พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้, บังคับคดี, การอายัดทรัพย์: ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดโทษแม้ศาลอุทธรณ์ไม่กำหนด
สัญญากู้ตามฟ้องจำเลยลงชื่อเป็นผู้ให้กู้ กับมี ภ. กับ น. ลงลายมือชื่อในฐานะผู้กู้จริง สัญญากู้ดังกล่าวจึงเป็นเอกสารของจำเลย และเมื่อจำเลยไม่ได้ปลอมว่าเป็นเอกสารของผู้ใด สัญญากู้นั้นจึงไม่ใช่เอกสารปลอม
กรมตำรวจยื่นฟ้องจ่าสิบตำรวจ ภ. กับพวกเป็นจำเลยในคดีแพ่งบังคับให้ชำระเงินฐานทุจริตและละเมิด ระหว่างพิจารณา โจทก์ขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษายึดทรัพย์รถยนต์ของจ่าสิบตำรวจ ภ. ออกขายทอดตลาดโดยเก็บรักษาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้ เมื่อทรัพย์ที่กรมตำรวจขอให้ศาลยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าวนั้น ก็เพื่อป้องกันการจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา ทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลรักษาไว้ในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185
จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่ง แม้จะเป็นหนี้ที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริง จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้และเมื่อศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ การที่จำเลยดำเนินการบังคับคดีแก่จ่าสิบตำรวจภ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยขออายัดเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวที่ผู้เสียหายขอให้ศาลสั่งยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีนั้นมาชำระหนี้จำเลยในคดีนี้จึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีเจตนาเอาทรัพย์ดังกล่าวไปโดยพลการ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265และมาตรา 185,187 ประกอบมาตรา 80,350 เรียงกระทงลงโทษฐานปลอมเอกสารสิทธิจำคุก 1 ปี ฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดี จำคุก 2 ปี รวมจำคุก 3 ปี ข้อหาอื่นให้ยก โจทก์ไม่อุทธรณ์ ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185,187,90 และ 265 เสียด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 เมื่อการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 แต่ศาลชั้นต้นได้กำหนดโทษจำเลยตามข้อหาความผิดฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาลหรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185ซึ่งเป็นบทหนักจึงมิได้กำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 350 ไว้นั้น หากเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 350 เพียงฐานเดียวเช่นนี้ และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคสอง บัญญัติว่าเมื่อศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมาย ให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิด และมาตรา 186(7) และ (8) บัญญัติให้คำพิพากษาต้องมีบทมาตราที่ยกขึ้นปรับ และคำชี้ขาดให้ยกฟ้องหรือลงโทษ ซึ่งหมายความว่า เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมายให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิดโดยอ้างว่ากระทำผิดบทมาตราใด และมีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษไปตามนั้น ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่มีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 จึงเป็นการมิชอบ และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 เพราะมิใช่เป็นกรณีที่ศาลพิพากษาเพิ่มเติมโทษของจำเลยแต่อย่างใดเมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจกำหนดโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้
กรมตำรวจยื่นฟ้องจ่าสิบตำรวจ ภ. กับพวกเป็นจำเลยในคดีแพ่งบังคับให้ชำระเงินฐานทุจริตและละเมิด ระหว่างพิจารณา โจทก์ขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษายึดทรัพย์รถยนต์ของจ่าสิบตำรวจ ภ. ออกขายทอดตลาดโดยเก็บรักษาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้ เมื่อทรัพย์ที่กรมตำรวจขอให้ศาลยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าวนั้น ก็เพื่อป้องกันการจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา ทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลรักษาไว้ในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185
จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่ง แม้จะเป็นหนี้ที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริง จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้และเมื่อศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ การที่จำเลยดำเนินการบังคับคดีแก่จ่าสิบตำรวจภ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยขออายัดเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวที่ผู้เสียหายขอให้ศาลสั่งยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีนั้นมาชำระหนี้จำเลยในคดีนี้จึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีเจตนาเอาทรัพย์ดังกล่าวไปโดยพลการ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265และมาตรา 185,187 ประกอบมาตรา 80,350 เรียงกระทงลงโทษฐานปลอมเอกสารสิทธิจำคุก 1 ปี ฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดี จำคุก 2 ปี รวมจำคุก 3 ปี ข้อหาอื่นให้ยก โจทก์ไม่อุทธรณ์ ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185,187,90 และ 265 เสียด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 เมื่อการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 แต่ศาลชั้นต้นได้กำหนดโทษจำเลยตามข้อหาความผิดฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาลหรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185ซึ่งเป็นบทหนักจึงมิได้กำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 350 ไว้นั้น หากเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 350 เพียงฐานเดียวเช่นนี้ และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคสอง บัญญัติว่าเมื่อศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมาย ให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิด และมาตรา 186(7) และ (8) บัญญัติให้คำพิพากษาต้องมีบทมาตราที่ยกขึ้นปรับ และคำชี้ขาดให้ยกฟ้องหรือลงโทษ ซึ่งหมายความว่า เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมายให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิดโดยอ้างว่ากระทำผิดบทมาตราใด และมีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษไปตามนั้น ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่มีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 จึงเป็นการมิชอบ และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 เพราะมิใช่เป็นกรณีที่ศาลพิพากษาเพิ่มเติมโทษของจำเลยแต่อย่างใดเมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจกำหนดโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการกระทำความผิดต่อเจ้าหนี้: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาฐานโกงเจ้าหนี้และกำหนดโทษ
สัญญากู้ตามฟ้องจำเลยลงชื่อเป็นผู้ให้กู้ กับมี ภ.กับ น.ลงลายมือชื่อในฐานะผู้กู้จริง สัญญากู้ดังกล่าวจึงเป็นเอกสารของจำเลย และเมื่อจำเลยไม่ได้ปลอมว่าเป็นเอกสารของผู้ใด สัญญากู้นั้นจึงไม่ใช่เอกสารปลอม
กรมตำรวจยื่นฟ้องจ่าสิบตำรวจ ภ.กับพวกเป็นจำเลยในคดีแพ่งบังคับให้ชำระเงินฐานทุจริตและละเมิด ระหว่างพิจารณา โจทก์ขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษายึดทรัพย์รถยนต์ของจ่าสิบตำรวจ ภ.ออกขายทอดตลาดโดยเก็บรักษาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้ เมื่อทรัพย์ที่กรมตำรวจขอให้ศาลยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าวนั้น ก็เพื่อป้องกันการจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา ทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลรักษาไว้ในการพิจารณาคดีตาม ป.อ.มาตรา 185
จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งแม้จะเป็นหนี้ที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริง จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ และเมื่อศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ การที่จำเลยดำเนินการบังคับคดีแก่จ่าสิบตำรวจ ภ.ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยขออายัดเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวที่ผู้เสียหายขอให้ศาลสั่งยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีนั้นมาชำระหนี้จำเลยในคดีนี้ จึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีเจตนาเอาทรัพย์ดังกล่าวไปโดยพลการ ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 187
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา265 และมาตรา 185, 187 ประกอบมาตรา 80, 350 เรียงกระทงลงโทษฐานปลอมเอกสารสิทธิจำคุก 1 ปี ฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดี จำคุก 2 ปี รวมจำคุก 3 ปี ข้อหาอื่นให้ยกโจทก์ไม่อุทธรณ์ ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องในข้อหาความผิดตาม ป.อ.มาตรา 185, 187, 90 และ 265 เสียด้วยนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ.มาตรา 350เมื่อการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 350 แต่ศาลชั้นต้นได้กำหนดโทษจำเลยตามข้อหาความผิดฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาลหรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดี ตาม ป.อ.มารา 185 ซึ่งเป็นบทหนักจึงมิได้กำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 350 ไว้นั้น หากเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 350 เพียงฐานเดียวเช่นนี้ และตามป.วิ.อ.มาตรา 185 วรรคสอง บัญญัติว่า เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมาย ให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิด และมาตรา186 (7) และ (8) บัญญัติให้คำพิพากษาต้องมีบทมาตราที่ยกขึ้นปรับ และคำชี้ขาดให้ยกฟ้องหรือลงโทษ ซึ่งหมายความว่า เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมายให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิดโดยอ้างว่ากระทำผิดบทมาตราใด และมีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษไปตามนั้น ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่มีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามป.อ.มาตรา 350 จึงเป็นการมิชอบ และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่ต้องห้ามตามป.วิ.อ.มาตรา 212 เพราะมิใช่เป็นกรณีที่ศาลพิพากษาเพิ่มเติมโทษของจำเลยแต่อย่างใด เมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจกำหนดโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้
กรมตำรวจยื่นฟ้องจ่าสิบตำรวจ ภ.กับพวกเป็นจำเลยในคดีแพ่งบังคับให้ชำระเงินฐานทุจริตและละเมิด ระหว่างพิจารณา โจทก์ขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษายึดทรัพย์รถยนต์ของจ่าสิบตำรวจ ภ.ออกขายทอดตลาดโดยเก็บรักษาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้ เมื่อทรัพย์ที่กรมตำรวจขอให้ศาลยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าวนั้น ก็เพื่อป้องกันการจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา ทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลรักษาไว้ในการพิจารณาคดีตาม ป.อ.มาตรา 185
จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งแม้จะเป็นหนี้ที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริง จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ และเมื่อศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ การที่จำเลยดำเนินการบังคับคดีแก่จ่าสิบตำรวจ ภ.ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยขออายัดเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวที่ผู้เสียหายขอให้ศาลสั่งยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีนั้นมาชำระหนี้จำเลยในคดีนี้ จึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีเจตนาเอาทรัพย์ดังกล่าวไปโดยพลการ ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 187
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา265 และมาตรา 185, 187 ประกอบมาตรา 80, 350 เรียงกระทงลงโทษฐานปลอมเอกสารสิทธิจำคุก 1 ปี ฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดี จำคุก 2 ปี รวมจำคุก 3 ปี ข้อหาอื่นให้ยกโจทก์ไม่อุทธรณ์ ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องในข้อหาความผิดตาม ป.อ.มาตรา 185, 187, 90 และ 265 เสียด้วยนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ.มาตรา 350เมื่อการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 350 แต่ศาลชั้นต้นได้กำหนดโทษจำเลยตามข้อหาความผิดฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาลหรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดี ตาม ป.อ.มารา 185 ซึ่งเป็นบทหนักจึงมิได้กำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 350 ไว้นั้น หากเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 350 เพียงฐานเดียวเช่นนี้ และตามป.วิ.อ.มาตรา 185 วรรคสอง บัญญัติว่า เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมาย ให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิด และมาตรา186 (7) และ (8) บัญญัติให้คำพิพากษาต้องมีบทมาตราที่ยกขึ้นปรับ และคำชี้ขาดให้ยกฟ้องหรือลงโทษ ซึ่งหมายความว่า เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมายให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิดโดยอ้างว่ากระทำผิดบทมาตราใด และมีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษไปตามนั้น ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่มีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามป.อ.มาตรา 350 จึงเป็นการมิชอบ และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่ต้องห้ามตามป.วิ.อ.มาตรา 212 เพราะมิใช่เป็นกรณีที่ศาลพิพากษาเพิ่มเติมโทษของจำเลยแต่อย่างใด เมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจกำหนดโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5616/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิดบุกรุกที่ดินสาธารณะ และการลงโทษความผิดหลายกรรม
จำเลยบุกรุกเข้าครอบครองที่ดินโดยรู้ว่าเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน มีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ วรรคสอง ส่วนความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 ที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยมาด้วยนั้น กฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้ที่บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเท่านั้น ไม่ใช่บทบัญญัติที่จะลงโทษผู้ที่บุกรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 ไม่ได้ แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันกับความผิดฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9เพราะความผิดแต่ละฐานดังกล่าวต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำที่แตกต่างกันสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ ดังนั้น จึงนำความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตมาลงโทษจำเลยได้
ป.อ.มาตรา 29, 30 การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับเป็นวิธีที่จะกระทำเพื่อเป็นการชดใช้ค่าปรับเป็นการบังคับคดี ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษา
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันกับความผิดฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9เพราะความผิดแต่ละฐานดังกล่าวต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำที่แตกต่างกันสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ ดังนั้น จึงนำความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตมาลงโทษจำเลยได้
ป.อ.มาตรา 29, 30 การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับเป็นวิธีที่จะกระทำเพื่อเป็นการชดใช้ค่าปรับเป็นการบังคับคดี ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4822/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษ: ศาลอุทธรณ์โต้แย้งอุทธรณ์โจทก์โดยอ้อมได้ ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกเหตุผลในการตัดสินมาหักล้างกับเหตุผลที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้ในอุทธรณ์นั้นตรง ๆ แต่ศาลอุทธรณ์ได้แสดงเหตุผลในการตัดสินโต้แย้งอุทธรณ์ของโจทก์ไว้โดยอ้อมแล้วว่า ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในการลงโทษจำเลยเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขอุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น อันหมายถึงว่าเหตุผลตามอุทธรณ์ของโจทก์นั้นสู้เหตุผลที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยตามพฤติการณ์แห่งคดีโดยรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยไม่ได้ จึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยดังนี้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้แสดงเหตุผลในการตัดสินใจในปัญหาข้อเท็จจริงไว้แล้วจึงเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(6)ประกอบมาตรา 215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาล: การกล่าวหาเท็จ ดูหมิ่น เสียดสีศาลในคำร้องคดีอาญา
จำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นกล่าวหาศาลด้วยข้อความที่ไม่เป็นจริงว่าศาลสั่งยกฟ้องทุกข้อหาจึงสั่งขังจำเลยทั้งสองไม่ได้ โจทก์จำเลยทั้งสองไม่ได้ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับแรกที่ศาลทำลายไปและว่าหากให้พิจารณาคดีต่อไปเกรงจะทำลายเอกสารที่มีความสำคัญ ถือได้ว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ศาลมีอำนาจลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลแก่บุคคลที่กระทำกระละเมิดอำนาจศาลได้โดยไม่ต้องฟ้องจึงไม่มีกรณีที่จะเป็นฟ้องเคลือบคลุม หรือต้องเปิดโอกาสให้บุคคลนั้นแก้ข้อกล่าวหาหรือให้โอกาสตั้งทนายถามค้านและคำสั่งของศาลไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษและข้อจำกัดในการยกประเด็นใหม่ในชั้นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ระบุในคำฟ้อง
การที่จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยโจทก์และจำเลยไม่สืบพยานศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแต่รอการลงโทษไว้โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยไปรายงานตัวต่อจ่าศาลเดือนละครั้งภายในกำหนด1ปีนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นเป็นการใช้ดุลพินิจฟังข้อเท็จจริงและแสดงเหตุที่ไม่เห็นด้วยกับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ขอให้ไม่รอการลงโทษจำเลยตามประเด็นที่โจทก์อ้างมาในอุทธรณ์แล้วส่วนข้อที่โจทก์อ้างมาในอุทธรณ์ว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนจึงเป็นเหตุที่จะรอการลงโทษให้จำเลยไม่ได้นั้นเมื่อโจทก์มิได้บรรยายมาในคำฟ้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค2ไม่วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้จึงชอบแล้วคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค2ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา186(6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 722/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในความผิดหลายกระทง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โทษ แต่ยังคงลงโทษฐานเสพยาเสพติดด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522มาตรา15วรรคหนึ่ง,26วรรคหนึ่งประกอบมาตรา67,76วรรคหนึ่ง,91,92เป็นความผิดหลายกรรมเรียกกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา91ฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองจำคุก2ปีฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองจำคุก6เดือนฐานเสพเฮโรอีนและกัญชาจำคุก1ปีรวมโทษจำคุก3ปี6เดือนลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา78กึ่งหนึ่งคงจำคุกจำเลย1ปี9เดือนของกลางริบจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองจำคุก1ปีฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองจำคุก3เดือนและปรับ1,000บาทรวมโทษจำคุก2ปี3เดือนและปรับ1,000บาทลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา78คงจำคุก1ปี1เดือน15วันและปรับ500บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด2ปีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา56ไม่ชำระค่าปรับจัดการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา29,30นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นความผิดฐานเสพเฮโรอีนและกัญชาศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 722/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: ครอบครอง, เสพ, และโทษทางอาญา
โจทก์ฟ้อง จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15วรรคหนึ่ง, 26 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 67, 76 วรรคหนึ่ง, 91, 92เป็นความผิดหลายกรรม เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91ฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง จำคุก 2 ปี ฐานมีกัญชาไว้ในครอบครอง จำคุก6 เดือน ฐานเสพเฮโรอีนและกัญชา จำคุก 1 ปี รวมโทษจำคุก 3 ปี 6 เดือนลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลย 1 ปี9 เดือน ของกลางริบ จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง จำคุก 1 ปี ฐานมีกัญชาไว้ในครอบครอง จำคุก 3 เดือน และปรับ 1,000 บาท รวมโทษจำคุก 2 ปี 3 เดือนและปรับ 1,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78คงจำคุก 1 ปี 1 เดือน 15 วัน และปรับ 500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับจัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ความผิดฐานเสพเฮโรอีนและกัญชาศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2042/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปฯ และการริบของกลางที่ถือเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด
จำเลยฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
เทปหรือวัสดุโทรทัศน์ของกลางเป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานตามกฎหมายแล้วจำเลยมีหน้าที่จัดให้มีการแสดงตราหมายเลขรหัสบนเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ของกลางตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2531) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 แต่ไม่มีการแสดงตรา หมายเลขรหัสบนเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ดังกล่าวซึ่งจำเลยมีไว้ในครอบครอง จำเลยผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการให้เช่าเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ย่อมมีความผิดตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวมาตรา 6, 10, 36 ดังนี้ เทปและวัสดุโทรทัศน์ของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่ถือได้ว่าจำเลยมีไว้เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32 เมื่อเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ของกลางเป็นทรัพย์ที่ถือได้ว่าจำเลยมีไว้เป็นความผิด ทั้งโจทก์บรรยายคำฟ้องอ้างบทบัญญัติดังกล่าวขอให้ศาลริบ ศาลจึงต้องริบตามคำขอของโจทก์
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เพียงว่าให้ริบของกลางโดยมิได้พิพากษาว่า นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ยังไม่ถูกต้องเพราะศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้บทมาตราและโทษที่ลงแก่จำเลยแต่อย่างใดศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
เทปหรือวัสดุโทรทัศน์ของกลางเป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานตามกฎหมายแล้วจำเลยมีหน้าที่จัดให้มีการแสดงตราหมายเลขรหัสบนเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ของกลางตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2531) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 แต่ไม่มีการแสดงตรา หมายเลขรหัสบนเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ดังกล่าวซึ่งจำเลยมีไว้ในครอบครอง จำเลยผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการให้เช่าเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ย่อมมีความผิดตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวมาตรา 6, 10, 36 ดังนี้ เทปและวัสดุโทรทัศน์ของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่ถือได้ว่าจำเลยมีไว้เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32 เมื่อเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ของกลางเป็นทรัพย์ที่ถือได้ว่าจำเลยมีไว้เป็นความผิด ทั้งโจทก์บรรยายคำฟ้องอ้างบทบัญญัติดังกล่าวขอให้ศาลริบ ศาลจึงต้องริบตามคำขอของโจทก์
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เพียงว่าให้ริบของกลางโดยมิได้พิพากษาว่า นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ยังไม่ถูกต้องเพราะศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้บทมาตราและโทษที่ลงแก่จำเลยแต่อย่างใดศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองกัญชาเพื่อจำหน่ายและขอบเขตการปรับบทลงโทษตามพ.ร.บ.ยาเสพติด
ฎีกาจำเลยที่ว่า ตามฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่าจำเลยมีกัญชาน้ำหนักเพียง 15.90 กรัม แต่ตามมาตรา 26 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 กำหนดว่าต้องมีกัญชาไว้ในครอบครองมีปริมาณถึง 10 กิโลกรัม ขึ้นไป จึงจะให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 26 วรรคสอง และ76 วรรคสอง นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าจำเลยมีกัญชาจำนวน 15.90 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลย ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 76 วรรคสอง ดังกล่าวหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปีจำเลยจึงไม่อาจฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายสถานเดียว อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 76 วรรคสอง เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าวแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องปรับบทลงโทษ จำเลยฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 26 วรรคแรก และ 76 วรรคแรกอีก