พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1736/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาตามกฎหมายที่ถูกยกเลิกแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยแม้ไม่มีการฎีกาเรื่องกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ซึ่งได้ถูกยกเลิกแล้ว มีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างกฎหมายอันใดมาเลย ไม่ใช่เรื่องอ้างบทกฎหมายผิด ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การระบุบทบัญญัติความผิดและบทกำหนดโทษ
บรรยายฟ้องอ้างมาตราที่บัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด แม้ไม่ได้อ้างบางมาตราที่กำหนดโทษในการกระทำความผิดฟ้องก็สมบูรณ์ครบตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 158(6) แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาที่อ้างกฎกระทรวงผิดฉบับ ไม่ทำให้ฟ้องไม่สมบูรณ์ ศาลมีอำนาจแก้ไขได้
การที่โจทก์อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาถูกต้อง แต่อ้างกฎกระทรวงฉบับที่ถูกยกเลิกมาในคำขอท้ายฟ้องนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างกฎกระทรวงผิดฉบับไปเท่านั้นกฎกระทรวงฉบับต่าง ๆ มิใช่มาตราในกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานยักยอกทรัพย์โดยตัวแทน ต้องระบุชัดเจนถึงฐานะของผู้กระทำผิดในฐานะผู้มีอาชีพที่น่าเชื่อถือ
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยเป็นพนักงานธนาคารและเป็นตัวแทนของโจทก์ในการจัดเก็บหนี้สินจากลูกหนี้ของโจทก์เพื่อนำฝากเข้าบัญชีของโจทก์และจำเลยยังเป็นผู้ดูแลเงินฝากของโจทก์ด้วย แต่จำเลยได้เบียดบังเงินในบัญชีของโจทก์หรือเงินที่เก็บมาจากลูกหนี้ซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยไปโดยทุจริต ทำให้โจทก์ได้ความเสียหาย ดังนี้ฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าการกระทำของจำเลยที่เป็นตัวแทนของโจทก์ตามฟ้อง เป็นการกระทำอันเกี่ยวกับการที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารซึ่งเป็นอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนฟ้องของโจทก์จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยกระทำผิดในฐานที่เป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามมาตรา 354 แม้ในคำขอท้ายฟ้องจะระบุอ้างมาตรา 354มาด้วยก็ตาม ก็เป็นการระบุเกินมาจากคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในตอนต้นถือไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดตามมาตรา 354.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารราชการปลอมแจ้งการย้ายที่อยู่ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เนื่องจากคดีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 193 ทวิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าใบแจ้งย้ายที่อยู่ท.ร.17 เป็นเอกสารราชการที่พวกของจำเลยปลอมขึ้นไปใช้ และแสดงต่อ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเขตพระโขนง ให้หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง อันเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อ เจ้าพนักงานผู้กระทำการตาม หน้าที่ ทำให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเขตพระโขนงหลงเชื่อจึงได้ จดข้อความอันเป็นเท็จนั้นลงในทะเบียนบ้านของจำเลย อันเป็นเอกสารของทางราชการโดย ประการที่จะเกิดความเสียหายแก่นายทะเบียนท้องถิ่นเขตพระโขนงผู้อื่นและประชาชน ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267,268 นั้น เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267และมาตรา 268 ซึ่ง เกิดจากการกระทำผิดฐานใช้ หรืออ้างเอกสารราชการปลอมแต่ มาตรา 268 มิได้ระวางอัตราโทษไว้โดยเฉพาะ ว่าจะให้ลงโทษแก่ผู้กระทำผิดอย่างไรคงให้นำอัตราโทษตาม ที่ระบุไว้ในมาตรา 264,265,266 หรือมาตรา 267 ซึ่ง แล้วแต่ว่าเอกสารที่ได้ใช้ หรืออ้างนั้นเกิดขึ้นจากการกระทำผิดของมาตราใดดังที่กล่าวแล้วมาใช้ ในคดีนี้หากจะมีการลงโทษจำเลยตาม มาตรา 268ก็จะต้อง นำเอาอัตราโทษตาม ที่กำหนดไว้ในมาตรา 265 มาใช้ เป็นโทษของมาตรา 268 ซึ่ง มาตรา 265 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึง ห้าปี และปรับตั้งแต่ หนึ่งพัน บาทถึง หนึ่งหมื่นบาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีโจทก์ในข้อหานี้จึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ แม้ฟ้องอ้างกฎหมายเดิม ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษตามกฎหมายใหม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำการประมงโดย ไม่ได้รับอนุญาตคำขอท้ายฟ้องระบุอ้าง พ.ร.บ. การประมงฯ มาตรา 20 ซึ่ง เป็นบทมาตราความผิด และมาตรา 62 ทวิ ซึ่ง เป็นบทกำหนดโทษและอ้างประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 105 ข้อ 4 ซึ่ง แก้ไขมาตรา62 ทวิ แต่ ในขณะที่จำเลยกระทำผิดได้ มี พ.ร.บ. การประมง (ฉบับที่ 3)ออกใช้ บังคับแล้ว โดย แก้ไขมาตรา 62 ทวิ แม้โจทก์ จะมิได้อ้างพ.ร.บ. การประมง (ฉบับที่ 3)ฯ แต่ ได้ อ้างกฎหมายเดิม ซึ่งมีความผิดอยู่ ถือ ว่าฟ้อง โจทก์ได้ อ้างมาตราที่ลงโทษจำเลยมาสมบูรณ์แล้ว ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ตาม กฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้และการปรับบทลงโทษดังกล่าวมี ผลถึง จำเลยที่ 1 ซึ่ง ไม่มีฝ่ายใดฎีกาด้วย แต่ โทษที่ลงแก่จำเลยที่ 1 คงยุติไปตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยหลายกรรม และการรับสารภาพของนิติบุคคลผ่านผู้มีอำนาจ
โจทก์ได้บรรยายฟ้องแจ้งชัดว่าจำเลยออกเช็ค 2 ฉบับเมื่อปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามเช็คแต่ละฉบับ ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ตาม ป.อ. มาตรา 91 แม้โจทก์ไม่ได้อ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ก็จะถือว่าศาลลงโทษเกินคำขอหาได้ไม่ ป.วิ.อ. มาตรา 158(6) เพียงแต่บัญญัติให้โจทก์อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น.
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการร่วมกันออกเช็คอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯจำเลยที่ 1 โดย ธ.และร. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันจำเลยที่ 1 ได้ตั้งทนายความก่อนมีการไต่สวนมูลฟ้อง ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาในคดีนี้แล้ว นับตั้งแต่วันที่ตั้งทนายความ เมื่อจำเลย ที่ 3 ในนามของจำเลยที่ 1และในฐานะส่วนตัวให้การ รับสารภาพโดยจำเลยที่ 3 กับทนายจำเลยผู้นั้นลงลายมือชื่อท้ายคำให้การและรายงานกระบวนพิจารณาการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172.
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการร่วมกันออกเช็คอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯจำเลยที่ 1 โดย ธ.และร. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันจำเลยที่ 1 ได้ตั้งทนายความก่อนมีการไต่สวนมูลฟ้อง ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาในคดีนี้แล้ว นับตั้งแต่วันที่ตั้งทนายความ เมื่อจำเลย ที่ 3 ในนามของจำเลยที่ 1และในฐานะส่วนตัวให้การ รับสารภาพโดยจำเลยที่ 3 กับทนายจำเลยผู้นั้นลงลายมือชื่อท้ายคำให้การและรายงานกระบวนพิจารณาการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2136/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องอาญาตาม พ.ร.บ.วัสดุลามก แม้บทลงโทษเดิมถูกยกเลิก
คำฟ้องของโจทก์อ้างพระราชบัญญัติปรามการให้แพร่หลายและการค้าวัสดุอันลามก พ.ศ. 2471 มาตรา 3 อันเป็นมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดแล้ว แม้บทมาตราดังกล่าวจะระบุให้ผู้กระทำผิดต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 240แห่งกฎหมายลักษณะอาญาที่ถูกยกเลิกไปแล้วและโจทก์ไม่ได้อ้างพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พุทธศักราช 2499 มาตรา 8หรือบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญามาในฟ้องด้วย ก็ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2136/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องอาญาตาม พ.ร.บ.วัสดุอันลามก แม้กฎหมายลักษณะอาญาถูกยกเลิก
คำฟ้องของโจทก์อ้างพระราชบัญญัติปรามการให้แพร่หลายและการค้าวัสดุอันลามก พ.ศ.2471 มาตรา 3 อันเป็นมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดแล้ว แม้บทมาตราดังกล่าวจะระบุให้ผู้กระทำผิดต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 240 แห่งกฎหมายลักษณะอาญาที่ถูกยกเลิกไปแล้วและโจทก์ไม่ได้อ้างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญาพุทธศักราช 2499 มาตรา 8 หรือบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญามาในฟ้องด้วย ก็ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาอาวุธปืน: ไม่จำเป็นต้องอ้างถึงกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ
กฎกระทรวงฉบับที่ 11(พ.ศ. 2522) เพียงแต่กำหนดประเภทชนิด และขนาดของอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่ นาย ทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้เท่านั้น หาใช่บทมาตราที่ว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิดอาญาไม่ การที่โจทก์ไม่ได้ระบุกฎกระทรวงมาในคำขอท้ายฟ้องยังถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องที่ขัดต่อป.วิ.อ. มาตรา 158(6).