คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 107

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีผิดสัญญาประกันของพนักงานสอบสวน: เจ้าพนักงานตามตำแหน่งหน้าที่ย่อมมีอำนาจฟ้องได้
พันตำรวจโท ธ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐาน ผิดสัญญาประกันและเป็น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจเดียวกันกับพันตำรวจโท ป. ผู้รับสัญญาประกัน ต่าง ปฏิบัติราชการในตำแหน่งหน้าที่ พนักงานสอบสวนด้วยกันไม่ใช่ ทำแทนกันจึงมี อำนาจฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวนที่ย้ายไปรับราชการอื่น สัญญาประกันและความถูกต้องของคู่สัญญา
ขณะทำสัญญาประกัน ร้อยตำรวจเอก อ.รับราชการเป็นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอตาคลีได้ลงชื่อในสัญญาประกันในฐานะเป็นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอตาคลี ไม่ได้เป็นคู่สัญญาโดยตรงเป็นส่วนตัวแต่ขณะยื่นฟ้องร้อยตำรวจเอก อ.ได้ย้ายไป รับราชการที่อื่น มิได้เป็นพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอตาคลี ร้อยตำรวจเอก อ. จึงไม่มีสิทธิลงชื่อในฐานะพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอตาคลี ฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องกล่าวหาผู้พิพากษาปฏิบัติหน้าที่มิชอบโดยทุจริตและข่มขืนใจ ซึ่งศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างว่าไม่มีมูล
โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีอาญา ฟ้องผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเป็นจำเลยโดยกล่าวหาว่าจำเลยแกล้งหน่วงเหนี่ยวกักขังโจทก์ โดยข่มขืนใจให้ ส. แก้ราคาหลักทรัพย์ของ ย. ผู้ขอประกันตัวโจทก์จากราคา 120,000 บาทให้เหลือเพียง 60,000 บาทจนไม่พอประกันกับแกล้งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาทุจริตไม่ยอมตีราคาหลักทรัพย์ของผู้ขอประกันเมื่อ 9 นาฬิกา จนเมื่อเวลาศาลจะปิดทำการแล้วจึงแจ้งแก่โจทก์ว่าหลักทรัพย์ไม่พอ ทำให้โจทก์ไม่มีโอกาสไปหาหลักทรัพย์มาเพิ่มได้ทันทำให้โจทก์ถูกขังต่อมา แต่เมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยผู้ทำหน้าที่ศาลได้ตรวจดูหลักประกันตามบัญชีทรัพย์ที่ผู้ขอประกันยื่นมานั้นว่าจะเชื่อถือได้เพียงใดหรือไม่แล้วเห็นว่าตีราคาสูงกว่าราคาที่แท้จริงมากนักซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลเห็นว่าผู้ประกันไม่ควรตีราคาหลักประกันให้สูงผิดความจริงไปมากอันจะทำให้ศาลสิ้นความเชื่อถือจึงได้แก้ไขเสียให้ใกล้เคียงกับราคาจริงหากจะต้องเสียเวลาไปบ้าง ก็เป็นการกระทำที่อยู่ในการใช้ดุลพินิจภายในขอบอำนาจของผู้พิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเมื่อข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องก็ไม่มีข้อที่จะแสดงว่าจำเลยกระทำไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นแต่อย่างใด ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยแกล้งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาทุจริตดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง การกระทำของจำเลยดังที่โจทก์ฟ้องจึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 310 ที่โจทก์ขอให้ลงโทษที่ศาลยกฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องจึงชอบแล้ว
ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยข่มขืนใจให้ ส. แก้ราคาหลักทรัพย์ในบัญชีทรัพย์ที่ ย. ยื่นขอประกันจำเลย บัญชีทรัพย์นี้จึงเป็นเอกสารซึ่งผู้ขอประกันทำยื่นต่อศาลหาใช่เอกสารซึ่งจำเลยมีหน้าที่ทำไม่และจำเลยมิได้รับรองเป็นหลักฐานหรือละเว้นไม่จดข้อความอันใดลงในเอกสารนั้นจึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามมาตรา 161 และ 162

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาต่อผู้พิพากษา: การกระทำต้องมีเจตนาทุจริตและมีมูลความผิดชัดเจน
โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีอาญา ฟ้องผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเป็นจำเลยโดยกล่าวหาว่าจำเลยแกล้งหน่วงเหนี่ยวกักขังโจทก์ โดยข่มขืนใจให้ ส.แก้ราคาหลักทรัพย์ของ ย.ผู้ขอประกันตัวโจทก์จากราคา 120,000 บาท ให้เหลือเพียง 60,000 บาทจนไม่พอประกัน กับแกล้งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาทุจริตไม่ยอมตีราคาหลักทรัพย์ของผู้ขอประกันเมื่อ 9 นาฬิกา จนเมื่อเวลาศาลจะปิดทำการแล้วจึงแจ้งแก่โจทก์ว่าหลักทรัพย์ไม่พอ ทำให้โจทก์ไม่มีโอกาสไปหาหลักทรัพย์มาเพิ่มได้ทันทำให้โจทก์ถูกขังต่อมา แต่เมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยผู้ทำหน้าที่ศาลได้ตรวจดูหลักประกันตามบัญชีทรัพย์ที่ผู้ขอประกันยื่นมานั้นว่าจะเชื่อถือได้เพียงใดหรือไม่แล้วเห็นว่าตีราคาสูงกว่าราคาที่แท้จริงมากนัก ซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลเห็นว่าผู้ประกันไม่ควรตีราคาหลักประกันให้สูงผิดความจริงไปมากอันจะทำให้ศาลสิ้นความเชื่อ ถือจึงได้ให้แก้ไขเสียให้ใกล้เคียงกับราคาจริง หากจะต้องเสียเวลาไปบ้างก็เป็นการกระทำที่อยู่ในการใช้ดุลยพินิจภายในขอบอำนาจของผู้พิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเมื่อข้อเท็จตามคำบรรยายฟ้องก็ไม่มีข้อที่จะแสดงว่าจำเลยกระทำไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ชอบด้วย กฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นแต่อย่างใด ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยแกล้งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาทุจริตดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง การกระทำของจำเลยดังที่โจทก์ฟ้องจึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 310 ที่โจทก์ขอให้ลงโทษที่ศาลยกฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องจึงชอบแล้ว
ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยข่มขืนใจให้ ส.แก้ราคาหลักทรัพย์ในบัญชีทรัพย์ที่ ย.ยื่นขอประกันจำเลย บัญชีทรัพย์นี้จึงเป็นเอกสารซึ่งผู้ขอประกันทำยื่นต่อศาลหาใช่เอกสารซึ่งจำเลยมีหน้าที่ทำไม่ และจำเลยมิได้รับรองเป็นหลักฐานหรือละเว้นไม่จดข้อความอันใดลงในเอกสารนั้น จึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามมาตรา 161 และ 162

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันตัวระหว่างฎีกาคดีทุจริต: ศาลยืนราคาประกัน 100,000 บาท ไม่เกินควร
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502มาตรา 4. ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงถึงตลอดชีวิตและปรับไม่เกิน 40,000 บาท. ให้จำคุกจำเลย 7 ปีและให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ด้วย. จำเลยฎีกาและร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างฎีกา. ศาลอนุญาตให้ประกันตีราคา 100,000 บาท. การปล่อยชั่วคราวโดยให้ประกันตัวจำเลยระหว่างฎีกาเป็นราคา 100,000 บาทในกรณีเช่นนี้.ไม่เป็นการเรียกประกันเกินควร. และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 28 แต่อย่างไร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันตัวระหว่างฎีกาในคดีความผิดของพนักงานรัฐ: ราคาประกันที่เหมาะสมและความรับผิดของนายประกัน
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502มาตรา 4 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงถึงตลอดชีวิตและปรับไม่เกิน 40,000 บาท ให้จำคุกจำเลย 7 ปีและให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ด้วย จำเลยฎีกาและร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างฎีกา ศาลอนุญาตให้ประกันตีราคา 100,000 บาท การปล่อยชั่วคราวโดยให้ประกันตัวจำเลยระหว่างฎีกาเป็นราคา 100,000 บาทในกรณีเช่นนี้ ไม่เป็นการเรียกประกันเกินควร และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 28 แต่อย่างไร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันตัวระหว่างฎีกาและการปรับนายประกัน: ศาลพิจารณาโทษจำคุกและปรับควบคู่กันได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงถึงตลอดชีวิต และปรับไม่เกิน 40,000 บาท ให้จำคุกจำเลย 7 ปี และให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ด้วย จำเลยฎีกาและร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างฎีกาศาลอนุญาตให้ประกัน ตีราคา 100,000 บาท การปล่อยชั่วคราวโดยให้ประกันตัวจำเลยระหว่างฎีกาเป็นราคา 100,000 บาท ในกรณีเช่นนี้ ไม่เป็นการเรียกประกันเกินควรและไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 28 แต่อย่างไร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: ความรับผิดของนายประกันเมื่อไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามสัญญา และอำนาจโจทก์
จำเลยทำสัญญาประกันผู้ต้องหาจากพนักงานสอบสวน แล้วผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามนัด จำเลยย่อมมีหน้าที่ใช้เงินตามสัญญา ไม่จำเป็นที่พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญา
เงินที่จำเลยผู้ประกันสัญญาจะใช้เมื่อผิดสัญญาประกัน มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยมิได้ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด ก็เป็นการผิดสัญญา ย่อมต้องใช้เบี้ยปรับ การนำตัวผู้ต้องหามาส่งภายหลังหรือคดีนั้นมีการสั่งไม่ฟ้องหรือผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดตามสัญญาประกันไม่ เป็นแต่เพียงเหตุในการใช้ดุลพินิจว่าควรปรับมากน้อยเพียงใด (อ้างฎีกาที่ 1072/2491 และ1039/2499)
พนักงานสอบสวนมีหน้าที่รับคำร้องขอประกันผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมอยู่ ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล และเป็นผู้มีหน้าที่พิจารณาสั่งคำร้อง แล้วให้ผู้ร้องทำสัญญาประกัน จึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ย่อมเป็นโจทก์ฟ้องผู้ประกันซึ่งผิดสัญญาประกันได้ (อ้างฎีกาที่ 701/2498)
นายตำรวจสองนายซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจเดียวกันคนหนึ่งลงชื่อเป็นผู้รับสัญญาประกันอีกคนหนึ่งลงชื่อเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาประกัน เป็นการกระทำของบุคคลในตำแหน่งหน้าที่เดียว ไม่ใช่ทำแทนกัน และหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวเป็นอำนาจของตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ จึงฟ้องคดีโดยระบุตำแหน่งหน้าที่ และระบุนามบุคคลซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่เป็นคู่ความได้(อ้างฎีกาที่ 2106-2108/2492)
กรณีจำเลยผู้ประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด พนักงานสอบสวนย่อมไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ในการสอบสวนผู้ต้องหาได้ จึงเป็นการเสียหายต่อราชการ เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและมีหน้าที่ชำระเบี้ยปรับแล้วไม่ชำระ เป็นการผิดนัด ย่อมต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การที่จำเลยร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความร่วม อ้างว่ามีส่วนได้เสียร่วมกับจำเลย ซึ่งจำเลยจะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้นั้น หากศาลเห็นว่าไม่มีความจำเป็น จะไม่เรียกเข้ามาก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: ความรับผิดของนายประกันเมื่อไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามนัด และอำนาจโจทก์ของพนักงานสอบสวน
จำเลยทำสัญญาประกันผู้ต้องหาจากพนักงานสอบสวน แล้วผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามนัด. จำเลยย่อมมีหน้าที่ใช้เงินตามสัญญา ไม่จำเป็นที่พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญา.
เงินที่จำเลยผู้ประกันสัญญาจะใช้เมื่อผิดสัญญาประกัน มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ. เมื่อจำเลยมิได้ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด.ก็เป็นการผิดสัญญา ย่อมต้องใช้เบี้ยปรับ. การนำตัวผู้ต้องหามาส่งภายหลังหรือคดีนั้นมีการสั่งไม่ฟ้อง.หรือผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์. หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดตามสัญญาประกันไม่. เป็นแต่เพียงเหตุในการใช้ดุลพินิจว่าควรปรับมากน้อยเพียงใด (อ้างฎีกาที่ 1072/2491 และ1039/2499).
พนักงานสอบสวนมีหน้าที่รับคำร้องขอประกันผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมอยู่. ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล. และเป็นผู้มีหน้าที่พิจารณาสั่งคำร้อง แล้วให้ผู้ร้องทำสัญญาประกัน.จึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้. ย่อมเป็นโจทก์ฟ้องผู้ประกันซึ่งผิดสัญญาประกันได้.(อ้างฎีกาที่701/2498).
นายตำรวจสองนายซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจเดียวกันคนหนึ่งลงชื่อเป็นผู้รับสัญญาประกันอีกคนหนึ่งลงชื่อเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาประกัน. เป็นการกระทำของบุคคลในตำแหน่งหน้าที่เดียว ไม่ใช่ทำแทนกัน. และหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวเป็นอำนาจของตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้.จึงฟ้องคดีโดยระบุตำแหน่งหน้าที่ และระบุนามบุคคลซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่เป็นคู่ความได้.(อ้างฎีกาที่ 2106-2108/2492).
กรณีจำเลยผู้ประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด.พนักงานสอบสวนย่อมไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ในการสอบสวนผู้ต้องหาได้. จึงเป็นการเสียหายต่อราชการ. เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและมีหน้าที่ชำระเบี้ยปรับแล้วไม่ชำระ.เป็นการผิดนัด. ย่อมต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี.
การที่จำเลยร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความร่วม อ้างว่ามีส่วนได้เสียร่วมกับจำเลย ซึ่งจำเลยจะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้นั้น หากศาลเห็นว่าไม่มีความจำเป็น จะไม่เรียกเข้ามาก็ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: ความรับผิดของนายประกันเมื่อไม่ปฏิบัติตามสัญญา และอำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวน
จำเลยทำสัญญาประกันผู้ต้องหาจากพนักงานสอบสวน แล้วผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามนัด จำเลยย่อมมีหน้าที่ใช้เงินตามสัญญา ไม่จำเป็นที่พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญา
เงินที่จำเลยผู้ประกันสัญญาจะใช้เมื่อผิดสัญญาประกัน มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยมิได้ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดก็เป็นการผิดสัญญา ย่อมต้องใช้เบี้ยปรับ การนำตัวผู้ต้องหามาส่งภายหลังหรือคดีนั้นมีการสั่งไม่ฟ้อง.หรือผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดตามสัญญาประกันไม่ เป็นแต่เพียงเหตุในการใช้ดุลพินิจว่าควรปรับมากน้อยเพียงใด (อ้างฎีกาที่ 1072/2491 และ1039/2499)
พนักงานสอบสวนมีหน้าที่รับคำร้องขอประกันผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมอยู่ ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล และเป็นผู้มีหน้าที่พิจารณาสั่งคำร้อง แล้วให้ผู้ร้องทำสัญญาประกันจึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ย่อมเป็นโจทก์ฟ้องผู้ประกันซึ่งผิดสัญญาประกันได้ (อ้างฎีกาที่701/2498)
นายตำรวจสองนายซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจเดียวกันคนหนึ่งลงชื่อเป็นผู้รับสัญญาประกันอีกคนหนึ่งลงชื่อเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาประกัน เป็นการกระทำของบุคคลในตำแหน่งหน้าที่เดียว ไม่ใช่ทำแทนกัน และหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวเป็นอำนาจของตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้.จึงฟ้องคดีโดยระบุตำแหน่งหน้าที่ และระบุนามบุคคลซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่เป็นคู่ความได้(อ้างฎีกาที่ 2106-2108/2492)
กรณีจำเลยผู้ประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด.พนักงานสอบสวนย่อมไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ในการสอบสวนผู้ต้องหาได้ จึงเป็นการเสียหายต่อราชการ เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและมีหน้าที่ชำระเบี้ยปรับแล้วไม่ชำระเป็นการผิดนัด ย่อมต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การที่จำเลยร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความร่วม อ้างว่ามีส่วนได้เสียร่วมกับจำเลย ซึ่งจำเลยจะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้นั้น หากศาลเห็นว่าไม่มีความจำเป็น จะไม่เรียกเข้ามาก็ได้
of 2