พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4471/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ก่อนศาลตัดสิน การไม่นำเสนอคำร้องต่อศาลถือว่าจำเลยมิได้ขาดนัด
ระหว่างศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาสืบพยานโจทก์ฝ่ายเดียวทนายจำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่โดยยื่นต่อพนักงานรับฟ้อง กรณีจึงเป็นการขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสอง การที่พนักงานรับฟ้องไม่ได้นำคำร้องเสนอต่อศาล ก่อนที่ศาลจะชี้ขาดตัดสินคดี จะถือว่าทนายจำเลยไม่มาศาลหาได้ไม่ คำร้องของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการขอพิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 อันจะต้องกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่จำเลยขาดนัด และต้องแสดงข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นไม่พิจารณาคำร้องของจำเลยแล้วพิพากษาคดีไป จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4471/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ก่อนศาลตัดสิน และหน้าที่ของพนักงานรับฟ้องในการนำเสนอคำร้องต่อศาล
ระหว่างศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาสืบพยานโจทก์ฝ่ายเดียวทนายจำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่โดยยื่นต่อพนักงานรับฟ้องกรณีจึงเป็นการขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสอง การที่พนักงานรับฟ้องไม่ได้นำคำร้องเสนอต่อศาล ก่อนที่ศาลจะชี้ขาดตัดสินคดี จะถือว่าทนายจำเลยไม่มาศาลหาได้ไม่คำร้องของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการขอพิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 อันจะต้องกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่จำเลยขาดนัด และต้องแสดงข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา208 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นไม่พิจารณาคำร้องของจำเลยแล้วพิพากษาคดีไป จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีชั่วคราวเพื่อรอฟังผลคดีอื่น ไม่ถือเป็นการสิ้นสุดการพิจารณา โจทก์มีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา
คำว่า 'การพิจารณา' ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(8) หมายความว่า กระบวนการพิจารณาทั้งหมดในศาลใดศาลหนึ่งก่อนศาลนั้นชี้ขาดตัดสินหรือจำหน่ายคดีโดยคำพิพากษาหรือคำสั่ง และการจำหน่ายคดีนั้นหมายถึง การที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ซึ่งมีผลให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปจากศาลที่มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีนั้น
การที่คู่ความร้องขอให้ศาลชั้นต้นรอฟังผลของคำพิพากษาในคดีอื่นเพื่ออาศัยเป็นหลักในการชี้ขาดตัดสินคดีนี้เป็นการร้องขอให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 39 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีนี้ชั่วคราวจึงมีผลเท่ากับมีคำสั่งให้เลื่อนการนั่งพิจารณาไปนั่นเอง หาใช่เป็นการสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ไม่ คดีจึงยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ซึ่งศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้เริ่มการนั่งพิจารณาต่อไปในวันใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ดังนั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิร้องขอในเวลาใด ๆ ก่อนคำพิพากษาเพื่อให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองอย่างใด ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 และมีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ได้ด้วย
การที่คู่ความร้องขอให้ศาลชั้นต้นรอฟังผลของคำพิพากษาในคดีอื่นเพื่ออาศัยเป็นหลักในการชี้ขาดตัดสินคดีนี้เป็นการร้องขอให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 39 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีนี้ชั่วคราวจึงมีผลเท่ากับมีคำสั่งให้เลื่อนการนั่งพิจารณาไปนั่นเอง หาใช่เป็นการสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ไม่ คดีจึงยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ซึ่งศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้เริ่มการนั่งพิจารณาต่อไปในวันใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ดังนั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิร้องขอในเวลาใด ๆ ก่อนคำพิพากษาเพื่อให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองอย่างใด ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 และมีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำฟ้องได้ก่อนพิพากษา แม้ไม่มีชี้สองสถานหรือสืบพยาน
ในคดีแพ่ง เมื่อไม่มีการชี้สองสถานหรือสืบพยาน แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งงดการดำเนินกระบวนพิจารณาและนัดฟังคำพิพากษาแล้วแต่ตราบใดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้พิพากษา ย่อมถือว่าอยู่ในระยะเวลาที่คู่ความอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหรือคำให้การได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2514)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำฟ้องก่อนมีคำพิพากษา: สิทธิของคู่ความแม้ไม่มีการชี้สองสถานหรือสืบพยาน
ในคดีแพ่ง เมื่อไม่มีการชี้สองสถานหรือสืบพยาน แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งงดการดำเนินกระบวนพิจารณาและนัดฟังคำพิพากษาแล้ว แต่ตราบใดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้พิพากษา ย่อมถือว่าอยู่ในระยะเวลาที่คู่ความอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหรือคำให้การได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2514)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานเรื่องการกู้ยืมเงินและโอนที่ดินชำระหนี้ ศาลฎีกาพิจารณาได้ตามข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การ
ศาลเป็นผู้พินิจพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยตามที่นำสืบมาในสำนวน การตรวจพิจารณาลายเซ็นชื่อของโจทก์ในสัญญากู้เปรียบเทียบกับลายเซ็นชื่อของโจทก์ในเอกสารต่างๆ ตามที่ปรากฏในสำนวนก็เป็นการพิจารณาอย่างหนึ่งที่ศาลมีอำนาจกระทำได้
จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่าโจทก์กู้ยืมเงินจำเลยไป 5,000 บาท ต่อมาไม่มีเงินชำระเงินต้น โจทก์จึงเอาส่วนพิพาทตีราคาใช้หนี้จำเลยในราคา 3,000 บาท โดยทำสัญญายกสวนให้จำเลย ดังนี้ จำเลยย่อมนำสืบได้ ส่วนการที่ต้องทำสัญญาเป็นสัญญายกให้ก็เนื่องจากเจ้าหน้าที่ขัดข้องที่จะทำสัญญาเป็นสัญญาซื้อขาย จึงต้องทำเป็นสัญญายกให้ตามที่เจ้าหน้าที่ชี้แจง ซึ่งเป็นการนำสืบแสดงถึงเหตุที่ต้องทำเป็นสัญญายกให้เท่านั้น ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้โดยชัดแจ้ง จำเลยก็นำสืบได้ มิใช่จำเลยนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารและนำสืบนอกประเด็นข้อต่อสู้แต่อย่างใด
ข้อที่ว่าจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่าได้มีการชำระหนี้ 3,000 บาทมาแสดงต่อศาล โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์นี้ ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่าโจทก์กู้ยืมเงินจำเลยไป 5,000 บาท ต่อมาไม่มีเงินชำระเงินต้น โจทก์จึงเอาส่วนพิพาทตีราคาใช้หนี้จำเลยในราคา 3,000 บาท โดยทำสัญญายกสวนให้จำเลย ดังนี้ จำเลยย่อมนำสืบได้ ส่วนการที่ต้องทำสัญญาเป็นสัญญายกให้ก็เนื่องจากเจ้าหน้าที่ขัดข้องที่จะทำสัญญาเป็นสัญญาซื้อขาย จึงต้องทำเป็นสัญญายกให้ตามที่เจ้าหน้าที่ชี้แจง ซึ่งเป็นการนำสืบแสดงถึงเหตุที่ต้องทำเป็นสัญญายกให้เท่านั้น ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้โดยชัดแจ้ง จำเลยก็นำสืบได้ มิใช่จำเลยนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารและนำสืบนอกประเด็นข้อต่อสู้แต่อย่างใด
ข้อที่ว่าจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่าได้มีการชำระหนี้ 3,000 บาทมาแสดงต่อศาล โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์นี้ ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานการชำระหนี้ด้วยการโอนทรัพย์สิน และข้อจำกัดในการยกประเด็นใหม่ในชั้นฎีกา
ศาลเป็นผู้พินิจพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยตามที่นำสืบมาในสำนวน การตรวจพิจารณาลายเซ็นชื่อของโจทก์ในสัญญากู้เปรียบเทียบกับลายเซ็นชื่อของโจทก์ในเอกสารต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในสำนวนก็เป็นการพิจารณาอย่างหนึ่งที่ศาลมีอำนาจกระทำได้
จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่าโจทก์กู้ยืมเงินจำเลยไป 5,000 บาท ต่อมาไม่มีเงินชำระเงินต้น โจทก์จึงเอาสวนพิพาทตีราคาใช้หนี้จำเลยในราคา 3,000 บาทโดยทำสัญญายกสวนให้จำเลย ดังนี้ จำเลยย่อมนำสืบได้ ส่วนการที่ต้องทำสัญญาเป็นสัญญายกให้ก็เนื่องจากเจ้าหน้าที่ขัดข้องที่จะทำสัญญาเป็นสัญญาซื้อขาย จึงต้องทำเป็นสัญญายกให้ตามที่เจ้าหน้าที่ชี้แจง ซึ่งเป็นการนำสืบแสดงถึงเหตุที่ต้องทำเป็นสัญญายกให้เท่านั้น ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้โดยชัดแจ้ง จำเลยก็นำสืบได้ มิใช่จำเลยนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารและนำสืบนอกประเด็นข้อต่อสู้แต่อย่างใด
ข้อที่ว่าจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่าได้มีการชำระหนี้ 3,000 บาทมาแสดงต่อศาล โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์นี้ ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่าโจทก์กู้ยืมเงินจำเลยไป 5,000 บาท ต่อมาไม่มีเงินชำระเงินต้น โจทก์จึงเอาสวนพิพาทตีราคาใช้หนี้จำเลยในราคา 3,000 บาทโดยทำสัญญายกสวนให้จำเลย ดังนี้ จำเลยย่อมนำสืบได้ ส่วนการที่ต้องทำสัญญาเป็นสัญญายกให้ก็เนื่องจากเจ้าหน้าที่ขัดข้องที่จะทำสัญญาเป็นสัญญาซื้อขาย จึงต้องทำเป็นสัญญายกให้ตามที่เจ้าหน้าที่ชี้แจง ซึ่งเป็นการนำสืบแสดงถึงเหตุที่ต้องทำเป็นสัญญายกให้เท่านั้น ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้โดยชัดแจ้ง จำเลยก็นำสืบได้ มิใช่จำเลยนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารและนำสืบนอกประเด็นข้อต่อสู้แต่อย่างใด
ข้อที่ว่าจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่าได้มีการชำระหนี้ 3,000 บาทมาแสดงต่อศาล โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์นี้ ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบถามจำเลยเรื่องทนายก่อนการพิจารณาคดี และการรับฟังคำให้การเพื่อเพิ่มโทษ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 บัญญัติให้ศาลสอบถามจำเลยเรื่องทนาย. ถ้าจำเลยไม่มีทนาย และจำเลยต้องการ ก็ให้ศาลตั้งทนายให้จำเลยเสียก่อนเริ่มพิจารณาถ้าศาลสอบถามคำให้การจำเลยก่อนสอบถามเรื่องทนายก็ย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ในเมื่อศาลฎีกาเห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 บัญญัติขึ้นเพื่อให้จำเลยมีทนายต่อสู้คดีที่เป็นความผิดอุกฉกรรจ์ มีอัตราโทษจำคุกตามที่ระบุไว้ มิใช่หมายความรวมถึงโทษที่จำเลยจะพึงได้รับจากการเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบด้วย การที่จำเลยจะถูกเพิ่มโทษหรือไม่ เป็นคนละส่วนกับกรณีความผิดที่จำเลยถูกฟ้องร้อง ฉะนั้น แม้จำเลยจะให้การก่อนที่ศาลสอบถามจำเลยเรื่องทนาย คำให้การนั้นก็ไม่เสียไป ทั้งตามรูปคดีก็ไม่มีเหตุน่าสงสัยว่าคำให้การของจำเลยในข้อนี้จะไม่เป็นความจริง คำรับของจำเลยในข้อเคยต้องโทษและพ้นโทษ จึงรับฟังเพื่อเพิ่มโทษจำเลยได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10-11/2509)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 บัญญัติขึ้นเพื่อให้จำเลยมีทนายต่อสู้คดีที่เป็นความผิดอุกฉกรรจ์ มีอัตราโทษจำคุกตามที่ระบุไว้ มิใช่หมายความรวมถึงโทษที่จำเลยจะพึงได้รับจากการเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบด้วย การที่จำเลยจะถูกเพิ่มโทษหรือไม่ เป็นคนละส่วนกับกรณีความผิดที่จำเลยถูกฟ้องร้อง ฉะนั้น แม้จำเลยจะให้การก่อนที่ศาลสอบถามจำเลยเรื่องทนาย คำให้การนั้นก็ไม่เสียไป ทั้งตามรูปคดีก็ไม่มีเหตุน่าสงสัยว่าคำให้การของจำเลยในข้อนี้จะไม่เป็นความจริง คำรับของจำเลยในข้อเคยต้องโทษและพ้นโทษ จึงรับฟังเพื่อเพิ่มโทษจำเลยได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10-11/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบถามจำเลยเรื่องทนายก่อนเริ่มพิจารณา และการรับฟังคำให้การเพื่อเพิ่มโทษ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 บัญญัติให้ศาลสอบถามจำเลยเรื่องทนาย ถ้าจำเลยไม่มีทนาย และจำเลยต้องการ ก็ให้ศาลตั้งทนายให้จำเลยเสียก่อนเริ่มพิจารณา การถามคำให้การจำเลยก็เป็นการพิจารณา ถ้าศาลสอบถามคำให้การจำเลยก่อนสอบถามเรื่องทนายก็ย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ในเมื่อศาลฎีกาเห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 บัญญัติขึ้นเพื่อให้จำเลยมีทนายต่อสู้คดีที่เป็นความผิดอุกฉกรรจ์ มีอัตราโทษจำคุกตามที่ระบุไว้ มิใช่หมายความรวมถึงโทษที่จำเลยจะพึงได้รับจากการเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบด้วย การที่จำเลยจะถูกเพิ่มโทษหรือไม่ เป็นคนละส่วนกับกรณีความผิดที่จำเลยถูกฟ้องร้อง ฉะนั้น แม้จำเลยจะให้การก่อนที่ศาลสอบถามจำเลยเรื่องทนาย คำให้การนั้นก็ไม่เสียไป ทั้งตามรูปคดีก็ไม่มีเหตุน่าสงสัยว่าคำให้การของจำเลยในข้อนี้จะไม่เป็นความจริง คำรับของจำเลยในข้อเคยต้องโทษและพ้นโทษ จึงรับฟังเพื่อเพิ่มโทษจำเลยได้.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10 -11/2509)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 บัญญัติขึ้นเพื่อให้จำเลยมีทนายต่อสู้คดีที่เป็นความผิดอุกฉกรรจ์ มีอัตราโทษจำคุกตามที่ระบุไว้ มิใช่หมายความรวมถึงโทษที่จำเลยจะพึงได้รับจากการเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบด้วย การที่จำเลยจะถูกเพิ่มโทษหรือไม่ เป็นคนละส่วนกับกรณีความผิดที่จำเลยถูกฟ้องร้อง ฉะนั้น แม้จำเลยจะให้การก่อนที่ศาลสอบถามจำเลยเรื่องทนาย คำให้การนั้นก็ไม่เสียไป ทั้งตามรูปคดีก็ไม่มีเหตุน่าสงสัยว่าคำให้การของจำเลยในข้อนี้จะไม่เป็นความจริง คำรับของจำเลยในข้อเคยต้องโทษและพ้นโทษ จึงรับฟังเพื่อเพิ่มโทษจำเลยได้.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10 -11/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 แม้ศาลไม่อนุญาตแก้ฟ้องหรือสืบพยาน
เมื่อฟ้องของโจทก์ในคดีนี้มีประเด็นว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของใคร นิติกรรมซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ เป็นประเด็นเช่นเดียวกับที่ได้ฟ้องร้องกันมาแล้วในคดีก่อน และศาลได้วินิจฉัยประเด็นข้อโต้เถียงระหว่างโจทก์จำเลยแล้วทุกประเด็น จึงเป็นฟ้องซ้ำซึ่งต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและคำให้การในคดีเรื่องก่อนก็ดี สั่งงดไม่ให้สืบพยานก็ดีล้วนแต่เป็นเรื่องดำเนินการพิจารณาในคดีทั้งสิ้น คำสั่งของศาลดังกล่าวจะเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันให้ถึงที่สุดไปด้วยการอุทธรณ์ฎีกาคู่ความจะหาวิธีแก้ด้วยการยื่นคำฟ้องใหม่โดยหวังจะให้คำพิพากษาในคดีเรื่องใหม่นี้ลบล้างคำพิพากษาเรื่องก่อนซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายผูกพันคู่ความอยู่แล้วในประเด็นเดียวกันหาได้ไม่
การที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและคำให้การในคดีเรื่องก่อนก็ดี สั่งงดไม่ให้สืบพยานก็ดีล้วนแต่เป็นเรื่องดำเนินการพิจารณาในคดีทั้งสิ้น คำสั่งของศาลดังกล่าวจะเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันให้ถึงที่สุดไปด้วยการอุทธรณ์ฎีกาคู่ความจะหาวิธีแก้ด้วยการยื่นคำฟ้องใหม่โดยหวังจะให้คำพิพากษาในคดีเรื่องใหม่นี้ลบล้างคำพิพากษาเรื่องก่อนซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายผูกพันคู่ความอยู่แล้วในประเด็นเดียวกันหาได้ไม่