พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8298/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่นำเข้าโดยมิได้เสียภาษีตาม พ.ร.บ.ศุลกากร และการลดค่าปรับ
พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 17 บัญญัติว่า "ของใด ๆ อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 ประกอบด้วยมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)
พุทธศักราช 2482 ท่านให้ริบเสียทั้งสิ้น โดยมิพักต้องคำนึงว่าบุคคลใดจะต้องรับโทษหรือหาไม่" จึงต้องริบรถยนต์ ของกลางตามกฎหมายดังกล่าว ไม่อาจคืนให้แก่จำเลยได้
พุทธศักราช 2482 ท่านให้ริบเสียทั้งสิ้น โดยมิพักต้องคำนึงว่าบุคคลใดจะต้องรับโทษหรือหาไม่" จึงต้องริบรถยนต์ ของกลางตามกฎหมายดังกล่าว ไม่อาจคืนให้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6925/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อภาษีเป็นองค์ประกอบความผิด แม้ พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มิได้บังคับให้ต้องมีเจตนา
บทบัญญัติของมาตรา16แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่9)พ.ศ.2482ซึ่งบัญญัติว่า"การกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตรา27แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช2469นั้นให้ถือว่าเป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือหาไม่"หาได้ลบล้างองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27ที่ว่าจะต้องกระทำ"โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี"ให้สิ้นไปไม่เพราะมาตรา16หมายความถึงแต่เพียงมิให้คำนึงถึงเจตนาแห่งการกระทำเท่านั้นส่วนความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลนั้นยังคงต้องเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27อยู่คำว่า"โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี"ตามความหมายของกฎหมายในขณะนั้นย่อมหมายถึงความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลต่างหากจากเจตนากระทำการจำเลยทั้งสองจะมีความผิดต่อเมื่อข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ว่ามีเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล การที่จำเลยทั้งสองสำแดงในใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการการค้าตามเอกสารที่ผู้ขายส่งมาให้เมื่อเปิดหีบห่อออกตรวจก็พบเห็นได้ชัดเจนว่ามีสินค้าเกินจำนวนซึ่งจำเลยยอมชำระค่าภาษีอากรเพิ่มกับเบี้ยปรับตามคำสั่งของกรมศุลกากรแสดงถึงความสุจริตใจไม่มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงไม่เสียภาษีจำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6925/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อภาษีเป็นองค์ประกอบความผิด แม้มีกฎหมายเฉพาะยกเว้น แต่ต้องพิสูจน์เจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
บทบัญญัติของมาตรา16แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่9)พ.ศ.2482ซึ่งบัญญัติว่า"การกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตรา27แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช2469นั้นให้ถือว่าเป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือหาไม่"หาได้ลบล้างองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27ที่ว่าจะต้องกระทำ"โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี"ให้สิ้นไปไม่เพราะมาตรา16หมายความถึงแต่เพียงมิให้คำนึงถึงเจตนาแห่งการกระทำเท่านั้นส่วนความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลนั้นยังคงต้องเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27อยู่คำว่า"โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี"ตามความหมายของกฎหมายในขณะนั้นย่อมหมายถึงความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลต่างหากจากเจตนากระทำการจำเลยทั้งสองจะมีความผิดต่อเมื่อข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ว่ามีเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล การที่จำเลยทั้งสองสำแดงในใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการการค้าตามเอกสารที่ผู้ขายส่งมาให้เมื่อเปิดหีบห่อออกตรวจก็พบเห็นได้ชัดเจนว่ามีสินค้าเกินจำนวนซึ่งจำเลยยอมชำระค่าภาษีอากรเพิ่มกับเบี้ยปรับตามคำสั่งของกรมศุลกากรแสดงถึงความสุจริตใจไม่มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงไม่เสียภาษีจำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6925/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อภาษี: แม้ยื่นสำแดงไม่ถูกต้อง แต่หากไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี ย่อมไม่มีความผิด
คำว่า"โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"เป็นองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา27ซึ่งบทบัญญัติมาตรา16แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่9)พ.ศ.2482หาได้ลบล้างองค์ประกอบความผิดดังกล่าวให้สิ้นไปไม่เพราะเพียงแต่มิให้คำนึงถึงเจตนาแห่งการกระทำส่วนความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลที่จะฉ้อค่าภาษียังคงเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27อยู่ซึ่งเป็นเจตนาต่างหากจากเจตนากระทำการเมื่อจำเลยไม่มีเจตนาที่จะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลจำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดรถยนต์โดยมิชอบ เจ้าหน้าที่ประมาทเลินเล่อ ละเมิดสิทธิเจ้าของรถ
รถยนต์คันพิพาทเป็นรถยนต์ที่ประกอบดัดแปลงโดยใช้ชิ้นส่วนเก่าภายในประเทศ มิใช่รถยนต์ที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาภายในประเทศหรือมีการลักลอบนำแค้ปของรถยนต์คันพิพาทเข้ามาภายใน ประเทศโดยไม่เสียภาษีจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจที่จะยึดรถคันพิพาทของโจทก์ได้ เมื่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ปฏิบัติงานด้วยความประมาทเลินเล่อในการยึดรถยนต์คันพิพาทอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อภาษีเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร แม้จะมีการระบุประกาศที่ถูกยกเลิก
แม้พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 16บัญญัติให้ถือว่าการกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 และ 99แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ก็ตาม แต่การที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 27 ต้องได้ความว่าจำเลยมีเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 612-613/2511) การที่จำเลยขอชำระอากรขาเข้าสำหรับสินค้าหรือของรายพิพาท โดยระบุว่าอากรปกติในพิกัดดังกล่าวจะต้องเสียอัตราร้อยละ 15 แต่ได้รับลดหย่อนให้เสียในอัตราร้อยละ 10ตามประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.4/2517 แม้ประกาศดังกล่าวนี้จะถูกยกเลิกโดยประกาศกระทรวงการคลัง ที่ศก.6/2519ก็ตาม ข้อความที่ระบุถึงประกาศกระทรวงการคลังที่ถูกยกเลิกดังกล่าวเป็นเพียงข้อผิดพลาดหรือไม่ถูกต้อง มิใช่เป็นข้อความเท็จ แต่กรณีจะเป็นความไม่สมบูรณ์หรือชักพาให้หลงผิดหรือไม่ ไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะเป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612-613/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าสินค้าควบคุม: การได้รับอนุญาตหลังนำเข้าไม่เป็นความผิด หากไม่มีเจตนาฉ้อภาษี
จำเลยสั่งซื้อกาแฟจากต่างประเทศก่อนมีประกาศควบคุม ภายหลังมีประกาศควบคุม จำเลยได้ยื่นคำขอและได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายแล้ว จำเลยย่อมไม่มีความผิด
แม้พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 16 ซึ่งบัญญัติเป็นความผิดโดยมิต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือไม่ก็ตาม แต่จำเลยจะต้องมีเจตนาฉ้อภาษีอยู่ด้วย จึงจะผิดตามนัยฎีกาที่ 942/2503
แม้พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 16 ซึ่งบัญญัติเป็นความผิดโดยมิต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือไม่ก็ตาม แต่จำเลยจะต้องมีเจตนาฉ้อภาษีอยู่ด้วย จึงจะผิดตามนัยฎีกาที่ 942/2503
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักลอบนำเข้าสลากและสินค้า, การริบทรัพย์, และข้อยกเว้นการริบเมื่อเจ้าของไม่มีส่วนรู้เห็น
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยได้ลักลอบนำสลากกินแบ่งของสหพันธ์รัฐมลายาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยวิธีซ่อนเร้น ด้วยการละเว้นไม่ผ่านศุลกากรให้ถูกต้อง นั้น ชัดเจนพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงรายละเอียดว่าการผ่านศุลกากรโดยถูกต้องจะต้องทำอย่างไรก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 เป็นบทบังคับให้ผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักร แม้จะเป็นของที่ไม่ต้องเสียอากร ก็ต้องผ่านศุลกากรโดยถูกต้องก่อน
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2480 มาตรา 11 นั้น เป็นบทลงโทษผู้ทำการขนส่งฝ่าฝืนมาตรา 7 และ 8 จะนำมาปรับแก่กรณีผู้ลักลอบนำของเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ได้
เมื่อจำเลยใช้รถยนต์ของกลางลักลอบขนของซ่อนเร้นเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นความผิดแล้ว แม้ของจะมากน้อยเท่าใดก็ได้ชื่อว่าจำเลยใช้รถยนต์ของกลางกระทำผิดด้วยแล้ว
พระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 ที่บัญญัติให้ริบทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นของบุคคลใดและเจ้าของจะได้รู้เห็นในการกระทำผิดด้วยหรือไม่ นั้นขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเป็นโมฆะ
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 เป็นบทบังคับให้ผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักร แม้จะเป็นของที่ไม่ต้องเสียอากร ก็ต้องผ่านศุลกากรโดยถูกต้องก่อน
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2480 มาตรา 11 นั้น เป็นบทลงโทษผู้ทำการขนส่งฝ่าฝืนมาตรา 7 และ 8 จะนำมาปรับแก่กรณีผู้ลักลอบนำของเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ได้
เมื่อจำเลยใช้รถยนต์ของกลางลักลอบขนของซ่อนเร้นเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นความผิดแล้ว แม้ของจะมากน้อยเท่าใดก็ได้ชื่อว่าจำเลยใช้รถยนต์ของกลางกระทำผิดด้วยแล้ว
พระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 ที่บัญญัติให้ริบทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นของบุคคลใดและเจ้าของจะได้รู้เห็นในการกระทำผิดด้วยหรือไม่ นั้นขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักลอบนำเข้าสินค้าหลีกเลี่ยงภาษี จำเลยต้องพิสูจน์ความบริสุทธิ์ หากพิสูจน์ไม่ได้ถือว่ามีความผิด
ในการฟ้องร้องเกี่ยวด้วยของซึ่งต้องยึดเพราะไม่เสียภาษีหรือเพราะเหตุพึงริบโดยประการอื่นก็ดีหรือยึดเพื่อเอาค่าปรับก็ดีนั้น พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 100 บัญญัติให้หน้าที่พิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลย ถ้ามีข้อโต้เถียงเกิดขึ้นว่าค่าภาษีสำหรับของนั้นๆ ได้ส่งชำระถูกต้องแล้วหรือหาไม่ หรือว่าของนั้น ๆ ได้นำเข้ามา ๆ ได้ย้ายขนไป ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายหรือหาไม่ ถ้าจำเลยพิสูจน์ความบริสุทธิ์ไม่ได้ จำเลยย่อมมีความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักลอบนำเข้าสินค้าหลีกเลี่ยงภาษี จำเลยต้องพิสูจน์ความบริสุทธิ์ หากพิสูจน์ไม่ได้ถือว่ามีความผิด
ในการฟ้องร้องเกี่ยวด้วยของซึ่งต้องยึดเพราะไม่เสียภาษีหรือเพราะเหตุริบโดยประการอื่นก็ดีหรือยึดเพื่อเอาค่าปรับก็ดีนั้น พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 100 บัญญัติให้หน้าที่พิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลยถ้ามีข้อโต้เถียงเกิดขึ้นว่าค่าภาษีสำหรับของนั้นๆได้ส่งชำระถูกต้องแล้วหรือหาไม่หรือว่าของนั้นๆได้นำเข้ามาฯ ได้ย้ายขนไปฯ โดยชอบด้วยกฎหมายหรือหาไม่ถ้าจำเลยพิสูจน์ความบริสุทธิ์ไม่ได้ จำเลยย่อมมีความผิด