พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงาน และการรับรองเอกสารโดยเจ้าพนักงานตามระเบียบกรมที่ดิน ศาลยกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นในการรับฟังพยานหลักฐาน แล้วนำมาวินิจฉัยทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายแล้ว แม้ข้อเท็จจริงซึ่งพิจารณาได้ความและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย รวมทั้งบทมาตราที่ยกขึ้นปรับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะเป็นอย่างเดียวกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ก็ไม่ถือว่าเป็นการคัดลอกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำเบิกความของโจทก์ในคดีแพ่งอื่น มิได้เบิกความต่อหน้าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีโอกาสถามค้าน จึงมีน้ำหนักน้อย ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ปลอมและใช้หนังสือมอบอำนาจปลอม
ศ. และ อ. เจ้าพนักงานที่ดิน เป็นผู้บอกให้จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อ และข้อความตามหนังสือมอบอำนาจและสัญญาขายฝากเป็นไปตามระเบียบของกรมที่ดินที่จัดทำขึ้นเพื่อป้องกันการฟ้องร้องเจ้าพนักงานที่ดินให้รับผิดในภายหลังเท่านั้น เมื่อบันทึกถ้อยคำดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งกรมที่ดินเพื่อป้องกันมิให้กรมที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดินถูกฟ้องร้องให้รับผิดทางแพ่ง จึงมิใช่บันทึกถ้อยคำตามนัยแห่งกฎหมายหรือตามหน้าที่ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งเนื้อความแห่งบันทึกถ้อยคำยังมีข้อความว่าถ้าเกิดความผิดพลาดเพราะผิดตัวเจ้าของ จำเลยที่ 3 ขอรับผิดชอบเองทั้งสิ้น เมื่อโจทก์ได้ลงลายมือชื่อตามหนังสือมอบอำนาจจริง แม้ความจริงโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าจำเลยที่ 3 การกระทำของจำเลยที่ 3 ก็ไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 137 ประกอบมาตรา 83
คำเบิกความของโจทก์ในคดีแพ่งอื่น มิได้เบิกความต่อหน้าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีโอกาสถามค้าน จึงมีน้ำหนักน้อย ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ปลอมและใช้หนังสือมอบอำนาจปลอม
ศ. และ อ. เจ้าพนักงานที่ดิน เป็นผู้บอกให้จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อ และข้อความตามหนังสือมอบอำนาจและสัญญาขายฝากเป็นไปตามระเบียบของกรมที่ดินที่จัดทำขึ้นเพื่อป้องกันการฟ้องร้องเจ้าพนักงานที่ดินให้รับผิดในภายหลังเท่านั้น เมื่อบันทึกถ้อยคำดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งกรมที่ดินเพื่อป้องกันมิให้กรมที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดินถูกฟ้องร้องให้รับผิดทางแพ่ง จึงมิใช่บันทึกถ้อยคำตามนัยแห่งกฎหมายหรือตามหน้าที่ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งเนื้อความแห่งบันทึกถ้อยคำยังมีข้อความว่าถ้าเกิดความผิดพลาดเพราะผิดตัวเจ้าของ จำเลยที่ 3 ขอรับผิดชอบเองทั้งสิ้น เมื่อโจทก์ได้ลงลายมือชื่อตามหนังสือมอบอำนาจจริง แม้ความจริงโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าจำเลยที่ 3 การกระทำของจำเลยที่ 3 ก็ไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 137 ประกอบมาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3069/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานบอกเล่าในคดีข่มขืน แม้โจทก์ไม่สามารถนำตัวพยานมาเบิกความได้ ศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุผลสมควรตามกฎหมาย
แม้ในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายที่ 1 ก. พ. และ ด. มาเบิกความเป็นพยาน คงมีเพียงบันทึกคำให้การของบุคคลดังกล่าว โดยผู้เสียหายที่ 1 ยืนยันถึงตัวคนร้ายและจำเลยที่ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันเป็นเพียงพยานบอกเล่า ซึ่งในการวินิจฉัยพยานบอกเล่าที่จำเลยไม่มีโอกาสถามค้าน ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 ก็ตาม แต่การที่โจทก์ไม่สามารถนำตัวพยานดังกล่าวมาเบิกความในชั้นพิจารณาเนื่องจากไม่ทราบที่อยู่ของพยาน โดยโจทก์ใช้เวลาติดตามพยานเป็นเวลาถึง 5 เดือนเศษ นับว่ามีเหตุจำเป็นที่โจทก์ไม่สามารถนำพยานซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็นและได้ยินเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนี้ด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และเมื่อจำเลยหลบหนีไปนานจนติดตามพยานได้ยาก กรณีเช่นนี้ย่อมมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (2) และถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่จะรับฟังบันทึกคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 ที่เบิกความไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2726/2559 ของศาลชั้นต้น ประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 29/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีข่มขืน: พยานเบิกความล่าช้า, พยานบอกเล่า, และการชั่งน้ำหนักพยาน
ผู้เสียหายที่ 1 และ จ. มาเบิกความหลังเกิดเหตุเป็นเวลาเกือบสิบปี โดยผู้เสียหายที่ 1 ยอมรับว่าได้รับเงินจากจำเลย 30,000 บาท ส่วน จ. ไม่ยอมไปเบิกความจนศาลชั้นต้นต้องออกหมายจับจึงมาเบิกความได้ พฤติการณ์เช่นนี้เชื่อว่าผู้เสียหายที่ 1 และ จ. ย่อมเบิกความให้เป็นประโยชน์แก่จำเลยได้ ถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรในชั้นพิจารณาคดีนี้ที่จะรับฟังคำเบิกความของ จ. ในคดีอาญาคดีอื่นที่พวกของจำเลยถูกฟ้องในการกระทำความผิดเดียวกันนี้ประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานอื่นประกอบเมื่อไม่สามารถตัวพยานเบิกความได้ในคดีข่มขืน
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/5 บัญญัติว่า "ในชั้นพิจารณาหากมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควร ศาลอาจรับฟังบันทึกคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือบันทึกคำเบิกความของพยานที่เบิกความไว้ในคดีอื่น ประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้" ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ศาลอาจรับฟังบันทึกคำเบิกความของพยานที่เบิกความไว้ในคดีอื่นมาประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้ เฉพาะกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควร เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ศาลชั้นต้นได้ออกหมายเรียกผู้เสียหายและ ม. หลายครั้งแล้ว แต่ก็ไม่ได้ตัวผู้เสียหายและ ม. มาเบิกความเป็นพยาน ศาลชั้นต้นจึงออกหมายจับผู้เสียหายและ ม. แต่โจทก์ก็ไม่ได้ตัวมาสืบ ทั้งเหตุคดีนี้เกิดขึ้นเป็นเวลา 10 ปีเศษแล้ว จึงเป็นการยากที่โจทก์จะติดตามผู้เสียหายและ ม. มาเป็นพยานได้ประกอบกับโจทก์ตรวจสอบข้อมูลในระบบทะเบียนราษฎร์แล้วพบว่า ผู้เสียหายเปลี่ยนจากชื่อเดิมเป็น ป. ส่วน ม. ไม่พบข้อมูล อีกทั้งโจทก์ยังได้แถลงว่าเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีเบาะแสเกี่ยวกับแหล่งที่อยู่ของผู้เสียหายและ ม. เพิ่มเติม จึงน่าเชื่อว่าโจทก์ไม่สามารถนำตัวผู้เสียหายและ ม. มาเบิกความต่อศาลได้ ถือว่ากรณีมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควร ที่ศาลอาจรับฟังบันทึกคำเบิกความของผู้เสียหายและ ม. ที่เบิกความไว้ในคดีอื่นประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานบอกเล่าในคดีข่มขืนโทรมหญิง แม้ผู้เสียหายไม่มาเบิกความต่อศาล โดยมีพฤติการณ์พิเศษ
แม้ในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่ได้ผู้เสียหายมาเบิกความเป็นพยาน คงมีบันทึกคำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวน และภาพถ่ายการชี้ที่เกิดเหตุของผู้เสียหาย อันเป็นเพียงพยานบอกเล่า ซึ่งในการวินิจฉัยพยานบอกเล่าที่จำเลยไม่มีโอกาสถามค้าน ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังก็ตาม แต่ปรากฏข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ผู้เสียหายมาศาลและเบิกความเป็นพยานโจทก์ประมาณ 10 นาที ผู้เสียหายแถลงว่าจดจำข้อเท็จจริงและเรื่องราวที่ผ่านมาไม่ได้เนื่องจากเพิ่งคลอดบุตร ทั้งสองฝ่ายแถลงขอเลื่อนไปสืบพยานปากผู้เสียหายในนัดหน้า ศาลชั้นต้นอนุญาต ครั้นถึงวันนัดผู้เสียหายไม่มาศาล ศาลชั้นต้นออกหมายจับผู้เสียหายเพื่อนำตัวมาเป็นพยานหลายนัด แต่ไม่ได้ตัวมา พฤติการณ์ในการหลบหนีและไม่มาเบิกความในชั้นพิจารณาของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี ศาลย่อมรับฟังคำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนซึ่งเป็นพยานบอกเล่าเพื่อลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 วรรคหนึ่ง และถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่จะรับฟังคำเบิกความของผู้เสียหายที่เบิกความในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1101 - 1102/2546 และ 1420/2549 ของศาลชั้นต้น ที่พวกของจำเลยถูกฟ้องในการกระทำความผิดเดียวกันนี้ประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหลังจำเลยถึงแก่ความตาย และเหตุรอการลงโทษ
โจทก์เบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องต่อหน้าศาลผ่านล่ามโดยมีทนายจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ร่วมฟังการเบิกความและถามค้านโจทก์ ต่อมาเมื่อโจทก์ไม่สามารถเบิกความในชั้นพิจารณาได้ เนื่องจากถึงแก่ความตาย จึงเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและมีเหตุผลสมควร ดังนั้น บันทึกคำเบิกความโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องจึงนำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/5 กรณีหาจำต้องให้คู่ความตกลงกัน จึงจะนำคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมารับฟังได้ตามมาตรา 237 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12193/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยจากพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโดยมิได้สืบพยานในชั้นพิจารณา เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า การพิจารณาและสืบพยานในศาลให้ทำ โดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย เว้นแต่บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ประกอบกับขณะมีการพิจารณาคดีนี้ ป.วิ.อ. ยังมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 226/5 ซึ่งมีข้อความว่า ในชั้นพิจารณาหากมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควร ศาลอาจรับฟังบันทึกคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้ แม้โจทก์มีพยานมาสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง และในชั้นพิจารณาจำเลยทั้งสองให้การว่า ได้ออกเช็คตามฟ้องและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองได้แถลงร่วมกันว่า ประสงค์จะต่อสู้ว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 โจทก์จึงมีภาระต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อให้ได้ความจริงว่า จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามฟ้องจริง เมื่อโจทก์ไม่นำพยานเข้าสืบในชั้นพิจารณา คงยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีต่อศาลชั้นต้น จึงรับฟังได้ว่าโจทก์ไม่นำสืบพยานเพื่อสนับสนุนว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิด จึงไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยทั้งสองตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11530/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำซัดทอดของผู้ต้องหาร่วม และพยานหลักฐานสนับสนุนการจำหน่ายยาเสพติด: การรับฟังพยานหลักฐานและการพิสูจน์ความผิด
การกล่าวหาและจับกุมจำเลยดำเนินคดี แม้มีมูลเหตุสืบเนื่องมาจากคำซัดทอดของ ส. ที่ถูกจับกุมในคดีอื่น แต่ ส. ให้การต่อพนักงานสอบสวนในคดีที่ ส. เป็นผู้ต้องหา ทั้งในฐานะผู้ต้องหาและในฐานะพยานหลังถูกจับกุมเพียง 1 วัน จึงเป็นการยากที่จะคิดปรุงแต่งเรื่องราวให้ผิดไปจากความจริงและในคดีดังกล่าว ส. ก็ให้การรับสารภาพ จึงมิใช่เป็นการซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิดโดยปัดความผิดไปให้จำเลยเพียงผู้เดียว หากเป็นการบอกเล่าเรื่องราวในการกระทำความผิดของตนยิ่งกว่าการปรักปรำจำเลยเสียอีก ครั้นพันตำรวจโท ป. สอบปากคำหลังถูกจับกุมนานเดือนเศษ ส. ยังคงยืนยันว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยเช่นเดิม และยังนำชี้สถานที่ส่งมอบเมทแอมเฟตามีนกับชี้ภาพถ่ายของจำเลยสอดคล้องกับเรื่องราวที่ให้การไว้ต่อพันตำรวจโท ข. และพันตำรวจโท ป. โดยตรวจพบว่ามีการโอนเงินจากบัญชีของ ส. เข้าบัญชีของจำเลยรวมทั้งมีการยึดรถกระบะได้จากจำเลย ล้วนมีแหล่งที่มาจากคำให้การของ ส. ทั้งสิ้น และในชั้นพิจารณา ส. ยังเบิกความเป็นพยานโจทก์ว่าพยานได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยและเคยโอนเงินค่าเมทแอมเฟตามีนให้แก่จำเลย แม้คำเบิกความของ ส. ถือเป็นคำซัดทอดและ ส. เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านไม่ตรงกับที่เบิกความตอบโจทก์ในตอนแรกอันเป็นการไม่อยู่กับร่องกับรอย เห็นได้ชัดว่ามีเจตนาเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่รูปคดีตามข้อต่อสู้ของจำเลย คำของ ส. ที่เบิกความตอบโจทก์ในตอนแรกจึงเชื่อถือได้มากกว่า เมื่อนำคำซัดทอดของ ส. ในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาตามที่เบิกความตอบโจทก์ในตอนแรก มาพิจารณารับฟังประกอบกันหลักฐานที่ ส. โอนเงินให้แก่จำเลยก่อน ส. ถูกจับกุมเพียงไม่กี่วัน พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้ ส. จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7745/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารจากชั้นไต่สวนมูลฟ้อง: ข้อจำกัดเมื่อโจทก์ไม่นำพยานมาศาล
แม้คำเบิกความของพยานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ซึ่งศาลต้องบันทึกไว้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง เป็นพยานเอกสารอย่างหนึ่งซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดหรือบริสุทธิ์ โจทก์จึงชอบที่จะอ้างเป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 แต่การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้นำบันทึกคำเบิกความของ ว. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ และจ่าสิบตำรวจ ส. ผู้ได้รับบาดเจ็บ พยานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมารับฟังประกอบการวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดหรือไม่นั้นข้อเท็จจริงได้ความว่า ในการสืบพยานโจทก์ในชั้นพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบ ว. และจ่าสิบตำรวจ ส. พยานโจทก์ เนื่องจากความผิดของโจทก์ที่ละเลยเพิกเฉยไม่เอาใจใส่ในการส่งหมายเรียกให้พยานหรือนำพยานมาศาล จึงไม่ใช่กรณีมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่ศาลอาจรับฟังบันทึกคำเบิกความของ ว. และจ่าสิบตำรวจ ส. ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องประกอบพยานหลักฐานอื่นในชั้นพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/5 ที่แก้ไขใหม่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดังนั้น แม้จะย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลชั้นต้นก็ไม่อาจนำบันทึกคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองปากในชั้นไต่สวนมูลฟ้องนั้นมารับฟังประกอบการวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7745/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากชั้นไต่สวนมูลฟ้องในชั้นพิจารณาคดี: ข้อจำกัดเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน
คำเบิกความของ ว. และ ส. พยานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องซึ่งศาลต้องบันทึกไว้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง เป็นพยานเอกสารอย่างหนึ่งซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่า จำเลยทั้งสองมีผิดหรือบริสุทธิ์ โจทก์จึงชอบที่จะอ้างเป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ตามมาตรา 226 แต่ในการสืบพยานโจทก์ในชั้นพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบ ว. และ ส. เนื่องจากความผิดของโจทก์ที่ละเลยเพิกเฉยไม่เอาใจใส่ในการส่งหมายเรียกให้พยานหรือนำพยานมาศาล จึงไม่ใช่กรณีมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่ศาลอาจรับฟังบันทึกคำเบิกความของ ว. และ ส. ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องประกอบพยานหลักฐานอื่นในชั้นพิจารณาได้ตามมาตรา 226/5