คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 369

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 805 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้ให้เช่าซื้อจัดหาทะเบียนรถ - สัญญาเช่าซื้อไม่เลิก - ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่าซื้อ โดยมีสภาพที่เหมาะสมแก่การใช้ประโยชน์ เมื่อรถพิพาทยังมิได้ทำทะเบียนและแผ่นป้ายวงกลม โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องจัดหาให้แก่จำเลย เพราะเอกสารดังกล่าวเป็นสาระสำคัญในการใช้รถโดยจะต้องเป็นผู้จัดอำนวยความสะดวกในการจดทะเบียนเพื่อใช้รถที่เช่าซื้อตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ การที่โจทก์ส่งมอบรถพิพาทให้แก่จำเลยมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ โดยไม่จัดหาป้ายทะเบียนและป้ายวงกลมให้แก่จำเลย โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 ประกอบมาตรา 549เนื่องจากสัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะไม่ชำระค่าเช่าซื้อได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 การที่จำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์จึงไม่ถือว่าจำเลยผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายทองคำ: การเปลี่ยนแปลงนโยบายนำเข้าถือเป็นสาระสำคัญของสัญญา หากมีผลกระทบต่อการปฏิบัติตามสัญญา ผู้นำเข้าไม่ต้องรับผิด
ก่อนที่มีการประกาศใช้นโยบายนำเข้าทองคำโดยเสรีการนำทองคำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักรต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง ด้วยการทำสัญญากำหนดปริมาณการนำเข้าภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยจะไม่มีผู้อื่นนำทองคำเข้ามาแข่งขันดังนั้น เมื่อกระทรวงการคลังโจทก์ทำสัญญากำหนดให้จำเลยนำทองคำเข้ามาจำหน่ายจำนวน 4,500 กิโลกรัม ภายในวันที่ 15ตุลาคม 2534 ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าภายในวันดังกล่าว โจทก์จะไม่ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามา โดยเสรีเพื่อให้จำเลยนำเข้าและจำหน่ายทองคำได้ในปริมาณที่กำหนด ฉะนั้นการที่โจทก์จะไม่ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามาโดยเสรีก่อนวันที่ 15 ตุลาคม2534 จึงเป็นสาระสำคัญในการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเมื่อโจทก์ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามาโดยเสรีในวันที่ 7 พฤษภาคม2534 ทำให้ผู้อื่นสามารถนำทองคำเข้ามาได้อย่างเสรีเป็นเหตุให้จำเลยนำทองคำเข้ามาขายได้น้อยกว่าปริมาณที่กำหนดจึงถือว่าจำเลยผิดสัญญาที่จะต้องชำระค่าปรับให้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายทองคำ - สาระสำคัญสัญญา - การเปลี่ยนแปลงนโยบาย - สิทธิและหน้าที่คู่สัญญา
ก่อนที่มีการประกาศใช้นโยบายนำเข้าทองคำโดยเสรี การนำทองคำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักรต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลังโจทก์ ด้วยการทำสัญญากำหนดปริมาณการนำเข้าภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยจะไม่มีผู้อื่นนำทองคำเข้ามาแข่งขัน เมื่อโจทก์ทำสัญญากำหนดให้จำเลยนำทองคำเข้ามาจำหน่ายจำนวน 4,500 กิโลกรัม ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2534 ย่อมเป็นที่เข้าใจว่า ภายในวันดังกล่าวโจทก์จะไม่ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามาโดยเสรีเพื่อให้จำเลยนำเข้าและจำหน่ายทองคำได้ในปริมาณที่กำหนด ความเข้าใจเช่นนี้แม้ไม่ได้ระบุในสัญญา แต่ก็ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงโดยปริยาย ฉะนั้นการที่โจทก์จะไม่ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามาโดยเสรีก่อนวันที่ 15 ตุลาคม 2534 จึงเป็นสาระสำคัญในการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลย เมื่อโจทก์ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามาโดยเสรีในวันที่ 7 พฤษภาคม 2534 ทำให้ผู้อื่นสามารถนำทองคำเข้ามาได้อย่างเสรี เป็นเหตุให้จำเลยนำทองคำเข้ามาขายได้น้อยกว่าปริมาณที่กำหนด จะถือว่าจำเลยผิดสัญญาและต้องชำระค่าปรับให้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7205/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนโอนที่ดินหลังคำพิพากษาประนีประนอม แม้มิได้ชำระเงินค่าทดแทนครบถ้วน
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ร้อง โดยผู้ร้องตกลงชำระเงินที่เหลือจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลย ดังนี้สิทธิของผู้ร้องตามคำพิพากษาที่จะเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ตนได้เกิดขึ้นแล้วทันทีเพียงแต่ผู้ร้องต้องชำระเงินที่เหลือตอบแทนให้ครบถ้วนตามคำพิพากษาด้วยเท่านั้นการที่ผู้ร้องยังไม่ชำระเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยมีผลเพียงทำให้ผู้ร้องยังไม่อาจจะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตอบแทน หามีผลทำให้สิทธิของผู้ร้องที่จะเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาหมดไปไม่ การที่ผู้ร้องยังคงมีสิทธิเช่นนี้เมื่อผู้ร้องได้ชำระเงินที่เหลือตอบแทนนั้นถือว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนเหนือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300 โจทก์จึงหามีสิทธิขอให้บังคับคดียึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวอันเป็นการกระทบถึงสิทธิของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7205/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องให้โอนที่ดินตามสัญญาประนีประนอมฯ ไม่กระทบจากการยังไม่ชำระหนี้ตอบแทน
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ร้อง โดยผู้ร้องตกลงชำระเงินที่เหลือจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลย ดังนี้สิทธิของผู้ร้องตามคำพิพากษาที่จะเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ตนได้เกิดขึ้นแล้วทันที เพียงแต่ผู้ร้องต้องชำระเงินที่เหลือตอบแทนให้ครบถ้วนตามคำพิพากษาด้วยเท่านั้นการที่ผู้ร้องยังไม่ชำระเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยมีผลเพียงทำให้ผู้ร้องยังไม่อาจจะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตอบแทน หามีผลทำให้สิทธิของผู้ร้องที่จะเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาหมดไปไม่ การที่ผู้ร้องยังคงมีสิทธิเช่นนี้เมื่อผู้ร้องได้ชำระเงินที่เหลือตอบแทนนั้น ถือว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนเหนือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300 โจทก์จึงหามีสิทธิขอให้บังคับคดียึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวอันเป็นการกระทบถึงสิทธิของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 287 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5612/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน: ค่าจ้างรายเดือน vs. เงินตอบแทนพิเศษตามเงื่อนไข
++ เรื่อง คดีแรงงาน ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า บันทึกเอกสารหมาย จ.1 ที่ได้ระบุว่า จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะจ่ายค่าตอบแทนแก่โจทก์ที่ช่วยบริหารงานและกิจการของจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 50,000 บาท โดยแบ่งจ่ายทุกสิ้นเดือน 20,000 บาท ส่วนที่เหลือ 30,000 บาท จะจ่ายคืนให้หลังจากครบ 3 ปี แล้ว และได้ระบุวันที่จ่ายเงินในบางเดือนกับยอดคงเหลือไว้นั้นข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแรงงานที่ตกลงจะจ่ายค่าจ้างส่วนที่เหลือให้โจทก์เดือนละ 30,000 บาท หรือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 บัญญัติว่า "อันว่าจ้างแรงงานนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้"
++ หมายความว่า นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างตอบแทนการทำงานของลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างยังทำงานให้แก่นายจ้าง และค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้น คือเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย
++ คดีนี้ ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน และเอกสารหมาย จ.1 ระบุว่า จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะจ่ายค่าตอบแทนแก่โจทก์ที่ช่วยบริหารงานและกิจการของจำเลยที่ 1 เป็นเงินเดือนละ 50,000 บาท โดยแบ่งจ่ายทุกสิ้นเดือน 20,000 บาท ส่วนที่เหลือ30,000 บาท จะจ่ายคืนให้หลังครบ 3 ปีแล้ว เห็นว่า ข้อตกลงตามบันทึกเอกสารหมาย จ.1 ดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแรงงานเนื่องจากเงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ 20,000 บาท ทุกวันสิ้นเดือนนั้น เป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติเป็นรายเดือน จึงเป็นค่าจ้างประเภทเงินเดือน
++ แต่เงินที่เหลืออีกเดือนละ 30,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ตกลงจะจ่ายให้หลังครบ 3 ปี แล้วนั้น แสดงให้เห็นว่าเงินจำนวนหลังนี้มิใช่เงินที่ตกลงจ่ายให้เพื่อตอบแทนการทำงานปกติของการทำงานเป็นรายเดือน จึงมิใช่ค่าจ้าง
++ แต่เป็นเงินค่าตอบแทนอื่นที่จ่ายตามเงื่อนไขในข้อตกลง เมื่อโจทก์ทำงานยังไม่ครบ3 ปี ตามเงื่อนไขในข้อตกลงนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5440/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการบังคับคดีของทั้งสองฝ่ายตามคำพิพากษาและการสั่งให้ผิดนัดที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยต่างมีหน้าที่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่กัน ทั้งโจทก์และจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะขอให้ดำเนินการบังคับคดีให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มี คำพิพากษาถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่นำเงินจำนวนดังกล่าวมาชำระ จำเลยย่อมชอบที่จะร้องขอต่อศาลขอให้ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาในส่วนนี้ได้ และเมื่อศาลได้ออกคำบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาแล้วโจทก์ไม่ยอมปฏิบัติตาม จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ชอบที่จะยื่นคำขอ ต่อศาลเพื่อขอให้ออกหมายบังคับคดีแก่โจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275 ส่วนโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ที่จะบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ย่อมชอบที่จะร้องขอต่อศาลขอให้ดำเนินการบังคับคดีให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ภายในสิบปีเช่นกัน
แม้จำเลยจะนำโฉนดที่ดินพิพาทมาวางศาลเพื่อให้โจทก์มารับไปจดทะเบียนโอนตามคำพิพากษาก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์รับจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทพร้อมกับชำระเงินค่าที่ดิน ตอบแทนจำเลยภายในกำหนด โดยให้โจทก์มีสิทธินำเงินค่าเสียหายตามคำพิพากษามาหักชำระค่าที่ดินได้ หากโจทก์ไม่ดำเนินการภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าโจทก์ตกเป็นฝ่ายผิดนัด ไม่มีสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาแก่จำเลยทั้งสองอีกต่อไปนั้น เป็นคำสั่งนอกเหนือคำบังคับย่อมเป็นการไม่ชอบ เพราะเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจะถือว่าโจทก์ผิดนัดหรือสละสิทธิในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่ได้ เป็นการนอกเหนือคำพิพากษาและโจทก์มิได้ตกลงด้วย หากจำเลยเห็นว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการขอออกหมายบังคับคดีแก่โจทก์เพื่อให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นได้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4564/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนการซื้อขายที่ดิน และการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างขวางทางเข้าออก
ขณะที่จำเลยแบ่งขายที่ดินของตนให้แก่โจทก์กับพวก จำเลยสัญญาว่าจะแบ่งที่ดินของจำเลยทำเป็นทางเข้าออกของที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะอันถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนการซื้อขายที่ดินของจำเลย จำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ใช่สิทธิตามกฎหมายอันเกิดจากกรณีที่ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินของจำเลยล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ศาลจึงไม่มีอำนาจในการกำหนดสถานที่และวิธีการทำทางโดยต้องคำนึงถึงที่ดินจำเลยให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางเข้าออกและรื้อถอนบ้านเรือนที่ปลูกขวางทางเข้าออก ถือได้ว่าในส่วนคำขอให้รื้อถอนบ้านเรือนเป็นคดีฟ้องขอให้ขับไล่ แม้บ้านที่ปลูกขวางทางเข้าออกเป็นบ้านของบุตรสาวจำเลย ก็ถือว่าเป็นวงศ์ญาติของจำเลย เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี และศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนบ้านดังกล่าวออกไปคำพิพากษาดังกล่าวย่อมใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนที่ดินนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบมาตรา 145

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4564/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมทางเข้าออก และขอบเขตการบังคับใช้คำพิพากษาในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ขณะที่จำเลยแบ่งขายที่ดินของตนให้แก่โจทก์กับพวก จำเลยสัญญาว่าจะแบ่งที่ดินของจำเลยทำเป็นทางเข้าออกของที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะอันถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนการซื้อขายที่ดินของจำเลย จำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ใช่สิทธิตามกฎหมายอันเกิดจากกรณีที่ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินของจำเลยล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1349ศาลจึงไม่มีอำนาจในการกำหนดสถานที่และวิธีการทำทางโดยต้องคำนึงถึงที่ดินจำเลยให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางเข้าออกและรื้อถอนบ้านเรือนที่ปลูกขวางทางเข้าออก ถือได้ว่าในส่วนคำขอให้รื้อถอนบ้านเรือนเป็นคดีฟ้องขอให้ขับไล่แม้บ้านที่ปลูกขวางทางเข้าออกเป็นบ้านของบุตรสาวจำเลย ก็ถือว่าเป็นวงศ์ญาติของจำเลย เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี และศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนบ้านดังกล่าวออกไป คำพิพากษาดังกล่าวย่อมใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนที่ดินนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบมาตรา 145

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3259/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาซื้อขายอาคารชุด กรณีผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญา และสิทธิในการเลิกสัญญาตามบทบัญญัติกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 386 วางหลักในเรื่องการเลิกสัญญาไว้ 2 กรณี คือ เลิกสัญญาโดยข้อสัญญาและเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ดังนั้น แม้จะมีข้อสัญญากำหนดไว้ให้เลิกสัญญาได้ในกรณีใดบ้าง หากมีกรณีที่ไม่ตรงตาม ข้อสัญญา แต่ตรงตามบทบัญญัติของกฎหมายก็เลิกสัญญาได้
ตามเอกสารแนบท้ายเงื่อนไขการจะซื้อจะขาย ที่ระบุไว้ว่า "ในกรณีที่ผุ้จะขายนั้นไม่สามารถทำการก่อสร้างอาคารชุดหรือห้องชุดผู้จะซื้อให้แล้วเสร็จหรือไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดจะซื้อภายในเวลที่กำหนดในสัญญานี้และการผิดสัญญาดังกล่าวดำเนินต่อไปภายหลังจากผู้จะซื้อส่งหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้จะขายไม่น้อยกว่าหกเดือน ผู้จะซื้ออาจบอกเลิกภาระผูกพันของผู้จะซื้อตามสัญญานี้?" เป็นการกำหนดให้ผู้จะซื้อบอกเลิกสัญญาได้ 2 กรณี คือ ผู้จะขายก่อสร้างห้องชุดไม่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด หรือไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ห้องชุดได้ การที่ผู้จะขายมิได้ก่อสร้างฝ้าเพดานให้ถูกต้องตามข้อตกลงในสัญญา ผู้จะซื้อจึงเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาไม่ได้
โจทก์ทำสัญญาจะซื้ออาคารชุดจากจำเลยและชำระเงินแก่จำเลยตามสัญญาบางส่วนในวันทำสัญญา ส่วนที่เหลือจะชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ ตามเงื่อนไขในสัญญากำหนดให้ผู้จะขายใช้วัสดุและอุปกรณ์อื่นแทนได้เฉพาะ รายการก่อสร้างและวัสดุและอุปกรณ์ที่จะใช้ในการก่อสร้างห้องชุดของผู้จะซื้อเท่านั้น และตามสัญญาระบุไว้ใน รายการฝ้าเพดานระบุว่าห้องทั่วไปเป็นคอนกรีต แต่งผิว ทาสี ส่วนกลางเป็นโครงสร้างอะลูมิเนียมทีบาร์บุยิปซัมบอร์ด ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิก่อสร้างโดยใช้วัสดุและอุปกรณ์อื่นในทรัพย์ส่วนกลาง ยิ่งไปกว่านั้นจำเลยมิได้ทำฝ้าเพดาน จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และฝ้าเพดานอันเป็นทรัพย์ส่วนกลางนี้ แม้โจทก์ยังมิได้เป็นผู้มีส่วนถือกรรมสิทธิ์รวมเพราะยังมิได้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำกับจำเลยในอันที่จะบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวได้
ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 216 เป็นเรี่องการผิดนัดชำระหนี้และผลของการผิดนัดทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับประโยชน์จากการชำระหนี้ ส่วนกรณีที่เป็นเรื่องที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ซึ่งรวมถึงการชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้โดยให้ก่อสร้างฝ้าเพดานอันเป็นทรัพย์ส่วนกลางให้ถูกต้องภายในกำหนดระยะเวลา 1 เดือน อันเป็นระยะเวลาพอสมควร แต่จำเลยไม่ก่อสร้างให้ถูกต้อง จึงเท่ากับจำเลยไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อกรณีเป็นการเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงไม่ต้องบอกกล่าวโดยกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขในสัญญา
of 81