คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 107

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์และการเช่า การละเมิดสิทธิและผลของการทำสัญญาเช่า
โจทก์ร่วมทำสัญญาให้บริษัท ว. ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินของโจทก์ร่วม โดยตกลงให้อาคารตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมบริษัทว. หรือบริษัทผู้รับช่วงจากบริษัท ว. ได้สิทธิเรียกร้องเงินกินเปล่าจากผู้เช่าและนำผู้เช่ามาทำสัญญากับโจทก์ร่วม บริษัท ว. ให้บริษัท ส. รับช่วงก่อสร้างอาคารดังกล่าวไป บริษัท ส. ได้ก่อสร้างอาคารพิพาทนี้แล้วบริษัท ว. และบริษัท ส. ได้ตกลงให้ ม. เช่าและนำ ม. ไปทำสัญญาเช่ากับโจทก์ร่วมต่อมา ม. โอนสิทธิการเช่าให้โจทก์โดยโจทก์ร่วมอนุญาตและทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว ดังนี้ แม้จำเลยจะได้ออกเงินค่าก่อสร้างอาคารพิพาทให้แก่บริษัท ส. และบริษัท ส. ตกลงจะให้จำเลยเช่าอาคารพิพาททั้งจำเลยได้เข้าอยู่อาศัยในอาคารพิพาทก่อนที่โจทก์จะทำสัญญาเช่ากับโจทก์ร่วมก็ตามแต่เมื่อโจทก์ร่วมไม่ทราบถึงข้อตกลงระหว่างบริษัท ส.กับจำเลยและบริษัท ส. ไม่ได้นำจำเลยไปทำสัญญาเช่ากับโจทก์ร่วมข้อตกลงระหว่างจำเลยกับบริษัท ส. คงผูกพันเฉพาะจำเลยกับบริษัท ส. เท่านั้น ไม่ผูกพันโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โจทก์ร่วมจึงไม่มีหน้าที่ให้จำเลยเช่าอาคารพิพาท
อาคารพิพาทปลูกในที่ดินของโจทก์ร่วม เมื่อตกลงกันว่าให้อาคารที่ก่อสร้างขึ้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม จึงเป็นส่วนควบของที่ดินของโจทก์ร่วมและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทันที โดยไม่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทให้โจทก์ร่วมอีก
การที่จำเลยได้เข้าอยู่ในอาคารพิพาทอันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมโดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่นั้น เป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทเมื่อโจทก์ร่วมไม่ได้ฟ้องขับไล่จำเลย ทำให้โจทก์ผู้เช่าตึกพิพาทจากโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายเพราะเข้าอยู่ในอาคารพิพาทไม่ได้ โจทก์ชอบที่จะฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกพิพาท และขอให้ศาลเรียกผู้ให้เช่าเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477 ประกอบด้วยมาตรา 549แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะตกลงกันว่าโจทก์ร่วมไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิ และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ร่วมขจัดปัดเป่าการรอนสิทธิตามมาตรา483 ประกอบด้วยมาตรา 549 ก็ตาม แต่การที่โจทก์ขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ ไม่ใช่เป็นการฟ้องขอให้โจทก์ร่วมรับผิดในการรอนสิทธิทั้งโจทก์ร่วมก็ยินยอมเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีโจทก์ย่อมมีสิทธิดำเนินคดีในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่จำเลยเข้าอยู่ในอาคารพิพาทโดยมิได้เช่าจากโจทก์ร่วมและเข้าอยู่โดยไม่มีสิทธิอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วมโจทก์และโจทก์ร่วมย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวให้จำเลยออกจากอาคารพิพาทก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงรับค่าชดเชยแทนการรื้อถอนอาคาร ทำให้กรรมสิทธิ์ในอาคารตกเป็นของผู้ขายที่ดิน
เดิมจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยอ้างว่าโจทก์ก่อสร้างตึกแถวลงในบริเวณที่ดินโฉนดที่ 918 ของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตขอให้โจทก์รื้อตึกแถวออกจากโฉนดที่ 918 ในที่สุดโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ยอมรื้อตึกแถวพิพาทให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ศาลพิพากษาตามยอม เมื่อครบกำหนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์ยังไม่รื้อตึกแถวออกไป จำเลยที่ 1 ก็ขายที่ดินพร้อมตึกแถวรายพิพาทให้จำเลยที่ 2 ไปโจทก์จึงฟ้องคดีนี้หาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 สมคบกันละเมิดต่อโจทก์ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ทางพิจารณาปรากฏว่าก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์ได้ตกลงยอมรับเงิน 20,000 บาท จากจำเลยที่ 1 เป็นค่าอิฐหักกากปูนแทนการรื้อถอนตึกพิพาทดังนี้ตึกพิพาทย่อมตกเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าวและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ด้วยจำเลยที่ 1 จึงย่อมนำตึกพิพาทไปโอนขายให้จำเลยที่ 2 ได้จำเลยทั้งสองหาได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับค่าชดเชยแทนการรื้อถอนอาคาร ทำให้กรรมสิทธิ์ในอาคารตกเป็นของเจ้าของที่ดิน
เดิมจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยอ้างว่าโจทก์ก่อสร้างตึกแถวลงในบริเวณที่ดินโฉนดที่ 918 ของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตขอให้โจทก์รื้อตึกแถวออกจากโฉนดที่ 918 ในที่สุดโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ยอมรื้อตึกแถวพิพาทให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ศาลพิพากษาตามยอม เมื่อครบกำหนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์ยังไม่รื้อตึกแถวออกไป จำเลยที่ 1 ก็ขายที่ดิน พร้อมตึกแถวรายพิพาทให้จำเลยที่ 2 ไป โจทก์จึงฟ้องคดีนี้หาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 สมคบกันละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายทางพิจารณาปรากฏว่าก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์ได้ตกลงยอมรับเงิน 20,000 บาทจากจำเลยที่ 1 เป็นค่าอิฐหักกากปูนแทนการรื้อถอนตึกพิพาท ดังนี้ตึกพิพาทย่อมตกเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว และตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงย่อมนำตึกพิพาทไปโอนขายให้จำเลยที่ 2 ได้ จำเลยทั้งสองหาได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในเรือนพิพาทที่ปลูกบนที่ดินของผู้อื่น แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ยินยอมให้ใช้ที่ดินถือเป็นเจ้าของร่วม
ผู้ร้องกับจำเลยเป็นสามีภริยากัน โดยมิได้จดทะเบียนสมรสทำมาหาเลี้ยงชีพร่วมกันจำเลยกับผู้ร้องได้ร่วมกันปลูกเรือนพิพาทในที่ดินของผู้ร้อง พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าผู้ร้องยินยอมให้ใช้ที่ดินของผู้ร้องปลูกเรือนพิพาทใช้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยกับผู้ร้องร่วมกัน จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามที่ผู้ร้องยินยอม กรณีเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 109 ไม่ถือว่าเรือนพิพาทเป็นทรัพย์ส่วนควบกับที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องแต่ผู้เดียว หากแต่ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยกับผู้ร้องร่วมกัน
เมื่อจำเลยเป็นเจ้าของร่วมในเรือนพิพาท ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยจากการยึดทรัพย์ คงมีแต่สิทธิขอกันส่วนของตนออกมิให้ถูกบังคับชำระหนี้ให้โจทก์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในเรือนที่ปลูกบนที่ดินของผู้อื่น แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ยินยอมให้ใช้ที่ดินถือเป็นเจ้าของร่วม
ผู้ร้องกับจำเลยเป็นสามีภริยากัน โดยมิได้จดทะเบียนสมรสทำมาหาเลี้ยงชีพร่วมกันจำเลยกับผู้ร้องได้ร่วมกันปลูกเรือนพิพาทในที่ดินของผู้ร้อง พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าผู้ร้องยินยอมให้ใช้ที่ดินของผู้ร้องปลูกเรือนพิพาทใช้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยกับผู้ร้องร่วมกันจำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามที่ผู้ร้องยินยอม กรณีเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 109 ไม่ถือว่าเรือนพิพาทเป็นทรัพย์ส่วนควบกับที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องแต่ผู้เดียว หากแต่ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยกับผู้ร้องร่วมกัน
เมื่อจำเลยเป็นเจ้าของร่วมในเรือนพิพาท ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยจากการยึดทรัพย์ คงมีแต่สิทธิขอกันส่วนของตนออกมิให้ถูกบังคับชำระหนี้ให้โจทก์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินช่วงสัญญาจะซื้อขาย & สิทธิในสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน การเพิกถอนนิติกรรม
จำเลยที่ 1 อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นพี่ ยอมให้จำเลยที่ 3 ดำเนินการให้มีการก่อสร้างตึกแถวขึ้นในที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 3 ได้ตกลงให้ผู้รับเหมาลงทุนก่อสร้างตึกแถวในที่ดินนั้นและให้ผู้รับเหมาเรียกเงินกินเปล่าจากผู้เช่าโดยตึกที่ก่อสร้างตกเป็นของเจ้าของที่ดิน แม้จำเลยที่ 3 จะได้รับประโยชน์ค่าหน้าดินและค่าเช่าเสียทั้งหมด ก็จะถือว่าจำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของที่ดินได้ก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 โดยให้จำเลยที่ 3 มีสิทธิเป็นเจ้าของตึกที่ก่อสร้างขึ้นหาได้ไม่ ตึกนั้นเป็นส่วนควบของที่ดินของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ไปทำสัญญาจะขายที่ดินของตนให้แก่โจทก์ระหว่างที่สัญญายังมีผลบังคับอยู่ จำเลยที่ 1 กลับโอนแบ่งที่ดินนั้นครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลยที่ 2, 3 โดยเสน่หา การกระทำเช่นนี้ย่อมจะทำให้โจทก์ซึ่งจะได้รับผลตามสัญญาจะซื้อขายต้องเสียเปรียบ แม้จำเลยที่ 3, 4 ผู้รับโอนมิได้รู้ถึงความจริงนี้แต่เมื่อเป็นการโอนให้โดยเสน่หา เพียงแต่จำเลยที่ 1 รู้ฝ่ายเดียวโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยเสน่หาทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และความเป็นส่วนควบของสิ่งปลูกสร้าง
จำเลยที่ 1 อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นพี่ ยอมให้จำเลยที่ 3 ดำเนินการให้มีการก่อสร้างตึกแถวขึ้นในที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 3 ได้ตกลงให้ผู้รับเหมาลงทุนก่อสร้างตึกแถวในที่ดินนั้นและให้ผู้รับเหมาเรียกเงินกินเปล่าจากผู้เช่าโดยตึกที่ก่อสร้างตกเป็นของเจ้าของที่ดิน แม้จำเลยที่ 3 จะได้รับประโยชน์ค่าหน้าดินและค่าเช่าเสียทั้งหมด ก็จะถือว่าจำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของที่ดินได้ก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 โดยให้จำเลยที่ 3 มีสิทธิเป็นเจ้าของตึกที่ก่อสร้างขึ้นหาได้ไม่ ตึกนั้นเป็นส่วนควบของที่ดินของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ไปทำสัญญาจะขายที่ดินของตนให้แก่โจทก์ระหว่างที่สัญญายังมีผลบังคับอยู่ จำเลยที่ 1กลับโอนแบ่งที่ดินนั้นครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลยที่ 2, 3 โดยเสน่หาการกระทำเช่นนี้ย่อมจะทำให้โจทก์ซึ่งจะได้รับผลตามสัญญาจะซื้อขายต้องเสียเปรียบ แม้จำเลยที่ 3, 4 ผู้รับโอนมิได้รู้ถึงความจริงนี้ แต่เมื่อเป็นการโอนให้โดยเสน่หา เพียงแต่จำเลยที่ 1 รู้ฝ่ายเดียวโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินก่อนจดทะเบียน และเรือนที่ไม่เป็นส่วนควบในคดีล้มละลาย
ผู้ร้องซื้อที่ดินจากจำเลยและได้ใช้สิทธิครอบครองที่ดินตลอดมาตั้งแต่ซื้อและปลูกเรือนลงในที่ดินนั้น แต่จำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิที่ดินให้ผู้ร้อง ต่อมาจำเลยถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดที่ดินแปลงนี้ ก็จะยึดเรือนของผู้ร้องด้วยไม่ได้ เพราะกรณีเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 ซึ่งไม่ถือว่าเรือนของผู้ร้องเป็นส่วนควบของที่ดินจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์เรือนบนที่ดินที่ยังไม่ได้จดทะเบียน: กรณีข้อยกเว้นส่วนควบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ผู้ร้องซื้อที่ดินจากจำเลยและได้ใช้สิทธิครอบครองที่ดินตลอดมาตั้งแต่ซื้อ และปลูกเรือนลงในที่ดินนั้น แต่จำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิที่ดินให้ผู้ร้อง ต่อมาจำเลยถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดที่ดินแปลงนี้ ก็จะยึดเรือนของผู้ร้องด้วยไม่ได้ เพราะกรณีเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 ซึ่งไม่ถือว่าเรือนของผู้ร้องเป็นส่วนควบของที่ดินจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งที่ดินมรดก เจ้าของร่วม และการหักชดใช้ค่าสิ่งปลูกสร้างที่สุจริต
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินจากจำเลยในฐานะเจ้าของร่วมแต่ได้ความว่า ในที่พิพาทมีเรือนของโจทก์ปลูกไว้โดยสุจริตหนึ่งหลัง ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งที่พิพาทให้โจทก์การที่สั่งไว้ในคำพิพากษาด้วยว่า ถ้าตกลงแบ่งกันไม่ได้ ให้ประมูลราคากันระหว่างคู่ความ มิฉะนั้นก็ให้ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกัน และการประมูลราคากันหรือขายทอดตลาดนี้ ให้รวมทั้งเรือนนั้นด้วย เงินที่ได้ให้จัดสรรชำระค่าเรือนแก่โจทก์ก่อนนำไปแบ่งกัน นั้น ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น เพราะที่ดินตามฟ้องย่อมหมายถึงส่วนควบ-ด้วย และการที่โจทก์ได้ปลูกเรือนนี้ในที่พิพาท ก็เป็นการใช้ทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 วรรคแรก
of 16