คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 54 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509-5510/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลพิจารณาเหตุผลความจำเป็นและผลกระทบต่อลูกจ้างสูงอายุ
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางรับฟังพยานหลักฐานเพียงว่า จำเลยจ่ายเงินเดือนหรือโบนัสให้แก่ลูกจ้างในปีที่ผ่านมา โดยมิได้รับฟังข้อเท็จจริงตามงบการเงินที่แสดงถึงฐานะแห่งกิจการของจำเลยอย่างแท้จริงตามที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นเชิงลบอย่างร้ายแรงต่อสถานะของกิจการของจำเลยว่าที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของกิจการซึ่งถือเป็นความไม่แน่นอนที่สำคัญ หากไม่สามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่องแล้ว จำเลยอาจจำเป็นต้องปรับปรุงมูลค่าสินทรัพย์ใหม่ จัดประเภทสินทรัพย์และหนี้สินใหม่ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงไป แต่ศาลแรงงานกลางกลับให้น้ำหนักพยานหลักฐานประกอบ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและไม่เป็นธรรมต่อนายจ้างที่ประสบภาวะขาดทุนเช่นจำเลยนั้น เห็นว่า อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวประสงค์ที่จะให้ศาลฎีการับฟังว่าจำเลยประสบภาวะขาดทุนจนประกอบกิจการต่อไปไม่ได้นั่นเอง อันเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การวินิจฉัยว่ากรณีใดเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น ศาลชอบที่จะพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นสำคัญว่ามีเหตุอันจำเป็นหรือสมควรเพียงพอที่จะเลิกจ้างหรือไม่ เมื่อศาลแรงงานกลางนำข้อเท็จจริงที่ฟังมาเป็นหลักในการวินิจฉัยและฟังว่า จำเลยไม่ได้ประสบภาวะขาดทุนจนประกอบกิจการต่อไปไม่ได้ เพราะยังได้จ่ายเงินเพิ่มหรือโบนัสให้ลูกจ้างในปีที่ผ่านมาประกอบกับจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองและลูกจ้างอื่นอีก 5 คน จากลูกจ้างทั้งหมดประมาณ 240 คน โดยที่โจทก์ทั้งสองทำงานมานานและอายุมากแล้วว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้จำเลยจะอ้างว่าจำเลยได้ใช้หลักเกณฑ์ผลการประเมินการปฏิบัติงานในสิ้นปี 2546 ซึ่งประเมินลูกจ้างทุกคนประจำปีไว้ก่อนการเลิกจ้างและถือคะแนนการประเมินเป็นเกณฑ์การเลิกจ้าง โดยไม่ปรากฏว่ามีการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสองแต่อย่างใด แต่หลักเกณฑ์การเลิกจ้างดังกล่าวจำเลยก็มิได้ประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบว่าจะใช้หลักเกณฑ์ผลการประเมินการปฏิบัติงานปี 2546 มาเป็นเกณฑ์การเลิกจ้าง คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางจึงเป็นการวินิจฉัยถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่า กรณีเช่นนี้เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 หาใช่เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่จำเลยอุทธรณ์มาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8000/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินประกันการทำงานนายจ้างต้องจัดทำบัญชีแยกรายบุคคลและคืนเงินให้ลูกจ้างตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 10 วรรคสอง กำหนดให้ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับเงินประกัน หรือทำสัญญาประกันกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ความเสียหายที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำ เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออก หรือสัญญาประกันสิ้นอายุให้นายจ้างคืนเงินประกันพร้อมดอกเบี้ย ถ้ามี ให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือวันที่ลูกจ้างลาออก หรือวันที่สัญญาประกันสิ้นอายุแล้วแต่กรณี และเพื่อให้สามารถดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงได้มีประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงาน หรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง กำหนดจำนวนเงินและวิธีการเก็บรักษา โดยข้อ 7 กำหนดให้นายจ้างนำเงินประกันฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น โดยจัดให้มีบัญชีเงินฝากของลูกจ้างแต่ละคนและให้แจ้งชื่อธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น ชื่อบัญชี และเลขที่บัญชีให้ลูกจ้างทราบเป็นหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รับเงินประกัน ดังนั้น เพื่อใช้ลูกจ้างได้รับเงินประกันคืนภายในเจ็ดวันพร้อมดอกเบี้ย นายจ้างจึงต้องนำเงินประกันฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นโดยจัดให้มีบัญชีเงินฝากของลูกจ้างแต่ละคน และคืนเงินประกันในบัญชีเงินฝากนั้นพร้อมดอกเบี้ย ถ้ามี แก่ลูกจ้างต่อไปโดยนายจ้างจะเก็บรักษาเงินประกันวิธีอื่นหรือนำไปจัดหาผลประโยชน์อื่นใดนอกจากนี้มิได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้แยกบัญชีเงินฝากของลูกจ้างแต่ละคนไว้และนำดอกเบี้ยของลูกจ้างแต่ละคนโอนมารวมกันไว้ที่กองทุนสวัสดิการพนักงานทั้งการจ่ายเงินปันผลแก่ลูกจ้างทุกสิ้นปีก็เป็นการปันผลคืนสู่ลูกจ้างในรูปแบบของสินค้ามิใช่ดอกเบี้ย จึงเป็นการปฏิบัติไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 10 วรรคสอง และวิธีการตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงาน หรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ข้อ 7
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่ให้สืบพยานโจทก์ในประเด็นที่จำเลยกับพวกกระทำละเมิดสิทธิของโจทก์โดยการข่มขู่และขัดขวางการปฏิบัติงานของพนักงานโจทก์ ระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งดังกล่าวในสำนวน อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8000/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินประกันการทำงาน นายจ้างต้องแยกบัญชีรายบุคคลและจ่ายดอกเบี้ยให้ลูกจ้าง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 10 วรรคสอง กำหนดให้ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับเงินประกันหรือทำสัญญาประกันกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ความเสียหายที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำ เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออกหรือสัญญาประกันสิ้นอายุให้นายจ้างคืนเงินประกันพร้อมดอกเบี้ยถ้ามี ให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือวันที่ลูกจ้างลาออกหรือวันที่สัญญาประกันสิ้นอายุแล้วแต่กรณี และตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงาน หรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ข้อ 7 กำหนดให้นายจ้างนำเงินประกันฝากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินตามบัญชีเงินฝากของลูกจ้างแต่ละคน เพื่อคืนเงินประกันพร้อมดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันโดยนายจ้างจะเก็บรักษาเงินประกันวิธีอื่นหรือนำไปจัดหาผลประโยชน์อื่นใดนอกจากนี้มิได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้แยกบัญชีเงินฝากของลูกจ้างแต่ละคนไว้และนำดอกเบี้ยของลูกจ้างแต่ละคนโอนมารวมกันไว้ที่กองทุนสวัสดิการของพนักงานโดยจ่ายปันผลคืนแก่ลูกจ้างในรูปแบบสินค้ามิใช่ดอกเบี้ย จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 10 วรรคสอง และประกาศกระทรวงดังกล่าว
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เคยมีหนังสือภาคทัณฑ์ลูกจ้างเพราะบันทึกสต๊อกสินค้าบกพร่องมิได้กล่าวถึงเรื่องบันทึกสต๊อกสินค้ามีมูลค่าสูงเกินจริงแต่อย่างใด ที่โจทก์อุทธรณ์เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่าลูกจ้างกระทำการยักยอกทรัพย์ทำให้โจทก์เสียหาย จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง และอุทธรณ์โจทก์ที่กล่าวอ้างว่าศาลแรงงานกลางไม่ให้สืบพยานโจทก์ในระหว่างพิจารณาก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งดังกล่าวในสำนวน อุทธรณ์โจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6433/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงาน และการจ่ายค่าจ้างในนามมารดาเพื่อลดหย่อนภาษี
อุทธรณ์โจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แต่ได้บิดเบือนเพื่อให้เห็นเป็นข้อกฎหมายและเพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ต่างไปจากศาลแรงงานกลางว่าจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงจ่ายเงินค่าบำเหน็จจากการขายหรือค่าคอมมิชชั่นให้แก่โจทก์ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งสองไม่ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการของจำเลยทั้งสองเพื่อจัดตั้งกองทุนเกษียณอายุ ไม่มีการลงมติรับรองรายงานการประชุม จำเลยทั้งสองไม่ได้จัดตั้งกองทุนเกษียณอายุดังที่โจทก์ฟ้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินจากกองทุนเกษียณอายุดังที่โจทก์ฟ้องได้ โจทก์อุทธรณ์โดยอ้างว่ารายงานการประชุมเป็นเอกสารที่ทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายและอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1207 จึงมีผลผูกพันจำเลยทั้งสองให้ต้องปฏิบัติตามรายงานการประชุม เป็นอุทธรณ์ที่บิดเบือนว่าข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองได้จัดตั้งกองทุนเกษียณอายุขึ้นโดยชอบแล้วตามรายงานการประชุมเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่าเมื่อรายงานการประชุมเป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นโดยชอบและรักษาไว้ ณ สำนักงานที่ดินได้จดทะเบียนของจำเลยทั้งสอง เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นประธานแห่งการประชุมลงลายมือชื่อไว้แล้วย่อมสันนิษฐานได้ว่าเป็นหลักฐานอันถูกต้องแห่งข้อความที่ได้จดบันทึกไว้จึงย่อมมีผลผูกพันจำเลยทั้งสอง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์นั้น แม้มีข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการจ่ายเงินค่าจ้างอันมีผลทำให้รัฐจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากโจทก์ได้ลดน้อยลง ถือได้ว่าเป็นการไม่สุจริต แต่ข้อตกลงการจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ของจำเลยที่ 1 ก็หาตกเป็นโมฆะไม่ โจทก์จึงมีสิทธิรับค่าจ้างในส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6075/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, ข้อตกลงหลังเกษียณ, และการผิดสัญญาหลังพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
จำเลยทั้งสามติดต่อและตกลงรับโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยที่ 1 เพราะเห็นว่าโจทก์เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ สามารถทำหน้าที่บริหารดูแลงานทรัพย์สินทางปัญญาอันเป็นสาระสำคัญของสัญญาจ้างงาน การเป็นเนติบัณฑิตมลรัฐแคลิฟอร์เนีย หาใช่สาระสำคัญของสัญญาจ้างงานไม่ เพียงแต่ทำให้โจทก์ดูมีคุณสมบัติเด่นเป็นพิเศษ มีความน่าเชื่อถือและน่าไว้วางใจในการดูแลและบริหารงานมากยิ่งขึ้นเท่านั้น สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นโมฆียะกรรม ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ในทำนองว่าการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานของโจทก์ต้องอาศัยคุณสมบัติทางวิชาชีพที่น่าเชื่อถือ คุณสมบัติทางวิชาชีพจึงเป็นสาระสำคัญของสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ถือเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อให้ศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 รับโจทก์เข้ามาทำงานก็เพราะเห็นว่าโจทก์เป็นเนติบัณฑิตมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ไม่ใช่เพราะความรู้ความสามารถอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า การเป็นเนติบัณฑิต มลรัฐแคลิฟอร์เนียหรือไม่ เป็นสาระสำคัญแห่งสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 อันจะทำให้สัญญาจ้างเป็นโมฆียะกรรมหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามหนังสือเลิกจ้างได้ระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ถึง 12 ข้อ ซึ่งพอที่จะทำให้โจทก์เข้าใจได้แล้ว โดยเฉพาะในข้อ 1 ได้ระบุไว้ว่า โจทก์ฝ่าฝืนกฎและมาตรฐานการทำงานของติลลิกี แอนด์ กิบบินส์ พ.ศ.2522 ซึ่งโจทก์ได้อ่าน ยอมรับและตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อ 1 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 13 ข้อ 15 และข้อ 16 โดยในข้อ 7 ของกฎและมาตรฐานความประพฤติ ระบุไว้ว่าห้ามมิให้พนักงานจัดเตรียมหรือยื่นแบบการให้ถ้อยคำ คำขอหรือเอกสารอื่น ๆ อันเป็นเท็จหรือไม่ถูกต้องแก่สำนักงาน ซึ่งพอเข้าใจได้ว่าเหตุแห่งการเลิกจ้างโจทก์ประการหนึ่งมาจากการที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า โจทก์ปกปิดหรือแจ้งคุณวุฒิเกี่ยวกับเนติบัณฑิตอันเป็นเท็จนั่นเอง หนังสือเลิกจ้างดังกล่าวจึงระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ตามมาตรา 17 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ แล้ว และการที่โจทก์สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกวิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยโลโยลา จำเลยที่ 2 ที่ 3 รู้จักโจทก์มาก่อน จำเลยที่ 3 เคยชักชวนโจทก์แต่แรกแล้วให้มาร่วมทำงานกับจำเลยที่ 1 ดังนั้น การที่โจทก์เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าแผนกทรัพย์สินทางปัญญา โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่เคยขอดูใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากโจทก์เลย ดังนี้ การที่โจทก์รับรองประวัติข้อมูลการศึกษาและประวัติการทำงานของโจทก์ว่า เป็นเนติบัณฑิตมลรัฐแคลิฟอร์เนีย อันเป็นเท็จ แม้จะเป็นการผิดหรือฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยก็ตามก็ไม่ใช่เป็นกรณีร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) และเมื่อศาลแรงงานกลางได้ฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า กรณีฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชักชวนลูกความของจำเลยที่ 1 ไปใช้บริการของบริษัทเบเคอร์ แอนด์ แมคเคนซี่ ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ชักชวนพนักงานหรือลูกความของจำเลยที่ 1 ไปทำงานหรือใช้บริการสำนักกฎหมายอื่น และฟังไม่ได้ว่าโจทก์นำเอารายชื่อที่อยู่ลูกความ แฟ้มจดหมายติดต่อกับลูกความ แฟ้มความเห็นทางกฎหมาย ตัวอย่างแบบฟอร์มที่ใช้ในบริษัท จำเลยที่ 1 รายงานทางการเงินของจำเลยที่ 1 ไป ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้กระทำผิด จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 (4)
โจทก์แจ้งคุณสมบัติด้านวิชาชีพอันเป็นเท็จต่อจำเลยที่ 1 ในใบสมัครงาน และในการทำงานโจทก์ให้ข้อมูลหรือรับรองข้อมูลเกี่ยวกับคุณวุฒิด้านวิชาชีพของโจทก์เป็นเท็จ การกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหาย ความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์จึงมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และถือได้ว่าโจทก์กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยที่ 1 ชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แต่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้มีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ตามฟ้อง
ตามใบสมัครงานตอนท้ายมีข้อความสรุปไว้ว่า "นอกจากนี้ ข้าพเจ้ายินยอมที่จะไม่ทำงานเพื่อหรือทำประโยชน์ให้กับสำนักงานกฎหมายอื่นในกรุงเทพมหานครเป็นเวลา 2 ปี ในกรณีที่ข้าพเจ้าได้ออกจากการทำงานที่ ติลลิกี แอนด์ กิบบินส์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม (ประโยคข้างต้นดังกล่าวมิให้นำมาใช้กับทนายซึ่งทำงานให้กับบริษัท)" โดยข้อความในวงเล็บของต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษระบุว่า "(The preceding sentence dose not apply to lawyers engaged with the firm.)" คำในวงเล็บคำว่า "lawyers" นั้น ย่อมหมายถึง ทนายความผู้ทำหน้าที่ว่าความหรือให้คำปรึกษาเป็นการเฉพาะเท่านั้น โจทก์เข้าทำงานตำแหน่งหัวหน้างานทรัพย์สินทางปัญญาและตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้อำนวยการฝ่ายงานทรัพย์สินทางปัญญาอันเป็นตำแหน่งที่สามารถล่วงรู้ความลับในทางการค้าและข้อมูลการค้าของจำเลยที่ 1 ได้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีในกิจการประกอบธุรกิจโดยชอบไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่เป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ถูกจำเลยที่ 1 เลิกจ้างแล้ว โจทก์ไปทำงานกับบริษัทเบเคอร์ แอนด์ แมคเคนซี จำกัด อันเป็นสำนักงานกฎหมายในกรุงเทพมหานครจึงเป็นการผิดสัญญาข้อดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแรงงาน: ห้ามอุทธรณ์เมื่อทำโดยความยินยอมและไม่มีพยานหลักฐานใหม่
ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยมุ่งระงับข้อพิพาทระหว่างกัน และมิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทไป ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงอาจมีผลไม่ตรง หรือไม่เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องได้ ถ้าข้อตกลงนั้นเกี่ยวพันกับประเด็นแห่งคดีและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะเป็นไปตามข้อตกลงที่คู่ความต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52 ซึ่งห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกจากนี้คดีแรงงานเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษอันควรระงับลงได้ด้วยความเข้าใจต่อกันเพื่อที่ทั้งสองฝ่ายจะได้มีความสัมพันธ์อันดีกันต่อไป พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 38 วรรคหนึ่ง จึงบัญญัติให้ศาลแรงงานไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงหรือประนีประนอมยอมความกัน การที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ยคดีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินต่างๆ แล้ว คู่ความตกลงกันได้โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า "ข้อ 1 โจทก์จำเลยรับกันว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเกิดจากความเข้าใจผิด บัดนี้สองฝ่ายเข้าใจกันดีแล้ว จำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นคนของจำเลย ปัจจุบันออกจากบริษัทจำเลยแล้ว จำเลยยอมจ่ายเงินช่วยเหลือแก่โจทก์ 40,000 บาท โดยจะนำเงินมาวางศาลภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ข้อ 2 จำเลยจะนำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้และรายงานกระบวนพิจารณาไปปิด ณ ที่ทำการของจำเลยมีกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2548 ข้อ 3 โจทก์ยอมตามข้อ 1 ข้อ 2 ไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งใดจากกันอีก" และพิพากษาตามยอมจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะอุทธรณ์ได้ ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
ขณะที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ย โจทก์มีทนายความอยู่ด้วยและทนายความของโจทก์ก็ร่วมลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเนื่องจากกลัวคำขู่ของศาลแรงงานกลางขณะทำการไกล่เกลี่ยนั้น โจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏหลักฐานอื่นในสำนวน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายผู้ว่าการ ททท. ชอบด้วยกฎหมายเมื่อมีส่วนได้เสียกับบริษัทคู่สัญญา และขัดต่อจรรยาบรรณกรรมการรัฐวิสาหกิจ
ตาม พ.ร.บ. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มาตรา 15 บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายมีอำนาจที่จะยับยั้งการกระทำใด ๆ ของจำเลยที่ 1 ที่เห็นว่าเป็นการขัดต่อนโยบายหรือมติของรัฐมนตรีได้ด้วย ส่วนพนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจที่จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของมติคณะรัฐมนตรีเช่นเดียวกัน เมื่อปรากฏว่าคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2541 เรื่องจรรยาบรรณของกรรมการรัฐวิสาหกิจ ข้อ 4 กำหนดให้กรรมการต้องไม่มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำกับรัฐวิสาหกิจที่ตนเป็นกรรมการไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับบริษัทที่ทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี ข้ออ้างในการย้ายโจทก์จากตำแหน่งผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไม่เป็นเหตุนอกเหนือไปจากเหตุตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และไม่เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มาตรา 25 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8568/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินทดแทนกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน: การอุทธรณ์ต้องห้าม & การพิจารณาพยานหลักฐานทางการแพทย์
โจทก์ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 7 และมีหนังสือยินยอมให้องค์การค้าของคุรุสภาซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์เป็นผู้รับเงินทดแทนแทนโจทก์ การที่จำเลยโดยสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 7 มีหนังสือถึงผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภาปฏิเสธการจ่ายเงิน ส. ผู้ทำการแทนนายจ้างอุทธรณ์คำสั่ง ดังนี้ แม้จำเลยจะได้แจ้งผลคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนไปยังผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภาในวันที่ 1 พฤษภาคม 2545 และในวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 แต่เมื่อหนังสือยินยอมที่โจทก์มีถึงผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 7 โจทก์เพียงแต่ยินยอมให้องค์การค้าของคุรุสภารับเงินทดแทนได้โดยตรงจากสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 7 เท่านั้น โดยไม่มีข้อความใด ๆ ให้ผู้อำนวยการองค์การค้าของคุรุสภามีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน การแจ้งของจำเลยทั้งสองครั้งจึงไม่มีผลต่อโจทก์ การนำคดีมาสู่ศาลของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 53
โจทก์ยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนต่อสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 7 โจทก์อ้างว่าปวดบริเวณเอวเป็นอย่างมากและไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ โดยมีเหตุเนื่องมาจากโจทก์ทำหน้าที่ตรวจสอบและวัดขนาดคุรุภัณฑ์ ซึ่งจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายคุรุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักมากให้แก่นายจ้าง ข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นเรื่องขอรับเงินทดแทนกรณีลูกจ้างประสบอันตราย มิใช่ขอรับเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเจ็บป่วย จึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 14 ที่การเจ็บป่วยของลูกจ้างที่สามารถรับเงินทดแทนได้จะต้องเกิดจากโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน
การที่ศาลแรงงานกลางชั่งน้ำหนักระหว่างคำเบิกความของ ป. ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อผู้ตรวจรักษาโจทก์กับคำเบิกความของ ธ. ซึ่งเป็นอนุกรรมการการแพทย์คนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งแล้ววินิจฉัยว่า คำเบิกความของ ป. น่าจะรับฟังมากกว่าและเชื่อตามคำเบิกความดังกล่าวว่าโจทก์ประสบอันตรายจากการทำงาน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยจึงมุ่งประสงค์ให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ได้ประสบอันตรายจากการทำงานนั่นเอง อันเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6937/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพักงานทางวินัย: การปฏิบัติตามระเบียบ, กำหนดเวลาสอบสวน, และการกำหนดค่าเสียหาย
โจทก์มีพฤติกรรมในการปฏิบัติงานไม่ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติงานภาคการพนักงานของจำเลย และมีพฤติการณ์ต้องสงสัยว่าจะมีส่วนร่วมหรือรู้เห็นกับการทุจริตของ ส. ในการเบิกค่าใช้จ่ายต่างๆโดยไม่มีใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญคู่จ่ายประกอบการเบิกจ่ายแล้วนำเงินไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว ดังที่จำเลยระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งพักงานซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นกรณีความผิดร้ายแรง หากจะให้โจทก์คงปฏิบัติงานอยู่อาจจะเกิดผลร้ายแก่ธนาคารจำเลยได้ จำเลยย่อมมีอำนาจพักงานโจทก์ได้ คำสั่งพักงานของจำเลยจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยระเบียบปฏิบัติงานภาคการพนักงานของจำเลย แม้จำเลยจะมิได้มีคำสั่งตั้งกรรมการสอบสวนและวินิจฉัยโทษให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันออกคำสั่งพักงานซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบก็เป็นกรณีที่เกิดขึ้นหลังจากจำเลยได้มีคำสั่งพักงานโจทก์ไปโดยชอบแล้ว หาทำให้คำสั่งพักงานที่จำเลยมีอำนาจออกคำสั่งได้โดยชอบกลับกลายเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยมิได้วินิจฉัยโทษให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามที่ระเบียบกำหนดไว้ โจทก์ก็เพียงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเป็นการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นเท่านั้น
การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้กำหนดค่าเสียหายรายเดือนเท่ากับเงินเดือนของโจทก์ มิใช่ครึ่งหนึ่งของค่าจ้างนั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายเพราะเหตุจำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้โจทก์ตามความเหมาะสม อุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลางซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5346/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งคำร้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาเป็นของศาลฎีกา การวินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
การสั่งคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาซึ่งอ้างว่าเป็นการผิดระเบียบในชั้นฎีกาเป็นอำนาจของศาลฎีกา ที่ศาลแรงงานกลางสั่งยกคำร้องของโจทก์โดยไม่ส่งมาให้ศาลฎีกาสั่ง จึงเป็นการไม่ชอบ และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งในเรื่องดังกล่าวเป็นที่สุด ที่ศาลแรงงานกลางสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบ จึงให้ยกคำสั่งของศาลแรงงานกลางดังกล่าวเสีย และคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้วเห็นสมควรพิจารณาคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบของโจทก์ โดยเห็นว่า คำพิพากษาศาลฎีกาถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านให้คู่ความฟังจะเพิ่มเติมแก้ไขมิได้ เว้นแต่กรณีมีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย คดีนี้ศาลฎีกาพิพากษายกอุทธรณ์โจทก์โดยวินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหมดเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยหรือไม่ อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง จึงไม่รับวินิจฉัย คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงวินิจฉัยครบถ้วนตามประเด็นในอุทธรณ์ของโจทก์แล้วมิได้มีข้อผิดพลาดหรือผิดหลง โจทก์จึงไม่อาจขอให้เพิ่มเติมแก้ไขได้
(คำสั่งคำร้อง)
of 19