่ขายทอดตลาดหรือเหตุผลในการขอเพิกถอนการขายทอดตลาดของผู้ร้อง ล้วนเป็นอย่างเดียวกันกับคำร้องก่อนหน้านั้นทั้งสิ้น การที่ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นก็ดี การไม่อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของผู้ร้องในเวลาต่อมาก็ดี ทำให้ประเด็นตามข้อกล่าวอ้างของผู้ร้องในการขอเพิกถอนการขายทอดตลาดถึงที่สุดโดยคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีนี้โดยเหตุผลเดียวกันอีก จึงเป็นการขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5772/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเพิกถอนการขายทอดตลาดซ้ำ ศาลยกคำร้องตามมาตรา 144 ว.พ.พ.
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทอดตลาดได้ โดยให้เหตุผลว่า สถานที่ตั้งทรัพย์ไม่ตรงกับแผนที่ประกอบประกาศขายทอดตลาดศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง เพราะผู้ร้องไม่ไปศาล ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าอุทธรณ์ของผู้ร้องไม่เป็นสาระสำคัญแก่คดี ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดในลักษณะเดิมอีก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จากข้อเท็จจริงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องในการตรวจสอบรายละเอียดที่ตั้งของทรัพย์ตามแผนที่ในประกาศขายทอดตลาด การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง การที่ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นดังกล่าวข้างต้นก็ดี การไม่อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของผู้ร้องในเวลาต่อมาก็ดี ทำให้ประเด็นตามข้อกล่าวอ้างของผู้ร้องในการขอเพิกถอนการขายทอดตลาดถึงที่สุดโดยคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีนี้โดยเหตุผลเดียวกันอีก จึงเป็นการขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยแล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4657/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ซ้ำซ้อนจากสัญญาเช่าซื้อ การเรียกร้องเงินคืนในฐานลาภมิควรได้
คำพิพากษาคดีแพ่งของศาลจังหวัดอุบลราชธานี (เดชอุดม) ซึ่งมีจำเลยที่ 1 ในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 และ พ. เป็นจำเลยที่ 2 ขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองในคดีดังกล่าวรับผิดชำระเงินตามเช็คที่โจทก์โดย พ. กรรมการผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คชำระค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ส่วนที่ค้างชำระ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองคืนเงินค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ได้ชำระไปก่อนแล้วในฐานะลาภมิควรได้ อันเป็นหนี้คนละจำนวนกัน ซึ่งคำพิพากษาดังกล่าวข้างต้นยังมิได้มีการวินิจฉัยชี้ขาด การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้จึงไม่เกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8275/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมยกฟ้องเพราะขาดอำนาจฟ้อง ไม่ถือเป็นการวินิจฉัยเนื้อหาคดี สามารถฟ้องใหม่ได้
เดิมโจทก์และ ว. ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดเรียกค่าเสียหายที่โจทก์และ ว. ต้องเสียค่าจ้างทนายความและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงขาดความเชื่อถือในการประกอบอาชีพจากการที่ถูกจำเลยฟ้อง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า กรณียังไม่ถือว่าโจทก์และ ว. ถูกโต้แย้งสิทธิจากจำเลยในอันที่จะทำให้โจทก์และ ว. ใช้สิทธิทางศาลได้ โจทก์และว. จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 เป็นกรณีศาลยกฟ้องเพราะเหตุที่ยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาในประเด็นแห่งคดีฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 148 และมาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในคดีมรดก: พินัยกรรมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145
คดีนี้และคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 812/2544 ของศาลชั้นต้น มีคู่ความรายเดียวกันและประเด็นข้อพิพาทประเด็นเดียวกันว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ผู้ร้องและพินัยกรรมปลอมหรือไม่ เมื่อในคดีที่ผู้คัดค้านเป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลย ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีคำพิพากษาว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมถูกต้องไม่เป็นพินัยกรรมปลอม ดังนั้น การวินิจฉัยคดีนี้ว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับประเด็นข้อพิพาทที่ได้วินิจฉัยไว้ในคดีดังกล่าว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้
เมื่อปรากฏว่าคดีหมายเลขแดงที่ 812/2544 ของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมถูกต้องไม่เป็นพินัยกรรมปลอม ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "...คำพิพากษาหรือคำสั่งใดๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง จนถึงวันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง..." ดังนั้น จึงต้องฟังว่าพินัยกรรมถูกต้องไม่เป็นพินัยกรรมปลอมและใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงต้องถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
เมื่อปรากฏว่าคดีหมายเลขแดงที่ 812/2544 ของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมถูกต้องไม่เป็นพินัยกรรมปลอม ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "...คำพิพากษาหรือคำสั่งใดๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง จนถึงวันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง..." ดังนั้น จึงต้องฟังว่าพินัยกรรมถูกต้องไม่เป็นพินัยกรรมปลอมและใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงต้องถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย