พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,756 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาบังคับคดีสัญญาประกันในคดีอาญา: สิทธิบังคับคดีของผู้ร้องยังคงมีอยู่แม้เกิน 10 ปี
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดีนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ก่อนที่ศาลจะสั่งคำร้องจะต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสียก่อน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 การที่ศาลชั้นต้นไม่ไต่สวนคำร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดีของผู้ร้องจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การทำสัญญาประกันอันเนื่องมาจากศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยมีประกันหรือมีประกันและหลักประกันบัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 112 ส่วนการบังคับในกรณีมีการผิดสัญญาประกันบัญญัติไว้ในมาตรา 119 จึงถือได้ว่า การบังคับตามสัญญาประกันเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาทางอาญาโดยแท้ การพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ที่ทำสัญญาประกันต่อศาลจึงต้องพิจารณาจากบริบทของคดีอาญาเป็นสำคัญโดยในคดีอาญานั้น ผู้ประกันซึ่งทำสัญญาประกันว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลมีหน้าที่จะต้องนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมามอบต่อศาลตามกำหนดหรือตามที่ศาลมีหมายเรียก ซึ่งหากผิดสัญญาก็มิใช่เพียงแต่ก่อให้เกิดความเสียหายภายในวงเงินตามสัญญาประกันเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมทางศาลด้วย และตราบใดที่ผู้ประกันยังไม่ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลก็ต้องถือว่ายังคงผิดสัญญาประกันที่ทำไว้ต่อศาลอยู่ตราบนั้น แต่หากผู้ประกันขวนขวายได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาภายในอายุความทางอาญา ศาลในคดีนั้น ๆ ก็ยังอาจลดค่าปรับลงได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีแม้จะส่งมอบตัวเกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับนายประกันก็ตาม เมื่อผู้ประกันในคดีอาญาต่าง ๆ รวมทั้งผู้ประกันมีสิทธิและหน้าที่ดังเช่นที่กล่าวมา ผู้ร้องจึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งของศาลที่สั่งปรับผู้ประกันได้แม้จะเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน เมื่อผู้ร้องยังคงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ผู้ประกันได้ก็หาจำต้องร้องขอขยายระยะเวลาในการบังคับคดีไม่ กรณีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะขยายระยะเวลาให้แก่ผู้ร้องหรือไม่
การทำสัญญาประกันอันเนื่องมาจากศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยมีประกันหรือมีประกันและหลักประกันบัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 112 ส่วนการบังคับในกรณีมีการผิดสัญญาประกันบัญญัติไว้ในมาตรา 119 จึงถือได้ว่า การบังคับตามสัญญาประกันเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาทางอาญาโดยแท้ การพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ที่ทำสัญญาประกันต่อศาลจึงต้องพิจารณาจากบริบทของคดีอาญาเป็นสำคัญโดยในคดีอาญานั้น ผู้ประกันซึ่งทำสัญญาประกันว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลมีหน้าที่จะต้องนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมามอบต่อศาลตามกำหนดหรือตามที่ศาลมีหมายเรียก ซึ่งหากผิดสัญญาก็มิใช่เพียงแต่ก่อให้เกิดความเสียหายภายในวงเงินตามสัญญาประกันเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมทางศาลด้วย และตราบใดที่ผู้ประกันยังไม่ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลก็ต้องถือว่ายังคงผิดสัญญาประกันที่ทำไว้ต่อศาลอยู่ตราบนั้น แต่หากผู้ประกันขวนขวายได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาภายในอายุความทางอาญา ศาลในคดีนั้น ๆ ก็ยังอาจลดค่าปรับลงได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีแม้จะส่งมอบตัวเกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับนายประกันก็ตาม เมื่อผู้ประกันในคดีอาญาต่าง ๆ รวมทั้งผู้ประกันมีสิทธิและหน้าที่ดังเช่นที่กล่าวมา ผู้ร้องจึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งของศาลที่สั่งปรับผู้ประกันได้แม้จะเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน เมื่อผู้ร้องยังคงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ผู้ประกันได้ก็หาจำต้องร้องขอขยายระยะเวลาในการบังคับคดีไม่ กรณีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะขยายระยะเวลาให้แก่ผู้ร้องหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17522/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคัดค้านคำสั่งบังคับคดีซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.ม.144 หากเป็นประเด็นเดิมที่เคยถูกวินิจฉัยแล้ว
คำร้องของโจทก์ฉบับลงวันที่ 18 มกราคม 2553 ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว เป็นการคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่ดำเนินการยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 4692 ของจำเลยเช่นเดียวกับคำร้องนี้ แม้จะเป็นการคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีคนละคราวกัน แต่ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากโจทก์ยื่นคำแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินแปลงเดียวกันโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่าทรัพย์จำนองไม่เพียงพอชำระหนี้โจทก์ ซึ่งคำร้องฉบับหลังโจทก์อ้างเพียงว่ามีภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นเท่านั้นอันมีผลสืบเนื่องมาจากการที่โจทก์ไม่รีบดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์จำนอง โดยความรับผิดในส่วนดอกเบี้ยของจำเลยนี้มีมาแต่เดิมและมีอยู่แล้วในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 18 มกราคม 2553 คำร้องของโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13553/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาบังคับคดี: นับจากวันคำพิพากษาถึงที่สุด ไม่ใช่วันมีคำพิพากษา
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น หมายถึงวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2543 โจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษา ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 14 มีนาคม 2544 คดีจึงเป็นที่สุดเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของวันสุดท้ายที่โจทก์อาจยื่นอุทธรณ์ได้ คือวันที่ 14 มีนาคม 2544 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง เมื่อโจทก์ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เพิ่มเติมในวันที่ 8 มีนาคม 2554 จึงยังอยู่ภายในสิบปี นับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12164/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ตและการผิดนัดชำระหนี้
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ในข้อที่ 1 มีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 2 ตกลงชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 1,150,000 บาท โดยแบ่งชำระงวดที่ 1 ภายในวันที่ 9 ธันวาคม 2554 เป็นเงิน 600,000 บาท โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร ท. สาขาราษฎร์ยินดี (หาดใหญ่) ของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยที่ 2 กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทินว่า จำเลยที่ 2 จะชำระหนี้งวดแรกภายในวันที่ 9 ธันวาคม 2554 เมื่อการชำระหนี้กระทำโดยจำเลยที่ 2 โอนเงินเข้าบัญชีของโจทก์ในวันดังกล่าวก็ต้องปรากฏยอดเงินที่จำเลยที่ 2 โอนไป จึงจะถือว่าจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตรงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
เงื่อนไขการโอนเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ตกำหนดว่า หากลูกค้าทำรายการภายในเวลา 22 นาฬิกา ของวันทำการ เงินจะถูกโอนเข้าบัญชีผู้รับโอนภายในวันทำรายการที่ 2 ถัดจากวันที่กำหนดโอนเงิน ลูกค้าที่สมัครวิธีโอนเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ตจะต้องรับทราบเงื่อนไขและขั้นตอนการโอนเงินของธนาคาร โดยลูกค้าจะต้องลงลายมือชื่อรับทราบไว้ จำเลยที่ 2 รู้เงื่อนไขของธนาคารว่าเงินที่จำเลยที่ 2 โอนจะเข้าบัญชีของผู้รับโอนเมื่อใด แม้จำเลยที่ 2 จะโอนเงินก่อนวันถึงเวลากำหนดชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความ 1 วัน แต่เงินที่โอนนั้นเข้าบัญชีโจทก์เมื่อพ้นกำหนดเวลาชำระเงินถึง 4 วัน จำเลยที่ 2 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ขอให้ออกหมายบังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้
เงื่อนไขการโอนเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ตกำหนดว่า หากลูกค้าทำรายการภายในเวลา 22 นาฬิกา ของวันทำการ เงินจะถูกโอนเข้าบัญชีผู้รับโอนภายในวันทำรายการที่ 2 ถัดจากวันที่กำหนดโอนเงิน ลูกค้าที่สมัครวิธีโอนเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ตจะต้องรับทราบเงื่อนไขและขั้นตอนการโอนเงินของธนาคาร โดยลูกค้าจะต้องลงลายมือชื่อรับทราบไว้ จำเลยที่ 2 รู้เงื่อนไขของธนาคารว่าเงินที่จำเลยที่ 2 โอนจะเข้าบัญชีของผู้รับโอนเมื่อใด แม้จำเลยที่ 2 จะโอนเงินก่อนวันถึงเวลากำหนดชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความ 1 วัน แต่เงินที่โอนนั้นเข้าบัญชีโจทก์เมื่อพ้นกำหนดเวลาชำระเงินถึง 4 วัน จำเลยที่ 2 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ขอให้ออกหมายบังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งอายัดที่ดินหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด ยังมีผลบังคับใช้เพื่อการบังคับตามคำพิพากษา แม้โจทก์มิได้ร้องขอให้บังคับคดี
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ห้ามจำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมใด ๆ อันเป็นการจำหน่าย จ่าย โอนก่อให้เกิดภาระติดพันซึ่งที่ดินพิพาทและให้เจ้าพนักงานที่ดินระงับการจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินพิพาทไว้จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นนั้น เป็นคำสั่งอันเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวที่ศาลชั้นต้นได้สั่งไว้ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) (3) ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี และคำพิพากษาที่ชี้ขาดตัดสินคดีนั้นมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลได้สั่งไว้ ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) บัญญัติให้คำสั่งของศาลเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลคดีนี้คำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดให้เพิกถอนการจดทะเบียนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ หากไม่สามารถจดทะเบียนโอนได้ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแทน สิทธิของโจทก์ในอันที่จะบังคับตามคำพิพากษาแก่จำเลยทั้งสามย่อมเป็นสิทธิของบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และสิทธิเช่นว่านี้มีลักษณะเป็นทรัพยสิทธิที่ไม่สูญสิ้นไปเพราะเหตุแห่งการไม่ใช้สิทธินั้น แม้โจทก์มิได้ร้องขอให้บังคับคดีจนล่วงพ้นกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ก็ตาม คำสั่งวิธีการชั่วคราวของศาลก็หาได้หมดความจำเป็นแก่โจทก์เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลแต่อย่างใดไม่ จึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ต่อไปเพื่อการบังคับตามคำพิพากษาตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16195/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับคดีจากกองมรดก: โจทก์มีสิทธิบังคับคดีภายใน 10 ปี แม้จำเลยเสียชีวิต ไม่ถือฟ้องคดีมรดก
คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ยึดทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น แต่ได้เงินไม่พอชำระหนี้ และความปรากฏว่าจำเลยถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของจำเลยเพิ่ม จึงเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ดำเนินการบังคับคดีเอาจากกองมรดกของจำเลยตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 271 ซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะดำเนินการดังกล่าวภายในระยะเวลา 10 ปี มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องคดีมรดกซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับแต่เมื่อโจทก์เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ดังที่ผู้ร้องอ้าง ผู้ร้องทั้งสามจึงไม่อาจยกเหตุนี้ขึ้นอ้างเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14804/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรมชลประทานร้องขอบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเขตชลประทาน แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างรุกล้ำเขตชลประทานประเภท 2 ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 มาตรา 23, 37 วรรคหนึ่ง และให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกจากเขตชลประทานชานคลอง 17 มิใช่กรณีที่พนักงานอัยการขอให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43, 44, 50 ผู้ร้องซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาเขตชลประทานชานคลอง จึงมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาได้อีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากที่โจทก์สามารถร้องขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12094/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องยังคงมีผลแม้มีการโอนสิทธิหลังฟ้องคดี ศาลยืนบังคับคดีตามคำพิพากษาเดิม
ขณะที่โจทก์เสนอคำฟ้องต่อศาล โจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่ซึ่งอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยละเมิดสิทธิของโจทก์ แม้ภายหลังฟ้องคดีแล้ว โจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไปแล้ว อำนาจฟ้องของโจทก์ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไป อีกทั้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลผูกพันจำเลยทั้งสี่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง กับไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้สิทธิในการบังคับคดีของโจทก์ต้องระงับสิ้นไป เมื่อจำเลยทั้งสี่ซึ่งแพ้คดีมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษานั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10238/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีต้องมีเหตุตามกฎหมาย การตกลงนอกศาลไม่ผูกพันเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
การร้องขอให้ถอนการบังคับคดีต้องมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 295 แต่ตามคำร้องของจำเลยที่ 6 ซึ่งมีเนื้อหาเป็นทำนองขอให้ศาลชั้นต้นถอนการบังคับคดีนั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 6 ได้อ้างเหตุตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 จำเลยที่ 6 จึงไม่อาจร้องขอให้ถอนการบังคับคดีได้ ส่วนที่จำเลยที่ 6 อ้างว่า ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โจทก์กับจำเลยที่ 6 ได้ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมชำระหนี้ และจำเลยที่ 6 ได้ชำระหนี้ตามบันทึกดังกล่าวให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่อาจมาบังคับคดีแก่จำเลยที่ 6 ได้อีกนั้น เห็นว่า บันทึกข้อตกลงยินยอมชำระหนี้ทำขึ้นนอกศาลโดยศาลมิได้รับรู้ด้วย โจทก์เองก็ยื่นคำคัดค้านว่า บันทึกดังกล่าว ทนายโจทก์คนเดิมทำขึ้นโดยไม่ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ และทนายมีพฤติการณ์ร่วมมือกับฝ่ายจำเลยฉ้อฉลโจทก์ บันทึกดังกล่าวหากสามารถบังคับกันได้ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 6 จะต้องว่ากล่าวแก่โจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่ง กรณีจึงไม่ถือเป็นเหตุตามกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9592/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดี แม้มีการพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของลูกหนี้
เมื่อจำเลยที่ 1 ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายภายหลังจากที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ตามคำขอให้บังคับคดีของโจทก์ในคดีนี้ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยที่ 1 จำนองไว้แก่ผู้ร้องก่อนโจทก์ผู้นำยึดแล้ว การที่โจทก์เจ้าหนี้สามัญผู้นำยึดมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายมีผลเพียงทำให้โจทก์หมดสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ในคดีล้มละลายเท่านั้น มิได้ทำให้การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ที่ดำเนินการมาโดยชอบสิ้นผลไป และการที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันมิได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในคดีล้มละลาย แต่เลือกใช้สิทธิที่จะบังคับแก่หลักประกัน ซึ่งตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 110 วรรคสาม คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีอำนาจบังคับคดีแก่หลักประกันของผู้ร้องต่อไปในคดีนี้ได้ แม้ต่อมาภายหลังศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งปลดจำเลยที่ 1 จากล้มละลาย ก็มิได้ทำให้อำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการบังคับคดีหมดไปไม่ ส่วนเมื่อได้มีการบังคับคดีแก่ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นหลักประกันแล้วจะมีเงินเหลือเป็นประโยชน์แก่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในคดีล้มละลาย เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 มีอยู่ก่อนปลดจากการล้มละลาย ก็เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนเข้ามาในคดีล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 112 กรณีจึงไม่มีเหตุให้เพิกถอนการบังคับคดี