พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ, การประเมินค่าเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม, และการปรับบทลงโทษตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองทำให้เกิดความเสียหายแก่ป่าสงวนแห่งชาติที่เกิดเหตุซึ่งเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร อยู่ในชั้นคุณภาพพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และร่วมกันยึดถือครอบครองที่ดินภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เนื้อที่ 62 ไร่ 25 ตารางวา เป็นการฟ้องขอให้ลงโทษทั้งสองตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคสอง และ 31 วรรคสอง (3) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้อง จึงต้องปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 31 วรรคสอง และ วรรคสอง (3) แต่ในระหว่างความผิดฐานร่วมกันยึดถือครอบครองทำประโยชน์แผ้วถาง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติเป็นเนื้อที่เกินยี่สิบห้าไร่โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 31 วรรคสอง กับฐานร่วมกันก่อสร้าง แผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารตามมาตรา 31 วรรคสอง (3) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน จึงให้ลงโทษฐานร่วมกันยึดถือครอบครองทำประโยชน์ แผ้วถาง หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติเป็นเนื้อที่เกินยี่สิบห้าไร่โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 31 วรรคสอง เพียงบทเดียว ตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต และการพิสูจน์สิทธิโดยสุจริต
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่เกิดเหตุอยู่ในเขตป่าและเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้อยู่หรือมีสิทธิใดอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย จำเลยจึงต้องออกจากป่าสงวนแห่งชาติและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่เกิดเหตุ
ไม่มีบทกฎหมายใดให้สิทธิแก่จำเลยในการใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้ได้รับการผ่อนผันอยู่ในที่ดินป่าและป่าสงวนแห่งชาติได้ สิทธิของจำเลยพึงมีประการใดจะต้องไปดำเนินการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการนั้น หาอาจใช้สิทธิทางศาลได้ไม่
ไม่มีบทกฎหมายใดให้สิทธิแก่จำเลยในการใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้ได้รับการผ่อนผันอยู่ในที่ดินป่าและป่าสงวนแห่งชาติได้ สิทธิของจำเลยพึงมีประการใดจะต้องไปดำเนินการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการนั้น หาอาจใช้สิทธิทางศาลได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดบุกรุกป่าสงวนฯ และการครอบครองอาวุธปืนผิดกฎหมาย ศาลยืนตามบทลงโทษเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งหกร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้าง แผ้วถาง ตัดโค่นทำลายต้นไม้บริเวณป่า ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธารในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าพะโต๊ะ ป่าปังหวาน และป่าปากทรงและเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า กับมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 54, 72 ตรี พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคสอง (3) และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 38, 54 เมื่อจำเลยทั้งหกให้การรับสารภาพตามฟ้อง การกระทำของจำเลยทั้งหกย่อมเป็นความผิดต่อกฎหมายทั้งสามฉบับดังกล่าว อีกทั้งความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคสอง ก็มีโทษหนักกว่าความผิดตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 54 วรรคหนึ่งด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรับบทว่า จำเลยทั้งหกมีความผิดฐานร่วมกันบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 นั้น จึงถูกต้องแล้ว
การที่จำเลยทั้งหกบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นต้นน้ำลำธารและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นเนื้อที่ 3 ไร่เศษ ผลของการกระทำของจำเลยทั้งหกนอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อสภาพพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารแล้ว ยังเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของชาติ เป็นต้นเหตุให้ป่าไม้เสื่อมสภาพและมีจำนวนลดน้อยลง ย่อมส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศทางธรรมชาติโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และอาจก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติขึ้น ซึ่งจะเป็นผลเสียหายต่อสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ อีกทั้งเจ้าพนักงานจับกุมจำเลยทั้งหกพร้อมอาวุธปืนยาวขนาด .22 ไม่มีเครื่องหมายทะเบียน 2 กระบอก อาวุธปืนพกขนาด 9 มม. 1 กระบอก และมีกระสุนปืนทั้งสองขนาดจำนวนมาก ซึ่งจำเลยทั้งหกร่วมกันมีและพาไปขณะบุกรุกที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดังกล่าว ส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งหกมีเจตนาจะใช้อาวุธปืนดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการล่าสัตว์ป่ารวมทั้งต่อสู้กับเจ้าพนักงานหากถูกจับกุม พฤติการณ์แห่งคดีจึงถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรง แม้จำเลยทั้งหกไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนและมีภาระจะต้องเลี้ยงดูครอบครัวและที่จำเลยที่ 3 อ้างว่ามีสุขภาพไม่แข็งแรง เคยประสบอุบัติเหตุไม้ยางพาราล้มทับกระเพาะปัสสาวะแตกเคยเข้ารับการผ่าตัด และต้องสวมแผ่นรองซับปัสสาวะตลอดก็ไม่ปรากฏหลักฐานทางการแพทย์ที่ชัดเจน จึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งหก
การที่จำเลยทั้งหกบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นต้นน้ำลำธารและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นเนื้อที่ 3 ไร่เศษ ผลของการกระทำของจำเลยทั้งหกนอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อสภาพพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารแล้ว ยังเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของชาติ เป็นต้นเหตุให้ป่าไม้เสื่อมสภาพและมีจำนวนลดน้อยลง ย่อมส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศทางธรรมชาติโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และอาจก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติขึ้น ซึ่งจะเป็นผลเสียหายต่อสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ อีกทั้งเจ้าพนักงานจับกุมจำเลยทั้งหกพร้อมอาวุธปืนยาวขนาด .22 ไม่มีเครื่องหมายทะเบียน 2 กระบอก อาวุธปืนพกขนาด 9 มม. 1 กระบอก และมีกระสุนปืนทั้งสองขนาดจำนวนมาก ซึ่งจำเลยทั้งหกร่วมกันมีและพาไปขณะบุกรุกที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดังกล่าว ส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งหกมีเจตนาจะใช้อาวุธปืนดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการล่าสัตว์ป่ารวมทั้งต่อสู้กับเจ้าพนักงานหากถูกจับกุม พฤติการณ์แห่งคดีจึงถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรง แม้จำเลยทั้งหกไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนและมีภาระจะต้องเลี้ยงดูครอบครัวและที่จำเลยที่ 3 อ้างว่ามีสุขภาพไม่แข็งแรง เคยประสบอุบัติเหตุไม้ยางพาราล้มทับกระเพาะปัสสาวะแตกเคยเข้ารับการผ่าตัด และต้องสวมแผ่นรองซับปัสสาวะตลอดก็ไม่ปรากฏหลักฐานทางการแพทย์ที่ชัดเจน จึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งหก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6293/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ทำไม้ในเขตป่าสงวน ความผิดต่อเนื่องเจตนาเดียว
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์และทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นสองกรรมแยกต่างหากจากกัน แต่เมื่ออ่านรวมกันแล้วได้ความว่าจำเลยเข้าไปตัดต้นยูคาลิปตัสในเขตป่าสงวนแห่งชาติจำนวน 38 ต้น แล้วทอนออกเป็นท่อนได้ 250 ท่อน และใช้รถยนต์บรรทุกออกจากป่าไปในวันเวลาเดียวกันไม้ที่จำเลยตัดฟันและลักเอาไปจึงเป็นไม้จำนวนเดียวกัน และได้กระทำคราวเดียวพร้อมกันต่อเนื่องกันไปโดยมีเจตนาเพียงเพื่อประสงค์ต้องการไม้เท่านั้น จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6293/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ตัดไม้ในเขตป่าสงวนฯ แม้ฟ้องแยกกรรม แต่เจตนาเดียว โทษฐานทำไม้
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์และทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นสองกรรมแยกต่างหากจากกันแต่เมื่ออ่านรวมกันแล้วได้ความว่าจำเลยเข้าไปตัดต้นยูคาลิปตัสในเขตป่าสงวนแห่งชาติจำนวน38ต้นแล้วทอนออกเป็นท่อนได้250ท่อนและใช้รถยนต์บรรทุกออกจากป่าในวันเวลาเดียวกันไม้ที่จำเลยตัดฟันและลักเอาไปจึงเป็นไม้จำนวนเดียวกันและได้กระทำคราวเดียวพร้อมกันต่อเนื่องกันไปโดยมีเจตนาเพียงเพื่อประสงค์ต้องการไม้เท่านั้นจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507มาตรา14,31วรรคสองซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษทางอาญาที่ถูกต้องตามกฎหมายป่าไม้และป่าสงวน การแก้ไขโทษที่ศาลล่างกำหนดเกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติ
ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522มาตรา 3 วางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท แต่โทษฐานทำไม้หวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 73 วรรคสองแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2525 มาตรา 4 วางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท โทษจำคุกที่จำเลยทั้งแปดจะได้รับตามพระราชบัญญัติป่าไม้ดังกล่าวสูงถึงยี่สิบปีจึงเป็นโทษที่หนักกว่าโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวซึ่งมีโทษขั้นสูงเพียงสิบห้าปี โดยไม่ต้องคำนึงว่าโทษขั้นต่ำของกฎหมายใดจะสูงกว่ากัน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยทั้งแปดมีความผิดฐานแผ้วถางป่าและทำไม้หวงห้ามโดยไม่รับอนุญาต แต่ให้ลงโทษฐานแผ้วถางป่าตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จึงไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้และเมื่อศาลฎีกาเห็นอีกว่า ที่ศาลล่างลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ที่ 6 ที่ 7 และที่ 8ในข้อหาดังกล่าวคนละ 8 ปีนั้นหนักเกินไปก็กำหนดโทษให้น้อยลงอีกได้ ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ที่มิได้ฎีกาได้ด้วยเพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213ประกอบด้วยมาตรา 225
สำหรับข้อหามีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งแปดคนละ 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยทั้งแปดคนละ 4 ปี เช่นเดิม แม้ข้อหาดังกล่าวนี้ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้วเมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดมานั้นหนักเกินไป ก็มีอำนาจแก้ไขเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ และสำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งถอนอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้แก้ไข กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484 มาตรา 69, 72 ตรี โดยไม่ระบุวรรค ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยระบุวรรคให้ถูกต้องได้ด้วย
สำหรับข้อหามีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งแปดคนละ 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยทั้งแปดคนละ 4 ปี เช่นเดิม แม้ข้อหาดังกล่าวนี้ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้วเมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดมานั้นหนักเกินไป ก็มีอำนาจแก้ไขเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ และสำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งถอนอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้แก้ไข กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484 มาตรา 69, 72 ตรี โดยไม่ระบุวรรค ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยระบุวรรคให้ถูกต้องได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษทางอาญาที่ถูกต้องตามกฎหมายป่าไม้และป่าสงวนแห่งชาติ โดยพิจารณาบทหนักและอำนาจแก้ไขโทษของศาล
ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507มาตรา 31 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 วางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทห้าหมื่นบาท แต่โทษฐานทำไม้หวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสองแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2525มาตรา 4 วางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท โทษจำคุกที่จำเลยทั้งแปดจะได้รับตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ดังกล่าวสูงถึงยี่สิบปีจึงเป็นโทษ ที่หนักกว่าโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าว ซึ่งมีโทษขั้นสูงเพียงสิบห้าปี โดยไม่ต้องคำนึงว่าโทษขั้นต่ำ ของกฎหมายใดจะสูงกว่ากัน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า จำเลยทั้งแปดมีความผิดฐานแผ้วถางป่าและทำไม้หวงห้าม โดยไม่รับอนุญาต แต่ให้ลงโทษฐานแผ้วถางป่าตามพระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนัก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จึงไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความ ฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ และเมื่อศาลฎีกา เห็นอีกว่า ที่ศาลล่างลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ที่ 6 ที่ 7 และที่ 8 ในข้อหาดังกล่าวคนละ 8 ปีนั้นหนักเกินไปก็กำหนดโทษ ให้น้อยลงอีกได้ ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึง จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ที่มิได้ฎีกาได้ด้วยเพราะ เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225 สำหรับข้อหามีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งแปดคนละ 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยทั้งแปดคนละ 4 ปี เช่นเดิม แม้ข้อหาดังกล่าวนี้ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดมานั้นหนักเกินไป ก็มีอำนาจแก้ไขเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ และสำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งถอนอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้แก้ไข กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2488 มาตรา 69,72 ตรีโดยไม่ระบุวรรค ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยระบุวรรคให้ถูกต้องได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5859/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ: จำเลยทราบสถานะที่ดินแล้ว แม้ไม่มีประกาศหรือป้ายเตือน
จำเลยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้นแม้โจทก์จะมิได้นำสืบถึงการปิดประกาศกฎกระทรวง มีหลักป้ายหรือเครื่องหมายแสดงเขตป่าสงวนแห่งชาติก็ไม่ได้หมายความว่าทางราชการไม่ได้เคยดำเนินการดังกล่าว เพราะมิฉะนั้นแล้วจำเลยก็คงไม่รู้ว่าบริเวณนั้นเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อจำเลยรู้ข้อเท็จจริงนั้นอยู่แล้ว แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงการที่ทางราชการได้ปิดประกาศดังกล่าว ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์เสียไปจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีความสุจริตทำประโยชน์ในที่พิพาทโดยไม่รู้ว่าเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และแม้จะไม่ได้แจ้งหรือสั่งให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเสียก่อนดำเนินคดี ก็จะถือว่าจำเลยขาดเจตนาที่จะกระทำผิดทางอาญาหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5859/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยทราบสถานะป่าสงวนแห่งชาติ แม้ไม่มีหลักฐานประกาศ, สุจริตไม่มีผล, เจตนาผิดมี
จำเลยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้นำสืบถึงการปิดประกาศกฎกระทรวง มีหลักป้ายหรือเครื่องหมายแสดงเขตป่าสงวนแห่งชาติก็ไม่ได้หมายความว่าทางราชการไม่ได้เคยดำเนินการดังกล่าว เพราะมิฉะนั้นแล้วจำเลยก็คงไม่รู้ว่าบริเวณนั้นเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อจำเลยรู้ข้อเท็จจริงนั้นอยู่แล้ว แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงการที่ทางราชการได้ปิดประกาศดังกล่าว ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์เสียไป จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีความสุจริตทำประโยชน์ในที่พิพาทโดยไม่รู้ว่าเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และแม้จะไม่ได้แจ้งหรือสั่งให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเสียก่อนดำเนินคดี ก็จะถือว่าจำเลยขาดเจตนาที่จะกระทำผิดทางอาญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ความผิดต่อเนื่องกับการครอบครองไม้หวงห้าม
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองแผ้วถาง เผาป่า และโค่นตัดฟันทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยระบุเวลาในการกระทำผิดว่าจำเลยกระทำผิดระหว่างวันที่ 4เมษายน 2532 ถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2532 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน แต่มิได้ระบุว่ากระทำผิดฐานใด ในวันเวลาใดให้ชัดแจ้ง จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดในคราวเดียวกัน เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ส่วนความผิดฐานมีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดแยกต่างหากจากความผิดฐานยึดถือครอบครองแผ้วถาง เผาป่าและโค่นตัดฟันทำไม้ในป่าสงวนแห่งชาติ ถือได้ว่าเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง