คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
กฎหมายลักษณะอาญา ม. 315

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเกี่ยวกับการฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้และโฉนดที่ดิน ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องทรัพย์สินที่ผู้เสียหายเสียไป และอำนาจการบังคับคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 นั้น เมื่อกรณีเป็นการฉ้อโกงเอาหนังสือสัญญากู้ไปทรัพย์สินที่ผู้เสียหารศูนย์เสียไปก็คือหนังสือกู้ พนักงานอัยการคงเรียกคืนได้แต่ตัวหนังสือสัญญาเท่านั้น จะขอมาด้วยว่า ถ้าหากจำเลยส่งสัญญาไม่ได้ ให้ใช้เงินอันเป็นหนี้ตามสัญญาแทนนั้น หาได้ไม่ เพราะไม่อาจกล่าวได้ว่าผู้เสียหายได้ศูนย์เสียทรัพย์สินที่มีราคาตามหนี้ในสัญญากู้ แม้หนังสือสัญญากู้ศูนย์หายไปก็ยังฟ้องร้องเรียกหนี้กันได้ มิใช่ว่าหนี้นั้นจะพลอยศูนย์ไปด้วย หนี้ตามสัญญากู้มีอย่างไร ผู้เสียหายชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลเป็นการพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนอาญาที่ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ คงพิพากษาแก้แต่เพียงว่า โจทก์จะขอเข้ามาในคดีนี้ว่า ถ้าจำเลยคืนสัญญากู้ไม่ได้ ใช้จำเลยใช้เงินแทนไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องดำเนินเป็นคดีแพ่งขึ้นใหม่อีกสำนวนหนึ่ง เช่นนี้ จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้เงินหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เพราะศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กู้เงินผู้เสียหาย ฯลฯ เอาโฉนดที่ดิน 5 โฉนด มอบให้ผู้เสียหายยึดถือไว้เป็นประกัน ฯลฯ ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2489 จำเลยหลอกลวงผู้เสียว่าจะโอนโฉนดให้ผู้เสียหาย ฯลฯ แล้วเพทุบายขอรับโฉนดไปจากผู้เสียหายว่าจะเอาไปทำการโอนให้ตามข้อตกลง แต่จำเลยโอนให้เพียง 2 โฉนด ฯลฯ กับต่อมาวันที่ 3 - 4 ตุลาคม 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียว่า จำเลยได้โอนโฉนดให้เรียบร้อยแล้ว รอแต่วันรับโฉนดเท่านั้น ผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องยึดหนังสือสัญญากู้ไว้ ผู้เสียหายหลงเชื่อ ได้มอบหนังสือสัญญากู้ให้จำเลยไป ทั้งนี้ ตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้ส่งโฉนดและรับไปแล้วได้ฉ้อโกงเอาไว้ และมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงให้ผู้เสียหายส่งหนังสือสัญญากู้ ฯลฯ ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะฟังว่า โฉนดที่โจทก์หาว่าจำเลยฉ้อโกงนั้นไม่ได้อยู่กับผู้เสียหาย ก็ยังอาจฟังว่าจำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยได้ขอให้จำเลยไป เพราะเป็นคนละเหตุ ทั้งข้อหาว่าจำเลยฉ้อโกงโฉนดและข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ ต่างกรรมต่างวาระกัน แยกกันได้เป็น 2 กระทง (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 27/2507)
(หมายเหตุ :- (1) จำเลยขอให้รับรองฎีกาข้อเท็จจริง แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสั่งว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามจึงไม่รับรองให้ และสั่งรับฎีกาจำเลย แต่ศาลฎีกาเห็นว่า เฉพาะฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้าม จึงไม่วินิจฉัยให้
(2) ที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานปลอมหนังสือไว้ด้วย แต่ปรากฏว่าฎีกาจำเลยข้อนี้เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้าม จึงไม่ปรากฏข้อวินิจฉัย ตามมติดังกล่าวในคำพิพากษา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้เกี่ยวกับการฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้และการพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามศาลชั้นต้นในประเด็นฉ้อโกงและจำกัดขอบเขตการชดใช้ค่าเสียหาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 นั้นเมื่อกรณีเป็นการฉ้อโกงเอาหนังสือสัญญากู้ไป ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไปก็คือหนังสือกู้ พนักงานอัยการคงเรียกคืนได้แต่ตัวหนังสือสัญญาเท่านั้น จะขอมาด้วยว่า ถ้าหากจำเลยส่งสัญญาไม่ได้ให้ใช้เงินอันเป็นหนี้ตามสัญญาแทนนั้น หาได้ไม่ เพราะไม่อาจกล่าวได้ว่าผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์สินที่มีราคาตามหนี้ในสัญญากู้ แม้หนังสือสัญญากู้สูญหายไปก็ยังฟ้องร้องเรียกหนี้กันได้มิใช่ว่าหนี้นั้นจะพลอยสูญไปด้วย หนี้ตามสัญญากู้มีอย่างไร ผู้เสียหายชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลเป็นการพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนอาญาที่ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้คงพิพากษาแก้แต่เพียงว่า โจทก์จะขอเข้ามาในคดีนี้ว่า ถ้าจำเลยคืนสัญญากู้ไม่ได้ ให้จำเลยใช้เงินแทนไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องดำเนินเป็นคดีแพ่งขึ้นใหม่อีกสำนวนหนึ่ง เช่นนี้ จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้เงินหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เพราะศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กู้เงินผู้เสียหาย ฯลฯ เอาโฉนดที่ดิน 5 โฉนดมอบให้ผู้เสียหายยึดถือไว้เป็นประกันฯลฯ ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจะโอนโฉนดให้ผู้เสียหาย ฯลฯ แล้วเพทุบายขอรับโฉนดไปจากผู้เสียหายว่าจะเอาไปทำการโอนให้ตามข้อตกลงแต่จำเลยโอนให้เพียง 2 โฉนด ฯลฯ กับต่อมาวันที่3-4 ตุลาคม 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่า จำเลยได้โอนโฉนดให้เรียบร้อยแล้วรอแต่วันรับโฉนดเท่านั้นผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องยึดหนังสือสัญญากู้ไว้ ผู้เสียหายหลงเชื่อได้มอบหนังสือสัญญากู้ให้จำเลยไป ทั้งนี้ ตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้ส่งโฉนดและรับไปแล้วได้ฉ้อโกงเอาไว้ และมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงให้ผู้เสียหายส่งหนังสือสัญญากู้ ฯลฯดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโฉนดที่โจทก์หาว่าจำเลยฉ้อโกงนั้นไม่ได้อยู่กับผู้เสียหาย ก็ยังอาจฟังว่าจำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยได้ขอให้หอทะเบียนโอนโฉนดเหล่านั้นให้แล้ว ผู้เสียหายจึงคืนสัญญากู้ให้จำเลยไป เพราะเป็นคนละเหตุทั้งข้อหาว่าจำเลยฉ้อโกงโฉนดและข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ต่างกรรมต่างวาระกัน แยกได้เป็น 2 กระทง(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2507)
(หมายเหตุ (1) จำเลยขอให้รับรองฎีกาข้อเท็จจริง แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสั่งว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามจึงไม่รับรองให้และสั่งรับฎีกาจำเลยแต่ศาลฎีกาเห็นว่าเฉพาะฎีกาข้อเท็จจริงข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้และข้อหาปลอมหนังสือต้องห้าม จึงไม่วินิจฉัยให้
(2) ที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานปลอมหนังสือไว้ด้วยแต่ปรากฏว่าฎีกาจำเลยข้อนี้เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้ามจึงไม่ปรากฏข้อวินิจฉัยตามมติดังกล่าวในคำพิพากษา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินโดยมิชอบจากใบมอบอำนาจที่ไม่สมบูรณ์ ผู้รับซื้อโดยสุจริตก็ไม่ได้รับกรรมสิทธิ์
ถ้ามีการปลอมใบมอบอำนาจให้ทำการขายฝากที่ดิน ผู้รับซื้อก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ ผู้รับซื้อจะอ้างว่าเป็นผู้รับโอนโดยสุจริตไม่ได้ เพราะการโอนย่อมมีไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1866/2484)
การที่โจทก์ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้เขาเอาที่ดินมีโฉนดของตนไปทำการอย่างหนึ่งโดยไม่ได้กรอกข้อความในใบมอบอำนาจ เขากลับยักยอกลายมือชื่อนั้นไปทำการขายฝากที่ดินเสีย เมื่อผู้ซื้อรับโอนโดยสุจริต โจทก์จะอ้างความประมาทเลินเล่อของตนมาเพิกถอนนิติกรรมนั้น โดยอ้างว่านิติกรรมเป็นโมฆะหาได้ไม่สุจริตด้วยกันผู้ประมาทเลินเล่อย่อมเป็นผู้เสียเปรียบ (อ้างฎีกาที่ 491/2482)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินด้วยใบมอบอำนาจที่ไม่สมบูรณ์ ผู้รับซื้อโดยสุจริตอาจไม่ได้รับกรรมสิทธิ์
ถ้ามีการปลอมใบมอบอำนาจให้ทำการขายฝากที่ดินผู้รับซื้อก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ ผู้รับซื้อจะอ้างว่าเป็นผู้รับโอนโดยสุจริตไม่ได้เพราะการโอนย่อมมีไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1866/2494)
การที่โจทก์ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้เขาเอาที่ดินมีโฉนดของตนไปทำการอย่างหนึ่ง โดยไม่ได้กรอกข้อความในใบมอบอำนาจ เขากลับยักยอกลายมือชื่อนั้นไปทำการขายฝากที่ดินเสียเมื่อผู้ซื้อรับโอนโดยสุจริต โจทก์จะอ้างความประมาทเลินเล่อของตนมาเพิกถอนนิติกรรมนั้นโดยอ้างว่านิติกรรมเป็นโมฆะหาได้ไม่สุจริตด้วยกันผู้ประมาทเลินเล่อย่อมเป็นผู้เสียเปรียบ (อ้างฎีกาที่ 491/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารเท็จ (ลายมือชื่อ) ในคดีแพ่ง ความผิดตาม ม.157 และการรอการลงโทษ
การที่ได้รับมอบลายมือชื่อของเขาไปเพื่อขอรถตู้แต่กลับเอาไปเขียนข้อความว่าได้แบ่งปันผลกำไรการค้ากันแล้วนำเอาเอกสารพยานเท็จนั้นมาอ้างในคดีเช่นนี้ นอกจากเป็นความผิดตาม มาตรา 315 แล้วยังต้องมีความผิดตาม มาตรา 157 อีกด้วย
พฤติการณ์ที่จำเลยเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ๆ ยอมปรองดองไม่ติดใจเอาความแก่จำเลยๆ ไม่เคยต้องโทษมาก่อนดังนี้ควรรอการลงโทษจำเลยได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2499)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อความในหนังสือมอบอำนาจเพื่อใช้ในการซื้อขายที่ดิน ถือเป็นความผิดฐานปลอมหนังสือ
เจ้าของที่ดินมีโฉนดทำใบมอบฉันทะให้จำเลย เป็นผู้มีอำนาจจัดการสอบเขตที่ดินแทนตน จำเลยกลับขีดฆ่าข้อความว่า ทำการรังวัดสอบเขตที่ดินออกแล้วเติมข้อความว่า ทำสัญญาขายกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนแล้วนำใบมอบฉันทะนั้นไปทำสัญญาโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นแก่ผู้อื่นไปย่อมเป็นความผิดฐานปลอมหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงนามแทนผู้อื่นและข้อความเท็จ: ไม่ถึงขั้นปลอมแปลงเอกสาร
ข้าราชการได้รับบัญชีพลเพื่อให้ไปกรอกข้อความเอาเองเมื่อกรอกข้อความเท็จลงไปก็ย่อมไม่เป็นผิดฐานปลอมหนังสือ แต่อาจเป็นเรื่องจดข้อความเท็จตามมาตรา 230 หรือยักยอกลายมือชื่อตามมาตรา 315 ได้
การลงนามในหนังสือราชการนั้นเมื่อลงนามแทนผู้อื่นโดยมีอำนาจแล้วแม้จะไม่ระบุข้อความว่าลงนามแทนกัน ก็ย่อมไม่เป็นผิดฐานปลอมหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมหนังสือ vs. จดข้อความเท็จ: การกระทำที่ไม่เข้าข่ายความผิดฐานปลอมหนังสือเมื่อกรอกข้อความในบัญชีพลเอง
ข้าราชการได้รับบัญชีพลเพื่อให้ไปกรอกข้อความเอาเองเมื่อกรอกข้อความเท็จลงไปก็ย่อมไม่เป็นผิดฐานปลอมหนังสือแต่อาจเป็นเรื่องจดข้อความเท็จตามมาตรา 230 หรือยักยอกลายมือชื่อตามมาตรา 315 ได้
การลงนามในหนังสือราชการนั้นเมื่อลงนามแทนผู้อื่นโดยมีอำนาจแล้วแม้จะไม่ระบุข้อความว่าลงนามแทนกัน ก็ย่อมไม่เป็นผิดฐานปลอมหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยใบมอบฉันทะที่ถูกแก้ไข และความสุจริตของผู้ซื้อ
โจทก์ได้เซ็นชื่อลงในใบมอบฉันทะโดยไม่ได้กรอกข้อความอะไรเลย มอบให้จำเลยที่ 2 ไว้ เพื่อว่าเมื่อจำเลยที่ 2 ชำระหนี้เงินให้โจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 จะได้โอนที่ดินเป็นของจำเลยที่ 2 ตามที่ตกลงกันไว้ แล้วจำเลยที่ 1,2 และ 4 คบคิดกันกรอกข้อความลงในใบมอบฉันทะนั้นว่า โจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 ไปขายที่ดินนี้แก่จำเลยที่ 5,6 ซึ่งผิดจากที่ได้รับมอบหมายไว้เป็นเรื่องยักยอกตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 315 ถ้าจำเลยที่ 5,6 ได้รับซื้อโดยสุจริต รูปคดีเข้าลักษณะความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 822 โจทก์ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 5,6 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
ฟ้องโจทก์มิได้กล่าวเลยว่าจำเลยผู้รับซื้อที่พิพาทได้สมคบกับจำเลยซึ่งเป็นผู้กรอกลงในใบมอบฉันทะของโจทก์ ซึ่งมีแต่ลายมือชื่อหรือกระทำการโดยไม่สุจริตประการใด ทั้งมิได้นำสืบถึงความไม่สุจริตของจำเลยผู้ซื้อนี้อย่างใดเลย จึงไม่มีทางเพิกถอนสัญญาซื้อขายนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยมิสุจริต: ความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอก และการเพิกถอนสัญญา
โจทก์ได้เซ็นชื่อลงในใบมอบฉันทะ โดยไม่ได้กรอกข้อความอะไรเลย มอบให้จำเลยที่ 2 ไว้เพื่อว่าเมื่อจำเลยที่ 2 ชำระหนี้เงินให้โจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 จะได้โอนที่ดินเป็นของจำเลยที่ 2 ตามที่ตกลงกันไว้ แล้วจำเลยที่ 1,2 และ 4 คบคิดกันกรอกข้อความลงในใบมอบฉันทะนั้นว่า โจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 ไปขายที่ดินนี้แก่จำเลยที่ 5,6 ซึ่งผิดจากที่ได้รับมอบหมายไว้ เป็นเรื่องยักยอกตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 315 ถ้าจำเลยที่ 5,6 ได้รับซื้อโดยสุจริต รูปคดีเข้าลักษณะความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 822 โจทก์ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 5,6 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
ฟ้องโจทก์มิได้กล่าวเลยว่าจำเลยผู้รับซื้อที่พิพาท ได้สมคบกับจำเลยซึ่งเป็นผู้กรอกลงในใบมอบฉันทะของโจทก์ ซึ่งมีแต่ลายมือชื่อหรือกระทำการโดยไม่สุจริตประการใด ทั้งมิได้นำสืบถึงความไม่สุจริตของจำเลยผู้ซื้อนี้อย่างใดเลย จึงไม่มีทางเพิกถอนสัญญาซื้อขายนั้นได้.
of 2