พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีปลอมแปลงเอกสาร: ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดีปลอมแปลงเอกสารธรรมดา แต่ต้องฟ้องภายในกำหนดเวลา
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ ศาลแขวงโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอม หนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิและ ร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมดังกล่าว ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งข้อหาดังกล่าวเกินอำนาจพิจารณาของศาลแขวง กรณีจึง ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้วแม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และ 268 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 265 ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องความผิดศุลกากรและป่าไม้: การบรรยายฟ้องและลงโทษหลายกรรม
ข้อที่จำเลยยกขึ้นฎีกาว่า ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า เลื่อยโซ่ยนต์เป็นของต้องห้ามต้องจำกัดตามประกาศของกระทรวงใด ฉบับที่หรือพ.ศ. อะไร จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158 นั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา และคดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ประกอบกับคดีไม่จำต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจจะพิจารณาพิพากษาได้คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ไม่ใช่มาตราในกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) ดังนั้นเมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายฟ้องมาเป็นข้อ ๆ และระบุการกระทำของจำเลยเป็นหลายกรรม แม้ไม่ได้ระบุมาตรา 91มาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6937/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาเช็คคืน การระบุมาตราในคำฟ้อง และความสมบูรณ์ของคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มีบทบัญญัติรวมสิบเอ็ดมาตราเท่านั้น และมาตราที่ บัญญัติว่าการกระทำเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้มีอยู่เฉพาะมาตรา 4 เพียงมาตราเดียว ในคำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายการกระทำผิดของจำเลยไว้ชัดแจ้งครบถ้วนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4แล้ว จำเลยย่อมจะเข้าใจดีและไม่หลงต่อสู้เมื่อโจทก์ได้อ้าง พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง อีกทั้งระบุอ้างมาตรา 4 และชื่อพระราชบัญญัติ ดังกล่าวไว้ที่หน้าคำฟ้องในช่องข้อหาหรือฐานความผิดแล้วเช่นนี้ ย่อมมีผลเท่ากับการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำ เช่นนั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6937/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องตาม พ.ร.บ.เช็ค: การอ้างมาตราในคำฟ้องมีผลตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มีบทบัญญัติรวมสิบเอ็ดมาตราเท่านั้น และมาตราที่บัญญัติว่าการกระทำเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้มีอยู่เฉพาะมาตรา 4 เพียงมาตราเดียว ในคำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายการกระทำผิดของจำเลยไว้ชัดแจ้งครบถ้วนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 แล้ว จำเลยย่อมจะเข้าใจดีและไม่หลงต่อสู้เมื่อโจทก์ได้อ้าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง อีกทั้งระบุอ้างมาตรา 4 และชื่อ พ.ร.บ.ดังกล่าวไว้ที่หน้าคำฟ้องในช่องข้อหาหรือฐานความผิดแล้วเช่นนี้ ย่อมมีผลเท่ากับการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (6) แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6825/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงโดยเจตนาทุจริตตั้งแต่แรกทำสัญญา โอนสิทธิเรียกร้องก่อนทำสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย
จำเลยที่ 2 มีเจตนาทุจริตตั้งแต่ในขณะที่ทำสัญญาร่วมดำเนินการกับโจทก์ โดยไม่เปิดเผยความจริงที่โอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายเครื่องส่งโทรทัศน์สีตามสัญญาดังกล่าวซึ่งควรบอกให้แจ้งให้แก่ผู้ทำการแทนโจทก์ทราบ ก็เพื่อให้ผู้ทำการแทนโจทก์หลงเข้าใจผิดว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิรับเงินค่าขายจากผู้ซื้ออันเป็น กรณีปกติของการค้า อันเป็นอุบายของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการหลอกลวง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวได้ไปซึ่งทรัพย์สินเครื่องส่งโทรทัศน์สีดังกล่าวจากโจทก์ ซึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นสิทธิที่จะได้รับชำระเงินจำนวน 13,000,000 บาทเศษอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงมือกระทำต้องรับผิดเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองโดยทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่โจทก์การที่จำเลยทั้งสองปกปิดมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินที่ได้รับจาก ก. ให้แก่บุคคลที่สามก่อนแล้ว จึงทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ในวันกระทำผิดซึ่งเป็นเวลาในภายหลัง เป็นเหตุได้ไปซึ่งทรัพย์สินของโจทก์คือเครื่องส่งโทรทัศน์และเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่โจทก์ซื้อเป็นเงินรวมจำนวน 51,000,000 บาทเศษ ที่โจทก์จะได้ส่วนแบ่งตามสัญญาดังกล่าวพร้อมทั้งระบุสถานที่เกิดเหตุ คำฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) และ (6)
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 1 กับโจทก์ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2536 และทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 2 กับโจทก์ในวันที่ 10 เมษายน 2536โดยมีเจตนาฉ้อโกงมาแต่ต้นอันเป็นเจตนาแยกจากกันและต่างวาระกัน การกระทำจึงเป็นกรณีต่างกรรมต่างวาระกันแยกจากกัน 2 กรณี เป็นความผิด 2 กรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองโดยทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่โจทก์การที่จำเลยทั้งสองปกปิดมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินที่ได้รับจาก ก. ให้แก่บุคคลที่สามก่อนแล้ว จึงทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ในวันกระทำผิดซึ่งเป็นเวลาในภายหลัง เป็นเหตุได้ไปซึ่งทรัพย์สินของโจทก์คือเครื่องส่งโทรทัศน์และเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่โจทก์ซื้อเป็นเงินรวมจำนวน 51,000,000 บาทเศษ ที่โจทก์จะได้ส่วนแบ่งตามสัญญาดังกล่าวพร้อมทั้งระบุสถานที่เกิดเหตุ คำฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) และ (6)
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 1 กับโจทก์ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2536 และทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 2 กับโจทก์ในวันที่ 10 เมษายน 2536โดยมีเจตนาฉ้อโกงมาแต่ต้นอันเป็นเจตนาแยกจากกันและต่างวาระกัน การกระทำจึงเป็นกรณีต่างกรรมต่างวาระกันแยกจากกัน 2 กรณี เป็นความผิด 2 กรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องสมบูรณ์แม้ไม่อ้างมาตราเฉพาะ หากระบุพระราชบัญญัติและบรรยายลักษณะความผิดชัดเจน
แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุอ้างแต่ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 โดยมิได้อ้างมาตรา 4 ไว้ กับโจทก์อ้าง ป.อ. มาตรา 91 มาท้ายฟ้องก็ตามแต่โจทก์ก็ระบุไว้ที่หน้าคำฟ้องในช่องข้อหาหรือฐานความผิดว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 แสดงว่าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาหรือฐานความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทบัญญัติไว้เพียง11 มาตรา และมีเพียงมาตรา 4 มาตราเดียว ที่บัญญัติว่าการกระทำเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ส่วนมาตราอื่น ๆ ล้วนบัญญัติในเรื่องอื่นไม่ได้บัญญัติว่าการกระทำเป็นความผิด และในคำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายถึงการออกเช็คโดยมีลักษณะหรือการกระทำความผิดของจำเลยไว้ชัดแจ้งครบถ้วนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4ทั้งจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และไม่หลงต่อสู้ ดังนี้ย่อมมีผลเท่ากับการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6) แล้ว คำฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 โดยมิได้ยกบทมาตราแห่งกฎหมายขึ้นปรับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7) นั้น เป็นการไม่ชอบ สมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 โดยมิได้ยกบทมาตราแห่งกฎหมายขึ้นปรับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7) นั้น เป็นการไม่ชอบ สมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวน: การลงโทษตามบทกฎหมาย และการพิจารณาข้อเท็จจริงเพื่อตัดสินโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องมาแจ้งชัดแล้วว่าจำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันบุกรุกเข้าไปตัดโค่นทำไม้หวงห้ามประเภท ก.และอ้างบทมาตรา 11 ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484อันเป็นบทห้ามกระทำความผิดแล้ว แม้โจทก์จะมิได้อ้างมาตรา 73 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทลงโทษมาด้วย ศาลย่อมลงโทษตามมาตรา 73 วรรคสอง ได้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดพ.ร.บ.ป่าไม้ ศาลลงโทษได้แม้โจทก์มิได้อ้างบทลงโทษโดยตรง
โจทก์บรรยายฟ้องมาแจ้งชัดแล้วว่าจำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันบุกรุกเข้าไปตัดโค่นทำไม้หวงห้ามประเภท ก. และอ้างบทมาตรา 11 ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้พ.ศ.2484 อันเป็นบทห้ามกระทำความผิดแล้ว แม้โจทก์จะมิได้อ้างมาตรา 73วรรคสอง ซึ่งเป็นบทลงโทษมาด้วย ศาลย่อมลงโทษตามมาตรา 73 วรรคสอง ได้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง (ยาเสพติด) ที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์มิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้ริบกัญชาของกลาง แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับกัญชาของกลางดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 32 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 186(9) เมื่อกัญชาของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงต้องริบกัญชาของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 ปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและสั่งให้ริบได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง (กัญชา) ที่ศาลลืมวินิจฉัย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้ริบกัญชาของกลาง แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับกัญชาของกลางดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วย ป.อ.มาตรา 32 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 (9) เมื่อกัญชาของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ดังกล่าว จึงต้องริบกัญชาของกลางตาม ป.อ.มาตรา 32ปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและสั่งให้ริบได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา225