คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 158 (6)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน และความสมบูรณ์ของคำฟ้องอาญาที่อ้างถึงคำสั่งทางปกครอง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 ซึ่งมิได้บัญญัติให้คู่ความต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นได้โดยไม่ต้องโต้แย้งคำสั่งนั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีเพื่อมีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ และผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้มีคำส่งระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเด็ดขาด โดยโจทก์ได้แนบคำสั่งของนายกรัฐมนตรีตามคำสั่งดังกล่าวของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เท้าความอ้างเหตุว่า มีการดำเนินการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดมลภาวะและความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนและประเทศชาติโดยรวม ในตอนท้ายคำสั่งมีข้อความว่า จึงมีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเด็ดขาด จากคำสั่งดังกล่าวมีความหมายอยู่ในตัวว่าให้ระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ แม้ตอนท้ายของคำสั่งจะมิได้ระบุคำว่าระบบความเค็มต่ำตอนท้ายคำว่ากุ้งกุลาดำเอาไว้ แต่ตอนต้นของคำสั่งได้เท้าความอ้างเหตุความเสียหายของการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำเอาไว้ คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ออกตามที่ได้รับมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรีโดยถูกต้องและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาว่า จำเลยเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ 9 บ่อ แต่ละบ่อมีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ ในเขตหมู่ที่ 1 ตำบลหนองน้ำใหญ่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาย่อมมีความหมายว่า จำเลยเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำซึ่งเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้นเอง คำฟ้องของโจทก์ได้ระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้วหาเคลือบคลุมไม่
คำสั่งของนายกรัฐมนตรี และคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่แนบท้ายฟ้อง เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่โจทก์จะต้องนำสืบถึงความมีอยู่จริงของเอกสารและความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร หาใช่ข้อกฎหมายที่โจทก์อ้างมาท้ายฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9239/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญา และการลงโทษตามคำฟ้องที่บรรยายองค์ประกอบความผิดครบถ้วน
เหตุคดีนี้เกิดขึ้นในซอยบ่อนไก่ ถนนพิบูลสงคราม ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เพียงท้องที่เดียว สถานที่ที่จำเลยถูกจับกุมภายหลังการกระทำความผิดซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลเตาปูน หาใช่ท้องที่ที่เกิดการกระทำความผิดด้วยไม่ เมื่อที่เกิดเหตุอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมื่องนนทบุรีพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนนทบุรีจึงมีหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนความผิดนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคสาม
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) เพียงแต่บังคับโจทก์ให้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น หาได้บังคับให้โจทก์ต้องระบุวรรคของบทมาตราในกฎหมายด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7653/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถ – การพิสูจน์ความรับผิด – การลงโทษเหมาะสม
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) ที่บัญญัติให้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด หมายถึง มาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเป็นความผิดฐานหรือบทใด ส่วนมาตรา 90 แห่ง ป.อ. มิใช่มาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเป็นความผิดฐานหรือบทใด แต่บัญญัติว่าความผิดนั้นเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทและต้องลงโทษตามความผิดฐานหรือบทใด แม้โจทก์จะมิได้อ้างมาตรา 90 แห่ง ป.อ. มาในฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ที่เกิดเหตุเป็นถนนเปียกและลื่น จำเลยขับรถยนต์ซึ่งมีสภาพเก่าบรรทุกสัมภาระและคนมาเต็มคันรถยนต์ ควรจะขับรถยนต์ให้ช้าไม่ควรขับด้วยความเร็ว เพราะหากขับรถยนต์ด้วยความเร็วในสภาพของรถยนต์และถนนดังกล่าวรถยนต์อาจเสียหลักและพลิกคว่ำได้โดยง่าย แต่เมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยกลับขับรถยนต์ด้วยความเร็ว จึงเป็นความประมาทในเบื้องต้นของจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยเห็นรถยนต์อยู่ข้างหน้าซึ่งจำเลยจะต้องแซงรถจักรยานยนต์นั้น จำเลยจะต้องให้สัญญาณเสียงเพื่อให้ผู้ขับรถจักรยานยนต์รู้ตัว หรือมิฉะนั้นก็ควรจะชะลอความเร็วรถยนต์ลงเพื่อให้ห่างจากรถจักรยานยนต์ในระยะที่ปลอดภัย แต่จำเลยก็หาได้กระทำดังกล่าวไม่ทั้งที่อยู่ในวิสัยที่ทำได้ เมื่อรถจักรยานยนต์เลี้ยวไปทางขวาโดยกะทันหันจำเลยจึงไม่อาจห้ามล้อเพื่อชะลอความเร็วของรถยนต์ได้ทัน และจำต้องบังคับรถยนต์หลบไปทางขวาแล้วหลบกลับมาทางซ้ายอีก จนเป็นเหตุให้รถยนต์เสียหลักพลิกคว่ำ อุบัติเหตุดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำโดยประมาทของจำเลย ไม่เป็นเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า: การรับฟังคำรับสารภาพ, การพิสูจน์องค์ประกอบความผิด, และการแก้ไขโทษปรับ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอันเป็นการกระทำเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31และ 70 เท่ากับโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 70 วรรคสองอยู่ในตัวแล้ว โจทก์หาจำต้องระบุวรรคของบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องด้วยไม่ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตามวรรคในมาตรานั้น ๆ ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ตามคำฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าโดยนำออกให้เช่าซึ่งม้วนภาพยนตร์วิดีโอเทปที่มีผู้ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31,70 ซึ่งความผิดดังกล่าวหาได้มีองค์ประกอบความผิดว่า ผู้กระทำผิดจะต้องเป็นผู้ทำซ้ำซึ่งม้วนวิดีโอเทปของกลางด้วยหรือไม่ อีกทั้งโจทก์มิได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยเป็นผู้ทำซ้ำซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตามมาตรา 27(1),69 ซึ่งเป็นความผิดคนละอย่างกันมาด้วย ดังนั้นโจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ทำซ้ำซึ่งม้วนภาพยนตร์วิดีโอเทปของกลางซึ่งเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดดังที่โจทก์ฟ้องศาลก็ลงโทษจำเลยตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษคดีก่อนกับคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ไม่จำกัดฐานความผิดหรืออายุผู้กระทำผิด
บทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 มิได้มีข้อบังคับว่าโทษในคดีก่อนที่ศาลรอการลงโทษไว้กับโทษในคดีหลังจะต้องเป็นโทษจากความผิดฐานเดียวกัน จึงจะนำมาบวกโทษได้ และมิได้มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับอายุของผู้กระทำความผิด แม้ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุไม่เกิน 17 ปี ศาลก็นำโทษของจำเลยในคดีก่อนที่รอการลงโทษไว้บวกกับโทษในคดีหลังได้
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ศาลบวกโทษที่รอการลงโทษไว้เข้ากับโทษในคดีหลัง และในคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้ระบุว่า ขอให้ศาลสั่งบวกโทษจำเลยตามกฎหมาย ศาลย่อมมีอำนาจบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ แม้โจทก์จะมิได้ระบุถึงประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ไว้ในคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ตาม เพราะมาตราดังกล่าวมิใช่เป็นมาตราที่บัญญัติว่าเป็นการกระทำความผิดอันจำต้องอ้างมาในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6)
ปัญหาว่า การบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 จะต้องเป็นความผิดฐานเดียวกัน ขณะกระทำความผิดอายุต้องเกิน 17 ปี และต้องอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ในคำขอท้ายฟ้องหรือไม่นั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 จำเลยก็ยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5687/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้เกี่ยวกับความผิดฐานเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ล้าสมัย และการฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากบทกฎหมายที่ใช้ถูกยกเลิกแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2474 ซึ่งได้ถูกยกเลิกแล้วโดยไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยยังคงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542 และกฎหมายที่ออกมาใหม่ก็ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงกำหนดการเก็บรักษาและการควบคุมอื่นใดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ขณะพิจารณาคดีนี้ยังไม่มีกฎกระทรวงออกมาจึงมีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด คำฟ้องของโจทก์ไม่ชอบ
ความผิดฐานเสนอสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมกับฐานร่วมกันใช้ฉลากโดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญประการอื่นของสินค้า เป็นการกระทำที่มีเจตนาในการใช้ฉลากซึ่งมีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายในการขายสินค้าเพื่อลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิด โดยมีเจตนาเดียวกันในการกระทำความผิดทั้งสองฐาน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษตามความผิดที่บรรยายฟ้อง แม้ไม่ได้ระบุวรรคของมาตราในคำขอท้ายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่าจำเลยชิงทรัพย์ผู้เสียหายโดยมีอาวุธมีดและเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 ทั้งวรรคสองและวรรคสาม โจทก์ไม่จำต้องระบุวรรคของบทมาตราที่ขอให้ลงโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วยเนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(6) มิได้บังคับไว้เช่นนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม ตรงตามที่โจทก์บรรยายฟ้องศาลก็ชอบที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยตามนั้นมิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษตามความผิดชิงทรัพย์ที่มีอาวุธ และเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายทางกาย ศาลชอบที่จะพิพากษาตามฟ้อง แม้ไม่ได้ระบุวรรคของมาตราในคำขอท้ายฟ้อง
ขอให้ลงโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วยเนื่องจากป.วิ.อ มาตรา 158(6) มิได้บังคับไว้เช่นนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามป.อ. มาตรา 339 วรรคสาม ตรงตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยตามนั้นมิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9629/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการครอบครองและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต และการพิจารณาโทษจำคุก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันตามจำนวนเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางที่จำเลยมีและใช้โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานรวม 5 กรรม ซึ่งสามารถแยกการกระทำจากกันเป็นราย ๆ ไปได้ จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดแยกเป็นราย ๆ ไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันรวม 5 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องคดียาเสพติด และการพิจารณาบทมาตราเกี่ยวกับการลงโทษหลายกรรม
ฟ้องโจทก์ระบุชัดว่า "จำเลยได้บังอาจมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 มาตรา 4 และตามประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ข้อ 2 และบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับดังกล่าว ชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ลำดับที่ 20 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และจำเลยได้ทราบประกาศนี้แล้ว จำนวน 8 เม็ด น้ำหนักรวม 0.71 กรัม ไว้ในครอบครองของจำเลยเพื่อจำหน่ายอันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 " และ "จำเลยได้บังอาจจำหน่าย โดยการขายเมทแอมเฟตามีน จำนวน 1 เม็ด น้ำหนักไม่ปรากฏชัด อันเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีน ที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายดังกล่าวในฟ้อง ข้อ 1 ก. ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อไปในราคา 100 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 " จึงเป็นการฟ้องตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 หาใช่ฟ้องตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ไม่ ทั้งนี้ โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องระบุข้อความที่ว่า "ซึ่งไม่ใช่กรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอนุญาตเป็นหนังสือ " ไว้ในฟ้อง หรือคำนวณน้ำหนักสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายไว้ในฟ้อง ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว นอกจากนี้ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ยังได้ระบุความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในมาตรา 66 เช่นเดียวกับความผิดฐานจำหน่าย ดังนั้น ฟ้องโจทก์ ทั้งสองฐานความผิดจึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ระบุในฟ้องว่า เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2541 เวลากลางคืน หลังเที่ยงจำเลยได้กระทำผิดต่อกฎหมาย หลายบทหลายกรรมต่างกัน ซึ่งตรงกับมาตรา 91 แห่ง ป.อ. แม้โจทก์มิได้ระบุมาตราดังกล่าวไว้ในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็หยิบยกขึ้นพิจารณาได้ เพราะเป็นบทมาตราที่ยกขึ้นปรับเกี่ยวกับการลงโทษหลายกรรม ซึ่งมิใช่บทมาตรา ในกฎหมายซึ่งบทบัญญัติถึงฐานความผิดหรือองค์ประกอบแห่งการกระทำความผิดที่จะลงโทษจำเลยตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) บัญญัติให้โจทก์ต้องอ้างถึง
of 16