พบผลลัพธ์ทั้งหมด 805 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8543/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายและนายหน้า ค่าคอมมิชชั่นเกิดขึ้นเมื่อยอมให้ผู้อื่นเสนอซื้อแทน แม้จะไม่ได้ชี้ช่อง
จำเลยที่ 1 มิได้ยกเหตุที่ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่านายหน้าจากจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงให้โจทก์ถอนซองประกวดราคาของโจทก์ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ จำเลยที่ 1 ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอ้างในฎีกาจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 ยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยประกาศประกวดราคาให้ผู้สนใจเสนอขายที่ดินเพื่อใช้ก่อสร้างที่ทำการเขตโทรศัพท์ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาให้โจทก์เป็นนายหน้าตกลงค่านายหน้าร้อยละ 3 ของราคาที่ตั้งไว้ หากขายได้เกินราคา ดังกล่าวเงินที่ขายเกินยอมยกให้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างยื่นซองประกวดราคาเสนอขายที่ดินของจำเลยที่ 1 แปลงเดียวกันแก่องค์การโทรศัพท์ โดยโจทก์เสนอขายในราคาต่ำกว่าราคาที่จำเลยที่ 2 เสนอ คณะกรรมการ รับและเปิดซองประกวดราคาเรียกจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของที่ดินกับโจทก์และจำเลยที่ 2 ให้ตกลงกันว่าจะให้ใครเป็นตัวแทนเสนอขายที่ดินเพียงผู้เดียว โจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงกันให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้เสนอขายที่ดินของ จำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียว แล้วมีการทำหนังสือสัญญานายหน้าระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตามเอกสารหมาย จ. 7 และหนังสือสัญญานายหน้าระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ตามเอกสารหมาย จ. 8 ต่อมาองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ตกลงซื้อที่ดินของจำเลยที่ 1 ตามคำเสนอขายของจำเลยที่ 2 และได้ชำระค่าที่ดินและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ กันเสร็จสิ้นแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ตกลงให้ค่าตอบแทนหรือที่เรียกว่าค่านายหน้าแก่โจทก์ตามเอกสารหมาย จ. 7 เนื่องจากโจทก์ยอมตกลงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้เสนอขายที่ดินของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียว ซึ่งไม่เกี่ยวกับหนังสือ สัญญานายหน้าระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ที่ได้ทำกันไว้ในตอนแรกโจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามข้อตกลง ดังกล่าว โดยไม่ต้องคำนึงว่าการที่จำเลยที่ 1 กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินกันเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ได้ชี้ช่องหรือจัดการหรือไม่ และเมื่อโจทก์ได้ถอนซองประกวดราคาของโจทก์โดยปริยาย ตามเงื่อนไขที่ตกลงกับจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามเอกสารหมาย จ. 8 จากจำเลยที่ 2 ด้วย
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยประกาศประกวดราคาให้ผู้สนใจเสนอขายที่ดินเพื่อใช้ก่อสร้างที่ทำการเขตโทรศัพท์ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาให้โจทก์เป็นนายหน้าตกลงค่านายหน้าร้อยละ 3 ของราคาที่ตั้งไว้ หากขายได้เกินราคา ดังกล่าวเงินที่ขายเกินยอมยกให้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างยื่นซองประกวดราคาเสนอขายที่ดินของจำเลยที่ 1 แปลงเดียวกันแก่องค์การโทรศัพท์ โดยโจทก์เสนอขายในราคาต่ำกว่าราคาที่จำเลยที่ 2 เสนอ คณะกรรมการ รับและเปิดซองประกวดราคาเรียกจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของที่ดินกับโจทก์และจำเลยที่ 2 ให้ตกลงกันว่าจะให้ใครเป็นตัวแทนเสนอขายที่ดินเพียงผู้เดียว โจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงกันให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้เสนอขายที่ดินของ จำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียว แล้วมีการทำหนังสือสัญญานายหน้าระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตามเอกสารหมาย จ. 7 และหนังสือสัญญานายหน้าระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ตามเอกสารหมาย จ. 8 ต่อมาองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ตกลงซื้อที่ดินของจำเลยที่ 1 ตามคำเสนอขายของจำเลยที่ 2 และได้ชำระค่าที่ดินและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ กันเสร็จสิ้นแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ตกลงให้ค่าตอบแทนหรือที่เรียกว่าค่านายหน้าแก่โจทก์ตามเอกสารหมาย จ. 7 เนื่องจากโจทก์ยอมตกลงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้เสนอขายที่ดินของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียว ซึ่งไม่เกี่ยวกับหนังสือ สัญญานายหน้าระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ที่ได้ทำกันไว้ในตอนแรกโจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามข้อตกลง ดังกล่าว โดยไม่ต้องคำนึงว่าการที่จำเลยที่ 1 กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินกันเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ได้ชี้ช่องหรือจัดการหรือไม่ และเมื่อโจทก์ได้ถอนซองประกวดราคาของโจทก์โดยปริยาย ตามเงื่อนไขที่ตกลงกับจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามเอกสารหมาย จ. 8 จากจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8281/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ลำดับการบังคับคดีตามสัญญาต่างตอบแทน และสิทธิในการขอปฏิบัติการชำระหนี้ก่อน
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มีสิทธิบังคับจำเลยสามประการ ประการแรกคือบังคับให้โอนสิทธิในที่ดินพิพาทโดยโจทก์ต้องชำระเงินตอบแทนแก่จำเลย ประการที่สองคือบังคับให้ใช้ค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยไม่สามารถโอนสิทธิในที่ดินพิพาทได้ และประการที่สามคือให้จำเลยรื้อถอนสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ออกจากที่ดินพิพาท สำหรับสิทธิของโจทก์ในประการแรกและประการที่สองการบังคับคดีต้องเป็นไปตามลำดับเพราะมิใช่กรณีที่อาจเลือกการชำระหนี้ได้ เมื่อที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์สามารถใช้สิทธิบังคับในประการแรกคือให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้ โจทก์ย่อมไม่อาจใช้สิทธิบังคับในประการที่สองให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์เพื่อยึดทรัพย์สินของจำเลยมาชำระค่าเสียหายจึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ต้องชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันในลักษณะของสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้เมื่อโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนเสียก่อน แล้วจึงขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเลยเช่นนี้ จึงต้องถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนและอาจใช้สิทธิขอให้บังคับคดีแก่อีกฝ่ายหนึ่งตามสัญญาต่อไป ยังไม่อาจถือว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ผิดนัดจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
จำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ต้องชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันในลักษณะของสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้เมื่อโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนเสียก่อน แล้วจึงขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเลยเช่นนี้ จึงต้องถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนและอาจใช้สิทธิขอให้บังคับคดีแก่อีกฝ่ายหนึ่งตามสัญญาต่อไป ยังไม่อาจถือว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ผิดนัดจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8281/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับคดีตามลำดับในสัญญาต่างตอบแทน และสิทธิในการขอปฏิบัติการชำระหนี้ก่อน
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์มีสิทธิบังคับจำเลยอยู่สามประการ ประการแรกคือบังคับให้โอนสิทธิในที่ดินพิพาทโดยโจทก์ต้องชำระเงินตอบแทน 35,000 บาท แก่จำเลย ประการที่สองคือบังคับให้ใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 35,000 บาท ในกรณีที่จำเลยไม่สามารถโอนสิทธิในที่ดินพิพาทได้ และประการที่สามคือให้จำเลยรื้อถอนสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ออกจากที่ดินพิพาท สำหรับสิทธิของโจทก์ในประการแรกและประการที่สองนั้น การบังคับคดีต้องเป็นไปตามลำดับเพราะมิใช่กรณีที่อาจเลือกการชำระหนี้ได้ เมื่อที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินแล้วโดยมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์สามารถใช้สิทธิบังคับในประการแรกคือให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้ โจทก์ย่อมไม่อาจใช้สิทธิบังคับในประการที่สองคือให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เป็นเงิน 35,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ เพื่อยึดทรัพย์สินของจำเลยมาชำระค่าเสียหายจึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยต้องมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระเงิน 35,000 บาท ให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันในลักษณะของสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ เมื่อโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยปฏิบัติชำระหนี้ โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ชอบจะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนเสียก่อน แล้วจึงขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเลยเช่นนี้ จึงต้องถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนและอาจใช้สิทธิขอให้บังคับคดีแก่อีกฝ่ายหนึ่งตามสัญญาต่อไป ยังไม่อาจถือว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา
จำเลยต้องมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระเงิน 35,000 บาท ให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันในลักษณะของสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ เมื่อโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยปฏิบัติชำระหนี้ โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ชอบจะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนเสียก่อน แล้วจึงขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเลยเช่นนี้ จึงต้องถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะขอปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนของตนและอาจใช้สิทธิขอให้บังคับคดีแก่อีกฝ่ายหนึ่งตามสัญญาต่อไป ยังไม่อาจถือว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8153/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายต่างตอบแทน: สิทธิหน้าที่ในการชำระราคาและโอนกรรมสิทธิ์ต้องควบคู่กัน
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายบ้านกับโจทก์ สัญญาจะซื้อขายบ้านเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยจำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระราคาค่าบ้านให้แก่โจทก์ ส่วนโจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านแก่จำเลยด้วยเช่นกัน การที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระราคาค่าบ้านส่วนที่เหลือตามกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันโดยที่โจทก์มิได้กำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านให้แก่จำเลยตามหน้าที่แล้ว จำเลยย่อมมีอำนาจที่จะไม่ชำระราคาค่าบ้านส่วนที่เหลือแก่โจทก์จนกว่าโจทก์จะกำหนดเวลาที่โจทก์จะต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 ได้ จะถือว่าจำเลยไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดระยะเวลาที่โจทก์กำหนดเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 389 หาได้ไม่ สัญญาดังกล่าวยังมีผลผูกพันอยู่ โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5897/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจ้างทำเพลทแม่พิมพ์: การยึดหน่วงเพลทแม่พิมพ์โดยผู้รับจ้างถือเป็นการผิดสัญญา
แม้จำเลยจะจ้างโจทก์ทำเพลทแม่พิมพ์หลายครั้ง แต่ในการจ้างแต่ละครั้งสามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อหนี้ ค่าจ้างตามสัญญาจ้างทำเพลทแม่พิมพ์ครั้งที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่เกี่ยวกับการว่าจ้างครั้งที่ 4 และไม่เป็นคุณประโยชน์แก่โจทก์เกี่ยวด้วยเพลทแม่พิมพ์ตามสัญญาจ้างครั้งที่ 4 ที่โจทก์ยึดถือไว้ ทั้งหนี้ค่าจ้างทำเพลทแม่พิมพ์ครั้งที่ 4 ยังไม่ถึงกำหนดชำระ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงเพลทแม่พิมพ์ดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 การที่โจทก์ยึดเพลทแม่พิมพ์ไว้ ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ทำให้จำเลยไม่สามารถพิมพ์หนังสือออกจำหน่าย ย่อมทำให้จำเลยเสียหายอยู่ในตัว
ค่าขาดรายได้จากลูกค้าจ้างลงโฆษณา จำเลยมีหลักฐานสัญญาจ้างโฆษณามาแสดง แม้บางฉบับจะคาบเกี่ยวกับสัญญาจ้างโฆษณาในหนังสือฉบับก่อนก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ทั้งในหนังสือที่จำเลยพิมพ์ออกจำหน่ายก็ปรากฏว่า มีการลงโฆษณามากพอสมควร โจทก์เองก็ไม่ได้นำสืบโต้แย้ง แม้จำเลยไม่นำตัวบุคคลในเอกสารดังกล่าวมาเบิกความ ยืนยันก็รับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้
ค่าขาดรายได้จากลูกค้าจ้างลงโฆษณา จำเลยมีหลักฐานสัญญาจ้างโฆษณามาแสดง แม้บางฉบับจะคาบเกี่ยวกับสัญญาจ้างโฆษณาในหนังสือฉบับก่อนก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ทั้งในหนังสือที่จำเลยพิมพ์ออกจำหน่ายก็ปรากฏว่า มีการลงโฆษณามากพอสมควร โจทก์เองก็ไม่ได้นำสืบโต้แย้ง แม้จำเลยไม่นำตัวบุคคลในเอกสารดังกล่าวมาเบิกความ ยืนยันก็รับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5310/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาซื้อขายที่ดิน: การสละสิทธิรับโอนกรรมสิทธิ์เมื่อผู้ซื้อไม่ชำระหนี้ค่าที่ดิน และการระงับผลของการซื้อขาย
โจทก์กับจำเลยทั้งสองพิพาทกันตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน และมีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วกำหนดให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา แต่ในกรณีถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ให้โจทก์วางเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือเป็นเงิน 3,640,000 บาท ให้แก่จำเลยทั้งสองรับไป และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นคำพิพากษากำหนดให้ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างมีหน้าที่ปฏิบัติต่อกันเป็นการตอบแทนเพื่อให้การซื้อขายที่ดินที่ตกลงกันไว้ในสัญญาจะซื้อขายตามฟ้องได้สำเร็จลุล่วงไปสมเจตนาของทั้งสองฝ่าย
แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติให้คู่ความฝ่ายชนะคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาเอาแก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี คือลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาก็ตาม แต่ด้วยผลของคำพิพากษา นอกจากโจทก์ได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์พร้อมค่าเสียหายแล้ว โจทก์ยังอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นการตอบแทนจำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับโจทก์ชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองเช่นกัน ดังนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองได้เสนอชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์แล้ว และได้นำโฉนดที่ดินที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์พร้อมค่าเสียหายกับดอกเบี้ยมาวางศาลเพื่อให้โจทก์มารับไปดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา ทั้งศาลได้มีคำบังคับให้โจทก์ชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองได้ยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาแล้วก็ไม่มีหนี้ที่โจทก์จะขอบังคับเอาจากจำเลยทั้งสองอีกต่อไป แต่โจทก์ยังคงมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่จำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาคือ เงินค่าที่ดินที่เหลือเป็นการตอบแทนเพื่อให้การซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นอันเสร็จสิ้นไป เมื่อโจทก์ได้รับคำบังคับโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่จำเลยทั้งสองภายในกำหนดตามคำบังคับ แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะขอหมายบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275
การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองภายในกำหนดตามคำบังคับ ถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลยทั้งสอง หนี้ตามคำพิพากษาระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองเฉพาะเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กันย่อมเป็นอันระงับไป แม้คำพิพากษามิได้กำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือไว้ก็ตาม เพราะมิฉะนั้นจะเกิดความเสียหายแก่จำเลยทั้งสองได้ ทั้งกรณีไม่ใช่เป็นการย่นระยะเวลาบังคับคดีอันจะขัดกับ ป.วิ.พ. มาตรา 271
ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินย่อมมีสิทธิที่จะทำนิติกรรมใด ๆ ในที่ดินเฉพาะส่วนของตนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยเป็นผู้นำโฉนดที่ดินมาวางศาลไว้เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษา เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมก็มีสิทธิขอยืมโฉนดที่ดินฉบับดังกล่าวไปทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินเฉพาะส่วนของตนได้ เมื่อดำเนินการเสร็จผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมก็ได้นำโฉนดที่ดินดังกล่าวส่งคืนแก่ศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมยืมโฉนดที่ดินไป จึงไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ แก่จำเลย
ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนนัดการอ่านคำสั่งหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาตามพฤติการณ์เป็นเรื่อง ๆ ไป
ตามคำร้องขอเลื่อนนัดการอ่านคำพิพากษากล่าวอ้างว่า จำเลยมีหนังสือไปถึงโจทก์เพื่อแจ้งให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา อันเป็นสิทธิของจำเลยส่วนหนึ่งเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนการอ่านคำสั่งตามคำร้องของจำเลยย่อมกระทำได้ ทั้งมิได้ทำให้จำเลยเสียหาย ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้เป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีจึงไม่วินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว
แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติให้คู่ความฝ่ายชนะคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาเอาแก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี คือลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาก็ตาม แต่ด้วยผลของคำพิพากษา นอกจากโจทก์ได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์พร้อมค่าเสียหายแล้ว โจทก์ยังอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นการตอบแทนจำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับโจทก์ชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองเช่นกัน ดังนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองได้เสนอชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์แล้ว และได้นำโฉนดที่ดินที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์พร้อมค่าเสียหายกับดอกเบี้ยมาวางศาลเพื่อให้โจทก์มารับไปดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา ทั้งศาลได้มีคำบังคับให้โจทก์ชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองได้ยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาแล้วก็ไม่มีหนี้ที่โจทก์จะขอบังคับเอาจากจำเลยทั้งสองอีกต่อไป แต่โจทก์ยังคงมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่จำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาคือ เงินค่าที่ดินที่เหลือเป็นการตอบแทนเพื่อให้การซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นอันเสร็จสิ้นไป เมื่อโจทก์ได้รับคำบังคับโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่จำเลยทั้งสองภายในกำหนดตามคำบังคับ แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะขอหมายบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275
การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองภายในกำหนดตามคำบังคับ ถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลยทั้งสอง หนี้ตามคำพิพากษาระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองเฉพาะเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กันย่อมเป็นอันระงับไป แม้คำพิพากษามิได้กำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือไว้ก็ตาม เพราะมิฉะนั้นจะเกิดความเสียหายแก่จำเลยทั้งสองได้ ทั้งกรณีไม่ใช่เป็นการย่นระยะเวลาบังคับคดีอันจะขัดกับ ป.วิ.พ. มาตรา 271
ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินย่อมมีสิทธิที่จะทำนิติกรรมใด ๆ ในที่ดินเฉพาะส่วนของตนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยเป็นผู้นำโฉนดที่ดินมาวางศาลไว้เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษา เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมก็มีสิทธิขอยืมโฉนดที่ดินฉบับดังกล่าวไปทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินเฉพาะส่วนของตนได้ เมื่อดำเนินการเสร็จผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมก็ได้นำโฉนดที่ดินดังกล่าวส่งคืนแก่ศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมยืมโฉนดที่ดินไป จึงไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ แก่จำเลย
ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนนัดการอ่านคำสั่งหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาตามพฤติการณ์เป็นเรื่อง ๆ ไป
ตามคำร้องขอเลื่อนนัดการอ่านคำพิพากษากล่าวอ้างว่า จำเลยมีหนังสือไปถึงโจทก์เพื่อแจ้งให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา อันเป็นสิทธิของจำเลยส่วนหนึ่งเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนการอ่านคำสั่งตามคำร้องของจำเลยย่อมกระทำได้ ทั้งมิได้ทำให้จำเลยเสียหาย ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้เป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีจึงไม่วินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: ความเสียหายจากการไม่ชำระค่าเช่าซื้อ และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อและรับมอบรถที่เช่าซื้อไปจากโจทก์ โดยมีข้อตกลงว่า จำเลยที่ 1 จะชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เป็นรายเดือน 24 งวด จำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อเป็นการตอบแทน แต่เช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายชำระค่าเช่าซื้อก่อนเลิกสัญญาในงวดที่ 1 ถึงที่ 3 และงวดที่ 5 ถึงที่ 7 ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าซื้อย่อมได้รับความเสียหายที่ไม่ได้รับชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญา ส่วนที่โจทก์ได้รับชำระค่าเช่าซื้อไปแล้วเพียงใด และโจทก์นำรถที่เช่าซื้อไปให้บุคคลภายนอกเช่าซื้อในราคาเท่าใด เป็นข้อพิจารณาในชั้นกำหนดค่าเสียหายให้เป็นจำนวนที่พอสมควร
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระและนำสืบว่าค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระ 6 งวดเป็นเงิน 900,000 บาท ที่โจทก์นำสืบด้วยว่าหากโจทก์นำรถที่เช่าซื้อออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท เป็นการนำสืบให้เห็นถึงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินของโจทก์อีกทางหนึ่ง จึงหาเป็นการนำสืบนอกคำฟ้องไม่
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อและรับมอบรถที่เช่าซื้อไปจากโจทก์ โดยมีข้อตกลงว่า จำเลยที่ 1 จะชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เป็นรายเดือน 24 งวด จำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อเป็นการตอบแทน แต่เช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายชำระค่าเช่าซื้อก่อนเลิกสัญญาในงวดที่ 1 ถึงที่ 3 และงวดที่ 5 ถึงที่ 7 ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าซื้อย่อมได้รับความเสียหายที่ไม่ได้รับชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญา ส่วนที่โจทก์ได้รับชำระค่าเช่าซื้อไปแล้วเพียงใด และโจทก์นำรถที่เช่าซื้อไปให้บุคคลภายนอกเช่าซื้อในราคาเท่าใด เป็นข้อพิจารณาในชั้นกำหนดค่าเสียหายให้เป็นจำนวนที่พอสมควร
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระและนำสืบว่าค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระ 6 งวดเป็นเงิน 900,000 บาท ที่โจทก์นำสืบด้วยว่าหากโจทก์นำรถที่เช่าซื้อออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท เป็นการนำสืบให้เห็นถึงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินของโจทก์อีกทางหนึ่ง จึงหาเป็นการนำสืบนอกคำฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1994/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายต้องมีการส่งมอบสินค้าและชำระราคาควบคู่กัน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญา อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่มีสิทธิเรียกร้อง
จำเลยสั่งซื้อเครื่องชั่งพิพาทจากโจทก์ชนิดที่มีความสามารถชั่งได้ 600 ตัน ต่อชั่วโมงต่อเครื่อง จำนวน 2 เครื่อง ในราคารวม 2,619,360 บาท และโจทก์คิดค่าแรงในการติดตั้งเป็นเงินจำนวน 32,100 บาท โจทก์ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องชั่งพิพาทให้แก่จำเลยแล้ว แต่คดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับมอบเครื่องชั่งพิพาทจากโจทก์แล้ว เมื่อสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน การที่โจทก์ยังไม่ได้ส่งมอบเครื่องชั่งที่มีความสามารถตามที่ตกลงกับจำเลย โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระราคาเครื่องชั่งพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อ, ค่าเสียหายจากการไม่คืนทรัพย์, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อหลายงวดติดต่อกัน โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยชอบแล้ว จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่าได้ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ทุกงวดไม่เคยผิดสัญญาเช่าซื้อ โดยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาก่อน สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน ฎีกาของจำเลยที่ 1 เรื่องนี้ไม่เป็นประเด็นแห่งคดีที่จะรับวินิจฉัย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ย่อมมีผลให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 , 392 และ 369 ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโดยยังคงครอบครองใช้ประโยชน์ตลอดมา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม โจทก์รับว่า จำเลยที่ 1 นำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระให้แก่โจทก์อีกบางส่วน ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องพึงชดใช้ให้แก่โจทก์ด้วย และค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกชำระหนี้กันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อกับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงให้คำพิพากษามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน ซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ย่อมมีผลให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 , 392 และ 369 ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโดยยังคงครอบครองใช้ประโยชน์ตลอดมา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม โจทก์รับว่า จำเลยที่ 1 นำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระให้แก่โจทก์อีกบางส่วน ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องพึงชดใช้ให้แก่โจทก์ด้วย และค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกชำระหนี้กันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อกับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงให้คำพิพากษามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน ซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไถ่ขายฝากที่ดินภายในกำหนด แม้ยังมิได้จดทะเบียนก็มีผลผูกพัน โจทก์มีสิทธิฟ้องร้องได้ตลอดเวลา
ผู้ขายฝากได้ไถ่ที่ดินพิพาทจากผู้ซื้อภายในกำหนดในสัญญาขายฝากแล้ว แม้จะไม่มีการจดทะเบียนไถ่การขายฝากก็เป็นเพียงทำให้การกลับคืนมาซึ่งทรัพยสิทธิในที่ดินพิพาทยังไม่บริบูรณ์เท่านั้น แต่มีผลใช้บังคับยันกันเองได้ แม้ยังมิได้มีการจดทะเบียนไถ่ ที่ดินที่ขายฝากก็ตกเป็นของผู้ขายฝากทันที ซึ่งมีผลบังคับยันกันได้ระหว่างคู่สัญญา ผู้จัดการมรดกของผู้ขายฝากย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนและฟ้องร้องขอให้ผู้ซื้อจดทะเบียนไถ่การขายฝากที่ดินในระยะเวลาใดก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336