คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 54 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องการเลิกจ้างและค่าจ้างตามพยานหลักฐาน ศาลแรงงานพิจารณาจากคำเบิกความและเอกสาร
ศาลแรงงานพิจารณาข้อเท็จจริงในสำนวนจากคำเบิกความของโจทก์ พยานโจทก์ จำเลย และเอกสารที่เกี่ยวข้อง แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2สั่งจ่ายเช็คชำระเป็นค่าจ้างให้โจทก์ และฟังเป็นยุติว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายของโจทก์เดือนละ 70,000 บาท ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวตรงกับพยานบุคคลและพยานเอกสารในสำนวนแล้ว คำวินิจฉัยของศาลแรงงานจึงชอบด้วยกฎหมาย ศาลแรงงานพิจารณาคำเบิกความของโจทก์ ภ.พยานโจทก์ จำเลยที่ 2และพฤติการณ์แห่งคดีแล้วฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์ ที่จำเลยที่ 2อุทธรณ์อ้างว่าศาลแรงงานรับฟังคำเบิกความของ ภ.พยานโจทก์ว่า หลังจากออกจากงานแล้วโจทก์มาสมัครงานกับภ. แต่คำเบิกความของ ภ.ในสำนวนไม่ปรากฏข้อความดังกล่าวนั้น เมื่อปรากฏว่า ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงตอนนี้โดยรับฟังคำเบิกความของโจทก์ที่ยืนยันว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ และตั้งแต่กลางปี 2539 ธุรกิจของจำเลยที่ 2 ประสบปัญหาด้านการเงินทำให้จำเลยที่ 2 ขาดเงินทุนหมุนเวียน และติดค้างค่าเช่าสำนักงาน ค่ากระแสไฟฟ้า ทั้งจำเลยที่ 2ก็ชำระค่าจ้างเดือนกันยายน 2539 ให้โจทก์ไม่ครบ นอกจากนี้ศาลแรงงานยังรับฟังคำเบิกความของภ.พยานโจทก์ที่เบิกความสนับสนุนว่า ภ.เคยโทรศัพท์ไปยังสำนักงานของจำเลยที่ 1 ได้พูดกับผู้จัดการผู้ชายคนหนึ่งมารับโทรศัพท์และแจ้งว่าโจทก์เคยทำงานด้วย แต่ให้ออกไปแล้วโดยไม่ได้ระบุสาเหตุให้ออกเช่นนี้เห็นได้ว่าศาลแรงงานนำคำเบิกความของภ.มาวินิจฉัยสนับสนุนคำเบิกความของโจทก์ แม้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางระบุว่า ภ.พยานโจทก์อีกปากหนึ่งก็เบิกความสนับสนุนว่า หลังจากออกจากงานแล้วโจทก์มาสมัครงานกับ ภ.ก็ตามข้อความดังกล่าวก็เป็นการวินิจฉัยของศาลแรงงานมิใช่เป็นคำเบิกความของ ภ.ดังนี้ จึงมิใช่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงขัดแย้งกับพยานหลักฐานในสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงขัดกับคำรับของคู่ความในคดีแรงงาน เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย
เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นการหยิบยกเอาข้อเท็จจริงแต่เพียงบางส่วนขึ้นเป็นเหตุอ้างว่าศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคำรับของคู่ความดังนี้เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง แม้ว่าการทำงานล่วงเวลากับการทำงานเกินเวลาทำงานปกติจะมีความหมายที่แตกต่างกัน แต่ต่างก็เนื่องมาจากการที่ ลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้างนอกเวลาทำงานปกตินั่นเอง และแตกต่างกันเพียงแต่ค่าตอบแทนว่า หากเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาก็จะมี อัตราเท่าครึ่งในวันธรรมดาหรือสามเท่าในวันหยุดแล้วแต่กรณี แต่ถ้าการที่ลูกจ้างทำงานเกินเวลาทำงานปกติโดยนายจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาตามกฎหมาย นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าทำงาน ที่ลูกจ้างทำงานเกินเวลาทำงานปกติให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้าง ตามเวลาที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกตินั้น เมื่อคดีปรากฏข้อเท็จจริง ว่าโจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติแล้ว ศาลแรงงานย่อมพิพากษาให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าทำงานที่โจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการอุทธรณ์ค่าเสียหาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ค่าเสียหายที่โต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้น
เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่จำเลยอ้าง และการที่โจทก์ไม่สนใจศึกษางานนั้นก็มิใช่ข้อสำคัญที่จะถือเป็นความผิด การเลิกจ้างโจทก์จึงเป็น การ เลิกจ้าง โดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายจากการที่โจทก์ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเป็นเงินจำนวนหนึ่งให้โจทก์ การที่โจทก์อุทธรณ์เพื่อให้ศาลฎีกากำหนดจำนวนค่าเสียหายให้โจทก์เพิ่มขึ้นทั้งค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการเรียกร้องภายหลังโจทก์ถูกเลิกจ้างไปแล้ว ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม กรณีจึงมิใช่เป็นค่าเสียหายในอนาคต ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องอีก ดังนี้อุทธรณ์โจทก์จึงเป็นการ โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการกำหนดค่าเสียหายเป็นอุทธรณ์ ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10260-10273/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง: พิจารณาจากระยะเวลาโครงการ ไม่ใช่ระยะเวลาสัญญาจ้าง และการรวมพิจารณาคดีหลายสำนวน
จำเลยที่6เป็นเพียงกิจการร่วมค้าระหว่างจำเลยที่1และที่2และจำเลยที่6ได้จดทะเบียนในฐานะเป็นผู้ประกอบการต่อกรมสรรพากรเท่านั้นจำเลยที่6จึงไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลอันจะถูกฟ้องเป็นคดีนี้ได้ ศาลแรงงานวินิจฉัยจากพยานโจทก์ทั้งสิบสี่และจำเลยที่1และที่2แล้วฟังว่าจำเลยที่1และที่2เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสิบสี่จำเลยที่1และที่2อุทธรณ์อ้างว่าการวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางขัดแย้งกับข้อความในสัญญาจ้างที่โจทก์ทั้งสิบสี่อ้างส่งศาลเป็นการไม่ชอบเป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานซึ่งเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่ง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเรื่องการคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่14)ลงวันที่16สิงหาคม2536ข้อ46กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างและในวรรคสามกำหนดเรื่องระยะเวลาการจ้างซึ่งต้องกำหนดไว้แน่นอนส่วนวรรคสี่เป็นเรื่องกำหนดประเภทของงานที่สามารถจะทำสัญญาจ้างโดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้วนายจ้างได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างที่เลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลาที่ทำสัญญาจ้างไว้นั้นซึ่งมีงานอยู่3ประเภทแต่ในตอนท้ายของวรรคสี่ที่กำหนดประเภทของงานนั้นได้กำหนดไว้ด้วยว่าซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน2ปีคำว่างานนั้นย่อมหมายถึงงานทั้งสามประเภทที่กำหนดไว้นั่นเองจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน2ปีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน2ปีดังกล่าวจึงหาได้หมายถึงระยะเวลาการจ้างที่นายจ้างทำสัญญาจ้างลูกจ้างไม่หากหมายถึงระยะเวลาการจ้างก็ต้องระบุไว้ในวรรคสามซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างการที่นำระยะเวลางานมากำหนดในวรรคสี่จึงทำให้เห็นได้ว่าหมายถึงระยะเวลาของงานทั้งสามประเภทนั่นเองเมื่องานที่จำเลยที่1และที่2ต้องกระทำการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันมีกำหนดระยะเวลาสามปีเกินกว่า2ปีแม้จะเป็นงานในโครงการเฉพาะหรืองานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวจำเลยที่1และที่2ก็ไม่ได้รับยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย คดีนี้ศาลแรงงานมีคำสั่งให้คดีทั้งสิบสี่สำนวนซึ่งมีโจทก์แต่ละคนเป็นโจทก์แต่ละสำนวนรวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันเมื่อรวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าเป็นคดีเดียวกันแล้วข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณาจึงเป็นข้อเท็จจริงในสำนวนทั้งสิบสี่สำนวนศาลย่อมนำข้อเท็จจริงนั้นมาวินิจฉัยข้อกฎหมายเป็นคุณหรือโทษแก่คู่ความทั้งหมดในสำนวนได้โจทก์ทั้งสิบสี่เป็นคู่ความในสำนวนย่อมได้รับผลจากคำวินิจฉัยด้วยแม้โจทก์บางคนจะไม่ได้เข้าเบิกความก็ตามจึงชอบที่ศาลแรงงานพิพากษาให้มีผลถึงโจทก์อื่นที่ไม่ได้เข้าเบิกความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9649/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิมว่าลูกจ้างได้รับครบถ้วนแล้ว
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานพิพากษาคดีโดยวินิจฉัยพยานหลักฐานฝ่าฝืนจากคำพยานหลักฐานในสำนวนเช่นวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสหภาพแรงงานในสถานประกอบการของจำเลยก็ดีเอกสารหมายล.1ถึงล.13เป็นรายงานการปฏิบัติงานที่ไม่ชอบของโจทก์แต่ที่จริงเป็นเอกสารที่มีข้อความชดเชยโจทก์ก็ดีและควรวินิจฉัยว่าพยานบุคคลที่โจทก์นำมาสืบรับฟังได้ว่าโจทก์ปฏิบัติงานมาด้วยดีส่วนพยานหลักฐานของจำเลยล้วนแต่เป็นพนักงานของจำเลยไม่ควรรับฟังก็ดีปรากฏว่าศาลแรงงานมิได้วินิจฉัยฝ่าฝืนพยานหลักฐานดังกล่าวโดยมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีความผิดเพราะเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสหภาพแรงงานในสถานประกอบการของจำเลยส่วนพยานเอกสารหมายล.1ถึงล.13ตรวจดูแล้วก็มิใช่หนังสือชมเชยการปฏิบัติงานของโจทก์ที่โจทก์อ้างว่ามีข้อความชดเชยว่าโจทก์ปฏิบัติงานดีก็ไม่มีปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นเอกสารใดคงมีแต่เอกสารหมายจ.7และจ.8ที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานมิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยนั้นล้วนแต่โต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานจึงเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงส่วนที่อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ตักเตือนเป็นหนังสือและศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ถูกรองกรรมการผู้จัดการของจำเลยเขียนหนังสือเตือนให้ปรับปรุงตัวใหม่ก็มิใช่หนังสือเตือนตามกฎหมายนั้นเป็นเพียงการนำมาประกอบเหตุผลในการวินิจฉัยว่าพฤติกรรมในการทำงานของโจทก์มีอย่างไรเท่านั้นเพราะในกรณีเลิกจ้างและจำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์นั้นไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่ามีการเตือนเป็นหนังสือหรือไม่อุทธรณ์ข้อนี้ก็มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายแต่อย่างใดอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวล้วนแต่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทุกวันสุดท้ายของเดือนเมื่อวันที่31กรกฎาคม2532จำเลยเลิกจ้างโจทก์และตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้นั้นจำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีโจทก์ตามเอกสารหมายล.9จำนวนเงิน73,920บาทซึ่งแยกเป็นค่าชดเชย63,350บาทกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า10,560บาทโจทก์ยอมรับว่าค่าชดเชยถูกต้องคงโต้แย้งเฉพาะสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าดังนี้เมื่อจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์วันที่31กรกฎาคม2532ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือนจึงเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่งตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา582วรรคหนึ่งซึ่งนายจ้างอาจจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่บัญญัติในมาตรา582วรรคสองเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างอีก1เดือนเท่านั้นดังนั้นโจทก์จึงได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าครบถ้วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9548-9570/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลาในงานผลิตสารเคมีอันตราย: สารเฟอร์ฟูรัลและเฟอร์ฟูริลแอลกอฮอล์
คุณสมบัติของสารเฟอร์ฟูรัลและเฟอร์ฟูริลแอลกอฮอล์แม้ในอุณหภูมิปกติก็ระเหยเป็นไอได้และเมื่อสัมผัสทางผิวหนังหรือเยื่อบุตาก็ทำให้ผิวหนังหรือดวงตาได้รับอันตรายและหากเข้าสู่ร่างกายโดยทางหายใจหรือทางปากก็อาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ทั้งเฉียบพลันหรือค่อยเป็นค่อยไปเป็นระยะเวลานานทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณสารดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายมากน้อยเพียงใดสารเฟอร์ฟูรัลและเฟอร์ฟูริลแอลกอฮอล์จึงเป็นวัตถุเคมีที่เป็นอันตรายในตัวของมันเองเมื่อสารเฟอร์ฟูรัลและเฟอร์ฟูริลแอลกอฮอล์เป็นสารที่ระเหยได้ในอุณหภูมิปกติบุคคลที่ทำงานผลิตสารดังกล่าวจึงอาจได้รับอันตรายตลอดเวลาโจทก์ทั้งยี่สิบสามเป็นลูกจ้างของจำเลยทำงานด้านการผลิตสารเฟอร์ฟูรัลและเฟอร์ฟูริลแอลกอฮอล์งานของโจทก์ทั้งยี่สิบสามจึงเป็นงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายตาม(2)แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้างลงวันที่16เมษายน2515ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยจะมีระบบป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุดีเพียงใดและลูกจ้างของจำเลยเคยได้รับอันตรายหรือไม่งานดังกล่าวของจำเลยจึงตกอยู่ในบังคับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ3(3)ที่จำเลยจะต้องจัดให้ลูกจ้างทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ42ชั่วโมงเมื่อปรากฏว่าจำเลยให้โจทก์ทั้งยี่สิบสามทำงานสัปดาห์ละ48ชั่วโมงหรือเฉลี่ยวันละ8ชั่วโมงโดยทำงาน6วันเวลาทำงานปกติคือ8ถึง17นาฬิกาพัก12ถึง13นาฬิกาโจทก์ทั้งยี่สิบสามจึงทำงานล่วงเวลาวันละ1ชั่วโมงซึ่งจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ทุกคนตามฟ้อง ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในเงินค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ทั้งยี่สิบสามเพราะโจทก์ทั้งยี่สิบสามสมยอมจำเลยมิได้ผิดสัญญานั้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังเป็นยุติตามคำแถลงของโจทก์และจำเลยว่าหากโจทก์ทั้งหมดมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาก็จะได้รับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15ต่อปีในต้นเงินดังกล่าวด้วยจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9403-9495/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างโดยปริยาย การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข และหน้าที่ปฏิบัติตามข้อตกลง
การตกลงอันจะก่อให้เกิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งรวมถึงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นหาได้จำต้องเฉพาะการตกลงโดยชัดแจ้งไม่อาจมีการตกลงโดยปริยายก็ได้ จำเลยเคยจ่ายเงินพิเศษแก่ลูกจ้างปีละ15วันแล้วได้เปลี่ยนมาเป็นการจ่ายคูปองค่าอาหารเดือนละ190บาทแทนลูกจ้างของจำเลยหาได้ทักท้วงหรือโต้แย้งคัดค้านประการใดไม่ตรงกันข้ามกลับยอมรับเอาผลการเปลี่ยนแปลงโดยยอมรับเอาคูปองค่าอาหารแทนเงินพิเศษตลอดมาจึงมีผลผูกพันจำเลยและลูกจ้าง จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างคนละ190บาทต่อเดือนนั้นคูปองค่าอาหารที่จ่ายให้มีลักษณะเป็นสวัสดิการอันเป็นสภาพการจ้างอย่างหนึ่งเมื่อลูกจ้างยอมรับเอาและจำเลยก็ได้จ่ายคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างตลอดมาจึงเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยผู้เป็นนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518บัญญัติให้ทำเป็นหนังสือมี2กรณี คือกรณีแรกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ยี่สิบคนขึ้นไปจะต้องจัดให้มีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา10วรรคแรกซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในกรณีนี้จะต้องมีข้อความดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา11ส่วนกรณีที่สองข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องของนายจ้างหรือลูกจ้างและสามารถตกลงกันได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา18ซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวนอกจากจะต้องทำเป็นหนังสือแล้วนายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการของสหภาพแรงงานแล้วแต่กรณีจะต้องลงลายมือชื่อและต้องนำไปจดทะเบียนอีกด้วย จำเลยผู้เป็นนายจ้างตกลงจ่ายคูปองค่าอาหารโดยมิได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องและมิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามกฎหมายจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือดังนี้จำเลยจะยกเบิกการจ่ายคูปองค่าอาหารซึ่งเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยที่มิได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องแก่ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา13หาได้ไม่ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าก่อนที่จำเลยจะยกเลิกจ่ายคูปองค่าอาหารจำเลยได้ตกลงกับตัวแทนลูกจ้างแล้วนั้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานฟังมาว่าไม่ได้มีการเจรจาสองฝ่ายให้ยกเลิกการจ่ายคูปองค่าอาหารอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54 จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินโบนัสและคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างแยกต่างหากจากกันแม้จำเลยจะเพิ่มเงินโบนัสแก่ลูกจ้างแต่การที่จำเลยยกเลิกการจ่ายคูปองอาหารอันเป็นผลให้ลูกจ้างไม่ได้รับคูปองอาหารย่อมไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างจำเลยจะแก้ไขยกเลิกโดยลำพังโดยที่มิได้ดำเนินการตามมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518หาได้ไม่ คำพิพากษาศาลแรงงานกล่าวไว้ในส่วนของคำวินิจฉัยว่าจำเลยต้องจ่ายค่าอาหารแก่โจทก์แต่พิพากษาให้จำเลยจ่ายอาหารแก่โจทก์นั้นเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยและเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยตกลงจ่ายคูปองค่าอาหารแก่ลูกจ้างเดือนละ190บาทซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความจึงให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจ่ายคูปองค่าอาหารเดือนละ190บาทแก่โจทก์ทุกคน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7497/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายงานและค่าจ้างในเวลาพัก: สิทธิลูกจ้างเมื่อนายจ้างไม่จัดเวลาพักตามกฎหมาย
โจทก์ที่ 1 และที่ 5 อุทธรณ์ว่า คำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์ที่ 1 และที่ 5 ย้ายไปทำงานในหน้าที่ใหม่ทำให้โจทก์ที่ 1 และที่ 5 ต้องรับภาระในการทำงานหนักขึ้นและขาดประโยชน์อันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานจึงขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 นั้นศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าเมื่อโจทก์ที่ 1 และที่ 5ย้ายมาทำงานในหน้าที่ใหม่แล้ว ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1และที่ 5 ได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานน้อยลงจากเดิมและลักษณะงานที่โจทก์ที่ 1 และที่ 5 ต้องทำในหน้าที่ใหม่ไม่หนักขึ้นกว่าเดิม อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 และที่ 5 ดังกล่าวเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่นายจ้างมิได้จัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักวันละ1 ชั่วโมง แม้จะไม่ชอบด้วยประกาศของกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515ข้อ 6 แต่ก็เป็นเรื่องที่ลูกจ้างจะฟ้องขอให้บังคับนายจ้างปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวหรือจ่ายค่าจ้างในเวลาพัก เมื่อการสั่งโยกย้ายหน้าที่ลูกจ้างไม่ขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างลูกจ้างจะฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของนายจ้างและให้ลูกจ้างกลับไปทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิมไม่ได้ เมื่อจำเลยให้โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 5ทำงานโดยมิได้จัดให้มีเวลาพัก 1 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่16 กุมภาพันธ์ 2537 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2537 และวันที่16 กุมภาพันธ์ 2537 ตามลำดับ และจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างในเวลาพักให้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 วันละ 1 ชั่วโมงตราบใดที่จำเลยยังให้โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ทำงานโดยมิได้จัดให้มีเวลาพัก 1 ชั่วโมง ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 อยู่ตลอดไปโจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ย่ามมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์จ่ายค่าจ้างดังกล่าวจนกว่าจำเลยจะจัดให้มีเวลาพัก1 ชั่วโมงแต่สำหรับโจทก์ที่ 3 ได้ออกจากงานไปแล้วจึงมีสิทธิที่จะได้ค่าจ้างดังกล่าวจนถึงวันสุดท้ายก่อนออกจากงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6923/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์เนื่องจากเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลแรงงานวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่ารายรับของจำเลยเป็นวิธีแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจวิธีหนึ่ง ในแต่ละปีจำเลยมีกำไรจัดแบ่งโบนัสให้แก่โจทก์และพนักงานคนอื่นจำเลยอุทธรณ์ว่ารายรับของจำเลยไม่มีกำไร จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเอกสารหมาย ล.3 เป็นเพียงซีด้าหารือมาเพื่อให้จำเลยหาทางลดจำนวนพนักงานลงเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในปีต่อไปเท่านั้นหลังจากที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยก็ยังประกาศรับสมัครพนักงานอื่นอีกและได้เปลี่ยนวิธีการเป็นจ้างนิติบุคคลมาทำงานแทน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดตามสัญญา ทำให้โจทก์มีปัญหาในครอบครัวของโจทก์ที่ขาดรายได้ตามปกติ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ซึ่งโจทก์ยังมีสิทธิที่จะได้ทำงานตามสัญญาอีกมีระยะเวลาถึง7 เดือน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างมาก เพราะโจทก์หวังว่าจะได้ทำงานจนครบกำหนดตามสัญญาและเมื่อใกล้จะครบกำหนดตามสัญญาโจทก์จึงจะหางานใหม่ได้ทัน จำเลยทำสัญญาไว้กับโจทก์มีระยะเวลาที่แน่นอนและโจทก์มิได้กระทำความผิดที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับค่าเสียหายนั้น ศาลแรงงานวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า หน่วยงานการพัฒนาระหว่างประเทศของแคนาดา (CIDA) มีคำสั่งให้ลดพนักงานลงเนื่องจากโครงการของหน่วยงานการพัฒนาระหว่างประเทศของแคนาดา (CIDA) มีจำนวนลดลงจริง จำเลยจึงมีเหตุผลเพียงพอเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม โจทก์อุทธรณ์ว่าหน่วยงานการพัฒนาระหว่างประเทศแคนาดา (CIDA) เพียงแต่หารือมาให้จำเลยหาทางลดจำนวนพนักงานลงเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในปีต่อไปเท่านั้น จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้นเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน อุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3032/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย: ศาลแรงงานวินิจฉัยการรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับความทุจริตของลูกจ้าง
ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบมาฟังไม่ได้ว่าโจทก์กระทำโดยทุจริตต่อหน้าที่จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์จำเลยอุทธรณ์ว่าที่ศาลแรงงานนำผลคำพิพากษาแห่งคดีอาญาซึ่งพิพากษายกฟ้องโจทก์ในคดีข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรมาขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ทุจริตต่อหน้าที่เพราะจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวไม่มีพยานหลักฐานอันจะฟังได้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่จำเลยไม่อาจเห็นพ้องด้วยการที่โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ในการขับรถและดูแลรักษารวมถึงการตรวจตราเครื่องยนต์ประจำรถยนต์คันเกิดเหตุจึงต้องมีวิสัยในการดูแลรถยนต์คันที่ตนเองรับผิดชอบให้เรียบร้อยปราศจากสิ่งของอื่นใดซึ่งไม่เคยมีมาก่อนพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ดูแลรถยนต์คันที่ตนเองรับผิดชอบดังกล่าวถือได้แล้วว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์นั้นเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานอันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่ง
of 19