คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 186

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รวมการพิจารณาคดีอาญา: ศาลไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยเป็นรายสำนวน
คดีอาญาที่รวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน หามีกฎหมายบทใดกำหนดให้ศาลต้องวินิจฉัยคดีเป็นรายสำนวนไม่
คดีทั้งเจ็ดสำนวนนี้ศาลอุทธรณ์ได้พิเคราะห์พยานหลักฐานและรวมวินิจฉัยทุกสำนวนแล้วเชื่อว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ศาลอุทธรณ์ไม่จำต้องวินิจฉัยเป็นรายคดีตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดเป็นรายสำนวนไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7477/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การแจ้งความเท็จ, บุกรุก, ทำให้เสียทรัพย์: สิทธิจำกัดในที่ดินจัดสรรและการขาดคุณสมบัติผู้เสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นข้ออื่นอีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องแล้ววินิจฉัยชี้ขาดในข้อหาความผิดฐานแจ้งความเท็จว่า จำเลยแจ้งความตามความเป็นจริงที่พบเห็นและมิได้ระบุว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นทางสาธารณะตามที่โจทก์ฟ้อง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบด้วยเหตุผลใด กรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 216 วรรคแรกที่ศาลฎีกาจะหยิบยกประเด็นข้อหาความผิดฐานแจ้งความเท็จขึ้นมาวินิจฉัยอีก
โจทก์ประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดิน บริเวณที่ดินที่เกิดเหตุของโจทก์มีสภาพเป็นถนนและเป็นสาธารณูปโภค ที่โจทก์จัดให้มีขึ้นซึ่งเป็นภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ดังนี้ แม้โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน โจทก์ก็จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1387 การที่จำเลยผ่านเข้าไปในถนนซึ่งเป็นที่ดินของโจทก์หรือใช้ให้ผู้ใดผ่านถนนไปมา ย่อมไม่เป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุข แม้ว่าโจทก์จะได้นำที่ดินส่วนที่เป็นถนนนั้นไปให้ผู้อื่นเช่าตั้งเต็นท์ก็ตาม การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
โจทก์เพียงแต่เป็นเจ้าของที่ดินที่รถยนต์และเต็นท์ตั้งอยู่ในขณะเกิดเหตุเท่านั้น โจทก์มิใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดูแลรักษาและรับผิดชอบในทรัพย์ดังกล่าวที่ตั้งอยู่บนบริเวณที่ดินที่เกิดเหตุ โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์นั้นตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7477/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจัดสรร การบุกรุก และการเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นข้ออื่นอีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องแล้ววินิจฉัยชี้ขาดในข้อหาความผิดฐานแจ้งความเท็จว่า จำเลยแจ้งความตามความเป็นจริงที่พบเห็นและมิได้ระบุว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นทางสาธารณะตามที่โจทก์ฟ้อง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบด้วยเหตุผลใด กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคแรกที่ศาลฎีกาจะหยิบยกประเด็นข้อหาความผิดฐานแจ้งความเท็จขึ้นมาวินิจฉัยอีก โจทก์ประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดิน บริเวณที่ดินที่เกิดเหตุของโจทก์มีสภาพเป็นถนนและเป็นสาธารณูปโภค ที่โจทก์จัดให้มีขึ้นซึ่งเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรดังนี้ แม้โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน โจทก์ก็จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิ บางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 การที่จำเลยผ่านเข้าไปในถนนซึ่งเป็นที่ดินของโจทก์หรือใช้ให้ผู้ใดผ่านถนนไปมา ย่อมไม่เป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุข แม้ว่าโจทก์จะได้นำที่ดินส่วนที่เป็นถนนนั้นไปให้ผู้อื่นเช่าตั้งเต็นท์ก็ตาม การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก โจทก์เพียงแต่เป็นเจ้าของที่ดินที่รถยนต์และเต็นท์ตั้งอยู่ ในขณะเกิดเหตุเท่านั้น โจทก์มิใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดูแลรักษาและรับผิดชอบในทรัพย์ดังกล่าวที่ตั้งอยู่บนบริเวณที่ดินที่เกิดเหตุ โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6209/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยอุทธรณ์โดยศาลอุทธรณ์ การหยิบยกเหตุผลประกอบเพิ่มเติม และการลดโทษรอการลงโทษ
แม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้หยิบยกข้ออุทธรณ์ของจำเลยขึ้นวินิจฉัยโดยละเอียดในคำพิพากษา แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเห็นว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในการลงโทษเหมาะสมแล้วแม้จะให้เหตุผลประกอบเพิ่มเติมว่า การกระทำของจำเลยเป็นการมอมเมาประชาชน ก็เป็นเหตุผลที่ศาลสรุปจากข้อเท็จจริงที่รับฟังเป็นยุติจากในสำนวน มิใช่เป็นเรื่องการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่อันเป็นการต้องห้าม ถือว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยและแสดงเหตุผลโต้แย้งอุทธรณ์ของจำเลยแล้วคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 แล้ว แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุก จำเลยมีกำหนด 2 เดือน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยฎีกาในปัญหา ข้อกฎหมายมาด้วย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6209/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์โดยใช้ดุลพินิจเดิม เหตุผลประกอบเพิ่มเติมไม่ถือเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ แม้ลงโทษเดิม ศาลฎีกามีอำนาจปรับโทษ
แม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้หยิบยกข้ออุทธรณ์ของจำเลยขึ้นวินิจฉัยโดยละเอียดในคำพิพากษา แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเห็นว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในการลงโทษเหมาะสมแล้ว แม้จะให้เหตุผลประกอบเพิ่มเติมว่า การกระทำของจำเลยเป็นการมอมเมาประชาชน ก็เป็นเหตุผลที่ศาลสรุปจากข้อเท็จจริงที่รับฟังเป็นยุติจากในสำนวน มิใช่เป็นเรื่องการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่อันเป็นการต้องห้าม ถือว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยและแสดงเหตุผลโต้แย้งอุทธรณ์ของจำเลยแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 แล้ว
แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 2 เดือน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา218 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายมาด้วย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1787/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในคดีเครื่องหมายการค้า แม้ศาลอุทธรณ์แก้ไขบทลงโทษ แต่ยังคงคำสั่งริบของกลางไว้ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 115และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกในส่วนที่ศาลชั้นต้นบังคับจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 และริบของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 เสีย นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องการปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องโดยมิได้พิพากษาให้ยกการริบของกลาง และศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 มาตรา 115 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 อยู่เนื่องจากเสื้อและกางเกงที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของกลางเป็นสินค้าที่จำเลยมีไว้จำหน่ายอันเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และป้ายยี่ห้อกับริบบิ้นของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ดังนี้เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาให้ยกคำขอให้เรื่องการริบของกลางของกลางคดีนี้จึงยังเป็นของกลางที่ศาลสั่งริบอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1787/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางคดีเครื่องหมายการค้าปลอม: ศาลอุทธรณ์ยืนยันริบ แม้แก้บทมาตรา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบของกลางตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115 และ ป.อ.มาตรา 32, 33 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกในส่วนที่ศาลชั้นต้นบังคับจำเลย ตาม ป.อ.มาตรา 30 และริบของกลางตาม ป.อ.มาตรา 32 เสีย นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องการปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องโดยมิได้พิพากษาให้ยกการริบของกลาง และศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษาให้ริบของกลางตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115 และ ป.อ.มาตรา 33 อยู่ เนื่องจากเสื้อและกางเกงที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของกลางเป็นสินค้าที่จำเลยมีไว้จำหน่ายอันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และป้ายยี่ห้อกับริบบิ้นของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาให้ยกคำขอให้เรื่องการริบของกลาง ของกลางคดีนี้จึงยังเป็นของกลางที่ศาลสั่งริบอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลาง (ยาเสพติด) ที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์มิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้ริบกัญชาของกลาง แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับกัญชาของกลางดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 32 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 186(9) เมื่อกัญชาของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงต้องริบกัญชาของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 ปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและสั่งให้ริบได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลาง (กัญชา) ที่ศาลลืมวินิจฉัย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้ริบกัญชาของกลาง แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับกัญชาของกลางดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วย ป.อ.มาตรา 32 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 (9) เมื่อกัญชาของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ดังกล่าว จึงต้องริบกัญชาของกลางตาม ป.อ.มาตรา 32ปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและสั่งให้ริบได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โกงเจ้าหนี้, บังคับคดี, การอายัดทรัพย์: ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดโทษแม้ศาลอุทธรณ์ไม่กำหนด
สัญญากู้ตามฟ้องจำเลยลงชื่อเป็นผู้ให้กู้ กับมี ภ. กับ น. ลงลายมือชื่อในฐานะผู้กู้จริง สัญญากู้ดังกล่าวจึงเป็นเอกสารของจำเลย และเมื่อจำเลยไม่ได้ปลอมว่าเป็นเอกสารของผู้ใด สัญญากู้นั้นจึงไม่ใช่เอกสารปลอม
กรมตำรวจยื่นฟ้องจ่าสิบตำรวจ ภ. กับพวกเป็นจำเลยในคดีแพ่งบังคับให้ชำระเงินฐานทุจริตและละเมิด ระหว่างพิจารณา โจทก์ขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษายึดทรัพย์รถยนต์ของจ่าสิบตำรวจ ภ. ออกขายทอดตลาดโดยเก็บรักษาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้ เมื่อทรัพย์ที่กรมตำรวจขอให้ศาลยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าวนั้น ก็เพื่อป้องกันการจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา ทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลรักษาไว้ในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185
จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่ง แม้จะเป็นหนี้ที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริง จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้และเมื่อศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ การที่จำเลยดำเนินการบังคับคดีแก่จ่าสิบตำรวจภ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยขออายัดเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวที่ผู้เสียหายขอให้ศาลสั่งยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีนั้นมาชำระหนี้จำเลยในคดีนี้จึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีเจตนาเอาทรัพย์ดังกล่าวไปโดยพลการ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265และมาตรา 185,187 ประกอบมาตรา 80,350 เรียงกระทงลงโทษฐานปลอมเอกสารสิทธิจำคุก 1 ปี ฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดี จำคุก 2 ปี รวมจำคุก 3 ปี ข้อหาอื่นให้ยก โจทก์ไม่อุทธรณ์ ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185,187,90 และ 265 เสียด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 เมื่อการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 แต่ศาลชั้นต้นได้กำหนดโทษจำเลยตามข้อหาความผิดฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาลหรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185ซึ่งเป็นบทหนักจึงมิได้กำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 350 ไว้นั้น หากเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 350 เพียงฐานเดียวเช่นนี้ และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคสอง บัญญัติว่าเมื่อศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมาย ให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิด และมาตรา 186(7) และ (8) บัญญัติให้คำพิพากษาต้องมีบทมาตราที่ยกขึ้นปรับ และคำชี้ขาดให้ยกฟ้องหรือลงโทษ ซึ่งหมายความว่า เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมายให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิดโดยอ้างว่ากระทำผิดบทมาตราใด และมีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษไปตามนั้น ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่มีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 จึงเป็นการมิชอบ และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 เพราะมิใช่เป็นกรณีที่ศาลพิพากษาเพิ่มเติมโทษของจำเลยแต่อย่างใดเมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจกำหนดโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้
of 13