พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการสำคัญผิด & การนับโทษต่อคดีเก่า - จำเลยต้องรับผิดชอบการกระทำแม้สำคัญผิด แต่การนับโทษต้องแจ้งรายละเอียดคดีเก่าที่ชัดเจน
จำเลยยิงคนที่เดินกลับจากนาเฉยๆ และมิใช่เป็นคนร้ายโดยจำเลยมิได้พินิจพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน แต่จำเลยสำคัญผิดไปว่าเป็นคนร้ายที่จะมาแย่งชิงทรัพย์จำเลยเช่นนี้ ไม่เป็นข้อแก้ตัวให้จำเลยพ้นผิดไปได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 61 การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันทรัพย์เกินสมควรแก่เหตุและกรณีแห่งความจำเป็น
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีดำที่ 198/2500ของศาลจังหวัดสุพรรณบุรี และโจทก์เพิ่งจะมากล่าวอ้างในท้ายคำอุทธรณ์ของโจทก์นั้นว่าคดีดำที่ 198/2500 ศาลพิพากษาไปแล้ว พิพากษาว่ากระไรก็ไม่กล่าว สำนวนก็ไม่อ้างมาประกอบ การกล่าวอ้างเพื่อประโยชน์แก่คดีของโจทก์ โจทก์จะต้องกล่าวอ้างให้ชัดเจนประกอบด้วยหลักฐานว่าคดีได้ดำเนินไปแล้วประการใด เช่นนี้ ไม่ใช่เป็นข้ออันศาลควรจะรู้ได้เอง ศาลฎีกาไม่สั่งนับโทษต่อให้
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีดำที่ 198/2500ของศาลจังหวัดสุพรรณบุรี และโจทก์เพิ่งจะมากล่าวอ้างในท้ายคำอุทธรณ์ของโจทก์นั้นว่าคดีดำที่ 198/2500 ศาลพิพากษาไปแล้ว พิพากษาว่ากระไรก็ไม่กล่าว สำนวนก็ไม่อ้างมาประกอบ การกล่าวอ้างเพื่อประโยชน์แก่คดีของโจทก์ โจทก์จะต้องกล่าวอ้างให้ชัดเจนประกอบด้วยหลักฐานว่าคดีได้ดำเนินไปแล้วประการใด เช่นนี้ ไม่ใช่เป็นข้ออันศาลควรจะรู้ได้เอง ศาลฎีกาไม่สั่งนับโทษต่อให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941-942/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จ vs. แจ้งความเท็จ, การรวมกระทง, และอำนาจฟ้องในคดีอาญา
จำเลยยื่นคำร้องขัดทรัพย์อันเป็นเท็จต่อศาล ไม่เป็นผิดตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 158 เพราะการฟ้องเท็จที่จะเป็นผิดตามมาตรานี้ ต้องเป็นการกล่าวโทษผู้อื่นในคดีอาญา
เมื่อโจทก์ตั้งใจฟ้องให้ลงโทษจำเลยฐานฟ้องเท็จตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 158 แล้ว ศาลจะลงโทษจำเลยฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา118 ไม่ได้ เพราะไม่ตรงกับที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยและไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์สืบสมตามฟ้อง เป็นแต่อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดไป ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม วรรคสี่
เมื่อศาลได้พิจารณาคดีทั้งสองรวมกันและให้รวมกระทงลงโทษจำเลยแล้ว ก็เป็นอันนับโทษจำเลยทั้ง 2 คดีต่อเนื่องกันไม่ได้
เมื่อโจทก์ตั้งใจฟ้องให้ลงโทษจำเลยฐานฟ้องเท็จตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 158 แล้ว ศาลจะลงโทษจำเลยฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา118 ไม่ได้ เพราะไม่ตรงกับที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยและไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์สืบสมตามฟ้อง เป็นแต่อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดไป ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม วรรคสี่
เมื่อศาลได้พิจารณาคดีทั้งสองรวมกันและให้รวมกระทงลงโทษจำเลยแล้ว ก็เป็นอันนับโทษจำเลยทั้ง 2 คดีต่อเนื่องกันไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941-942/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จ vs. แจ้งความเท็จ: ศาลไม่อาจลงโทษฐานแจ้งความเท็จ หากฟ้องฐานฟ้องเท็จแล้ว และการรวมกระทงลงโทษ
จำเลยยื่นคำร้องขัดทรัพย์อันเป็นเท็จต่อศาล ไม่เป็นผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญาม.158 เพราะการฟ้องเท็จที่จะเป็นผิดตามาตรานี้ ต้องเป็นการกล่าวโทษผู้อื่นในคดีอาญา
เมื่อโจทก์ตั้งใจฟ้องให้ลงโทษจำเลยฐานฟ้องเท็จตามกฎหมายลักษณะอาญา ม.158 แล้ว ศาลจะลงโทษจำเลยฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตาม ก.ม.ลักษณะอาญาม.118 ไม่ได้ เพราะไม่ตรงกับที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยและไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์สืบสมตามฟ้อง เป็นแต่อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดไป ตาม ป.วิ.อาญาม.192 วรรค 3-4
เมื่อศาลได้พิจารณาคดีทั้งสองรวมกันและให้รวมกระทงลงโทษจำเลยแล้ว ก็เป็นอันนับโทษจำเลยทั้ง 2 คดีต่อเนื่องกันไม่ได้
เมื่อโจทก์ตั้งใจฟ้องให้ลงโทษจำเลยฐานฟ้องเท็จตามกฎหมายลักษณะอาญา ม.158 แล้ว ศาลจะลงโทษจำเลยฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตาม ก.ม.ลักษณะอาญาม.118 ไม่ได้ เพราะไม่ตรงกับที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยและไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์สืบสมตามฟ้อง เป็นแต่อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดไป ตาม ป.วิ.อาญาม.192 วรรค 3-4
เมื่อศาลได้พิจารณาคดีทั้งสองรวมกันและให้รวมกระทงลงโทษจำเลยแล้ว ก็เป็นอันนับโทษจำเลยทั้ง 2 คดีต่อเนื่องกันไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษจำคุกตลอดชีวิตไม่นับโทษต่อจากคดีก่อน และการเปลี่ยนแปลงโทษจากประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิต
เมื่อจำเลยต้องโทษในคดีหลังถึงจำคุกตลอดชีวิตแล้ว ก็ไม่ต้องนับโทษต่อจากคดีก่อนให้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษจำคุกตลอดชีวิตไม่นับโทษต่อจากคดีอื่น แม้มีโทษค้างอยู่ก่อนแล้ว
เมื่อจำเลยต้องโทษในคดีหลังถึงจำคุกตลอดชีวิตแล้ว ก็ไม่ต้องนับโทษต่อจากคดีก่อนให้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อ: ต้องมีคำพิพากษาลงโทษในคดีก่อนแล้ว จึงจะนับโทษต่อได้
การขอนับโทษต่อ
หลักในเรื่องการนับโทษต่อจากสำนวนคดีเรื่องใด จะต้องปรากฎว่าคดีเรื่องนั้นศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยไว้ก่อน แล้ว เมื่อศาลพิพากษาคดีเรื่องหลังจึงจะนับโทษต่อจากกำหนดโทษในสำนวนเรื่องก่อนได้ เมื่อสำนวนคดีเรื่องก่อนยังไม่ปรากฎว่าได้พิพากษา(ยังเป็นคดีดำอยู่) จึงไม่มีโทษอันใดที่ศาลจะไปนับต่อให้ได้ แม้จะเป็นความจริงตามข้อฎีกาของโจทก์ที่ว่าคดีเรื่องก่อนนั้น ในเวลาต่อมา ศาลได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้วแต่ในสำนวนคดีเรื่องหลังก็ไม่ปรากฎว่าสำนวนคดีเรื่องก่อนได้พิพากษาลงโทษไปแล้วก่อนคดีเรื่องหลัง จึงนับโทษคดีเรื่องหลังต่อจากโทษในคดีเรื่องก่อนนั้นไม่ได้
หลักในเรื่องการนับโทษต่อจากสำนวนคดีเรื่องใด จะต้องปรากฎว่าคดีเรื่องนั้นศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยไว้ก่อน แล้ว เมื่อศาลพิพากษาคดีเรื่องหลังจึงจะนับโทษต่อจากกำหนดโทษในสำนวนเรื่องก่อนได้ เมื่อสำนวนคดีเรื่องก่อนยังไม่ปรากฎว่าได้พิพากษา(ยังเป็นคดีดำอยู่) จึงไม่มีโทษอันใดที่ศาลจะไปนับต่อให้ได้ แม้จะเป็นความจริงตามข้อฎีกาของโจทก์ที่ว่าคดีเรื่องก่อนนั้น ในเวลาต่อมา ศาลได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้วแต่ในสำนวนคดีเรื่องหลังก็ไม่ปรากฎว่าสำนวนคดีเรื่องก่อนได้พิพากษาลงโทษไปแล้วก่อนคดีเรื่องหลัง จึงนับโทษคดีเรื่องหลังต่อจากโทษในคดีเรื่องก่อนนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อจากสำนวนคดีอาญา ต้องมีคำพิพากษาลงโทษในคดีเดิมก่อน จึงจะนับโทษต่อได้
การขอนับโทษต่อ
หลักในเรื่องการนับโทษต่อจากสำนวนคดีเรื่องใด จะต้องปรากฏว่าคดีเรื่องนั้นศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยไว้ก่อนแล้ว เมื่อศาลพิพากษาคดีเรื่องหลังจึงจะนับโทษต่อจากกำหนดโทษในสำนวนเรื่องก่อนได้ เมื่อสำนวนคดีเรื่องก่อนยังไม่ปรากฏว่าได้พิพากษา(ยังเป็นคดีดำอยู่)จึงไม่มีโทษอันใดที่ศาลจะไปนับต่อให้ได้ แม้จะเป็นความจริงตามข้อฎีกาของโจทก์ที่ว่าคดีเรื่องก่อนนั้นในเวลาต่อมา ศาลได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้ว แต่ในสำนวนคดีเรื่องหลังก็ไม่ปรากฏว่าสำนวนคดีเรื่องก่อนได้พิพากษาลงโทษไปแล้วก่อนคดีเรื่องหลัง จึงนับโทษคดีเรื่องหลังต่อจากโทษในคดีเรื่องก่อนนั้นไม่ได้
หลักในเรื่องการนับโทษต่อจากสำนวนคดีเรื่องใด จะต้องปรากฏว่าคดีเรื่องนั้นศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยไว้ก่อนแล้ว เมื่อศาลพิพากษาคดีเรื่องหลังจึงจะนับโทษต่อจากกำหนดโทษในสำนวนเรื่องก่อนได้ เมื่อสำนวนคดีเรื่องก่อนยังไม่ปรากฏว่าได้พิพากษา(ยังเป็นคดีดำอยู่)จึงไม่มีโทษอันใดที่ศาลจะไปนับต่อให้ได้ แม้จะเป็นความจริงตามข้อฎีกาของโจทก์ที่ว่าคดีเรื่องก่อนนั้นในเวลาต่อมา ศาลได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้ว แต่ในสำนวนคดีเรื่องหลังก็ไม่ปรากฏว่าสำนวนคดีเรื่องก่อนได้พิพากษาลงโทษไปแล้วก่อนคดีเรื่องหลัง จึงนับโทษคดีเรื่องหลังต่อจากโทษในคดีเรื่องก่อนนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1618/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกความผิดหลายบทกับหลายกะทงในคดีอาญา: บุกรุกและพยายามฆ่า
การที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกะทงหรือเป็นความผิดกะทงเดียวแต่ต้องด้วย ก.ม.หลายบท มีหลักวินิจฉัยดังนี้คือ ถ้าการกระทำใดเป็นความผิดต้องด้วย ก.ม.หลายบทแล้วจะแยกการกระทำนั้นออกจากกันไม่ได้ ก็เป็นความผิดที่ต้องด้วย ก.ม.หลายบท แต่ถ้า ก.ม.บัญญัติการกระทำเป็นความผิดไว้คนละอย่างต่างกัน เช่น ลักทรัพย์กับทำร้ายร่างกายหรือทำร้ายร่างกายกับบุกรุกดังนี้ ผู้ที่กระทำผิดทั้งสองอย่างก็ต้องเป็นความผิด 2 กะทงไม่ใช่ต้องด้วย ก.ม.หลายบทเพราะต่างกรรมต่างวาระกัน
การที่จำเลยที่ 1 ทำผิดทั้งบุกรุกและพยายามฆ่าคนเป็นความผิด 2 ฐาน ไม่ใช่เป็นการกระทำเพียงอย่างเดียวจำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดเป็นสองกะทงคือฐานบุกรุกกะทงหนึ่งและฐานพยายามฆ่าคนอีกกะทงหนึ่ง แต่ถ้าความผิดอาญานั้นเกี่ยวเนื่องกันศาลอาจใช้ดุลยพินิจรวมกะทงลงโทษจำเลยได้.
การที่จำเลยที่ 1 ทำผิดทั้งบุกรุกและพยายามฆ่าคนเป็นความผิด 2 ฐาน ไม่ใช่เป็นการกระทำเพียงอย่างเดียวจำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดเป็นสองกะทงคือฐานบุกรุกกะทงหนึ่งและฐานพยายามฆ่าคนอีกกะทงหนึ่ง แต่ถ้าความผิดอาญานั้นเกี่ยวเนื่องกันศาลอาจใช้ดุลยพินิจรวมกะทงลงโทษจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1618/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานบุกรุกและพยายามฆ่า: แยกกระทงหรือรวมกระทง
การที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกระทงหรือเป็นความผิดกระทงเดียวแต่ต้องด้วยกฎหมายหลายบท มีหลักวินิจฉัยดังนี้คือ ถ้าการกระทำใดเป็นความผิดต้องด้วยกฎหมายหลายบทแล้วจะแยกการกระทำนั้นออกจากกันไม่ได้ ก็เป็นความผิดที่ต้องด้วยกฎหมายหลายบท แต่ถ้ากฎหมายบัญญัติการกระทำเป็นความผิดไว้คนละอย่างต่างกัน เช่นลักทรัพย์กับทำร้ายร่างกาย หรือทำร้ายร่างกายกับบุกรุกดังนี้ ผู้ที่กระทำผิดทั้งสองอย่างก็ต้องเป็นความผิด 2 กระทงไม่ใช่ต้องด้วยกฎหมายหลายบทเพราะต่างกรรมต่างวาระกัน
การที่จำเลยที่ 1 ทำผิดทั้งบุกรุกและพยายามฆ่าคนเป็นความผิด 2 ฐาน ไม่ใช่เป็นการกระทำเพียงอย่างเดียวจำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดเป็นสองกระทงคือฐานบุกรุกกระทงหนึ่งและฐานพยายามฆ่าคนอีกกระทงหนึ่ง แต่ถ้าความผิดอาญานั้นเกี่ยวเนื่องกันศาลอาจใช้ดุลพินิจรวมกระทงลงโทษจำเลยได้
การที่จำเลยที่ 1 ทำผิดทั้งบุกรุกและพยายามฆ่าคนเป็นความผิด 2 ฐาน ไม่ใช่เป็นการกระทำเพียงอย่างเดียวจำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดเป็นสองกระทงคือฐานบุกรุกกระทงหนึ่งและฐานพยายามฆ่าคนอีกกระทงหนึ่ง แต่ถ้าความผิดอาญานั้นเกี่ยวเนื่องกันศาลอาจใช้ดุลพินิจรวมกระทงลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่า พิจารณาจากเหตุเตรียมการ, ลักษณะบาดแผล และพฤติการณ์หลังเกิดเหตุ
ในการที่จะพิเคราะห์ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าคนตายหรือไม่จะต้องพิจารณาถึงสาเหตุการตระเตรียมก่อนลงมือกระทำร้ายตลาดจนการกระทำของจำเลยและลักษณะบาดแผลรวมประกอบกัน
ได้ความว่าจำเลยกับผู้ตายมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนแล้วเกิดเป็นปากเสียงทะเลาะกันอีกพอเกิดทะเลาะกันแล้วจำเลยหยิบเอาเหล็กสว่านแต่จะใช้เป็นไขควงก็ได้ยาว 10 ซม. ด้ามเป็นเหล็กขนาดเท่า ๆ กัน ส่วนใหญ่ที่สุดของสว่านก็คือตอนที่ใกล้กับส่วนปลายที่แหลมและกว้าง 0.6 ซม.ซึ่งเป็นเครื่องประหารที่ทำให้ร่างรายนายบุบสลายถึงสาหัสได้ หยิบแล้วเอาใส่กระเป๋ากางเกงไว้ แสดงว่าเป็นการตระเรียมจะทำร้ายร่างกายด้วยของกลางแล้วจำเลยได้ใช้ไขควงหรือสว่านนี้แทงอกทางซ้ายของผู้ตายซึ่งเป็นที่สำคัญ แผลที่แทงปรากฏว่าลึกถึง 8 ซม. เห็นได้ว่าจำเลยได้แทงเข้าไปอย่างแรงจนเกือบมิดด้ามของเหล็กไขควง ถือได้แล้วว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่อาจแลเห็นผลได้ เข้าลักษณะเจตนาฆ่า.
ได้ความว่าจำเลยกับผู้ตายมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนแล้วเกิดเป็นปากเสียงทะเลาะกันอีกพอเกิดทะเลาะกันแล้วจำเลยหยิบเอาเหล็กสว่านแต่จะใช้เป็นไขควงก็ได้ยาว 10 ซม. ด้ามเป็นเหล็กขนาดเท่า ๆ กัน ส่วนใหญ่ที่สุดของสว่านก็คือตอนที่ใกล้กับส่วนปลายที่แหลมและกว้าง 0.6 ซม.ซึ่งเป็นเครื่องประหารที่ทำให้ร่างรายนายบุบสลายถึงสาหัสได้ หยิบแล้วเอาใส่กระเป๋ากางเกงไว้ แสดงว่าเป็นการตระเรียมจะทำร้ายร่างกายด้วยของกลางแล้วจำเลยได้ใช้ไขควงหรือสว่านนี้แทงอกทางซ้ายของผู้ตายซึ่งเป็นที่สำคัญ แผลที่แทงปรากฏว่าลึกถึง 8 ซม. เห็นได้ว่าจำเลยได้แทงเข้าไปอย่างแรงจนเกือบมิดด้ามของเหล็กไขควง ถือได้แล้วว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่อาจแลเห็นผลได้ เข้าลักษณะเจตนาฆ่า.