คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 465

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5848/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอาคารชุด: การกำหนดพื้นที่และค่าใช้จ่ายส่วนกลางยึดตามสัญญาและข้อบังคับนิติบุคคล
ตารางราคาที่ตัวแทนของจำเลยนำออกเผยแพร่ในชั้นโฆษณาจำหน่ายห้องชุดคิดราคาห้องชุดในอัตราหนึ่ง แต่ตามสัญญาจะซื้อจะขายอาคารชุดมีข้อความระบุว่า"ข้อความในเอกสารหรือคำโฆษณาอื่นใดที่มีมาก่อนการทำสัญญานี้ย่อมไม่ผูกพันผู้จะขายคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้ยึดถือข้อความและเอกสารตามสัญญานี้เป็นข้อปฏิบัติต่อกันทุกประการ" แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามีเจตนาจะซื้อจะขายกันตามแบบแปลนเอกสารแนบท้ายสัญญาเป็นสำคัญ ดังนั้น หากจำเลยก่อสร้างห้องชุดมีลักษณะและขนาดกว้างยาวเท่ากับที่ระบุไว้ในแบบแปลนท้ายสัญญาแล้วจะถือว่าจำเลยไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้ แม้พื้นที่ของห้องชุดจะมากกว่าหรือน้อยกว่าตามที่ระบุไว้ในสัญญา โจทก์หรือจำเลยก็ไม่มีสิทธิคิดเงินเพิ่มขึ้นหรือลดลง
เจ้าของร่วมจะต้องชำระเงินกองทุนสำรองส่วนกลางและค่าใช้จ่ายส่วนกลางจำนวนเท่าใดนั้น ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดนั้น ๆ ตามพระราชบัญญัติอาคารชุดฯ มาตรา 18,32(4)(10) และมาตรา 40 เมื่อข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 5 ระบุให้เรียกเก็บเงินกองทุนและค่าใช้จ่ายส่วนกลางต่อเดือนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมคนหนึ่งจึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รั้วรุกล้ำที่ดิน: สิทธิเรียกร้องจำกัดเฉพาะเจ้าของที่ดิน ผู้รับโอนสิทธิยังไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ขณะที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างรั้วพิพาท จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 172539 พร้อมบ้านเลขที่ 123/79 และรั้วพิพาทจากจำเลยที่ 2 ไว้แล้ว และขณะนั้นโจทก์ยังไม่ได้ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 86786 จากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 86786 อยู่ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างรั้วพิพาทลงในที่ดินที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขาย แม้จะรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดเลขที่ 86786 ก็เป็นการโต้แย้งกันระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะว่ากล่าวแก่กัน การสร้างรั้วพิพาทของจำเลยที่ 1หาได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้กระทำละเมิดหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างขึ้นมาลอย ๆ ว่าจำเลยที่ 2 มีสิทธิฟ้องเรียกร้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รื้อรั้วพิพาทหรือใช้ราคาที่ดินได้ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการที่จำเลยที่ 1 สร้างรั้วพิพาทรุกล้ำที่ดินของจำเลยที่ 2 ที่โจทก์ได้รับโอนมา จำเลยที่ 1 ได้กระทำโดยผิดกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 2 หรือเป็นการโต้แย้งสิทธิจำเลยที่ 2 อันจะก่อให้เกิดสิทธิฟ้องร้อง แต่เป็นเรื่องที่โจทก์คาดการณ์ขึ้นเอง โจทก์จึงอ้างสิทธิการรับโอนสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มาเป็นเหตุฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดฐานละเมิดหาได้ไม่
การที่จำเลยที่ 1 สร้างรั้วพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยที่ 2 โดยมิได้กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในขณะที่จำเลยที่ 1 สร้างรั้วพิพาทรุกล้ำเข้ามา จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจจะเป็นผู้กระทำละเมิดเกี่ยวกับการสร้างรั้วพิพาทรุกล้ำดังกล่าวต่อผู้อื่นใดรวมทั้งโจทก์ได้ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 รับโอนรั้วพิพาทจากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงไม่มีหน้าที่หรือความรับผิดใด ๆ ที่รับโอนมาเพื่อรับผิดต่อโจทก์
ป.วิ.พ. มาตรา 240 บัญญัติให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมาเป็นสำคัญก่อน แล้วจึงพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนจึงจะวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินได้ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายยกแปลงหรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกันตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญา ไม่ใช่เป็นการขายยกแปลงโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่86786 กับโจทก์ตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญา การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดพิพาทเป็นการขายยกแปลงกัน จึงเป็นการวินิจฉัยไม่ตรงประเด็น ขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 240 และเมื่อตามสัญญาซื้อขายระบุว่าซื้อขายที่ดินโฉนดพิพาทซึ่งระบุเนื้อที่ไว้จำนวน 15 ตารางวา แต่ปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวถูกรั้วพิพาทรุกล้ำเข้าไปถึง 6 ตารางวา เกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกัน จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในส่วนที่ส่งมอบที่ดินขาดตกบกพร่องนั้นต่อโจทก์ ตามราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามเนื้อที่ที่ส่งมอบขาดไปเท่านั้นแต่เมื่อโจทก์ยังมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบขาดไปดังกล่าวโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าที่ดินตามราคาที่โจทก์กำหนดในส่วนที่มิได้เป็นของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยไม่ครบถ้วน การรับผิดในส่วนที่ขาด และการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกี่ยวข้อง
ขณะที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างรั้วพิพาท จำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 172539 พร้อมบ้านเลขที่ 123/79 และรั้วพิพาทจากจำเลยที่ 2 ไว้แล้วและขณะนั้นโจทก์ยังไม่ได้ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 86786จากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 86786 อยู่ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างรั้วพิพาทลงในที่ดินที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิตาม สัญญาจะซื้อจะขาย แม้จะรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดเลขที่ 86786ก็เป็นการโต้แย้งกันระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2จะว่ากล่าวแก่กัน การสร้างรั้วพิพาทของจำเลยที่ 1หาได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ไม่จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้กระทำละเมิดหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างขึ้นมาลอย ๆ ว่าจำเลยที่ 2 มีสิทธิฟ้อง เรียกร้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รื้อรั้วพิพาทหรือใช้ราคาที่ดินได้ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการที่จำเลยที่ 1 สร้างรั้ว พิพาทรุกล้ำที่ดินของจำเลยที่ 2 ที่โจทก์ได้รับโอนมาจำเลยที่ 1 ได้กระทำโดยผิดกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 2 หรือเป็นการโต้แย้งสิทธิจำเลยที่ 2 อันจะก่อให้เกิดสิทธิฟ้องร้องแต่เป็นเรื่องที่โจทก์คาดการณ์ขึ้นเอง โจทก์จึงอ้างสิทธิการรับโอนสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มาเป็นเหตุฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดฐานละเมิดหาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 1 สร้างรั้วพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยที่ 2 โดยมิได้กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในขณะทีจำเลยที่ 1 สร้างรั้วพิพาทรุกล้ำเข้ามา จำเลยที่ 2จึงไม่อาจจะเป็นผู้กระทำละเมิดเกี่ยวกับการสร้างรั้วพิพาทรุกล้ำดังกล่าวต่อผู้อื่นใดรวมทั้งโจทก์ได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3รับโอนรั้วพิพาทจากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงไม่มีหน้าที่หรือความรับผิดใด ๆ ที่รับโอนมาเพื่อรับผิดต่อโจทก์ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 บัญญัติให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมาเป็นสำคัญก่อน แล้วจึงพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนจึงจะวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินได้ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายยกแปลงหรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกันตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญา ไม่ใช่เป็นการขายยกแปลงโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 86786 กับโจทก์ตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญาการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดพิพาทเป็นการขายยกแปลงกัน จึงเป็นการวินิจฉัยไม่ตรงประเด็น ขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 และเมื่อตามสัญญาซื้อขายระบุว่าซื้อขายที่ดินโฉนดพิพาทซึ่งระบุเนื้อที่ไว้จำนวน 15 ตารางวา แต่ปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวถูกรั้วพิพาทรุกล้ำเข้าไปถึง 6 ตารางวาเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกัน จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดในส่วนที่ส่งมอบที่ดินขาดตกบกพร่องนั้นต่อโจทก์ ตามราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามเนื้อที่ที่ส่งมอบขาดไปเท่านั้นแต่เมื่อโจทก์ยังมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบขาดไปดังกล่าวโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าที่ดินตามราคาที่โจทก์กำหนดในส่วนที่มิได้เป็นของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้างแม้ผู้โดยสารไม่มีค่าโดยสาร และความรับผิดต่อทรัพย์สินที่สูญหาย
คนขับรถใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถแทนคนขับมีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบไม่ให้เกิดเหตุร้ายขึ้น เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทจนเป็นเหตุให้รถคว่ำและบุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย คนขับจะต้องรับผิดในการละเมิดที่เกิดขึ้น เหตุที่เกิดการละเมิดนี้อยู่ในกรอบกิจการที่จ้าง นายจ้างจะต้องร่วมรับผิดด้วยแม้คนตายจะโดยสารรถโดยไม่ได้ชำระค่าโดยสาร ก็ไม่เป็นเหตุให้นายจ้างพ้นความรับผิด เมื่อทรัพย์สินของผู้ตายสูญหายไปซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการที่ลูกจ้างทำละเมิดนายจ้างจะต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ซื้อผิดนัดรับซื้อยางพาราสัญญาเดิมยัง binding ไม่ต้องทำหนังสือแก้ไขสัญญา
ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อยางพารารับเบอร์กำหนดให้ผู้ขายส่งภายในกำหนด ถึงกำหนดแล้วผู้ซื้อไม่รับ ดังนี้เป็นกรณีเรื่องผู้ซื้อผิดนัด ไม่ใช่เรื่องสัญญาเดิมถูกแก้ไขและการขอให้ปฏิบัติตามสัญญาของผู้ขายก็ไม่ต้องทำเป็นหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ซื้อผิดนัดรับซื้อยางพาราสัญญา ไม่ถือเป็นการแก้ไขสัญญา ไม่ต้องทำเป็นหนังสือ
ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อยางพารารับเบอร์กำหนดให้ผู้ขายส่งภายในกำหนด ถึงกำหนดแล้วผู้ซื้อไม่รับ ดังนี้เป็นกรณีเรื่องผู้ซื้อผิดนัด ไม่ใช่เรื่องสัญญาเดิมถูกแก้ไขและการขอให้ปฏิบัติตามสัญญาของผู้ขายก็ไม่ต้องทำเป็นหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ซื้อผิดนัดซื้อขายยางพาราสัญญาเดิมยัง binding ไม่ต้องแก้ไขสัญญาเป็นหนังสือ
ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อยางพารารับเบอร์กำหนดให้ผู้ขายส่งภายในกำหนด ถึงกำหนดแล้วผู้ซื้อไม่รับ ดังนี้เป็นกรณีเรื่องผู้ซื้อผิดนัด ไม่ใช่เรื่องสัญญาเดิมถูกแก้ไข และการขอให้ปฏิบัติตามสัญญาของผู้ขายไม่ต้องทำเป็นหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมซื้อขายที่ดิน: สิทธิของเด็กและเจตนาซื้อขายทั้งแปลง
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมกันในศาลว่า จำเลยยอมซื้อที่ดินพิพาททั้งแปลงเป็นเงิน 23,000 บาท ต่อมาฝ่ายโจทก์ยืนคำร้องต่อศาลว่า ที่พิพาทมีชื่อบุตรโจทก์เป็นเจ้าของอยู่ด้วย ขอให้ศาลสั่งว่าสัญญาประนีประนอมดังกล่าวไม่ผูกพันทรัพย์ส่วนของบุตร ศาลไต่สวนแล้วสั่งว่าสัญญาประนีประนอมระหว่างโจทก์จำเลย ไม่ผูกพันส่วนของเด็ก ฝ่ายจำเลยจึงขอชำระราคาที่ดินเพียง 11,500 บาทครึ่งราคาทั้งหมดดังนี้ ฝ่ายโจทก์จะให้จำเลยชำระราคาที่ดินเต็ม 23,000 บาท ย่อมไม่ได้ เพราะตนยอมขายที่ดินให้จำเลยเพียงครึ่งเดียว ซึ่งฝ่ายจำเลยจะไม่ซื้อเสียทั้งหมดก็ย่อมทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของสัญญาประนีประนอมต่อสิทธิในทรัพย์สินของบุตร: สัญญาไม่ผูกพันส่วนของบุตร ทำให้จำเลยมีสิทธิชำระราคาเฉพาะส่วนของโจทก์
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมกันในศาลว่าจำเลยยอมซื้อที่ดินพิพาททั้งแปลงเป็นเงิน 23,000 บาท ต่อมาฝ่ายโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลว่าที่พิพาทมีชื่อบุตรโจทก์เป็นเจ้าของอยู่ด้วย ขอให้ศาลสั่งว่าสัญญาประนีประนอมดังกล่าวไม่ผูกพันทรัพย์ส่วนของบุตร ศาลไต่สวนแล้วสั่งว่าสัญญาประนีประนอมระหว่างโจทก์จำเลย ไม่ผูกพันส่วนของเด็ก ฝ่ายจำเลยจึงขอชำระราคาที่ดินเพียง 11,500 บาทครึ่งราคาทั้งหมด ดังนี้ ฝ่ายโจทก์จะให้จำเลยชำระราคาที่ดินเต็ม 23,000 บาท ย่อมไม่ได้เพราะตนยอมขายที่ดินให้จำเลยเพียงครึ่งเดียว ซึ่งฝ่ายจำเลยจะไม่ซื้อเสียทั้งหมดก็ย่อมทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน: โอนทั้งหมดและชำระราคาเพิ่ม
ในเรื่องผิดสัญญาขายที่ดิน ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินตามโฉนดที่ระบุไว้ให้โจทก์ในราคาไร่ละ 200 บาทรวม 7600 บาทซึ่งคิดจากจำนวน 38 ไร่ เมื่อปรากฏว่าที่มีจำนวนเกิน 38 ไร่ จำเลยก็ต้องโอนให้โจทก์ทั้งหมด และโจทก์ต้องชำระราคาในที่ดินที่เพิ่มขึ้นนั้นด้วย
of 2