คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โสภณ บางยี่ขัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6025/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าเคลียร์ตำรวจหักจากค่าจ้างได้หรือไม่? ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการบางส่วน เหตุเงินดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สมควร
แม้ผู้คัดค้านไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการก็ตาม แต่ผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านขอให้ศาลมีคำพิพากษายกคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการของผู้ร้องและมีคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการมาในคำคัดค้านโดยชำระค่าขึ้นศาลจำนวน 50,000 บาท ต่อศาลชั้นต้นในวันที่ผู้คัดค้านยื่นคำค้านมา ชอบด้วยตาราง 1 ค่าธรรมเนียมศาล (ค่าขึ้นศาล) ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (1) (ข) ถือได้ว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นคู่พิพาทที่ประสงค์จะให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดนั้นชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 แล้ว ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิพากษาให้บังคับคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการได้
เงินค่าเคลียร์แรงงานต่างด้าวที่ผู้คัดค้านจ่ายให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจเพื่อมิให้ดำเนินคดีอาญาแก่แรงงานต่างด้าวในข้อหาทำงานในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายมีลักษณะเป็นเงินสินบนที่ให้แก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้ไม่กระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 144 แม้จะรับฟังข้อเท็จจริงตามที่คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่า ผู้ร้องตกลงให้ผู้คัดค้านหักเงินค่าเคลียร์แรงงานต่างด้าวออกจากเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ผู้คัดค้านว่าจ้างผู้ร้องให้ทำการก่อสร้างอาคารในคดีนี้ได้ ข้อตกลงที่ให้หักเงินค่าเคลียร์แรงงานต่างด้าวออกจากเงินค่าจ้างดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ข้อตกลงนั้นจึงตกเป็นโมฆะไม่อาจบังคับกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 การที่คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านมีสิทธินำเงินค่าเคลียร์แรงงานต่างด้าวที่ผู้คัดค้านจ่ายให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจมาหักจากเงินค่าจ้างที่จะต้องจ่ายเป็นค่าจ้างแก่ผู้ร้องนั้น เป็นข้อวินิจฉัยที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 150 แห่ง ป.พ.พ. การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในส่วนนี้ย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ชอบที่ศาลจะพิพากษาให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในส่วนดังกล่าวได้ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสาม (2) (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5658/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาบริการ - การคำนวณหนี้ต่างสกุล - ดอกเบี้ย - การใช้สิทธิไม่สุจริต
ตามสัญญาที่โจทก์นำมาฟ้อง โจทก์และจำเลยตกลงชำระหนี้แก่กันเป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่านั้น แต่จำเลยจะส่งใช้เป็นเงินไทยได้ก็โดยคิดตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ดังนั้น การที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงินไทยและศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์เป็นเงินไทยอาจมีผลให้จำเลยต้องชำระหรือโจทก์ได้รับชำระหนี้เกินกว่าจำนวนหนี้เงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง หากว่าอัตราแลกเปลี่ยนในวันใช้เงินจริง 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ เท่ากับเงินไทยจำนวนน้อยกว่า 23.93 บาท ซึ่งจะเป็นผลให้เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง จึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 และ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5127/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์แล้ว ฎีกาใหม่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิทธิ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ทำละเมิด แต่คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าคดีไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่าไม่ได้ทำละเมิด เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเสียแล้ว การวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ว่ามิได้ทำละเมิดจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดี และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นศาลที่สูงกว่าย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ทำละเมิดไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 อีกต่อไป และจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 จะมีสิทธิฎีกาได้ต่อเมื่อคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิของจำเลยที่ 1 แต่คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์หาได้กระทบกระเทือนหรือมีผลทำให้จำเลยที่ 1 อาจได้รับความเสียหายแต่ประการใดไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นละเมิด จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4976/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหลังการเปลี่ยนแปลงกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลต้องปฏิบัติตามกฎหมายใหม่
คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลแขวงสุพรรณบุรี ศาลแขวงสุพรรณบุรีได้มีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความจนคดีถึงที่สุดก่อนวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2558 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 การที่ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและเจ้าพนักงานบังคับคดีโอนทรัพย์สินที่ขายอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ร้องแล้วยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลขอให้ออกหมายบังคับคดีเพื่อให้บังคับจำเลยและบริวารของจำเลยที่ไม่ยอมออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นการยื่นฟ้องกล่าวหาจำเลยและบริวารของจำเลยต่อศาลขึ้นใหม่ตามวิธีการที่ ป.วิ.พ. มาตรา 334 บัญญัติไว้เป็นพิเศษ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2560 ภายหลังวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2558 มีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 244/1 เพิ่มโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 4 บัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด และการฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกาตามมาตรา 247 ที่แก้ไขใหม่ โดยพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน ดังนั้น คดีนี้จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะนำบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ (เดิม) ที่ถูกยกเลิกไปแล้วโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2558 มาตรา 3 มาใช้บังคับได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องที่ขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาและให้ส่งถ้อยคำสำนวนนี้ไปยังศาลฎีกาจึงไม่ชอบ และเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4225/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดและเพิกถอนสิทธิบัตร: ผู้ถือหุ้น/กรรมการบริษัท ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง
ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคสอง กำหนดให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการเท่านั้นที่สามารถฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ แต่ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันจงใจกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยมีหนังสือแจ้งมายังบริษัท ส. ห้ามจำหน่ายและให้จัดเก็บชิ้นส่วนสิ่งก่อสร้าง (ไม้บัว) โดยอ้างถึงการที่บริษัท ส. เป็นเจ้าของสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งออกไปโดยไม่ชอบดังกล่าว และยังดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โจทก์ในฐานะรองประธานฝ่ายบริหารของบริษัท ส. ต้องได้รับผลกระทบต่อสิทธิเกี่ยวกับการวางแผนการตลาด การสั่งนำเข้าสินค้าแต่ไม่สามารถดำเนินการได้ ทำให้สูญเสียโอกาสในการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นต้องขาดประโยชน์ที่ควรได้รับ เห็นได้ว่าข้ออ้างตามคำฟ้องล้วนเป็นการอ้างถึงส่วนได้เสียของบริษัท ส. ซึ่งโจทก์เป็นผู้บริหารและผู้ถือหุ้นเท่านั้น โจทก์มิได้มีส่วนได้เสียโดยตรงจากสิทธิบัตรดังกล่าว แม้โจทก์จะถูกจำเลยทั้งสองดำเนินคดีอาญาที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่ก็เนื่องมาจากเหตุที่โจทก์เป็นผู้บริหารบริษัท ดังนี้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคสองได้ เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนนี้ กรณีจึงไม่จำต้องพิจารณาว่าฟ้องในส่วนนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ทป.121/2558 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหรือไม่อีก
สำหรับคำฟ้องโจทก์ในส่วนที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์และขอให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือไม่นั้น ปรากฏว่าในคดีดังกล่าวบริษัท ส. ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดต่อบริษัทดังกล่าวเป็นเหตุให้บริษัทดังกล่าวได้รับความเสียหาย ส่วนคดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์ในคดีนี้จะเป็นกรรมการบริหารและผู้ถือหุ้นของบริษัท ส. แต่ก็เป็นคนละบุคคลกันกับบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก และแม้คดีนี้โจทก์จะอ้างว่าได้รับความเสียหายในฐานะผู้ถือหุ้นและในฐานะกรรมการบริหารของบริษัท ส. แต่ความเสียหายดังกล่าวก็เป็นความเสียหายในส่วนของโจทก์เอง มิใช่ความเสียหายของบริษัท ส. แต่อย่างใด ประเด็นแห่งคดีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยและมีคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าว กับคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับข้อหาละเมิดในคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกัน และไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าวแล้วมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง โดยยังมิได้ให้คู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความเสียก่อนนั้น ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ปรากฏเหตุที่ศาลดังกล่าวมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา กรณีมีเหตุอันสมควรที่ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลดังกล่าวสืบพยานหลักฐานของคู่ความให้สิ้นกระแสความ แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
อนึ่ง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่ามีเหตุผลเพียงพอที่ไม่ต้องไต่สวนคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งพอแปลได้ว่าเป็นคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วจึงมีคำพิพากษานั้น ถือได้ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี อันมีผลเป็นการวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีแล้ว จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะคืนค่าขึ้นศาลแก่โจทก์ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้คืนค่าขึ้นศาลเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 972/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาลักษณะโดยรวม ไม่ใช่เพียงเสียงเรียกขาน
ในการพิจารณาเครื่องหมายการค้าว่าคล้ายกันหรือไม่ต้องพิจารณาลักษณะโดยรวมของเครื่องหมาย เครื่องหมายของโจทก์และของจำเลยมีเพียงเสียงเรียกขานที่พ้องกัน โดยของโจทก์เรียกและอ่านติดกันไปว่า สกาเจล ส่วนของจำเลยเรียกและอ่านแยกคำกันว่า สการ์ เจล เครื่องหมายของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าและจดทะเบียนได้เนื่องจากนำคำว่า SCAR ซึ่งแปลว่าแผลเป็น มาตัดตัว R ออก แล้วเชื่อมติดกับคำว่า GEL ที่แปลว่า สารแขวนลอย วุ้น ทำให้มีลักษณะบ่งเฉพาะและไม่ให้มีความหมายเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าทาร่างกายโดยตรง แต่ชื่อสินค้าของจำเลยซึ่งถือเป็นเครื่องหมายใช้คำว่า SCAR และ GEL อันเป็นคำพรรณนาถึงคุณสมบัติและคุณภาพของสินค้า ซึ่งเจ้าของสินค้าทั่วไปมีสิทธิจะใช้ได้เพื่อให้ลูกค้าทราบว่าเป็นสินค้าเกี่ยวกับอะไรแต่ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าเพราะเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าทาร่างกายเพื่อรักษาแผลเป็นโดยตรง คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยใช้ชื่อสินค้ากับประกาศหรือประชาสัมพันธ์สินค้าโดยมีลักษณะเป็นเครื่องหมายเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงควรพิจารณาเฉพาะชื่อสินค้าของจำเลยว่าเลียนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วของโจทก์หรือไม่เท่านั้น เมื่อพิจารณาตัวอักษรเครื่องหมายการค้าของโจทก์เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ติดกัน แต่ของจำเลยเขียนตัวแรก S ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ส่วน CAR เป็นตัวพิมพ์ใหญ่แต่ขนาดเท่าตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งเห็นชัดว่าแตกต่างกัน หากพิจารณาเปรียบเทียบไปถึงหลอดและกล่องสินค้าของโจทก์และจำเลยก็เห็นว่าแตกต่างกัน ทั้งสีพื้นและสีตัวอักษร นอกจากนี้ตลาดที่จำหน่ายสินค้าของโจทก์และจำเลยก็เป็นคนละตลาดกัน โดยของโจทก์วางขายในโรงพยาบาลและร้านขายยา ส่วนของจำเลยขายตรงแก่สมาชิกของจำเลยเท่านั้น ไม่อาจทำให้สาธารณชนผู้บริโภคสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ การที่ชื่อสินค้าของจำเลยซึ่งเป็นเครื่องหมายใช้พรรณนาคุณสมบัติและคุณภาพสินค้ามีเสียงเรียกขานพ้องกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วของโจทก์เพียงอย่างเดียว ไม่เป็นการละเมิดโดยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: กลุ่มอักษร/ตัวเลขธรรมดาไม่จำเป็นต้องมีลักษณะพิเศษ หากบ่งบอกถึงความแตกต่างของสินค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "A380" เป็นการนำเอาตัวอักษรโรมัน 1 ตัว คือ A และตัวเลขอาระบิกอีก 3 ตัว มาเรียงต่อกันเป็นลักษณะของกลุ่มตัวอักษรและตัวเลข โดยมีแนวคิดจากการนำตัวอักษร A ซึ่งมีที่มาจากอักษรโรมันคำว่า "AIRBUS" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในชื่อเต็มของนิติบุคคลโจทก์ (แอร์บัส โอเปอร์เรชั่น จีเอ็มบีเอช) ซึ่งแม้จะเป็นการนำมาวางเรียงต่อกันในลักษณะธรรมดาทั่วไปโดยมิได้สร้างให้มีลักษณะพิเศษ แต่ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (3) บัญญัติให้เฉพาะแต่กลุ่มของสีเท่านั้นที่ต้องแสดงลักษณะพิเศษ ไม่รวมถึงตัวหนังสือหรือตัวเลข หรือคำที่ประดิษฐ์ขึ้น ดังนั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "A380" ที่ขอจดทะเบียนดังกล่าว จึงไม่จำต้องเป็นกลุ่มคำตัวหนังสือ หรือตัวเลขที่ประดิษฐ์ขึ้นซึ่งต้องแสดงโดยลักษณะพิเศษด้วยแต่อย่างใด เมื่อเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้น โจทก์เป็นผู้คิดประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับรายการสินค้า เครื่องเล่นเกม ของเล่น อุปกรณ์ยิมนาสติกและอุปกรณ์กีฬา ยานพาหนะจำลองย่อส่วน ยานพาหนะของเล่น เครื่องร่อนชูชีพ เกมปริศนา ไพ่ ในจำพวกที่ 28 ของโจทก์ ประชาชนผู้บริโภคย่อมสามารถทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์แตกต่างไปจากสินค้าอื่น ตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง เครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าว จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายโมฆะจากข้อจำกัดสิทธิการถือครองของชาวต่างชาติ การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนตามกฎหมายดินแดนหมู่เกาะเวอร์จิน ผู้ร้องจึงเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและถือว่าเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 3 การที่นิติบุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าว จะมีกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้ต้องเป็นนิติบุคคลตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ซึ่งบัญญัติว่า "...นิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวอาจถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้ ถ้าเป็น...นิติบุคคลดังต่อไปนี้...(4) นิติบุคคลซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 และได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน..." เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 3 ผู้ร้องผู้จะซื้อจะขายถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของผู้คัดค้านผู้จะขายตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดลงวันที่ 12 สิงหาคม 2548 ได้ ผู้ร้องจะต้องได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 19 (4) ด้วย เมื่อไม่ปรากฏว่า ผู้ร้องได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน จึงถือไม่ได้ว่าบริษัทผู้ร้องซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 มีคุณสมบัติที่จะถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดตามสัญญาดังกล่าวได้ปรากฏตามหนังสือรับรองบริษัทผู้ร้องว่า บริษัทผู้ร้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจการลงทุนทั่วไปและถือครองทรัพย์สินในการประกอบกิจการของบริษัทผู้ร้อง จึงมีเหตุผลให้เชื่อว่าก่อนที่บริษัทผู้ร้องจะเข้าถือครองทรัพย์สินโดยซื้อทรัพย์สินในต่างประเทศ ผู้ร้องได้ศึกษากฎหมายของประเทศที่ผู้ร้องจะไปซื้อทรัพย์สินแล้วว่าบริษัทผู้ร้องมีคุณสมบัติที่จะเข้าถือครองทรัพย์สินในประเทศนั้นได้หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัทผู้ร้อง ในคดีนี้ปรากฏตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดว่า ห้องชุดที่ผู้ร้องจะซื้อจากผู้คัดค้านมีราคาสูงถึง 72,960,361 บาท จึงมีเหตุผลให้เชื่อว่า บริษัทผู้ร้องได้ศึกษากฎหมายไทย โดยเฉพาะประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 และ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 แล้ว และทราบดีว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 3 จะถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดที่ประเทศไทยได้ บริษัทผู้ร้องต้องได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนก่อน ส่วนบริษัทผู้คัดค้านผู้จะขายห้องชุดให้แก่ผู้ร้องซึ่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ถือว่าเป็นคนต่างด้าว ก็ต้องตรวจสอบก่อนว่าบริษัทผู้ร้องได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามบทกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือไม่ และเชื่อว่าผู้คัดค้านตรวจสอบแล้วทราบดีว่าผู้ร้องยังไม่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน การที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านทราบดีว่าผู้ร้องยังไม่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน แต่ยังเข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกัน สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด ลงวันที่ 12 สิงหาคม 2548 จึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดย่อมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ที่ผู้ร้องอุทธรณ์และนำสืบว่า ผู้คัดค้านปฏิบัติผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่ส่งมอบห้องชุดให้ผู้ร้องภายในกำหนด ผู้ร้องกับผู้คัดค้านจึงทำบันทึกยกเลิกการซื้อขายห้องชุดและตกลงกันตามข้อตกลง เปลี่ยนข้อตกลงเดิมเป็นการตกลงคืนเงินค่าห้องชุดที่ผู้ร้องได้ชำระให้แก่ผู้คัดค้านไปแล้วบางส่วนนั้น แม้ผู้ร้องกับผู้คัดค้านจะมิได้ตกลงยกเลิกการซื้อขายห้องชุดดังกล่าวและมิได้ตกลงให้ผู้คัดค้านคืนเงินค่าห้องชุดที่ผู้ร้องได้ชำระให้แก่ผู้คัดค้านไปแล้วบางส่วนก็ตาม แต่เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดตกเป็นโมฆะ และหากผู้คัดค้านต้องคืนเงินค่าห้องชุดที่ผู้ร้องได้ชำระให้แก่ผู้คัดค้านไปบางส่วน ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ก็บัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ เมื่อผู้คัดค้านผิดนัดไม่คืนเงินค่าห้องชุดที่ผู้ร้องได้ให้แก่ผู้คัดค้านบางส่วนตามข้อตกลงผู้ร้องจึงเสนอข้อพิพาทให้คณะอนุญาโตตุลาการ สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม ชี้ขาดตามข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ ข้อ 4.2 ในบันทึกข้อตกลง ซึ่ง ส. คณะอนุญาโตตุลาการที่ผู้ร้องกับผู้คัดค้านแต่งตั้งตามข้อ 4.2 ในบันทึกข้อตกลงก็ได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2558 ตามคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านคืนเงินจำนวน 17,136,747.59 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี นับแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553 ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2556 จำนวน 7,134,408.14 บาท และดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไปจนกว่าผู้ร้องจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 2,000,000 บาท และค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของคณะอนุญาโตตุลาการกึ่งหนึ่งที่ผู้ร้องทดรองจ่ายแทนผู้คัดค้านไปก่อนจำนวน 65,258 บาท แก่ผู้ร้อง การที่ผู้ร้องจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดตามกฎหมายดินแดนหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน ซึ่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 3 ถือว่าเป็นคนต่างด้าวรู้อยู่แล้วว่าผู้ร้องยังไม่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 19 (4) ได้เข้าทำสัญญาจะซื้อห้องชุดจากผู้คัดค้านซึ่งตกเป็นโมฆะ และผู้ร้องได้ชำระค่าห้องชุดให้แก่ผู้คัดค้านไปบางส่วนถือเป็นการที่ผู้ร้องได้กระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่อาจเรียกร้องให้ผู้คัดค้านคืนเงินค่าห้องชุดที่ผู้ร้องชำระให้แก่ผู้คัดค้านไปบางส่วนในฐานลาภมิควรได้แก่ผู้ร้อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411 ได้ ซึ่งบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 411 เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ที่คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดตามคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านคืนเงินแก่ผู้ร้องตามข้อตกลง จึงเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดที่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 411 ซึ่งเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลชอบที่จะมีคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 44

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9988/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้เสีย: การจัดชั้นหนี้, ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม, และสิทธิของลูกหนี้
ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 24/2552 เรื่อง การกำหนดสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและหลักเกณฑ์ที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องถือปฏิบัติ ข้อ 5.2.1 กำหนดให้สินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกจัดชั้นให้เป็นสินทรัพย์จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน สินทรัพย์จัดชั้นสงสัย สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ หรือสินทรัพย์จัดชั้นสูญ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสำรองของสถาบันการเงินเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่จำหน่ายจ่ายโอนให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ได้ และตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 31/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสำรองของสถาบันการเงิน ข้อ 5.2.2 (3) (3.1) กำหนดให้สินทรัพย์ที่ลูกหนี้ค้างชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 6 เดือน นับแต่วันถึงกำหนดชำระ เป็นสินทรัพย์จัดชั้นสงสัย ยกเว้นลูกหนี้ที่จัดชั้นสูญหรือสงสัยจะสูญแล้ว สำหรับสินทรัพย์ลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีมีวงเงินและครบกำหนดสัญญาแล้วไม่มีเม็ดเงินนำเข้าบัญชีเพื่อชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 6 เดือน นับแต่วันที่ครบกำหนดสัญญา ให้จัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นสงสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5.2.2 (3) (3.2) ข้อเท็จจริงปรากฏตามสำเนาบัญชีเงินกู้ว่า วันสิ้นเดือนมีนาคม 2555 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ครั้งที่ 1 โจทก์เป็นหนี้ค้างชำระต้นเงิน 45,465,894.73 บาท ดอกเบี้ย 292,031.04 บาท และในวันสิ้นเดือนสิงหาคม 2555 ซึ่งเป็นเดือนที่โจทก์ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย โจทก์ค้างชำระต้นเงิน 45,077,068.42 บาท ดอกเบี้ย 649,385.86 บาท การนับระยะเวลาหนี้ค้างชำระตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 31/2551 ข้อ 5.2.2 (3) (3.1) มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันชำระหนี้ครั้งสุดท้าย แต่ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันครบกำหนดชำระ เมื่อนับถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 โจทก์ค้างชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 6 เดือน ทั้งเป็นกรณีมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ซึ่งโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการชำระหนี้ใหม่ ตามข้อ 5.2.3 (2) วรรคท้าย ยังให้นับระยะเวลาการค้างชำระรวมกับระยะเวลาการค้างชำระก่อนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วพิจารณาจัดชั้นตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นดังกล่าวด้วย ส่วนทรัพย์ที่จำนองเป็นหลักประกันมีมูลค่าเพียงใด ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับดังกล่าวมิได้กำหนดให้นำมาพิจารณาในการจัดชั้นสินทรัพย์ แต่ให้นำมาพิจารณาเพื่อการกันเงินสำรองของสถาบันการเงินเมื่อจัดชั้นสินทรัพย์แล้วเท่านั้น จำเลยที่ 1 จึงชอบที่จะจัดชั้นสินทรัพย์หนี้กู้ยืมเงินให้เป็นสินทรัพย์จัดชั้นสงสัย สำหรับสินทรัพย์หนี้เบิกเงินเกินบัญชีนั้น ตามสำเนาบัญชีกระแสรายวัน ปรากฏว่า ในวันสิ้นเดือนมีนาคม 2555 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดสัญญา โจทก์เป็นหนี้ค้างชำระ 1,999,750.54 บาท หลังจากนั้นมีการโอนเงินเข้าบัญชีหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนสิงหาคม 2555 และมีหนี้ค้างชำระในวันสิ้นเดือนดังกล่าว 2,052,861.12 บาท แม้เห็นได้ว่านับจากวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 ย้อนหลังขึ้นไปยังมีเม็ดเงินนำเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีไม่เกินกว่า 6 เดือน ไม่อาจจัดชั้นให้เป็นสินทรัพย์จัดชั้นสงสัยโดยอาศัยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 31/2551 ข้อ 5.2.2 (3) (3.2) ได้ก็ตาม แต่ในการจัดชั้นสินทรัพย์นั้น ข้อ 5.2.2 วรรคแรก ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับดังกล่าวกำหนดให้สถาบันการเงินต้องจัดชั้นสินทรัพย์เป็นรายบัญชี โดยคำนึงถึงความเกี่ยวเนื่องของกระแสเงินสดรับของแต่ละบัญชี ซึ่งหากกระแสเงินสดของลูกหนี้มีความเกี่ยวเนื่องกัน ก็อาจต้องจัดชั้นไว้ด้วยกัน ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ทำสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับจำเลยที่ 1 ในวันเดียวกันเพื่อนำเงินไปใช้ในธุรกิจโรงแรมของโจทก์ ตามสัญญากู้ยืมเงิน ข้อ 12 และสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ข้อ 6 โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำเงินที่โจทก์ต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินไปลงรายการในบัญชีกระแสรายวันและถือเป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี กระแสเงินของแต่ละบัญชีจึงมีความเกี่ยวเนื่องกันและชอบที่จะจัดชั้นสินทรัพย์ไว้ด้วยกันได้ การที่จำเลยที่ 1 จัดชั้นหนี้กู้ยืมเงินและหนี้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นสินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจึงเป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและหนี้ดังกล่าวย่อมเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ชอบที่จะรับโอนไว้จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสถาบันการเงินได้
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 แต่กลับฎีกาว่า บันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ครั้งที่ 1 ที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ฯ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน ข้อเท็จจริงที่โจทก์ยกขึ้นอ้างเพื่อการวินิจฉัยข้อกฎหมายตามฎีกาข้อนี้จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง มิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ที่ใช้บังคับในขณะยื่นฟ้อง
โจทก์กล่าวในคำฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 ยังมีทางเลือกอื่นในการบังคับชำระหนี้ โดยฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งหรือคดีล้มละลายและไม่ควรเลือกใช้ช่องทางตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 เท่านั้น มิได้ยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ไม่ฟ้องคดีไม่ได้ ตามคำฟ้องย่อมไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 จะโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ฟ้องคดีได้หรือไม่ แม้โจทก์ยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ ก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9163/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า: การดัดแปลงคำทั่วไป ไม่สร้างลักษณะบ่งเฉพาะ
สำหรับเครื่องหมายการค้าคำว่า "" ของโจทก์นี้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นการตัดคำบางคำจากคำภาษาต่างประเทศที่ใช้กันเป็นปกติธรรมดาแบบมีความหมายในสังคมคือคำว่า "AIR CONDITIONER" หรือคำว่า "AIR CONDITIONING" มาประกอบกันเป็นคำเดียว ดังนั้นแม้โจทก์จะได้ดัดแปลงตัวอักษรโรมันตัวโอในคำดังกล่าวให้มีลักษณะแตกต่างจากตัวอักษรที่ประชาชนใช้กันอยู่ทั่วไปในสังคมอยู่แล้วก็เป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อยมิใช่สาระสำคัญของเครื่องหมาย จึงไม่ทำให้คำว่า "" เป็นคำประดิษฐ์แต่อย่างใด จึงไม่อาจถือได้ว่า คำว่า "" มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา ๗ วรรคสอง (๓) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
of 5