คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 158 (6)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษยักยอกทรัพย์: เกณฑ์อัตราโทษต่ำสุด 5 ปีตาม ป.วิ.อ. และการใช้บทบัญญัติที่กฎหมายอาญา
ป.วิ.อ. มาตรา 176 เดิมบัญญัติถึงกรณีที่จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยให้ถือเกณฑ์อัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป แต่ที่แก้ไขใหม่ได้เปลี่ยนหลักเดิมเป็นถือเกณฑ์อัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น แม้ตามกฎหมายลักษณะอาญา ม. 131 ที่แก้ไข มีโทษขั้นสูงจำคุกตลอดชีวิตหรือ 20 ปี แต่ก็มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เมื่อจำเลยรับสารภาพก็ไม่ต้องสืบพยานประกอบ
โจทก์ฟ้องและอ้างประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายความถึงประมวลกฎหมายอาญาซึ่งประกาศใช้โดย พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมาย อาญา พ.ศ. 2499 นั่นเอง
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 147 เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดกว่ากฎหมายลักษณะอาญา ม. 131 ที่แก้ไข (เฉพาะข้อนี้โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2502 ควรเทียบดูกับฎีกาที่ 1292/2500 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่และฎีกาที่ 1814/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษยักยอกทรัพย์: เกณฑ์อัตราโทษขั้นต่ำและบทแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 เดิมบัญญัติถึงกรณีที่จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยให้ถือเกณฑ์อัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไปแต่ที่แก้ไขใหม่ได้เปลี่ยนหลักเดิมเป็นถือเกณฑ์อัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้นแม้ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 131 ที่แก้ไข มีโทษขั้นสูงจำคุกตลอดชีวิต หรือ 20 ปีแต่ก็มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไปเมื่อจำเลยรับสารภาพก็ไม่ต้องสืบพยานประกอบ
โจทก์ฟ้องและอ้างประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายความถึงประมวลกฎหมายอาญาซึ่งประกาศใช้โดย พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 นั่นเอง
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดกว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา131 ที่แก้ไข (เฉพาะข้อนี้โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2502 ควรเทียบดูกับฎีกาที่ 1292/2500 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ และฎีกาที่1814/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงด้วยการหลอกลวงเรื่องน้ำศักดิ์สิทธิ์ ศาลตัดสินว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยหลอกหลวงว่าน้ำที่พุขึ้นนั้นเจ้าแม่สำโรงบันดาลให้มีขึ้นและว่าน้ำพุนั้นศักดิ์สิทธิใช้เป็นยารักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ประชาชนคนดูหลงเชื่อ ได้เอาน้ำนั้นไปใช้กินและทารักษาโรค แต่ไม่หายเพราะเป็นน้ำธรรมดาในลำคลองนั้นเอง และได้ให้เงินแก่จำเลยรวมประมาณหมื่นบาทโดยหลงเชื่อว่าน้ำนั้นเป็นของเจ้าแม่สำโรงรักษาโรคได้ แต่ความจริงนั้น จำเลยที่ 1 เอาเท้าพุ้ยน้ำในคลองทำให้น้ำผุดพุขึ้นมาเอง ไม่เกี่ยวแก่เจ้าแม่อะไรเลย จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำผิดด้วย โดยอ้างว่าน้ำพุนั้นเจ้าแม่สำโรงบันดาลให้เกิดขึ้นเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ซึ่งเป็นการปกปิดความจริง และแสดงข้อความเท็จจริง ถือว่า จำเลยทั้งสองสมคบกันและมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกง โดยอ้างประมวลกฎหมายอาญา ม. 343 แม้โจทก์ไม่ได้อ้างถึง ม. 341, 342 แต่ ม.343 ได้อ้างถึง ม.341,342 อยู่แล้ว และโจทก์ก็ได้บรรยายไว้ในฟ้องชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยหลอกลวงประชาชน จึงเท่ากับอ้าง ม. 341, 342 โดยปริยายแล้ว
จำเลยได้เงินมาเพราะหลอกลวงเขาว่า น้ำพุนั้นเป็นน้ำพุที่เจ้าแม่สำโรงบันดาลให้เกิดขึ้นเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ใช้เป็นยารักษาโรคได้ ประชาชนหลงเชื่อจึงให้เงินแก่จำเลย ย่อมถือได้ว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นการทุจริตตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงโดยหลอกลวงประชาชนว่าน้ำศักดิ์สิทธิ์รักษาโรคได้ และแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ
จำเลยหลอกลวงว่าน้ำที่พุขึ้นนั้นเจ้าแม่สำโรงบันดาลให้มีขึ้นและว่าน้ำพุนั้นศักดิ์สิทธิ์ใช้เป็นยารักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ประชาชนคนดูหลงเชื่อได้เอาน้ำนั้นไปใช้กินและทารักษาโรค แต่ไม่หายเพราะเป็นน้ำธรรมดาในลำคลองนั้นเองและได้ให้เงินแก่จำเลยรวมประมาณหมื่นบาทโดยหลงเชื่อว่าน้ำนั้นเป็นของเจ้าแม่สำโรงรักษาโรคได้แต่ความจริงนั้น จำเลยที่ 1 เอาเท้าพุ้ยน้ำในคลองทำให้น้ำผุดขึ้นมาเอง ไม่เกี่ยวแก่เจ้าแม่อะไรเลยจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำผิดด้วยโดยอ้างว่าน้ำพุนั้นเจ้าแม่สำโรงบันดาลให้เกิดขึ้นเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ซึ่งเป็นการปกปิดความจริงและแสดงข้อความเท็จถือว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันและมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงโดยอ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา343 แม้โจทก์ไม่ได้อ้าง มาตรา341,342. แต่ ม.343 ได้อ้างถึงมาตรา341,342 อยู่แล้วและโจทก์ก็ได้บรรยายไว้ในฟ้องชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยหลอกลวงประชาชนจึงเท่ากับอ้าง มาตรา341,342 โดยปริยายแล้ว
จำเลยได้เงินมาเพราะหลอกลวงเขาว่าน้ำพุนั้นเป็นน้ำพุที่เจ้าแม่สำโรงบันดาลให้เกิดขึ้นเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ใช้เป็นยารักษาโรคได้ประชาชนหลงเชื่อจึงให้เงินแก่จำเลยย่อมถือได้ว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเป็นการทุจริตตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงบทกฎหมายโทษอาญาหลังการแก้ไข พ.ร.บ.จราจรทางบก: ศาลยังคงลงโทษได้ตามบทที่แก้ไข แม้ฟ้องอ้างบทเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทและหยุดรถในที่คับขัน ตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 4,29,66. แต่ปรากฏว่ามาตรา 66 นี้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2481 มาตรา 4 เสียแล้ว แม้โจทก์จะมิได้อ้างถึงกฎหมายปี พ.ศ.2481 ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียหายเสียเปรียบในเชิงคดี และจะถือว่าโจทก์ฟ้องความมิได้อ้างบทก็ไม่ได้ เพราะโจทก์อ้างไว้แล้วแต่ไม่ถูกบท โดยบทที่อ้างได้มีการเปลี่ยนแปลงให้อำนาจเจ้าพนักงานมากขึ้นเท่านั้น ส่วนโทษปรับมิได้เปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความไม่ชัดเจนของฟ้องอาญาเรื่องยักยอกและรับของโจร ทำให้ศาลชั้นต้นยกฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษา
ฟ้องว่ามอบโคให้จำเลยที่ 1 ไว้แล้วจำเลยที่ 1 ยักยอกเอาโคไปและในฟ้องข้อต่อไปว่าจำเลยที่ 2-3 และ 4 ได้ลักเอาโคที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไป หรือรับเอาไว้โดยรู้ว่าเป็นของที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย ฟ้องเช่นนี้ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2007/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างบทมาตราความผิดในฟ้องอาญา หากโจทก์ไม่ได้อ้างบทมาตรา ศาลไม่สามารถลงโทษตามบทมาตราที่ไม่ได้อ้างได้ แม้มีพยานหลักฐาน
ถึงแม้ในคำบรรยายฟ้องอาญา โจทก์จะได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดแล้วก็ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)ก็ยังมีความประสงค์ให้โจทก์อ้างบทมาตราแห่งความผิดไว้ในท้ายฟ้องด้วย
เมื่อโจทก์ไม่ได้อ้างบทมาตราแห่งความผิดไว้ในฟ้องเพราะความพลั้งเผลอ จะวินิจฉัยว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่ หาได้ไม่ และดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์จะสืบสมศาลก็ลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่โจทก์ไม่ได้อ้างไม่ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความไม่สมบูรณ์ของฟ้องอาญา พ.ร.บ.ควบคุมยาง ต้องระบุข้อหาที่ชัดเจนตามกฎกระทรวงที่อ้างถึง
พ.ร.บ.ควบคุมยาง ม.5 มิได้บัญญัติโทษไว้โดยลำพังแต่ระบุโยงไปถึงกฎกระทรวงด้วยเมื่อโจทก์ไม่ได้ระบุกฎกระทรวงที่ว่าจำเลยฝ่าฝืนมาในฟ้องแล้วฟ้องของโจทก์ก็ย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ม.158 (6)
อ้างฎีกาที่ 790/2491

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาไม่สมบูรณ์เมื่อไม่ระบุกฎกระทรวงที่จำเลยฝ่าฝืน แม้กฎหมายหลักอ้างถึงกฎกระทรวง
พระราชบัญญัติควบคุมยาง มาตรา 5มิได้บัญญัติโทษไว้โดยลำพังแต่ระบุโยงไปถึงกฎกระทรวงด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้ระบุกฎกระทรวงที่ว่าจำเลยฝ่าฝืนมาในฟ้องแล้วฟ้องของโจทก์ก็ย่อมไม่สมบูรณ์ตาม มาตรา 158(6)
อ้างฎีกาที่ 790/2491

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749-750/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีป่าไม้และการขาดลายมือชื่อผู้เรียงฟ้องส่งผลต่อความชอบด้วยกฎหมายของคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยโดยให้วางโทษทั้งจำคุกและปรับ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเพียงเล็กน้อยในข้อให้ลดโทษฐานปราณีตาม กฎหมายอาญา มาตรา 59 และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำขอให้ลงโทษของโจทก์ โจทก์มิได้อ้าง พระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 69,73 คงอ้างมาแต่ พระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2494 มาตรา16,17 เช่นนี้ถือได้แล้วว่าฟ้องโจทก์ได้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยนั้นเป็นความผิดและความใน พระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484 มาตรา 69,73 ได้ถูกยกเลิกตามพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 มาตรา 16,17 แล้ว เมื่อศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์สืบสมศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยได้แม้ศาลจะอ้าง มาตรา 69 และ 73 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 เป็นบทลงโทษด้วยก็หาทำให้จำเลยพ้นผิดไปได้ไม่จึงถือว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) และการที่ศาลลงโทษจำเลยก็ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาแล้ว
ปัญหาว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่เพราะไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงถือว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะมิได้หยิบยกขึ้นโต้เถียงในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่จำเลยย่อมหยิบยกขึ้นโต้เถียงในชั้นศาลฎีกาได้เสมอ
ปรากฏว่าฟ้องของโจทก์ไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงจริงจึงถือว่าไม่เป็นฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(7) ศาลต้องยกฟ้องเสียโดยไม่จำต้องพิจารณาถึงปัญหาอื่นอีก
จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้ชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้แล้วแต่จำเลยต้องถูกขังเกินกำหนดเวลาที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำคุกและปรับมา ศาลควรต้องหักเวลาที่ต้องขังเกินกำหนดโดยคิดเป็นเงินวันละ1 บาท คืนให้จำเลยนั้นกรณีเป็นเรื่องบังคับตามคำพิพากษาเมื่อยังไม่ปรากฏว่าศาลล่างได้มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไรย่อมถือว่ายังไม่มีปัญหามาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
of 16