พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3368/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องเงินบำเหน็จ, ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน, และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า: กรอบระยะเวลาและเงื่อนไขการผิดนัด
ตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างกำหนดให้พนักงานมีหนังสือขอรับเงินบำเหน็จจากนายจ้างภายใน 6 เดือน นับแต่วันออกจากงาน แต่ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวมิได้มีข้อจำกัดตัดสิทธิพนักงานที่ไม่ทำหนังสือแสดงความประสงค์ขอรับเงินบำเหน็จภายในกำหนด การที่โจทก์ทำหนังสือเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินบำเหน็จเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน จำเลยไม่ชำระ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินบำเหน็จแก่โจทก์ได้
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 เป็นสินจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) มีอายุความ 2 ปี หาใช่ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 ไม่
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินค้ำประกันการทำงาน และเงินบำเหน็จ มิใช่เงินที่จะต้องจ่ายทันทีเมื่อมีการเลิกจ้างเช่นเดียวกับค่าชดเชยซึ่งเป็นผลตามกฎหมายอันเกิดสิทธิบังคับให้ชำระหนี้ทันที แต่ผู้มีสิทธิในเงินดังกล่าวจะต้องทวงถามก่อน เมื่อไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อทวงถาม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคหนึ่ง หาใช่นับแต่วันเลิกจ้างไม่
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 เป็นสินจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) มีอายุความ 2 ปี หาใช่ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 ไม่
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินค้ำประกันการทำงาน และเงินบำเหน็จ มิใช่เงินที่จะต้องจ่ายทันทีเมื่อมีการเลิกจ้างเช่นเดียวกับค่าชดเชยซึ่งเป็นผลตามกฎหมายอันเกิดสิทธิบังคับให้ชำระหนี้ทันที แต่ผู้มีสิทธิในเงินดังกล่าวจะต้องทวงถามก่อน เมื่อไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อทวงถาม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคหนึ่ง หาใช่นับแต่วันเลิกจ้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับชำระหนี้ล่าช้าทำให้สิทธิเรียกร้องหนี้ทั้งหมดทันทีสิ้นสุดลง ต้องมีการบอกกล่าวเตือนก่อน
โจทก์ยอมรับเงินค่างวดที่จำเลยผิดนัดชำระให้แก่โจทก์เรื่อยมาโดยไม่ได้อิดเอื้อนหรือโต้แย้งสงวนสิทธิของโจทก์ที่จะว่ากล่าวเอาแก่จำเลยในกรณีดังกล่าวไว้เลย พฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยแสดงออกต่อกันเช่นนี้ต่างมิได้ถือเอากำหนดวันปฏิทินให้จำเลยชำระเงินแต่ละงวดตามสัญญากู้เงินเป็นสาระสำคัญต่อไป และถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระเงินแต่ละงวดล่าช้าไปกว่าวันที่กำหนดไว้ตามสัญญากู้เงินเป็นการผิดนัดกันอีกแล้ว ดังนั้นเมื่อถึงงวดชำระ จำเลยไม่ชำระเงินให้โจทก์ จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยผิดนัด อันจะก่อให้โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระทั้งหมดคืนได้ทันทีตามสัญญากู้เงิน เว้นแต่โจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินงวดที่ค้างในกำหนดเวลาพอสมควรก่อน หากจำเลยไม่ชำระจึงจะถือได้ว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดเพราะโจทก์ได้เตือนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 และ 204 วรรคหนึ่ง
โจทก์เรียกให้จำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดคืนให้แก่โจทก์โดยอ้างเหตุกล่าวหาว่าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระเงินให้โจทก์ตามกำหนดเท่านั้น โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ตามสิทธิที่โจทก์พึงมีตามสัญญากู้เงินข้อ 7 แม้จำเลยไม่ผิดนัดก็ตาม แต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดนัดชำระเงินให้แก่โจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินจากจำเลย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ผิดนัดแล้ว ก็ย่อมพิพากษายกฟ้องได้ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยถึงสิทธิอื่นใดของโจทก์อีก เพราะไม่มีประเด็นข้อพิพาทในคดี ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยถึงสิทธิของโจทก์ตามสัญญากู้เงิน โดยเห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการชอบแล้ว
โจทก์เรียกให้จำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดคืนให้แก่โจทก์โดยอ้างเหตุกล่าวหาว่าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระเงินให้โจทก์ตามกำหนดเท่านั้น โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ตามสิทธิที่โจทก์พึงมีตามสัญญากู้เงินข้อ 7 แม้จำเลยไม่ผิดนัดก็ตาม แต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดนัดชำระเงินให้แก่โจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินจากจำเลย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ผิดนัดแล้ว ก็ย่อมพิพากษายกฟ้องได้ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยถึงสิทธิอื่นใดของโจทก์อีก เพราะไม่มีประเด็นข้อพิพาทในคดี ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยถึงสิทธิของโจทก์ตามสัญญากู้เงิน โดยเห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน - การคิดดอกเบี้ย - ทวงถามหนี้ - อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
พ. ทำสัญญารับสภาพหนี้ให้ไว้ต่อโจทก์โดยมิได้ตกลงให้คิดดอกเบี้ยกันในอัตราเท่าใดและไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ จำเลยทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของ พ. โดยในสัญญาค้ำประกันมิได้ระบุกำหนดเวลาชำระหนี้เช่นกัน ดังนี้ โจทก์จะต้องทวงถามจำเลยก่อน หากจำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงจะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้และคิดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามป.พ.พ. มาตรา 224 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5193/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยคดีนอกประเด็น และการยกข้อต่อสู้ที่ไม่เคยกล่าวอ้างในชั้นศาล
การยกข้อกฎหมายขึ้นมาปรับบทนั้น จะต้องปรับบทกฎหมายตามข้อเท็จจริงที่รับฟังเป็นยุติ โดยข้อเท็จจริงนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบซึ่งได้วินิจฉัยแล้วตามประเด็น หรือเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความยอมรับ คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ผิดนัดนับแต่วันที่ครบกำหนดชำระถึงวันที่ชำระเงินอัตราร้อยละสิบสองต่อปีตามสัญญา และค่าน้ำประปาค่าไฟฟ้าที่โจทก์จ่ายแทนไป จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ได้ชำระราคาส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์อ้างว่าเป็นค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นที่เรียบร้อยแล้วไม่ได้ค้างชำระค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อ 4 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดนัดชำระราคาส่วนที่เหลือตามฟ้องหรือไม่ และจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ดังนั้น ที่ว่า จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ คือต้องรับผิดตามสัญญาตามฟ้องนั่นเอง หากไม่ต้องรับผิดด้วยเหตุที่โจทก์มิได้บอกสงวนสิทธิว่าจะเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยทั้งสองด้วยในเวลาที่โจทก์รับชำระหนี้ จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยทั้งสอง ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ได้บอกสงวนสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยทั้งสองในเวลาที่โจทก์รับชำระหนี้หรือไม่ อันเป็นอีกประเด็นหนึ่งต่างหาก จึงจะปรับบทตาม ป.พ.พ.มาตรา 381 ได้ โดยจำเลยต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่า โจทก์มิได้สงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยทั้งสองในเวลาที่โจทก์รับชำระหนี้ แต่จำเลยทั้งสองมิได้ให้การแก้คดีในข้อดังกล่าวไว้ คดีจึงไม่มีประเด็นดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.
จำเลยยังไม่ได้ชำระค่าดอกเบี้ยในส่วนที่ผิดนัดชำระราคาห้องชุดที่เหลือ โดยโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด แต่จำเลยไม่ชำระจึงได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว
ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 1ในการทำสัญญาซื้อขายห้องชุด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นั้นปัญหานี้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการทำสัญญาซื้อขายห้องชุด จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นคนต่างด้าวไม่มีสิทธิซื้อห้องชุดนั้น ปัญหานี้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การเช่นกัน ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แม้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้
จำเลยยังไม่ได้ชำระค่าดอกเบี้ยในส่วนที่ผิดนัดชำระราคาห้องชุดที่เหลือ โดยโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด แต่จำเลยไม่ชำระจึงได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว
ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 1ในการทำสัญญาซื้อขายห้องชุด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นั้นปัญหานี้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการทำสัญญาซื้อขายห้องชุด จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นคนต่างด้าวไม่มีสิทธิซื้อห้องชุดนั้น ปัญหานี้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การเช่นกัน ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แม้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5193/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระราคาซื้อขายห้องชุด, ผลของการชำระเงินที่ไม่ครบถ้วน, และความรับผิดของตัวแทน
การยกข้อกฎหมายขึ้นมาปรับบทนั้นจะต้องปรับบทกฎหมายตามข้อเท็จจริงที่รับฟังเป็นยุติโดยข้อเท็จจริงนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบซึ่งได้วินิจฉัยแล้วตามประเด็นหรือเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความยอมรับคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ผิดนัดนับแต่วันที่ครบกำหนดชำระถึงวันที่ชำระเงินอัตราร้อยละสิบสองต่อปีตามสัญญาและค่าน้ำประปาค่าไฟฟ้าที่โจทก์จ่ายแทนไปจำเลยที่1ให้การว่าจำเลยที่1ได้ชำระราคาส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์อ้างว่าเป็นค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นที่เรียบร้อยแล้วไม่ได้ค้างชำระค่าน้ำประปาค่าไฟฟ้าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อ4ว่าจำเลยที่1เป็นฝ่ายผิดนัดชำระราคาส่วนที่เหลือตามฟ้องหรือไม่และจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใดดังนั้นที่ว่าจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หรือไม่คือต้องรับผิดตามสัญญาตามฟ้องนั่นเองหากไม่ต้องรับผิดด้วยเหตุที่โจทก์มิได้บอกสงวนสิทธิว่าจะเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยทั้งสองด้วยในเวลาที่โจทก์รับชำระหนี้จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยทั้งสองก็เป็นข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ได้บอกสงวนสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยทั้งสองในเวลาที่โจทก์รับชำระหนี้หรือไม่อันเป็นอีกประเด็นหนึ่งต่างหากจึงจะปรับบทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา381ได้โดยจำเลยต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่าโจทก์มิได้สงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยทั้งสองในเวลาที่โจทก์รับชำระหนี้แต่จำเลยทั้งสองมิได้ให้การแก้คดีในข้อหาดังกล่าวไว้คดีจึงไม่มีประเด็นดังกล่าวที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำเลยยังไม่ได้ชำระค่าดอกเบี้ยในส่วนที่ผิดนัดชำระราคาห้องชุดที่เหลือโดยโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแต่จำเลยไม่ชำระจึงได้เชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยที่2เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่1ในการทำสัญญาซื้อขายห้องชุดจำเลยที่2จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1นั้นปัญหานี้จำเลยที่2ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่2เป็นตัวแทนจำเลยที่1ในการทำสัญญาซื้อขายห้องชุดจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยที่2เป็นคนต่างด้าวไม่มีสิทธิซื้อห้องชุดนั้นปัญหานี้จำเลยที่2ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การเช่นกันฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แม้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5632/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันสัญญาก่อสร้าง: สิทธิริบเงินค้ำประกันและดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระ
สัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารมิได้กำหนดให้เงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นการประกันการไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร รวมทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารได้สิ้นสุดลงหรือภายหลังโจทก์บอกเลิกสัญญาด้วย เงินตามสัญญาค้ำประกันมิใช่เบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 โจทก์มีสิทธิริบเงินตามสัญญาค้ำประกันได้ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร โจทก์มีหนังสือให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2528 จำเลยที่ 3 ไม่ชำระถือว่าจำเลยที่ 3 ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2528 แม้ภายหลังโจทก์จะมีหนังสือทวงถามซ้ำอีก โดยกำหนดวันที่นำเงินมาชำระใหม่อีกก็ตามก็ไม่ทำให้การผิดนัดของจำเลยที่ 3 ที่เกิดขึ้นแล้วเปลี่ยนแปลงไปโจทก์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 3 ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2528.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933-1949/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณบำเหน็จลูกจ้างต่อเนื่องจากนายจ้างเดิมหลังการเช่าโรงงาน และการคิดดอกเบี้ยกรณีผิดนัดชำระ
สัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากับจำเลยผู้เช่ากำหนดว่าระยะเวลาทำงานอันเป็นเกณฑ์ทำงานเงินบำเหน็จทดแทนของพนักงานและคนงานเดิมของโรงงานสุรากรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ผู้เช่ารับโอนมาทำงานกับผู้เช่าต่อไปมีอยู่แล้วเพียงใด ผู้เช่ายอมให้นำมานับต่อเนื่องกับระยะเวลาทำงานของพนักงานและคนงานนั้นเพื่อประโยชน์ในการคำนวณจ่ายเงินบำเหน็จดังนั้นจะนำเฉพาะระยะเวลาที่ลูกจ้างจะทำงานกับจำเลยมาคำนวณบำเหน็จหาได้ไม่ข้อความอื่นในสัญญาเช่าที่กำหนดว่าจำเลยต้องนำเงินจำนวนเท่ากับค่าจ้างเดือนสุดท้ายของลูกจ้างทุก ๆ ปี ฝากประจำไว้กับธนาคารพาณิชย์เป็นเพียงหลักประกันว่าจำเลยว่าจำเลยจะมีเงินจ่ายเป็นบำเหน็จให้แก่ลูกจ้าเท่านั้นหาอาจแปลว่าจำเลยคงต้องจ่ายบำเหน็จเท่าค่าจ้างปีละเดือนเฉพาะระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงานกับจำเลยไม่ ส่วนที่ลูกจ้างเคยรับบำเหน็จตัดตอนไปจากรมโรงงานอุตสาหกรรมและบริษัทสุรามหาคุณ จำกัด นั้น เมื่อจำเลยเข้าดำเนินการในโรงงานสุรา จำเลยได้ตกลงทำสัญญาเช่าให้นำระยะเวลาทำงานของลูกจ้างตั้งแต่เข้าทำงานในโรงงานสุรามารวมเป็นฐานคำนวณบำเหน็จ จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่า ดังนั้นการคำนวณบำเหน็จของลูกจ้างจึงต้องคำนวณโดยเอาค่าจ้างเดือนสุดท้ายของลูกจ้าง คูณด้วยระยะเวลาทำงานตั้งแต่เริ่มทำงานกับโรงงานสุราบางยี่ขันตลอดมาจนออกจากงานหรือตาย ได้จำนวนเงินเท่าใดลบด้วยจำนวนเงินบำเหน็จโดยเอาค่าจ้างเดือนสุดท้ายของลูกจ้างที่ได้รับจากบริษัทสุรามหาคุณ จำกัดคูณด้วยระยะเวลาทำงานตั้งแต่เริ่มทำงานในโรงงานสุราบางยี่ขันตลอดมาจนถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2522 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่บริษัทสุรามหาคุณ จำกัดเช่าโรงงานสุรา ผลลัพธ์เป็นจำนวนเงินบำเหน็จที่จำเลยต้องจ่ายแก่ลูกจ้าง
คำสั่งของกระทรวงอุตสาหกรรมให้นับระยะเวลาเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จเป็นอย่างเดียวกับบทบัญญัติว่าด้วยการนับเวลาราชการทวีคูณของข้าราชการตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ พ.ศ. 2494มีความมุ่งหมายว่าพนักงานและคนงานโรงงานสุนามีฐานะใกล้เคียงกับข้าราชการ สมควรได้นับเวลางานทวีคูณอย่างเดียวกับข้าราชการแต่ไม่มีเหตุที่พนักงานและคนงานดังกล่าวจะได้นับเวลาทำงานทวีคูณนอกเหนือไปกว่าข้าราชการพึงได้รับ ดังนั้นหากมีเหตุตามกฎหมายที่ข้าราชการไม่อาจนับเวลาราชการทวีคูณ เหตุนั้นย่อมทำให้พนักงานและคนงานไม่อาจนับเวลาทำงานเป็นทวีคูณด้วย
เมื่อลูกจ้างออกจากงานหรือตาย จำเลยต้องชำระบำเหน็จแก่ลูกจ้างหรือทายาทตามสัญญาเช่า หนี้เงินบำเหน็จจึงถึงกำหนดชำระ หลังจากลูกจ้างหรือโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคหนึ่งหนี้บำเหน็จเป็นหนี้เงินจึงต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี เมื่อวันทวงถามและผิดนัดสำหรับลูกจ้างไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเป็นวันใด โจทก์จึงชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง
คำสั่งของกระทรวงอุตสาหกรรมให้นับระยะเวลาเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จเป็นอย่างเดียวกับบทบัญญัติว่าด้วยการนับเวลาราชการทวีคูณของข้าราชการตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ พ.ศ. 2494มีความมุ่งหมายว่าพนักงานและคนงานโรงงานสุนามีฐานะใกล้เคียงกับข้าราชการ สมควรได้นับเวลางานทวีคูณอย่างเดียวกับข้าราชการแต่ไม่มีเหตุที่พนักงานและคนงานดังกล่าวจะได้นับเวลาทำงานทวีคูณนอกเหนือไปกว่าข้าราชการพึงได้รับ ดังนั้นหากมีเหตุตามกฎหมายที่ข้าราชการไม่อาจนับเวลาราชการทวีคูณ เหตุนั้นย่อมทำให้พนักงานและคนงานไม่อาจนับเวลาทำงานเป็นทวีคูณด้วย
เมื่อลูกจ้างออกจากงานหรือตาย จำเลยต้องชำระบำเหน็จแก่ลูกจ้างหรือทายาทตามสัญญาเช่า หนี้เงินบำเหน็จจึงถึงกำหนดชำระ หลังจากลูกจ้างหรือโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคหนึ่งหนี้บำเหน็จเป็นหนี้เงินจึงต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี เมื่อวันทวงถามและผิดนัดสำหรับลูกจ้างไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเป็นวันใด โจทก์จึงชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3247/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเตือนหนี้และการปิดประกาศทวงหนี้ที่ไม่เข้าข่ายความผิดทางอาญา เมื่อเจ้าหนี้ได้พยายามเตือนหนี้ด้วยวิธีการที่เหมาะสมแล้ว
โจทก์ที่ 1 เป็นหนี้จำเลยที่ 1,2 อยู่ ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้กันไว้ซึ่งจำเลยที่ 1,2 จะต้องเตือนให้โจทก์ที่ 1 ชำระก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคแรก จึงจะมีสิทธิฟ้องให้ชำระหนี้ได้ โจทก์ที่ 1 ไปทำงานที่อื่น จำเลยที่ 1,2 ไม่มีโอกาสเตือนให้ชำระหนี้ได้ เมื่อไปทวงหนี้จากโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ก็ไม่ยอมชำระ เมื่อมีหนังสือเตือนให้โจทก์ที่ 1 ชำระโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ไม่มีผู้ใดรับ จำเลยที่ 2 ไปทวงหนี้จากโจทก์ที่ 2 อีก และบอกว่าหากไม่ชำระให้จะเอาประกาศปิดให้เสียชื่อเสียง โจทก์ที่ 2 กลัว จึงรับปากว่าจะชำระแต่แล้วก็ไม่ชำระให้ จำเลยที่ 1,2 จึงมอบให้จำเลยที่ 3 ผู้เป็นทนายความทำประกาศบอกกล่าวให้โจทก์ที่ 1ชำระหนี้ แล้วให้จำเลยที่ 4 นำไปให้ตำรวจปิดในที่เปิดเผย 3 แห่ง การที่จำเลยที่ 2 บอกโจทก์ที่ 2ว่าหากไม่ชำระหนี้จะปิดประกาศทวงหนี้ก็ได้ การทำประกาศบอกกล่าวให้ชำระหนี้ไปปิดไว้ก็ดี เป็นการเตือนให้โจทก์ที่ 1 ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204วรรคแรก ทั้งข้อความก็ตรงกับความจริงไม่มีข้อความอันเป็นการใส่ความ หรือดูหมิ่นโจทก์ที่ 1 แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 84,86,309,326,328,337,338,392,393 ดังที่โจทก์ฟ้อง