พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,756 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10072/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประกันในคดีอาญา แม้เกิน 10 ปี ผู้ประกันยังต้องส่งตัวจำเลยต่อศาล
การบังคับตามสัญญาประกันในกรณีที่ผิดสัญญาประกันต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 เป็นผลสืบเนื่องมาจากศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลย แต่ผู้ประกันไม่ส่งตัวจำเลยตามนัดอันเป็นกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาประกัน การบังคับตามสัญญาประกันจึงเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาทางอาญาโดยแท้ การพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ประกันจึงต้องพิจารณาจากบริบทของคดีอาญาเป็นสำคัญ โดยผู้ประกันมีหน้าที่ต้องนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาส่งต่อศาลตามกำหนด ตราบใดที่ผู้ประกันยังไม่ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลต้องถือว่าผู้ประกันยังผิดสัญญาประกัน แต่หากผู้ประกันขวนขวายนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาส่งศาลภายในอายุความทางอาญา ศาลก็อาจลดหรืองดค่าปรับแก่ผู้ประกันได้ตามพฤติการณ์แห่งคดี แม้ผู้ประกันนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาส่งต่อศาลเกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกันก็ตาม เมื่อผู้ประกันมีสิทธิและหน้าที่ดังกล่าว ผู้ร้องจึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งปรับผู้ประกันทั้งสองได้แม้จะเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกันทั้งสอง โดยไม่จำต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดีอีก ดังนี้ เมื่อผู้ร้องยังมีสิทธิบังคับคดีแก่ผู้ประกันทั้งสอง กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะคืนหลักประกันให้แก่ผู้ประกันทั้งสองและคืนเงิน 500,000 บาท แก่ผู้ประกันที่ 1 โดยเหตุอื่นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10011/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ แม้คำพิพากษาไม่ได้ระบุชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดต่อโจทก์โดยชำระหนี้ตามสัญญากู้และโจทก์ประสงค์บังคับจำนองเอาแก่ที่ดินตามฟ้องซึ่งเป็นหลักประกัน อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งมีสิทธิเรียกร้องตามบทบัญญัติใน ป.พ.พ. อันเป็นกฎหมายสารบัญญัติและเป็นคดีมีข้อพิพาท ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายแสดงให้เห็นแล้วว่าหากมีการบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยทั้งสามยอมรับผิดชำระหนี้ในส่วนที่ขาดนั้นให้โจทก์จนครบถ้วน และคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุว่า หากจำเลยทั้งสามไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน ศาลย่อมมีอำนาจหน้าที่ตาม ป.วิ.พ. ซึ่งเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติในการที่จะวินิจฉัยและพิพากษาคดี โดยหากวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกฎหมายสารบัญญัติ ก็ย่อมพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ตามฟ้องให้แก่โจทก์ตามสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยทั้งสามในทางแพ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้เงิน รวมทั้งให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินตามฟ้องในฐานะเจ้าหนี้จำนองผู้ทรงทรัพยสิทธิจำนองเหนือที่ดินตามฟ้องตามกฎหมายสารบัญญัติด้วย ความรับผิดดังกล่าวของจำเลยทั้งสามก็คือ หนี้ตามคำพิพากษา หากจำเลยทั้งสามในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ครบ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ย่อมมีสิทธิบังคับคดี และในกรณีหนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้เงิน การบังคับคดีย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 271 มาตรา 278 และมาตรา 282 คือการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามหรือบุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องของจำเลยทั้งสาม เพื่อนำออกขายทอดตลาดและนำเงินที่ได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ อันเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายให้สิทธิแก่โจทก์โดยสืบเนื่องจากผลแห่งคำพิพากษา และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจำต้องระบุสิทธิในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามไว้ในคำพิพากษาด้วย ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามฟ้อง และโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ยึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสาม การที่คำพิพากษามิได้ระบุให้โจทก์ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดอันเป็นขั้นตอนในการบังคับคดี จึงหาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ เมื่อมีการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่พอชำระหนี้ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมบังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามนอกเหนือจากที่จำนองไว้ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้เงิน รวมทั้งให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินตามฟ้องในฐานะเจ้าหนี้จำนองผู้ทรงทรัพยสิทธิจำนองเหนือที่ดินตามฟ้องตามกฎหมายสารบัญญัติด้วย ความรับผิดดังกล่าวของจำเลยทั้งสามก็คือ หนี้ตามคำพิพากษา หากจำเลยทั้งสามในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ครบ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ย่อมมีสิทธิบังคับคดี และในกรณีหนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้เงิน การบังคับคดีย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 271 มาตรา 278 และมาตรา 282 คือการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามหรือบุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องของจำเลยทั้งสาม เพื่อนำออกขายทอดตลาดและนำเงินที่ได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ อันเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายให้สิทธิแก่โจทก์โดยสืบเนื่องจากผลแห่งคำพิพากษา และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจำต้องระบุสิทธิในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามไว้ในคำพิพากษาด้วย ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามฟ้อง และโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ยึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสาม การที่คำพิพากษามิได้ระบุให้โจทก์ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดอันเป็นขั้นตอนในการบังคับคดี จึงหาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ เมื่อมีการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่พอชำระหนี้ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมบังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามนอกเหนือจากที่จำนองไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9450/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การปฏิบัติตามเจตนารมณ์สำคัญ แม้มีข้อความอื่นเพิ่มเติม
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 2 มีข้อความว่า จำเลยทั้งสองจะทำหนังสือแจ้งประกันสังคมโดยระบุว่าจำเลยทั้งสองเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด...ปรากฏว่าภายหลังศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอม จำเลยทั้งสองได้ทำหนังสือแจ้งเปลี่ยนแปลงการให้ออกของพนักงาน ลงวันที่ 19 เมษายน 2553 ถึงผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 8 แจ้งเปลี่ยนแปลงการให้ออกของโจทก์จาก "ไล่ออกโดยมีความผิด" เป็น "ไล่ออกโดยไม่มีความผิด" ตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความนำมายื่นต่อศาลและให้โจทก์รับไปแล้ว แม้หนังสือดังกล่าวจะมีข้อความอื่นนอกเหนือจากที่ระบุตาม ข้อ 2 ของสัญญาประนีประนอมยอมความรวมอยู่ด้วย แต่เมื่อโจทก์นำไปยื่นต่อสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 8 เจ้าหน้าที่ก็ดำเนินการแก้ไขฐานข้อมูลการเลิกจ้างให้ว่าเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด ตรงตามเจตนารมณ์ของคู่ความที่ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน เช่นนี้จะถือว่าจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9217/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม ต้องบังคับทรัพย์จำนองก่อน หากไม่พอจึงบังคับทรัพย์อื่นได้
คำพิพากษาตามยอมกำหนดให้บังคับแก่ห้องชุดจำนองก่อน หากไม่พอชำระจำเลยยอมชำระส่วนที่ขาดจนครบ ตราบใดที่ยังมิได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง ก็ไม่อาจทราบว่ายังมีหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมเหลืออยู่อีกเพียงใดที่จำเลยยินยอมจะชำระหนี้นั้นจนครบ เมื่อการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลต้องอาศัยและตามคำบังคับคดีที่ได้ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เช่นนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยให้ผิดไปจากคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลได้
การบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นกำหนดให้ยึดห้องชุดจำนองขายทอดตลาดชำระหนี้ หากได้เงินไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยขายทอดตลาดจนครบเป็นการกำหนดลำดับในการบังคับแก่ทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและตราบใดที่เจ้าพนักงานบังคับคดียังขายทอดตลาดห้องชุดจำนองตามคำพิพากษาไม่ได้ ก็ไม่อาจทราบว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดห้องชุดจำนองนั้นเพียงพอแก่การชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เพียงใด แม้ห้องชุดจำนองมีราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีต่ำกว่าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งจำเลยทั้งสี่ต้องชำระก็ตาม แต่ได้ความว่า โจทก์เพิ่งขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดห้องชุดจำนองเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 และไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีการนำห้องชุดจำนองออกขายทอดตลาดมาก่อนหรือไม่อย่างไร ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นได้นับแต่ปี 2544 เป็นต้นมา การปล่อยให้เวลาการบังคับคดีล่วงเลยมานานแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ได้ขวนขวายที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์จำนองภายในเวลาอันสมควร ทั้งยังไม่มีการนำทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดมาก่อนเลย ย่อมเห็นได้ชัดว่าการบังคับคดีไม่เป็นลำดับไปตามคำพิพากษาของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ซึ่งบัญญัติให้การบังคับคดีต้องอาศัยและตามคำบังคับที่ได้ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ทั้งไม่มีพฤติการณ์พิเศษอื่นใดที่จะอ้างความเป็นธรรมเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยเพิ่มเติมโดยให้รอขายทอดตลาดไว้ก่อนให้ผิดไปจากคำพิพากษาของศาลซึ่งจะต้องมีการบังคับคดีได้
การบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นกำหนดให้ยึดห้องชุดจำนองขายทอดตลาดชำระหนี้ หากได้เงินไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยขายทอดตลาดจนครบเป็นการกำหนดลำดับในการบังคับแก่ทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและตราบใดที่เจ้าพนักงานบังคับคดียังขายทอดตลาดห้องชุดจำนองตามคำพิพากษาไม่ได้ ก็ไม่อาจทราบว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดห้องชุดจำนองนั้นเพียงพอแก่การชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เพียงใด แม้ห้องชุดจำนองมีราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีต่ำกว่าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งจำเลยทั้งสี่ต้องชำระก็ตาม แต่ได้ความว่า โจทก์เพิ่งขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดห้องชุดจำนองเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 และไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีการนำห้องชุดจำนองออกขายทอดตลาดมาก่อนหรือไม่อย่างไร ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นได้นับแต่ปี 2544 เป็นต้นมา การปล่อยให้เวลาการบังคับคดีล่วงเลยมานานแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ได้ขวนขวายที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์จำนองภายในเวลาอันสมควร ทั้งยังไม่มีการนำทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดมาก่อนเลย ย่อมเห็นได้ชัดว่าการบังคับคดีไม่เป็นลำดับไปตามคำพิพากษาของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ซึ่งบัญญัติให้การบังคับคดีต้องอาศัยและตามคำบังคับที่ได้ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ทั้งไม่มีพฤติการณ์พิเศษอื่นใดที่จะอ้างความเป็นธรรมเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยเพิ่มเติมโดยให้รอขายทอดตลาดไว้ก่อนให้ผิดไปจากคำพิพากษาของศาลซึ่งจะต้องมีการบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6663/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเพิกถอนรายการจดทะเบียนที่ดิน: เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจดำเนินการหลังคำพิพากษาถึงที่สุด
การขอให้บังคับตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบัญจดทะเบียนตามโฉนดที่ดิน และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบโฉนดที่ดินแก่โจทก์ มิใช่เป็นการบังคับคดีที่ต้องดำเนินการโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. และไม่มีกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องขอต่อศาลเพื่อให้ออกหมายบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ออกหมายบังคับคดีแก่โจทก์จึงไม่ถูกต้อง แต่การเพิกถอนรายการจดทะเบียนขายที่ดินตามคำพิพากษาของศาลดังกล่าว เป็นกรณีที่ได้มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่ง ป.ที่ดิน มาตรา 61 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายซึ่งดำรงตำแหน่งรองอธิบดีหรือผู้ตรวจราชการกรมที่ดินมีอำนาจหน้าที่สั่งเพิกถอนหรือแก้ไขได้ และตามวรรคแปดของบทบัญญัติเดียวกัน บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไขอย่างใดแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นตามวิธีการที่อธิบดีกำหนด" ดังนั้น การบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลที่ให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบัญจดทะเบียนตามโฉนดที่ดินนั้น โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้ดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้ก็ต่อเมื่อคำพิพากษานั้นถึงที่สุดเป็นต้นไป และที่ว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด ก็ย่อมมีความหมายว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดทั้งคดี เมื่อนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดยังไม่ล่วงพ้นกำหนดเวลาสิบปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์จึงยังมีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6308/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเมื่อเจ้าของรวมไม่ยินยอมแบ่งทรัพย์สินมรดก ผู้มีสิทธิบังคับคดีได้ตามคำพิพากษา
แม้คำพิพากษาของศาลกำหนดให้จำเลยทั้งสี่ในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์สินให้แก่โจทก์ทั้งเก้าและผู้ร้องสอดทั้งสามตามอัตราส่วนแบ่งตามคำพิพากษา แต่เมื่อโจทก์ที่ 5 ในฐานะเจ้าของรวมซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินมรดกทุกแปลงของผู้ตายอีกคนหนึ่งมิได้ยินยอมด้วย ต้องถือว่าการแบ่งทรัพย์สินนั้นจำเลยทั้งสี่ไม่อาจกระทำได้ด้วยความยินยอมของเจ้าของรวมทุกคน ทั้งกรณีเป็นการแบ่งทรัพย์สิน มิใช่การทำนิติกรรมซึ่งโจทก์ที่ 5 จะให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยทั้งสี่ในการแบ่งมรดกได้ โจทก์ที่ 5 ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมีสิทธิขอให้ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อบังคับยึดที่ดินมรดกออกขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6308/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีแบ่งมรดก: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดขายทอดตลาดได้แม้มีการแบ่งทรัพย์สินบางส่วนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทั้งหมด
แม้คำพิพากษากำหนดให้จำเลยทั้งสี่ในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์สินให้แก่โจทก์ทั้งเก้าและผู้ร้องสอดทั้งสามตามอัตราส่วนแบ่งตามคำพิพากษา แต่เมื่อโจทก์ที่ 5 ในฐานะเจ้าของรวมซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินมรดกทุกแปลงของผู้ตายอีกคนหนึ่งมิได้ยินยอมด้วย ต้องถือว่าการแบ่งทรัพย์สินนั้นจำเลยทั้งสี่ไม่อาจกระทำได้ด้วยความยินยอมของเจ้าของรวมทุกคน ทั้งกรณีเป็นการแบ่งทรัพย์สิน มิใช่การทำนิติกรรมซึ่งโจทก์ที่ 5 จะให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยทั้งสี่ในการแบ่งมรดกได้ โจทก์ที่ 5 ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมีสิทธิขอให้ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อบังคับยึดที่ดินมรดกออกขายทอดตลาดได้
เมื่อโจทก์ที่ 5 ร้องขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดทรัพย์สินทั้งหมดภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 แล้ว แต่การบังคับคดียังไม่แล้วเสร็จ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีต่อไปจนกว่าจะเสร็จสิ้นได้ แม้จะพ้นกำหนดเวลาการบังคับคดีดังกล่าวแล้วก็ตาม
เมื่อโจทก์ที่ 5 ร้องขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดทรัพย์สินทั้งหมดภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 แล้ว แต่การบังคับคดียังไม่แล้วเสร็จ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีต่อไปจนกว่าจะเสร็จสิ้นได้ แม้จะพ้นกำหนดเวลาการบังคับคดีดังกล่าวแล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6261/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 10 ปี และสิทธิในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินจำนองที่ถูกเวนคืน
การร้องขอให้บังคับคดี ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา คดีนี้โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2549 โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างในคดีนี้เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555 ไม่ใช่ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การร้องขอให้บังคับคดีของโจทก์จึงอยู่ภายในกำหนดเวลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่จำนองซึ่งการจำนองครอบไปถึงนั้น มิใช่ทรัพย์สินอื่น แต่เงินดังกล่าวเข้ามาแทนที่ทรัพย์สินซึ่งจำนองที่ถูกเวนคืนในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกับทรัพย์สินซึ่งจำนอง ย่อมตกอยู่ในบังคับแห่งจำนองซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษามีสิทธิบังคับเอาชำระหนี้ได้เช่นเดียวกันกับทรัพย์สินซึ่งจำนอง
เงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่จำนองซึ่งการจำนองครอบไปถึงนั้น มิใช่ทรัพย์สินอื่น แต่เงินดังกล่าวเข้ามาแทนที่ทรัพย์สินซึ่งจำนองที่ถูกเวนคืนในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกับทรัพย์สินซึ่งจำนอง ย่อมตกอยู่ในบังคับแห่งจำนองซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษามีสิทธิบังคับเอาชำระหนี้ได้เช่นเดียวกันกับทรัพย์สินซึ่งจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6260/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดี-การขยายเวลาวางเงินซื้อทรัพย์-คำสั่งกรมบังคับคดีชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ซึ่งได้รับอนุญาตตามคำสั่งศาลเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เดิม โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 ย่อมมีอำนาจดำเนินการใดๆ ในชั้นบังคับคดี รวมทั้งยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองใหม่ได้
คดีนี้โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดระหว่างที่ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือ การที่ผู้ซื้อทรัพย์วางเงินค่าซื้อทรัพย์เพิ่มอีกร้อยละ 5.5 และยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลืออีกครั้งระหว่างการไต่สวนคำร้องขอของโจทก์ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินไปจนกว่าคดีที่โจทก์ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดจะถึงที่สุด อันเป็นไปตามคำสั่งกรมบังคับคดีที่ 333/2551 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สิน ข้อ 14 ที่ระบุว่า ในกรณีที่มีการร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สิน หากผู้ซื้อทรัพย์ประสงค์จะได้รับเงินคืนและผู้อำนวยการกอง ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณี มีคำสั่งให้คืนเงินให้ผู้ซื้อ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคืนเงินให้แก่ผู้ซื้อโดยเหลือไว้ร้อยละ 5.5 ของราคาที่ซื้อขาย หากศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ยกคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ผู้ซื้อชำระราคาส่วนที่เหลือภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง โดยคำสั่งนี้สอดคล้องกับระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ.2522 ข้อ 85 ที่ให้อำนาจอธิบดีกรมบังคับคดีขยายกำหนดเวลาชำระเงินได้ตามที่เห็นสมควร หากทรัพย์ที่ขายมีราคาสูงมากหรือมีเหตุผลพิเศษประการอื่น คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คดีนี้โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดระหว่างที่ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือ การที่ผู้ซื้อทรัพย์วางเงินค่าซื้อทรัพย์เพิ่มอีกร้อยละ 5.5 และยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลืออีกครั้งระหว่างการไต่สวนคำร้องขอของโจทก์ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินไปจนกว่าคดีที่โจทก์ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดจะถึงที่สุด อันเป็นไปตามคำสั่งกรมบังคับคดีที่ 333/2551 เรื่อง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สิน ข้อ 14 ที่ระบุว่า ในกรณีที่มีการร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สิน หากผู้ซื้อทรัพย์ประสงค์จะได้รับเงินคืนและผู้อำนวยการกอง ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีจังหวัดหรือสาขา แล้วแต่กรณี มีคำสั่งให้คืนเงินให้ผู้ซื้อ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคืนเงินให้แก่ผู้ซื้อโดยเหลือไว้ร้อยละ 5.5 ของราคาที่ซื้อขาย หากศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ยกคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ผู้ซื้อชำระราคาส่วนที่เหลือภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง โดยคำสั่งนี้สอดคล้องกับระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ.2522 ข้อ 85 ที่ให้อำนาจอธิบดีกรมบังคับคดีขยายกำหนดเวลาชำระเงินได้ตามที่เห็นสมควร หากทรัพย์ที่ขายมีราคาสูงมากหรือมีเหตุผลพิเศษประการอื่น คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิด: เจ้าของโรงแรมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการบุกรุกและกระทำละเมิด แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น
โจทก์บรรยายฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยนำพวกและบริวารบุกรุกเข้ามาในโรงแรมของโจทก์ รื้อค้นปิดล็อกประตูห้องทำงานของพนักงานและสั่งให้พนักงานของโจทก์เปิดห้องเพื่อให้บริวารของจำเลยเข้าพัก สั่งอาหาร เครื่องดื่มแล้วไม่ยอมจ่ายเงิน ทั้งมีการข่มขู่เอาเงินจากพนักงานของโจทก์ไปและแสดงตัวว่าจำเลยเป็นเจ้าของกิจการ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าห้องพัก ค่าอาหารและเรียกเงินที่จำเลยเอาไปจากพนักงานของโจทก์ ตามข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงว่า โจทก์ประสงค์จะฟ้องจำเลยให้รับผิดในมูลละเมิดที่ทำให้โจทก์ฐานะเจ้าของและผู้ครอบครองโรงแรมเสียหาย หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทโจทก์ที่ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีเดิมที่ว่า จำเลยเป็นผู้ถือหุ้นของโจทก์ที่ศาลฎีกาพิพากษาให้หุ้นกลับคืนเป็นของจำเลย และต้องพิจารณาถึงอำนาจของผู้ฟ้องคดีว่าต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการโรงแรมหรือเป็นผู้ถือหุ้นตามจำนวนเสียงข้างมาก หรือเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ดังข้อฎีกาของจำเลยแต่อย่างใด ประกอบกับหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีดังกล่าวให้หุ้นกลับคืนเป็นของจำเลยแล้ว ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าได้มีการจดแจ้งการโอนชื่อจำเลยลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด เมื่อการฟ้องคดีของโจทก์ได้กระทำโดยผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดี ทั้งตามคำฟ้องโจทก์มิได้ประสงค์ให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้ถือหุ้นโจทก์ หรือเกี่ยวกับการบริหารกิจการโจทก์ที่ต้องอาศัยผลของคำพิพากษาศาลฎีกาดังข้ออ้างของจำเลยตามที่กล่าว แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับผิดในมูลละเมิดที่โจทก์ฐานะเจ้าของและผู้ครอบครองโรงแรมอ้างว่าจำเลยกับพวกกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิและมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
แม้ว่าจำเลยจะชนะคดีและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยตามคำพิพากษาศาลฎีกาก็ตาม แต่จำเลยมีสิทธิอย่างไรตามคำพิพากษาดังกล่าว ก็ชอบที่ต้องไปดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือต้องไปว่ากล่าวฟ้องร้องเอากับโจทก์อีกส่วนต่างหาก การที่จำเลยพาพวกและบริวารบุกรุกเข้าไปในโรงแรมของโจทก์โดยพลการ จึงเป็นการกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
แม้ว่าจำเลยจะชนะคดีและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยตามคำพิพากษาศาลฎีกาก็ตาม แต่จำเลยมีสิทธิอย่างไรตามคำพิพากษาดังกล่าว ก็ชอบที่ต้องไปดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือต้องไปว่ากล่าวฟ้องร้องเอากับโจทก์อีกส่วนต่างหาก การที่จำเลยพาพวกและบริวารบุกรุกเข้าไปในโรงแรมของโจทก์โดยพลการ จึงเป็นการกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420