คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 107

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินร่วม (ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) โดยการประมูลหรือขายทอดตลาด และการหักชำระค่าสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินจากจำเลยในฐานะเจ้าของร่วมแต่ได้ความว่าในที่พิพาทมีเรือนของโจทก์ปลูกไว้โดยสุจริตหนึ่งหลัง ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งที่พิพาทให้โจทก์การที่สั่งไว้ในคำพิพากษาด้วยว่าถ้าตกลงแบ่งกันไม่ได้ ให้ประมูลราคากันระหว่างคู่ความ มิฉะนั้นก็ให้ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกัน และการประมูลราคากันหรือขายทอดตลาดนี้ให้รวมทั้งเรือนนั้นด้วย เงินที่ได้ให้จัดสรรชำระค่าเรือนแก่โจทก์ก่อนนำไปแบ่งกัน นั้น ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น เพราะที่ดินตามฟ้องย่อมหมายถึงส่วนควบด้วย และการที่โจทก์ได้ปลูกเรือนนี้ในที่พิพาท ก็เป็นการใช้ทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความครอบครองปรปักษ์และการสิ้นสุดฐานะผู้จัดการมรดก ทำให้สิทธิเรียกร้องคืนทรัพย์สินหมดไป
โจทก์กับ ส.สามีจำเลยเป็นบุตรของ ย. เมื่อ ย. ตายแล้ว ส. ได้เป็นผู้จัดการมรดกอันมีที่ดินมือเปล่า 1 แปลงกับเรือนในที่ดิน 1 หลัง ต่อมาได้มีการรื้อเรือนปลูกใหม่แทนหลังเดิมและปลูกห้องแถวขึ้นเก็บค่าเช่า ส. ตายไปโดยยังมิได้แบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ ฐานะของ ส. ในการเป็นผู้จัดการมรดกของ ย. ย่อมสิ้นสุดลง
ก่อนตาย ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินเรือนและห้องแถวนั้นให้จำเลยกับบุตร จำเลยร้องขอให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ไม่มีผู้ใดคัดค้าน จำเลยก็ครอบครองทรัยพ์สินเหล่านั้นมาโดยถือว่าเป็นทรัพย์สินที่จำเลยรับมรดกจาก ส. และขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ดังนี้จะถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยครอบครองมาเป็นเวลาถึง 5 ปีกว่าแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินนั้น และเมื่อโจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์ประธานเสียแล้ว เรือนกับห้องแถวหากปลูกอยู่ในที่ดินนั้น ตลอดจนค่าเช่าห้องแถวอันเป็นทรัพย์ส่วนควบและดอกผลของที่ดิน จึงตกเป็นของจำเลยไปด้วย โจทก์ย่อยหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการสิ้นสุดฐานะผู้จัดการมรดก ทำให้สิทธิเรียกร้องคืนทรัพย์สินหมดอายุ
โจทก์กับ ส. สามีจำเลยเป็นบุตรของ ย. เมื่อ ย. ตายแล้ว ส. ได้เป็นผู้จัดการมรดกอันมีที่ดินมือเปล่า 1 แปลงกับเรือนในที่ดิน 1 หลัง ต่อมาได้มีการรื้อเรือนปลูกใหม่แทนหลังเดิมและปลูกห้องแถวขึ้นเก็บค่าเช่า ส. ตายไปโดยยังมิได้แบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ ฐานะของ ส. ในการเป็นผู้จัดการมรดกของ ย. ย่อมสิ้นสุดลง
ก่อนตาย ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินเรือนและห้องแถวนั้นให้จำเลยกับบุตร จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ไม่มีผู้ใดคัดค้าน จำเลยก็ครอบครองทรัพย์สินเหล่านั้นมาโดยถือว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยรับมรดกจาก ส.และขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ดังนี้ จะถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยครอบครองมาเป็นเวลาถึง 5 ปีกว่าแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินนั้นและเมื่อโจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์ประธานเสียแล้ว เรือนกับห้องแถวหากปลูกอยู่ในที่ดินนั้นตลอดจนค่าเช่าห้องแถวอันเป็นทรัพย์ส่วนควบและดอกผลของที่ดิน จึงตกเป็นของจำเลยไปด้วย โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือพื้นดินไม่บริบูรณ์เมื่อไม่จดทะเบียน การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในที่ดินของผู้อื่นต้องใช้สิทธิทางศาล
โจทก์ก่อสร้างตึกเต็มเนื้อที่ดินของโจทก์ แล้วทำทางเท้าและคันหินบนทางเท้าล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ติดกัน โดยจำเลยตกลงยินยอม ถือว่าเป็นการได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดิน อันเป็นทรัพสิทธิ เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ย่อมไม่บริบูรณ์ ครั้นต่อมาจำเลยบอกกล่าวไม่ยินยอมให้มีทางเท้าและคันหินล้ำบนที่ดินของจำเลยอีกต่อไป โจทก์ก็ไม่มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินของจำเลยได้แต่ทางเท้าและคันหินนั้นไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินจำเลย
เมื่อจำเลยบอกกล่าวให้โจทก์รื้อถอนทางเท้าและคันหินออกไปจากที่ดินของจำเลย โจทก์ไม่ยอมรื้อถอน ก็ชอบที่จำเลยจะใช้สิทธิทางศาล ไม่มีอำนาจเข้ารื้อถอนโดยพลการ เพราะไม่เข้าเกณฑ์แห่งบทบัญญัติว่าด้วยนิรโทษกรรม หากจัดการรื้อถอนเสียเอง ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือพื้นดินไม่สมบูรณ์ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินของผู้อื่นและการละเมิด
โจทก์ก่อสร้างตึกเต็มเนื้อที่ดินของโจทก์ แล้วทำทางเท้าและคันหินบนทางเท้าล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ติดกัน โดยจำเลยตกลงยินยอมถือว่าเป็นการได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดิน อันเป็นทรัพยสิทธิ เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ย่อมไม่บริบูรณ์ ครั้นต่อมาจำเลยบอกกล่าวไม่ยินยอมให้มีทางเท้าและคันหินล้ำบนที่ดินของจำเลยอีกต่อไป โจทก์ก็ไม่มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินของจำเลยได้แต่ทางเท้าและคันหินนั้นไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินจำเลย
เมื่อจำเลยบอกกล่าวให้โจทก์รื้อถอนทางเท้าและคันหินออกไปจากที่ดินของจำเลย โจทก์ไม่ยอมรื้อถอน ก็ชอบที่จำเลยจะใช้สิทธิทางศาลไม่มีอำนาจเข้ารื้อถอนโดยพลการ เพราะไม่เข้าเกณฑ์แห่งบทบัญญัติว่าด้วยนิรโทษกรรม หากจัดการรื้อถอนเสียเอง ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ปลูกสร้างบนที่ดินของผู้อื่น ทำให้เรือนที่สร้างไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน และเจ้าหนี้มีสิทธิยึดได้
จำเลยได้บุตรสาวผู้ร้องเป็นภริยา และได้ปลูกเรือนพิพาทบนที่ดินของผู้ร้องใช้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและภริยา แม้เรือนจะมีลักษณะถาวรติดที่ดิน แต่เมื่อตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าผู้ร้องกับสามียินยอมให้ปลูกเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 ไม่ถือว่าเรือนพิพาทเป็นส่วนควบกับที่ดินของผู้ร้องและสามี ผู้ร้องจึงไม่อาจร้องขัดทรัพย์เรือนพิพาทของจำเลยที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำยึดบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ปลูกเรือนบนที่ดินของผู้อื่น และผลกระทบต่อสิทธิในทรัพย์สิน
จำเลยได้บุตรสาวผู้ร้องเป็นภริยา และได้ปลูกเรือนพิพาทบนที่ดินของผู้ร้องใช้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและภริยา. แม้เรือนจะมีลักษณะถาวรติดที่ดิน แต่เมื่อตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าผู้ร้องกับสามียินยอมให้ปลูกเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย. กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 ไม่ถือว่าเรือนพิพาทเป็นส่วนควบกับที่ดินของผู้ร้องและสามี. ผู้ร้องจึงไม่อาจร้องขัดทรัพย์เรือนพิพาทของจำเลยที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำยึดบังคับคดีได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เรือนปลูกบนที่ดินผู้อื่น: การยินยอมของผู้ให้ที่ดินทำให้เรือนไม่เป็นส่วนควบ
จำเลยได้บุตรสาวผูร้องเป็นภริยา และได้ปลูกเรือนพิพาทบนที่ดินของผู้ร้องใช้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและภริยา แม้เรือนจะมีลักษณะถาวรติดที่ดิน แต่เมื่อตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าผู้ร้องกับสามียินยอมให้ปลูกเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 ไม่ถือว่าเรือนพิพาทเป็นส่วนควบกับที่ดินของผู้ร้องและสามี ผู้ร้องจึงไม่อาจร้องขัดทรัพย์เรือนพิพาทของจำเลยที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำยึดบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์เรือนและข้าวเปลือกจากการอยู่กินฉันสามีภริยา, ปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรสได้ร่วมกันปลูกเรือนในที่ดินของบิดาจำเลย ระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากัน ย่อมเป็นเจ้าของเรือนร่วมกัน
ปัญหาที่ว่า เรือนซึ่งโจทก์จำเลยปลูกทำลงไว้ในที่ดินของบิดาจำเลย จะเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบิดาจำเลยหรือไม่นั้นไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะการที่ทรัพย์สินใดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนคนใดย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลนั้น หาได้เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไปไม่เมื่อมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้น ย่อมยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกามิได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งข้าวเปลือกซึ่งทำนาร่วมกันจากจำเลยกึ่งหนึ่งจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ได้เก็บเกี่ยวข้าวในนาของมารดาโจทก์ ซึ่งจำเลยร่วมทำด้วยไป เป็นการแบ่งข้าวเปลือกกันแล้วเมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงแบ่งกันเช่นนั้น ทั้งโจทก์ก็มิได้รับว่าจำเลยได้ร่วมทำนาของมารดาโจทก์ด้วยจำเลยจะใช้วิธีการต่างคนต่างเก็บเกี่ยวข้าวกันไป เป็นการหักกลบลบกันไปเช่นนั้นหาได้ไม่ เพราะไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงกันเช่นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์เรือนและข้าวเปลือกที่ได้จากการอยู่กินเป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส
โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส. ได้ร่วมกันปลูกเรือนในที่ดินของบิดาจำเลย ระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากัน ย่อมเป็นเจ้าของเรือนร่วมกัน.
ปัญหาที่ว่า เรือนซึ่งโจทก์จำเลยปลูกทำลงไว้ในที่ดินของบิดาจำเลย จะเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบิดาจำเลยหรือไม่นั้น. ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน. เพราะการที่ทรัพย์สินใดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนคนใด. ย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลนั้น. หาได้เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไปไม่.เมื่อมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้น ย่อมยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกามิได้.
โจทก์ฟ้องขอแบ่งข้าวเปลือกซึ่งทำนาร่วมกันจากจำเลยกึ่งหนึ่ง. จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ได้เก็บเกี่ยวข้าวในนาของมารดาโจทก์ ซึ่งจำเลยร่วมทำด้วยไป เป็นการแบ่งข้าวเปลือกกันแล้ว. เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงแบ่งกันเช่นนั้น ทั้งโจทก์ก็มิได้รับว่าจำเลยได้ร่วมทำนาของมารดาโจทก์ด้วย. จำเลยจะใช้วิธีการต่างคนต่างเก็บเกี่ยวข้าวกันไป เป็นการหักกลบลบกันไปเช่นนั้นหาได้ไม่. เพราะไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงกันเช่นนั้น.
of 16