คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 158 (6)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาคดีอาวุธปืน: การระบุข้อกฎหมายรองในคำฟ้อง
กฎกระทรวงฉบับที่ 11(พ.ศ. 2522) เพียงแต่กำหนดประเภทชนิด และขนาดของอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้เท่านั้น หาใช่บทมาตราที่ว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิดอาญาไม่ การที่โจทก์ไม่ได้ระบุกฎกระทรวงมาในคำขอท้ายฟ้องยังถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องที่ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6).(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างกฎหมายผิดในคำฟ้อง และการลงโทษผู้ร่วมกระทำผิด แม้ไม่ปรากฏในคำพิพากษา
บรรยายฟ้องว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 อันเป็นกฎหมายที่ถูกต้องแต่ระบุขอไว้ท้ายฟ้องเป็นพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2525 ไม่ตรงกับคำบรรยายถึงกฎหมายที่อ้างอิงไว้ในคำฟ้องและพระราชบัญญัติยาเสพติดตามพ.ศ.ที่โจทก์ขอให้ลงโทษก็ไม่มีเป็นการผิดพลาดไป ถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์อ้างกฎหมายผิด ศาลล่างทั้งสองมีอำนาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 กันเป็นกฎหมายที่ถูกต้องได้กรณีไม่เป็นการอ้างกฎหมายที่ไม่มีอยู่จริงมาใช้บังคับ
ส่วนที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันกระทำผิดโดยมิได้กล่าวอ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 นั้น ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องและอ้างบทกฎหมายมาตรานี้ท้ายฟ้อง แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันแล้ว แม้ศาลล่างทั้งสองจะไม่ได้กล่าวอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 มาในคำพิพากษาก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างกฎหมายผิดในคำฟ้อง และการลงโทษผู้ร่วมกระทำผิดโดยไม่ระบุบทกฎหมายในคำพิพากษา
บรรยายฟ้องว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 อันเป็นกฎหมายที่ถูกต้องแต่ระบุขอไว้ท้ายฟ้องเป็นพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2525 ไม่ตรงกับคำบรรยายถึงกฎหมายที่อ้างอิงไว้ในคำฟ้องและพระราชบัญญัติยาเสพติดตาม พ.ศ.ที่โจทก์ขอให้ลงโทษก็ไม่มีเป็นการผิดพลาดไป ถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์อ้างกฎหมายผิด ศาลล่างทั้งสองมีอำนาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 อันเป็นกฎหมายที่ถูกต้องได้กรณีไม่เป็นการอ้างกฎหมายที่ไม่มีอยู่จริงมาใช้บังคับ
ส่วนที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันกระทำผิดโดยมิได้กล่าวอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 นั้น ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องและอ้างบทกฎหมายมาตรานี้ท้ายฟ้อง แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันแล้ว แม้ศาลล่างทั้งสองจะไม่ได้กล่าวอ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 มาในคำพิพากษา ก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญาเช็คเด้งสมบูรณ์ แม้คำขอท้ายฟ้องไม่ระบุมาตรา 3 แต่ระบุในส่วนฐานความผิดชัดเจน
แม้คำขอท้ายคำฟ้องจะระบุอ้างแต่พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 โดยไม่ได้อ้างบทมาตรา 3 ไว้ด้วย แต่โจทก์ก็ได้ระบุไว้ที่หน้า คำฟ้องในช่องข้อหาหรือฐานความผิดว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3และตามพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 5 มาตราก็มี มาตรา 3 เท่านั้น ที่บัญญัติว่าการกระทำเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ซึ่งโจทก์ได้บรรยายการกระทำผิดของจำเลยไว้ครบถ้วนตามมาตรา 3 แล้ว จำเลยย่อมเข้าใจดีและไม่หลงต่อสู้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวย่อมมีผลเท่ากับการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)แล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางอาญาฐานทำไม้และมีไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกาวินิจฉัยการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่และการเพิ่มโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำไม้โดยตัดฟันไม้ยาง กับจำเลยมีไม้ยางอันเป็นไม่หวงห้ามยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และคำขอท้ายฟ้องโจทก์ได้ระบุอ้างพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 ซึ่งเป็นบทมาตราความผิดและมาตรา 31 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษกับอ้างพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4)พ.ศ.2503 มาตรา 12 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษผู้ที่ฝ่าฝืนมีไม้ยางยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เพียงแต่โจทก์มิได้อ้างพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 มาตรา 3 ที่ให้ยกเลิกความในมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 กับพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่6) พ.ศ.2522 มาตรา 3 ที่ให้ยกเลิกความในมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2503 แล้วบัญญัติความใหม่ขึ้นแทนเท่านั้น ตามความที่บัญญัติขึ้นใหม่ยังคงเรียกว่ามาตรา31 และมาตรา 69 อยู่นั่นเองการที่จำเลยกระทำความผิดหลังจากใช้กฎหมายซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมใหม่แล้วแต่โจทก์มิได้ระบุอ้างพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงมิทำให้ฟ้องโจทก์ขาดความสมบูรณ์ เมื่อศาลฟังว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนเป็นความผิดตามมาตรา 14แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติซึ่งมีบทกำหนดโทษไว้ในมาตรา 31 และพระราชบัญญัติป่าไม้ มาตรา 69 แล้ว ศาลก็ลงโทษจำเลยตามกำหนดโทษในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 และมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2522 ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยเพิ่มขึ้น เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเพิ่มขึ้นไม่ได้
โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตามศาลชั้นต้น กับลงโทษปรับจำเลยแล้วรอการลงโทษจำคุกได้ และหากปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษปรับจำเลยตามกฎหมายกำหนดตามที่โจทก์ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญาต้องอ้างบทบัญญัติความผิด แม้ไม่ระบุโทษก็ลงโทษได้ตามบททั่วไป
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) คำฟ้องจะต้องอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด โจทก์บรรยายฟ้องมาแจ้งชัดแล้วว่า จำเลยร่วมกันส่งยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนไปจำหน่ายนอกราชอาณาจักร และอ้างบทมาตรา 4 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯอันเป็นบทห้ามกระทำผิดมาด้วย แม้จะไม่ได้อ้างบทลงโทษมาก็ย่อมลงโทษจำเลยตามมาตรา 20 วรรคสี่ได้ ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ (อ้างฎีกาที่ 1866/2519 ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกกระทงความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้เพื่อขายและพยายามนำออกนอกราชอาณาจักร ต้องระบุเจตนาชัดเจน
การนำเฮโรอีนออกนอกราชอาณาจักร ถ้ามิใช่เพื่อขาย จำหน่ายหรือจ่ายแจก เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2465 มาตรา 20 วรรคสาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2504 มาตรา 5 ส่วนการนำเฮโรอีนออกนอกราชอาณาจักรเพื่อขาย จำหน่ายหรือจ่ายแจกเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2465 มาตรา 20 วรรคท้าย พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2504 มาตรา 5 เป็นความผิดคนละฐานต่างกัน
ฟ้องโจทก์แยกการกระทำผิดของจำเลยออกเป็น 2 กระทง กระทงแรกเป็นเรื่องร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อขายจำหน่ายหรือจ่ายแจกกระทงหลังเป็นเรื่องร่วมกันพยายามนำเฮโรอีนที่มีไว้ในกระทงแรกออกนอกราชอาณาจักรในข้อหากระทงหลังโจทก์มิได้กล่าวไว้เลยว่าจำเลยพยายามนำเฮโรอีนออกนอกราชอาณาจักรเพื่อขาย จำหน่ายหรือจ่ายแจก อันเป็นสาระสำคัญแห่งองค์ประกอบความผิด ดังนั้น แม้โจทก์จะอ้างบทมาตรา 20 ซึ่งคลุมทุกกรณีมาด้วยก็ตามศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาที่ไม่ระบุบทลงโทษ และการยกเว้นโทษตามกฎหมายอาวุธปืน
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยต่อสู้ขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงานและทำลายบัตรประจำตัวข้าราชการ แต่ในคำขอท้ายฟ้องมิได้อ้างมาตรา 138,140,188 แห่งประมวลกฎหมายอาญาซึ่งเป็นบทลงโทษมาด้วยนั้น ย่อมลงโทษจำเลยตามมาตรา 138,140,188 ไม่ได้ และการที่โจทก์อ้างประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 ข้อ 2 ซึ่งบัญญัติให้เรียงกระทงลงโทษมาด้วยก็ไม่พอจะอนุมานว่าโจทก์ได้ขอให้ลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่มิได้อ้าง
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืนโดยมิได้รับอนุญาตนั้น แม้การกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดในขณะฟ้องและศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษมา แต่เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 3 ยอมให้ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต นำไปขอรับอนุญาตได้ภายใน 90 วัน โดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษจำเลยจึงไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานนี้ และแม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในประเด็นนี้ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาที่ไม่ระบุบทลงโทษ และการยกเว้นโทษตามกฎหมายใหม่ ศาลฎีกาพิพากษาแก้
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยต่อสู้ขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงานและทำลายบัตรประจำตัวข้าราชการ แต่ในคำขอท้ายฟ้องมิได้อ้างมาตรา 138, 140, 188 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นบทลงโทษมาด้วยนั้น ย่อมลงโทษจำเลยตามมาตรา 138, 140, 188 ไม่ได้ และการที่โจทก์อ้างประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 ข้อ 2 ซึ่งบัญญัติให้เรียงกระทงลงโทษมาด้วย ก็ไม่พอจะอนุมานว่าโจทก์ได้ขอให้ลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่มิได้อ้าง
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืนโดยมิได้รับอนุญาตนั้น แม้การกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดในขณะฟ้องและศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษมา แต่เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 3 ยอมให้ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต นำไปขอรับอนุญาตภายใน 90 วัน โดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานนี้ และแม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในประเด็นนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวที่พอสมควรแก่เหตุ และความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่น
จำเลยที่ 1 กับที่ 2 เคยมีเรื่องชกต่อยกันวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 2,3 กับพวกไปคอยทีอยู่ พอจำเลยที่ 1 เดินผ่านมา จำเลยที่ 2,3 ยิงจำเลยที่ 1 ราว 4,5 นัด จำเลยที่ 1 วิ่งหนีจำเลยที่ 2, 3 ยังยิงมาทางจำเลยที่ 1 อีก 4-5 นัด จำเลยที่ 1จึงยิงโต้ตอบไป 1 นัดแล้ววิ่งหนีไป การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ เพราะไม่ทราบว่าจำเลยที่ 2,3 จะไล่ยิงต่อไปหรือไม่ และกรณีดังนี้ไม่เป็นการเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้กัน
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 4 เบิกความเป็นพยาน ศาลชั้นต้นไม่ยอมให้ทนายของจำเลยที่ 3 ซักค้าน แม้จะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 233 แต่เมื่อศาลไม่ได้นำคำเบิกความของจำเลยที่ 1 และที่ 4 มาวินิจฉัยให้เป็นโทษแก่จำเลยที่ 3 ย่อมไม่มีผลกระทบกระเทือนการรับฟังคำพยานนั้น ๆ ว่าทำให้จำเลยที่ 3 เสียเปรียบ
โจทก์บรรยายฟ้องในตอนต้นว่าจำเลยที่ 1 ฝ่ายหนึ่ง จำเลย ที่ 2, 3, 4 และผู้ตายฝ่ายหนึ่ง เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ยิงกัน ในการชุลมุนนี้ผู้ตายถูกกระสุนปืนตาย จำเลยที่ 2 ถูกกระสุนปืนบาดเจ็บ บ. ซึ่งอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุได้รับอันตรายสาหัสและตอนท้ายบรรยายว่า จำเลยที่ 1 ยิงจำเลยที่ 2 และผู้ตายโดยเจตนาฆ่าจำเลยที่ 2,3,4 ก็ยิงจำเลยที่ 1 โดยเจตนาฆ่าถือว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องแยกความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 294, 299 กับความผิดตามมาตรา 288, 80 ออกจากกันให้เห็นได้ชัด ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ได้ความว่า กระสุนปืนที่จำเลยที่ 2,3 ยิงจำเลยที่1 นั้นพลาดไปถูก บ. ได้รับอันตรายสาหัส แต่ฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุมาตรา 60 มาด้วย ศาลก็นำมาตรา 60 มาปรับแก่คดีได้ เพราะมิใช่เป็นบทกำหนดโทษที่จะใช้ลงแก่จำเลย
of 16