พบผลลัพธ์ทั้งหมด 175 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21897/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนที่ดินที่ซื้อด้วยเงินมรดก: อำนาจฟ้องและการขาดอายุความ
โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของมารดาโจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทซึ่งอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์คืนจากจำเลยทั้งสาม จึงเป็นการเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสามในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ผู้ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของตนคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ มิใช่กรณีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกด้วยกันพิพาทกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งทรัพย์มรดกอันจะอยู่ภายใต้บังคับอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามเกิน 10 ปี นับแต่มารดาโจทก์ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องอ้างว่า ภายหลังจากมารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย บิดาโจทก์ได้นำทรัพย์สินอันเป็นทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์ไปซื้อที่ดินหลายแปลงรวมทั้งที่ดินพิพาท ตามคำฟ้องดังกล่าวจึงเป็นกรณีของการนำทรัพย์สินกองมรดกไปใช้ประโยชน์ ดังนั้น แม้จะเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ที่ดินพิพาทที่บิดาโจทก์ซื้อมาก็หาตกเป็นทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์ไม่ แต่ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินของบิดาโจทก์ ส่วนการใช้จ่ายเงินจากกองมรดกนั้น หากเกินส่วนที่ตนควรได้ไปก็เป็นเรื่องที่บิดาโจทก์จะต้องรับผิดต่อทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของมารดาโจทก์ โจทก์หาอาจที่จะมาฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดเป็นคดีนี้ได้ไม่ ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามส่งมอบที่ดินพิพาทคืนหรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 247
โจทก์ฟ้องอ้างว่า ภายหลังจากมารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย บิดาโจทก์ได้นำทรัพย์สินอันเป็นทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์ไปซื้อที่ดินหลายแปลงรวมทั้งที่ดินพิพาท ตามคำฟ้องดังกล่าวจึงเป็นกรณีของการนำทรัพย์สินกองมรดกไปใช้ประโยชน์ ดังนั้น แม้จะเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ที่ดินพิพาทที่บิดาโจทก์ซื้อมาก็หาตกเป็นทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์ไม่ แต่ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินของบิดาโจทก์ ส่วนการใช้จ่ายเงินจากกองมรดกนั้น หากเกินส่วนที่ตนควรได้ไปก็เป็นเรื่องที่บิดาโจทก์จะต้องรับผิดต่อทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของมารดาโจทก์ โจทก์หาอาจที่จะมาฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดเป็นคดีนี้ได้ไม่ ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามส่งมอบที่ดินพิพาทคืนหรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21764/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: เริ่มนับแต่วันที่ผู้แทนโจทก์รู้ถึงการละเมิด ไม่ใช่วันคำพิพากษาคดีอื่น
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ย่อมต้องแสดงออกโดยผู้แทนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง อายุความ 1 ปี จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ผู้แทนของโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน มิใช่นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 5158/2546 ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่า ร. ต้องชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศแก่โจทก์หรือไม่ อันเป็นคนละประเด็นกับประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ทั้งคำพิพากษาคดีก่อนก็ไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองในคดีนี้ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ คำพิพากษาคดีก่อนเพียงแต่วินิจฉัยว่า ร. ไม่ได้เป็นผู้ทำสัญญาการใช้บริการโทรศัพท์ตามฟ้องจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าในวันที่ศาลในคดีก่อนมีคำพิพากษา โจทก์ได้ทราบแล้วว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิด เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์โดยรักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ฝ่ายบริหาร) ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนจากรายงานของกองนิติการเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2547 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2548 จึงไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21745/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพาอาวุธปืนในชุมนุมชน: การพิจารณาขอบเขต 'ชุมนุมชน' ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน
ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคสอง บัญญัติห้ามมิให้พาอาวุธปืนไปในชุมนุมชน ซึ่งคำว่า "ชุมนุมชน" หมายความถึง หมู่ชนที่มารวมกันมาก ๆ โดยเป็นการรวมบุคคลหลาย ๆ คนโดยทั่วไป มิใช่บุคคลเฉพาะบางหมู่บางพวก แสดงให้เห็นว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงโดยสภาพเข้าไปในบริเวณที่มีหมู่ชนมารวมกันมาก ๆ ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยถืออาวุธปืนพกยืนอยู่บริเวณข้างกำแพงด้านนอกแม้ไม่ได้เข้าไปที่ศาลหลักเมืองบริเวณที่จัดงานแสดงหมอลำและชกมวยก็ตาม แต่บริเวณที่จำเลยยืนถืออาวุธปืนดังกล่าวมีรถยนต์ของผู้มาเที่ยวงานจอดอยู่ห่างจากปากทางเข้าออกงานประมาณ ๒๐ เมตร แสดงว่าบริเวณที่จำเลยยืนถืออาวุธปืนนั้นอยู่ในที่ซึ่งหมู่ชนมารวมกันมาก ๆ มาจอดรถเพื่อเข้าร่วมงาน ถือว่าการกระทำของจำเลยมีความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในชุมนุมชน ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21739/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ: การย้ายกลับที่เดิม & การมีเคหสถานแล้วย่อมไม่มีสิทธิ
พ.ร.ฎ.ค่าเช่าบ้านข้าราชการเป็นกฎหมายที่มีเจตนารมณ์เพื่อช่วยเหลือข้าราชการที่ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยเพราะราชการเป็นเหตุ เนื่องจากได้รับคำสั่งให้ไปประจำสำนักงานในท้องที่ที่ตนไม่มีที่อยู่อาศัย พ.ร.ฎ.ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ.2527 มาตรา 4 ได้นิยามคำว่า "ท้องที่" ไว้ว่า หมายความถึง กรุงเทพมหานคร อำเภอหรือกิ่งอำเภอ เห็นได้ว่า ตามบทนิยามดังกล่าวมิได้ประสงค์ให้ใช้อำเภอหรือกิ่งอำเภอเป็นหลักในการกำหนดว่าเป็นท้องที่ที่รับราชการครั้งแรก จึงต้องพิจารณาจากท้องที่ ที่เป็นเขตพื้นที่การปกครองของอำเภอหรือกิ่งอำเภอตามสภาพความเป็นจริง โดยการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองที่เกิดขึ้นภายหลังจะต้องไม่มีผลกระทบต่อสิทธิที่เกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้น การที่ ม. บรรจุรับราชการครั้งแรกที่ตำบลเวียงชัย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย แต่ต่อมาย้ายมารับราชการภายหลังจากที่ตำบลเวียงชัยมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะจากตำบลเวียงชัย เป็นอำเภอเวียงชัยแล้ว ก็ไม่ทำให้ ม. เกิดสิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามมาตรา 7 (3) ได้ ส่วนการที่ ม. กู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อปลูกสร้างบ้านที่อำเภอเมืองเชียงรายซึ่งเป็นท้องที่ที่ตนบรรจุรับราชการครั้งแรกและเป็นท้องที่ที่ได้รับคำสั่งให้ย้ายไปประจำสำนักงานใหม่ กรณีย่อมถือได้ว่า ม. มีเคหสถานของตนในท้องที่ดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้เบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามมาตรา 7 (2) เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21310/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งจากการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง: การพิสูจน์ความผิดตามกฎหมายเลือกตั้งและผลกระทบต่อการชดใช้ค่าเสียหาย
การฟ้องผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 99 วรรคหนึ่ง เป็นการฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งรับผิดในทางแพ่งที่มีเหตุมาจากการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้เลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดว่า จำเลยหาเสียงด้วยความบริสุทธิ์ ไม่เคยซื้อเสียงหรือให้ทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้บุคคลใดมาลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ตน คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่หรือไม่ ซึ่งโจทก์มีภาระการพิสูจน์ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานมาสืบให้ได้ความตามคำฟ้อง ส่วนจำเลยก็มีสิทธินำสืบปฏิเสธความรับผิดตามคำให้การ
ส่วนคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 8, 57 และ 118 และขอให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจำเลยมีกำหนด 10 ปี ศาลพิพากษายกฟ้อง และคดีถึงที่สุดนั้น ข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวเป็นเพียงพยานหลักฐานที่จำเลยสามารถนำสืบให้ศาลเห็นว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ หาใช่เป็นข้อเท็จจริงที่ฟังยุติว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดทางอาญาแล้วก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ไม่ ทั้งนี้เพราะคำสั่งของโจทก์ที่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยภายหลังประกาศผลการเลือกตั้งนั้น เป็นอำนาจเด็ดขาดของโจทก์ และถือว่าจำเลยยังเป็นผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งอยู่ แม้ภายหลังมีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอันเนื่องมาจากการเลือกตั้งดังกล่าว ผลของคำพิพากษาในคดีอาญาก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่สั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้มีการเลือกตั้งใหม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย และพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยนำผลของคำพิพากษาในคดีอาญามาผูกพันกับคดีนี้ทั้งที่ไม่ใช่เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้น เป็นการไม่ชอบ
ส่วนคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 8, 57 และ 118 และขอให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจำเลยมีกำหนด 10 ปี ศาลพิพากษายกฟ้อง และคดีถึงที่สุดนั้น ข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวเป็นเพียงพยานหลักฐานที่จำเลยสามารถนำสืบให้ศาลเห็นว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ หาใช่เป็นข้อเท็จจริงที่ฟังยุติว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดทางอาญาแล้วก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ไม่ ทั้งนี้เพราะคำสั่งของโจทก์ที่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยภายหลังประกาศผลการเลือกตั้งนั้น เป็นอำนาจเด็ดขาดของโจทก์ และถือว่าจำเลยยังเป็นผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งอยู่ แม้ภายหลังมีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอันเนื่องมาจากการเลือกตั้งดังกล่าว ผลของคำพิพากษาในคดีอาญาก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่สั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้มีการเลือกตั้งใหม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย และพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยนำผลของคำพิพากษาในคดีอาญามาผูกพันกับคดีนี้ทั้งที่ไม่ใช่เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้น เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21282/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีแพ่งต้องไม่วินิจฉัยเฉพาะเรื่องอำนาจฟ้อง หากยังไม่ได้พิจารณาเนื้อหาข้อหา
ในคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยเพียงว่า โจทก์ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 99 แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยศาลยังไม่ได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีตามประเด็นที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดี จึงไม่ใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20550/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีทำละเมิดร่วมกัน ผู้เสียหายมีสิทธิเลือกฟ้องลูกหนี้รายใดรายหนึ่ง
แม้ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เสียหายที่ 1 เรียกจาก ว. จำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 336/2549 ของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา จะเป็นจำนวนเดียวกันก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 และ ว. เป็นลูกหนี้ร่วมซึ่งต้องรับผิดต่อผู้เสียหายที่ 1 ในเหตุที่ร่วมกันทำละเมิดทำให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับบาดเจ็บ จึงเป็นกรณีที่บุคคลหลายคนจะต้องชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนต้องชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว เจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 ผู้เสียหายที่ 1 จึงชอบที่จะเลือกฟ้องจำเลยที่ 1 หรือ ว. คนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวหรือจะเลือกฟ้องทั้งสองคนก็ได้ การที่ผู้เสียหายที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายที่ 1 ในคดีนี้ และยื่นคำร้องขอให้บังคับ ว. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 336/2549 ของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา เป็นการบังคับชำระหนี้เอากับบุคคลคนละคนกัน จึงไม่เป็นการร้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20053/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา: ผลของการโอนคดีระหว่างศาล และการนับอายุความจากคำสั่งจำหน่ายคดี
ประธานศาลฎีกามีคำวินิจฉัยว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลแพ่งจึงมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 แม้จะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความศาลแพ่งด้วยก็ตาม แต่เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยังมิได้มีคำสั่งรับโอนคดี ถือว่าคดีอยู่ระหว่างการโอนจึงยังไม่เสร็จเด็ดขาดไปจากศาลแพ่ง และคำสั่งให้โอนคดีของศาลแพ่งถือไม่ได้ว่าเป็นคำสั่งไม่รับหรือคืนคำฟ้อง แต่เมื่อศาลแพ่งมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความศาลแพ่งและให้โจทก์ไปดำเนินคดีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2550 ทำให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปจากศาลแพ่ง มีผลเท่ากับเป็นคำสั่งไม่รับหรือคืนคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลแพ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2550 ยังไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2550 ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13195/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เสียหายร่วมกระทำผิด ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย
เมื่อโจทก์ร่วมมีส่วนก่อเหตุให้จำเลยกระทำความผิด โจทก์ร่วมจึงไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ที่จะมีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์และไม่อาจใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 44/1 ในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12454/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่งจากความเสียหายทรัพยากรธรรมชาติ: กำหนดตามอายุความอาญาที่เกี่ยวข้อง
จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 แม้พนักงานอัยการจะมีคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งเป็นอำนาจของพนักงานอัยการที่มีความเห็นในการสั่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ตาม แต่เป็นกรณีถือได้ว่าไม่มีผู้ใดฟ้องทางอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ทั้งคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นการทำลาย ทำให้สูญหายและเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นของรัฐที่โจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษา ส่งเสริม ทำนุบำรุงป่าและการเกี่ยวกับการป่าไม้ ฯลฯ ทำให้พื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารและติดอยู่ในเขตพื้นที่โซนอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรีได้รับความเสียหายทางด้านป่าไม้ คิดเป็นค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 97 และมีโทษทางอาญาตามมาตรา 99 ประกอบมาตรา 43 ถือว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายฟ้องทางแพ่งเนื่องจากความผิดทางอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคหนึ่ง จึงต้องใช้อายุความฟ้องคดีอาญาตามมาตรา 99 ดังกล่าวซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง