พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976-1977/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินของธนาคารโดยผู้จัดการ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 และการเรียกร้องดอกเบี้ย
1. การร้องทุกข์นั้น ย่อมมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนกันได้
(อ้างฎีกาที่ 890/2503)
2. ในคดีอาญา อัยการไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จำเลยยักยอกไป เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไป เนื่องจากการกระทำผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 แต่เนื่องจากผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยถือเอาคำฟ้องของพนักงานอัยการเป็นของตนเช่นนี้ถือได้ว่า ผู้เสียหายได้เรียกดอกเบี้ยแล้วแต่เมื่อยังไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมเนื่องจากการฟ้องเรียกดอกเบี้ยมารวมทั้ง 3 ศาลเช่นนี้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้เรียกได้ เมื่อเสียค่าธรรมเนียมแล้ว จึงจะพิจารณาวินิจฉัยต่อไปเกี่ยวกับกรณีนี้ได้
3. จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารยักยอกเงินธนาคาร ถือว่าเป็นการกระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 แล้ว
4. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 เป็นคุณแก่จำเลยว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319
(ข้อ 2 โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2505)
(อ้างฎีกาที่ 890/2503)
2. ในคดีอาญา อัยการไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จำเลยยักยอกไป เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไป เนื่องจากการกระทำผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 แต่เนื่องจากผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยถือเอาคำฟ้องของพนักงานอัยการเป็นของตนเช่นนี้ถือได้ว่า ผู้เสียหายได้เรียกดอกเบี้ยแล้วแต่เมื่อยังไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมเนื่องจากการฟ้องเรียกดอกเบี้ยมารวมทั้ง 3 ศาลเช่นนี้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้เรียกได้ เมื่อเสียค่าธรรมเนียมแล้ว จึงจะพิจารณาวินิจฉัยต่อไปเกี่ยวกับกรณีนี้ได้
3. จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารยักยอกเงินธนาคาร ถือว่าเป็นการกระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 แล้ว
4. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 เป็นคุณแก่จำเลยว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319
(ข้อ 2 โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976-1977/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินของธนาคารโดยผู้จัดการสาขา, การฟ้องเรียกดอกเบี้ย, และการพิจารณาโทษตามกฎหมายอาญามาตรา 354
1. การร้องทุกข์นั้น ย่อมมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนกันได้ (อ้างฎีกาที่ 890/2503) 2. ในคดีอาญา อัยการไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จำเลยยักยอกไป เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไป เนื่องจากการกระทำผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 แต่เนื่องจากผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยถือเอาคำฟ้องของพนักงานอัยการเป็นของตนเช่นนี้ถือได้ว่า ผู้เสียหายได้เรียกดอกเบี้ยแล้ว แต่เมื่อยังไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมเนื่องจากการฟ้องเรียกดอกเบี้ยมารวมทั้ง 3 ศาล เช่นนี้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้เรียกได้ เมื่อเสียค่าธรรมเนียมแล้ว จึงจะพิจารณาวินิจฉัยต่อไปเกี่ยวกับกรณีนี้ได้ 3. จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารยักยอกเงินธนาคาร ถือว่าเป็นการกระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 แล้ว 4. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 เป็นคุณแก่จำเลยกว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319 (ข้อ 2 โดยประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ความผิดยักยอกทรัพย์โดยพนักงาน-ลูกจ้าง และการร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานยักยอกทรัพย์ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 314,319(1)(3),63 โดยบรรยายฟ้องว่า "จำเลยที่ 1 เป็นเสมียนพัสดุประจำแขวงการทางจังหวัดมหาสารคามจำเลยที่ 2 เป็นพนักงานช่างปรับซ่อมเครื่องยนต์และอยู่ในบังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งจากนายช่างโทกำกับแขวงการทางจังหวัดมหาสารคาม ให้เป็นพนักงานพัสดุ มีหน้าที่ควบคุมดูแลพัสดุต่างๆรวมทั้งหม้อน้ำรถยนต์ 2 ใบ ฯลฯ" ดังนี้ เมื่อจำเลยเอาหม้อน้ำรถยนต์ไปขายแล้วยักยอกเงินนั้นเสีย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319(1) อันเป็นความผิดส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยที่ 2 อัยการก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1981/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่โดยการมอบหมายและการยักยอกเงิน: ความผิดอาญาแผ่นดินแม้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
ผู้ควบคุมการไฟฟ้าเทศบาลได้มอบหมายให้จำเลยซึ่งเป็นช่างสายให้ช่วยเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้าด้วย เช่นนี้ถือว่า ในเรื่องการเก็บเงินดังที่ได้รับมอบหมายถือว่าเป็นหน้าที่ ฉะนั้นเมื่อจำเลยยักยอกเอาเงินนั้นไปก็ฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องมอบอำนาจให้ฟ้อง
เมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญาแทนกฎหมายลักษณะอาญาความผิดที่จำเลยถูกฟ้อง(ฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอก) เป็นความผิดอันยอมกันได้และต้องร้องทุกข์ก่อน ตาม มาตรา 356,96 ก็ไม่มีผลย้อนหลังกระทบกระทั่งการฟ้องคดีที่ได้ดำเนินมาโดยชอบแล้ว
เมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญาแทนกฎหมายลักษณะอาญาความผิดที่จำเลยถูกฟ้อง(ฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอก) เป็นความผิดอันยอมกันได้และต้องร้องทุกข์ก่อน ตาม มาตรา 356,96 ก็ไม่มีผลย้อนหลังกระทบกระทั่งการฟ้องคดีที่ได้ดำเนินมาโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1981/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ยักยอกเงิน: การฟ้องคดีอาญาแผ่นดินแม้ต่อมาเป็นความผิดอันยอมกันได้
ผู้ควบคุมการไฟฟ้าเทศบาลได้มอบหมายให้จำเลยซึ่งเป็นช่างสายให้ช่วยเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้าด้วย เช่นนี้ถือว่า ในเรื่องการเก็บเงินดังที่ได้รับมอบหมายถือว่าเป็นหน้าที่ ฉะนั้นเมื่อจำเลยยักยอกเอาเงินนั้นไป ก็ฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องมอบอำนาจให้ฟ้อง
เมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญา แทนกฎหมายลักษณะอาญา ความผิดที่จำเลยถูกฟ้อง (ฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอก) เป็นความผิดอันยอมกันได้และต้องร้องทุกข์ก่อนตาม ม. 356, 96 ก็ไม่มีผลย้อนหลังกระทบกระทั่งการฟ้องคดีที่ได้ดำเนินมาโดยชอบแล้ว .
เมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญา แทนกฎหมายลักษณะอาญา ความผิดที่จำเลยถูกฟ้อง (ฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอก) เป็นความผิดอันยอมกันได้และต้องร้องทุกข์ก่อนตาม ม. 356, 96 ก็ไม่มีผลย้อนหลังกระทบกระทั่งการฟ้องคดีที่ได้ดำเนินมาโดยชอบแล้ว .
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286-1288/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่รับเงินของประชาชนแล้วยักยอก เป็นความผิดต่อรัฐ ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว
จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมตำรวจ ตำแหน่งเสมียนยานพาหนะมีหน้าที่รับเงินจากผู้ยื่นคำร้องหรือเงินเสียภาษี จำเลยจะรับไว้จากสถานที่ใด (แม้ที่บ้านของจำเลยเอง) ก็เป็นเงินผลประโยชน์ของรัฐ ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องนำส่งกรมตำรวจจึงเป็นผู้เสียหาย หาใช่เป็นการมอบฝากกันเป็นส่วนตัวไม่ เพราะถ้าจำเลยไม่ใช่เจ้าหน้าที่โดยเฉพาะบุคคลผู้เกี่ยวข้องก็จะไม่มอบส่งเงินให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286-1288/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่ทุจริตยักยอกเงินผลประโยชน์ของรัฐ การรับเงินจากผู้ขอรับบริการเป็นหน้าที่นำส่งไม่ใช่การฝากส่วนตัว
จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมตำรวจ ตำแหน่ง เสมียนยานพาหนะมีหน้าที่รับเงินจากผู้ยื่นคำร้องหรือเงินเสียภาษี จำเลยจะรับไว้จากสถานที่ใด (แม้ที่บ้านของจำเลยเองก็เป็นเงินผลประโยชน์ของรัฐ ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องนำส่ง กรมตำรวจจึงเป็นผู้เสียหาย หาใช่เป็นการมอบฝากกันเป็นส่วนตัวไม่ เพราะถ้าจำเลยไม่ใช่เจ้าหน้าที่โดยเฉพาะบุคคลผู้เกี่ยวข้องก็จะไม่มอบส่งเงินให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดยักยอกทรัพย์: การกำหนดฐานความผิดตามหน้าที่เกี่ยวข้องสาธารณชน
การยักยอกทรัพย์ที่จะเป็นผิดกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319(3) นั้นจะต้องปรากฏว่าจำเลยได้รับมอบหมายทรัพย์โดยฐานะที่มีหน้าที่อันเกี่ยวแก่สาธารณชน
จำเลยเป็นแต่เพียงสมุห์บัญชีสหกรณ์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่ากับเป็นลูกจ้างกินเงินเดือนของบริษัทนิติบุคคลในการค้าเท่านั้น หาได้เกี่ยวแก่สาธารณชนแต่ประการใดไม่ การกระทำของจำเลยจึงเข้าเกณฑ์ความผิดตาม มาตรา 319(1) ไม่ใช่ 319(3)
จำเลยเป็นแต่เพียงสมุห์บัญชีสหกรณ์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่ากับเป็นลูกจ้างกินเงินเดือนของบริษัทนิติบุคคลในการค้าเท่านั้น หาได้เกี่ยวแก่สาธารณชนแต่ประการใดไม่ การกระทำของจำเลยจึงเข้าเกณฑ์ความผิดตาม มาตรา 319(1) ไม่ใช่ 319(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของเจ้าพนักงาน: การพิจารณาความผิดตามมาตราที่ถูกต้อง
จำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญชั้นตรี รับราชการอยู่ในแผนกเงินและรายได้ กองผลประโยชน์สำนักงานท่าเรือกรุงเทพ ฯ กรมการขนส่งกระทรวงคมนาคมมีหน้าที่เก็บเงินลูกหนี้ของสำนักงานท่าเรือกรุงเทพฯ แล้วต้องนำส่งต่อเจ้าหน้าที่กองผลประโยชน์ แต่จำเลยเก็บเงินมาแล้วบังอาจยักยอกเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย มิได้ส่งให้ทั้งหมดตามหน้าที่ ดังนี้ ย่อมเป็นความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 131 ไม่ใช่มาตรา 319 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการยักยอกเงินของสำนักงาน – ความผิดตามมาตรา 131
จำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญชั้นตรี รับราชการอยู่ในแผนกเงินและรายได้ กองผลประโยชน์สำนักงานท่าเรือกรุงเทพฯกรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคม มีหน้าที่เก็บเงินลูกหนี้ของสำนักงานท่าเรือกรุงเทพฯแล้วต้องนำส่งต่อเจ้าหน้าที่กองผลประโยชน์ แต่จำเลยเก็บเงินมาแล้วบังอาจยักยอกเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย มิได้ส่งให้ทั้งหมดตามหน้าที่ ดังนี้ ย่อมเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 131 ไม่ใช่มาตรา 319(3)