คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 136

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีนายประกัน, ความรับผิดตามสัญญาประกัน, และการลดค่าปรับตามดุลพินิจ
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 136 ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีอำนาจปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวและทำสัญญาประกันขณะผู้ต้องหายังอยู่ในความควบคุมของพนักงานสอบสวนคือพนักงานสอบสวนโดยตำแหน่ง มิใช่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาประกันย่อมเป็นการผิดสัญญาต่อพนักงานสอบสวนโดยตรง พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาประกันที่ทำไว้ได้โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
จำเลยที่ 2 ผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์ตามวันเวลาที่กำหนดไว้ทั้งสองนัด โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอผ่อนผันแต่อย่างใด ทั้งเมื่อโจทก์มีหนังสือเตือนให้จำเลยที่ 2 ส่งตัวผู้ต้องหาอีก 3 ครั้ง ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้รับโดยชอบแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ยังคงเพิกเฉยเช่นเดิม ส่วนจำเลยที่ 2 ฎีกาอ้างว่า หลังจากทราบเรื่องแล้วได้พยายามติดตามตัวผู้ต้องหา จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นจากพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้ความสนใจหรือใส่ใจที่จะปฏิบัติตามสัญญาประกันแต่อย่างใด จนคดีของผู้ต้องหาขาดอายุความทำให้โจทก์ไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาฟ้องให้รับโทษตามกฎหมาย ทำให้โจทก์และผู้เสียหายในคดีดังกล่าวได้รับความเสียหาย ชอบที่จำเลยที่ 2 ในฐานะนายประกันจะต้องรับผิดชอบคือถูกปรับตามสัญญาประกัน แต่ความผิดที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาเป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรง ประกอบกับจำเลยที่ 2 ไม่ใช่นายประกันอาชีพ จึงมีเหตุสมควรที่จะลดค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 2 ลงบ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพที่ได้มาโดยสมัครใจและพยานหลักฐานประกอบ เชื่อถือได้แม้ไม่มีประจักษ์พยาน
แม้ คำรับสารภาพของจำเลยทั้งใน ชั้นจับกุมและ ชั้นสอบสวนจะเป็น พยานบอกเล่าที่ใช้เป็นพยานหลักฐานได้เพียงนำไปฟังประกอบกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ก็ตามแต่ คำเบิกความพนักงานสอบสวนพยานโจทก์ที่ว่าพยานเป็นผู้สอบสวนจำเลยและจำเลยได้ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนเป็นคำเบิกความของ ประจักษ์พยานในข้อที่ว่ามีการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนคนใดและจำเลยให้การชั้นสอบสวนว่าอย่างไร พนักงานสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติหน้าที่ไปตามอำนาจหน้าที่โดยไม่มีส่วนได้เสียกับคู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดและไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อนข้อระแวงเรื่องจะแกล้งเบิกความปรักปรำจำเลยย่อมไม่มีทั้งคำเบิกความของพยานดังกล่าวที่เกี่ยวกับการสอบสวนจำเลยก็ไม่มีพิรุธที่ทำให้ไม่น่าเชื่อว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนโดยไม่ชอบรูปคดีเชื่อได้ว่าจำเลยได้ ให้การรับสารภาพทั้งในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน โดยสมัครใจตามความจริง แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นการกระทำความผิดของจำเลยและพวกแต่เมื่อฟังคำเบิกความของพนักงานสอบสวนกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนประกอบกันเชื่อได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้ร่วมกับพวกทำการลักรถยนต์ของผู้เสียหายไปจำเลยจึงมีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2657/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจับกุมผู้ต้องหาในคดีอาญาแผ่นดิน แม้ไม่มีหมายจับ: การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน
โจทก์แจ้งความว่า ย. ทำร้ายร่างกายโจทก์ ขอให้ดำเนินคดีแก่ ย.แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 จำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับหมวดไม่มีอำนาจจับกุมโจทก์โดยไม่มีหมายจับ แต่อำนาจจับกุมตามมาตรา 78 นี้ ก็เป็นอำนาจโดยทั่ว ๆ ไปและมีมาตรา 136 บัญญัติเรื่องอำนาจพนักงานสอบสวนในการจับกุมและควบคุมไว้โดยเฉพาะเมื่อจำเลยเป็นพนักงานสอบสวนคดีที่หาว่า ย. กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย และสอบสวนแล้วได้ความว่าโจทก์ก็เป็นผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายด้วย เพราะเป็นเรื่องวิวาทกัน ซึ่งความผิดนี้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่มีผู้ใดร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ เจ้าพนักงานก็ย่อมจับกุมและควบคุมตัวผู้กระทำความผิดไว้สอบสวนได้ จำเลยจึงมีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวโจทก์ซึ่งมาปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าจำเลยในระหว่างการสอบสวนได้ เพียงเพราะเหตุที่จำเลยจับกุมและควบคุมตัวโจทก์ไว้โดยไม่มีหมายจับนั้น จะถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานสมคบชิงทรัพย์ แม้ไม่มีประจักษ์พยาน แต่มีพยานยืนยันและคำรับสารภาพ
โจทก์ฟ้องจอให้ลงโ่ทษจำเลย 2 คนฐานสมคบกันชิงทรัพย์ จำเลยทั้ง 2 รับสารภาพตามฟ้อง เมื่อสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ โจทก์ มีคำเจ้าทรัพย์ยืนยันฟังได้ว่า การชิงทรัพย์รายนี้มีคนอีกคนหนึ่งร่วมกระทำการกับจำเลยที่ 1 ด้วย และมีพยานอีกคนหนึ่งเห็นจำเลยที่ 2 เดินตามหลังจำเลยที่ 1 ไปในคืนวันเกิดเหตุ หลังจากเกิดเหตุแล้ว ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยาน เห็นจำเลยได้ในขณะกระทำผิดเมื่อพิเคราะห์ประกอบกับคำรับสารภาพของจำเลยที 2 แล้ว คดีพอลงโ่ทษจำเลยที่ 2 ได้ตามป.ม. วิ. อาญามาตรา 136.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนายักยอกของตกเป็นเหตุให้ผิดกฎหมาย แม้ระยะเวลาเกิน 3 วันก็มีผล
เก็บนาฬิกาเรือนทองได้และได้และไม่ได้นำไปมอบให้เจ้าพนักงานตามกฎหมาย แม้ยังไม่เกิน 3 วันตามกฎหมายก็ตามถ้าหากจำเลยให้การรับสารภาพความผิดต่อศาลก็ยอมลงโทษตาม ม.318