พบผลลัพธ์ทั้งหมด 175 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11949/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทการจัดส่งสินค้าผิดเกรด ไม่ต้องอนุญาโตตุลาการก่อนฟ้อง
จำเลยกล่าวอ้างว่า ข้อพิพาทระหว่างผู้ขายกับจำเลยตามสัญญาซื้อขายเกี่ยวกับการชำระเงินค่าซื้อสินค้ายางพาราธรรมชาติชนิดแผ่น เกรด RSS 3 โดยจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากผู้ขายและให้จัดส่งไปยังลูกค้าของจำเลยโดยมีโจทก์เป็นผู้ขนส่ง แต่ปรากฏตามใบตราส่งว่า สินค้าเป็นเกรด RSS 1 ซึ่งไม่ตรงกับเกรดของสินค้าที่ระบุไว้ข้างหีบห่อบรรจุสินค้า ลูกค้าของจำเลยจึงปฏิเสธไม่รับสินค้า เหตุดังกล่าวมิใช่ข้อเรียกร้องเกี่ยวกับคุณภาพหรือสภาพของสินค้ายางพาราธรรมชาติชนิดแผ่นเกรด RSS 3 ตามสัญญาที่จะต้องดำเนินกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการก่อน แต่เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการจัดส่งสินค้าแก่ลูกค้าของจำเลยซึ่งมีการจัดส่งผิดไปจากที่ระบุไว้ อันมิได้อยู่ในขอบข่ายที่จะต้องดำเนินกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการ ผู้ขายจึงไม่ผูกพันที่จะต้องดำเนินกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการแก่จำเลยก่อนฟ้องคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11532/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดียาเสพติด: คุณสมบัติผู้ฟื้นฟูฯ และการดำเนินคดีอื่น
ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ได้กำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่จะเข้ารับการตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดหรือเข้ารับการฟื้นฟูที่สำคัญว่า บุคคลดังกล่าวไม่ต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่น ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล และผลการตรวจพิสูจน์ต้องเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติด จึงจะมีสิทธิได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัตินี้ หากข้อเท็จจริงปรากฏภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งตามมาตรา 19 ว่า ผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์หรือผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดนั้นต้องหาหรือถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่น ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรือต้องคำพิพากษาให้จำคุก ให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไปตามมาตรา 24 หรือถ้าผลการตรวจพิสูจน์ไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหาเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติด ให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานผลการตรวจพิสูจน์ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินคดีต่อไปตามมาตรา 22 วรรคสาม หรือในกรณีที่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดผู้ใดแม้จะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจนครบกำหนดเวลาตามมาตรา 25 แล้ว แต่ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังไม่เป็นที่พอใจ ให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณีเพื่อประกอบการพิจารณาคดีผู้นั้นต่อไปตามมาตรา 33 วรรคสอง โดยไม่มีบทบัญญัติใดที่ระบุว่า เมื่อศาลมีคำสั่งตามมาตรา 19 แล้ว ในการส่งตัวกลับไปดำเนินคดีเพราะเหตุขาดคุณสมบัติหรือเพราะเหตุอื่นจะต้องให้ศาลเป็นผู้พิจารณาสั่งเท่านั้น ส่วนการพิจารณาสั่งของศาลตามมาตรา 24 ก็เป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลเอง หรือศาลได้รับแจ้งจากคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือพนักงานสอบสวนแล้วแต่กรณี ดังนั้น ที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดกำแพงเพชรตรวจสอบแล้วพบว่าจำเลยถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุก จึงส่งตัวจำเลยไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป จึงเป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11319/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พนักงานสินเชื่อร่วมกับผู้อื่นใช้เอกสารราชการปลอมหลอกลวงธนาคาร คดีนี้ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิด
ทางนำสืบของโจทก์นอกจากคดีนี้แล้ว จำเลยยังถูกดำเนินคดีในข้อหาลักษณะเดียวกันกับในคดีนี้อีกหลายคดี ซึ่งลักษณะ วิธี หรือรูปแบบเฉพาะในการกระทำความผิดของจำเลยมีลักษณะเช่นเดียวกับคดีนี้ คือการที่มีผู้นำรถยนต์มาขอสินเชื่อ จำเลยทำการประเมินขอสินเชื่อจากผู้เสียหายแล้วมีการปลอมใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ ซึ่งสามารถนำมาฟังประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/2 วรรคหนึ่ง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11246/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายจากใบตราส่งปลอมและการเวนคืนใบตราส่ง
ผู้ซื้อสินค้าจากโจทก์จะใช้สิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบสินค้าได้ต้องเวนคืนใบตราส่งนั้นแก่จำเลยผู้ขนส่งหรือตัวแทนจำเลย เมื่อใบตราส่งที่จำเลยออกให้แก่โจทก์กับใบตราส่งฉบับที่ผู้รับสินค้ามอบให้แก่ตัวแทนจำเลยเพื่อรับสินค้าไปมีข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนหลายประการ โดยเฉพาะชื่อเรือเป็นชื่อเรือคนละลำ ทั้งจำเลยส่งสินค้าผ่านตัวแทนจำเลยดังกล่าวเป็นเวลากว่า 10 ปี แล้ว ตัวแทนจำเลยควรที่จะตรวจสอบรายละเอียดให้รอบคอบจนเห็นข้อแตกต่างในใบตราส่งที่ผู้รับสินค้านำมามอบให้กับใบตราส่งที่จำเลยออกให้จริงได้ ข้อผิดพลาดในการตรวจใบตราส่งนี้จึงเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อของตัวแทนจำเลย ยิ่งไปกว่านี้หน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยผู้รับขนของทางทะเลและตัวแทนจำเลยที่ทำหน้าที่ส่งมอบสินค้าแทนจำเลยในกรณีนี้ คือต้องส่งมอบสินค้าแก่ผู้มีใบตราส่งฉบับแท้จริงมามอบเวนคืนให้ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 28 หากมีการมอบเวนคืนใบตราส่งปลอมอันมิใช่ฉบับที่แท้จริง แต่ตัวแทนจำเลยส่งมอบสินค้าไป ถือได้ว่าเป็นการส่งมอบสินค้าไปโดยไม่ได้รับเวนคืนใบตราส่งอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ผู้รับขนของทางทะเลที่ไม่ถูกต้อง ความรับผิดชอบจึงตกอยู่แก่ผู้ขนส่งทางทะเลและต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ผู้ที่นำใบตราส่งปลอมมาเวนคืนต่อไป หาใช่เหตุที่จำเลยจะยกขึ้นปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ส่งตามสัญญารับขนของทางทะเล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11233/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเครื่องหมายการค้าและการขัดขวางการใช้เครื่องหมาย การฟ้องร้องต้องอาศัยเหตุแห่งการละเมิดที่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเครื่องหมายการค้าคำว่า "เทวินทร์" และ "TAYWIN" ระหว่างจำเลยทั้งสองและถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ขอให้จำเลยที่ 2 ถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "เทวินทร์" และ "TAYWIN" ของจำเลยที่ 2 และขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองขัดขวางหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนโจทก์และธุรกิจของโจทก์ในการใช้เครื่องหมายการค้า "TAYWIN ORIGINAL STYLE" อ้างว่าจำเลยที่ 1 ทำผิดข้อตกลงตามสัญญาให้ใช้สิทธิ โดยมิได้อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "เทวินทร์" และ "TAYWIN" ดีกว่าจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 แต่อย่างใด ทั้งจำเลยทั้งสองมิได้ฟ้องแย้งว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ คดีนี้จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์หรือไม่
การที่จำเลยที่ 2 แจ้งต่อโจทก์ให้โจทก์และผู้เกี่ยวข้องระงับการใช้ แสดง จำหน่าย สั่งเข้า มีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "เทวินทร์" และ "TAYWIN" ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากเพิกเฉยจะดำเนินการตามกฎหมายแก่ผู้ใช้ ผู้ละเมิดสิทธิ ผู้เลียน ผู้ปลอม ผู้ลวงขายสินค้าดังกล่าวโดยมิชอบจนถึงที่สุด โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ หรือโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใด ข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ ในขณะฟ้องโจทก์จึงยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ และไม่อาจขอบังคับให้ห้ามกระทำการใดที่ยังไม่เกิดขึ้นได้
การที่จำเลยที่ 1 คัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้า ไม่อาจถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือขัดขวางหรือกระทำการอันเป็นการรบกวนโจทก์และธุรกิจของโจทก์ในการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "TAYWIN ORIGINAL STYLE" แต่อย่างใด โจทก์จึงไม่อาจขอบังคับให้ห้ามจำเลยทั้งสองขัดขวางหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนโจทก์และธุรกิจของโจทก์ในการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "TAYWIN ORIGINAL STYLE"
การที่จำเลยที่ 2 แจ้งต่อโจทก์ให้โจทก์และผู้เกี่ยวข้องระงับการใช้ แสดง จำหน่าย สั่งเข้า มีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "เทวินทร์" และ "TAYWIN" ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากเพิกเฉยจะดำเนินการตามกฎหมายแก่ผู้ใช้ ผู้ละเมิดสิทธิ ผู้เลียน ผู้ปลอม ผู้ลวงขายสินค้าดังกล่าวโดยมิชอบจนถึงที่สุด โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ หรือโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใด ข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ ในขณะฟ้องโจทก์จึงยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ และไม่อาจขอบังคับให้ห้ามกระทำการใดที่ยังไม่เกิดขึ้นได้
การที่จำเลยที่ 1 คัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้า ไม่อาจถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือขัดขวางหรือกระทำการอันเป็นการรบกวนโจทก์และธุรกิจของโจทก์ในการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "TAYWIN ORIGINAL STYLE" แต่อย่างใด โจทก์จึงไม่อาจขอบังคับให้ห้ามจำเลยทั้งสองขัดขวางหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนโจทก์และธุรกิจของโจทก์ในการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "TAYWIN ORIGINAL STYLE"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10879/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันสิทธิในบ้านและการใช้กำลังป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ คดีทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
แม้ผู้เสียหายเข้าไปภายในบริเวณบ้านจำเลย และ ส. เพื่อปรับความเข้าใจเรื่องที่ผู้เสียหายมีปากเสียงกับจำเลย แต่เมื่อ ส. ไล่ให้ผู้เสียหายกลับไป และจำเลยปิดประตูบ้าน จึงเป็นการใช้สิทธิอันชอบธรรมของจำเลย และ ส. ในฐานะเจ้าของบ้านที่จะไล่ให้ผู้เสียหายออกไปจากบริเวณบ้านของตนได้ เมื่อผู้เสียหายไม่ยอมออกไปจากบริเวณบ้าน ถือเป็นการบุกรุกบ้านของจำเลย การที่จำเลยใช้อาวุธมีดโต้ฟันผู้เสียหายจึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนให้พ้นจากภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย แต่ผู้เสียหายไม่ได้ใช้อาวุธใดจะทำร้ายจำเลย การที่จำเลยใช้มีดโต้ฟันผู้เสียหายหลายครั้ง จนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายสาหัส จึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 69
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 แต่ความผิดดังกล่าวรวมการกระทำโดยเจตนาทำร้ายด้วยซึ่งเป็นความผิดอยู่ในตัว เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายรับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 (8) ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215, 225
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 แต่ความผิดดังกล่าวรวมการกระทำโดยเจตนาทำร้ายด้วยซึ่งเป็นความผิดอยู่ในตัว เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายรับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 (8) ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215, 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7832/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายจากการยักยอกทรัพย์ และผลกระทบต่อการดำเนินคดีอาญา
จำเลยกับพวกร่วมกันยักยอกรถยนต์ของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อ ขณะอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อ เมื่อในขณะกระทำความผิดผู้เสียหายที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อดังกล่าว การกระทำของจำเลยกับพวกย่อมทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับความเสียหายโดยตรง แม้ผู้เสียหายที่ 2 จะไปแจ้งความร้องทุกข์ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายที่ 1 แต่ก็ถือว่าได้ร้องทุกข์ในฐานะที่ผู้เสียหายที่ 2 เป็นผู้เสียหายด้วยเช่นกัน ผู้เสียหายที่ 2 จึงเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ และย่อมมีอำนาจในการถอนคำร้องทุกข์ เมื่อความผิดฐานยักยอกทรัพย์เป็นความผิดต่อส่วนตัวและคดียังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ เมื่อปรากฏว่าก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกา ผู้เสียหายที่ 2 ถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7515/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาและแพ่งจากการร่วมกันทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัส อันเป็นการร่วมกันกระทำละเมิดต่อผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายด้วย แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อให้การพิพากษาคดีส่วนแพ่งเป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา โดยเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 1 ร่วมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายตามจำนวนที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4013/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ แม้เหตุแห่งสิทธิจะเปลี่ยนแปลง
กรณีที่จะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือฟ้องซ้ำนั้น ต้องเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาหรือฟ้องอันเกี่ยวกับประเด็นข้อเดียวกันที่ศาลได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว หากประเด็นในเรื่องแรกที่ศาลได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดไปเป็นคนละเรื่องคนละกรณีกันกับประเด็นในเรื่องหลัง ก็ไม่ถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาหรือฟ้องคดีอันเกี่ยวเนื่องกับคดีหรือประเด็นที่ได้มีคำวินิจฉัยแล้ว
ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำร้องฉบับแรกมีว่า ผู้ร้องมีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ผู้สวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์เดิมหรือไม่ ส่วนคำร้องฉบับที่สอง ผู้ร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนบรรษัทบริหารสินทรัพย์ ท. จึงเป็นการร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อบังคับคดีแก่จำเลยทั้งห้า ถือว่าการร้องขอเข้าสวมสิทธิของผู้ร้องในฉบับที่สองนี้เป็นการร้องขอเข้าสวมสิทธิโดยอาศัยเหตุที่มาคนละเหตุกัน ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำร้องฉบับที่สองจึงอาศัยเหตุที่ต้องวินิจฉัยแตกต่างกับคำร้องฉบับแรก การยื่นคำร้องฉบับที่สองของผู้ร้องจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือฟ้องซ้ำกับคำร้องฉบับแรก
ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำร้องฉบับแรกมีว่า ผู้ร้องมีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ผู้สวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์เดิมหรือไม่ ส่วนคำร้องฉบับที่สอง ผู้ร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนบรรษัทบริหารสินทรัพย์ ท. จึงเป็นการร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อบังคับคดีแก่จำเลยทั้งห้า ถือว่าการร้องขอเข้าสวมสิทธิของผู้ร้องในฉบับที่สองนี้เป็นการร้องขอเข้าสวมสิทธิโดยอาศัยเหตุที่มาคนละเหตุกัน ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำร้องฉบับที่สองจึงอาศัยเหตุที่ต้องวินิจฉัยแตกต่างกับคำร้องฉบับแรก การยื่นคำร้องฉบับที่สองของผู้ร้องจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือฟ้องซ้ำกับคำร้องฉบับแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2909/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ: การบรรยายฟ้องที่ชัดเจนและครบถ้วน
ความผิดฐานฟ้องเท็จ ฟ้องโจทก์บรรยายว่าเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2557 เวลากลางวันจำเลยเอาความเท็จฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงอุบลราชธานี โดยจำเลยบรรยายฟ้องว่าเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2543 โจทก์ปลอมสัญญากู้เงินของ ส. และ อ. ที่ทำสัญญากู้เงินไว้กับกลุ่มออมทรัพย์บ้านหนองบัวแดง และเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2543 ปลอมเอกสารดังกล่าวจากเดือนมีนาคมเป็นเดือนเมษายนทั้งสองฉบับ ด้วยเจตนาทุจริตเบียดบังเอาเงินของกลุ่มออมทรัพย์บ้านหนองบัวแดงไปเป็นประโยชน์ของตน จำเลยทราบข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดหรือปลอมเอกสารดังกล่าวตามที่จำเลยฟ้อง แต่ยังกลั่นแกล้งนำความเท็จมาฟ้องต่อศาลเพื่อต้องการให้โจทก์ได้รับโทษโดยโจทก์แนบสำเนาคำฟ้องคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์กับสำเนาบันทึกการสอบสวนข้อเท็จจริงที่แสดงว่าโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดมาท้ายคำฟ้องด้วย ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าคำฟ้องของจำเลยเป็นเท็จและความจริงโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร ส่วนความผิดฐานเบิกความเท็จ ฟ้องโจทก์บรรยายถึงคำเบิกความของจำเลยที่เป็นเท็จและบรรยายว่าความเท็จดังกล่าวเป็นข้อสำคัญในการพิจารณาคดีอาญา ซึ่งความจริงโจทก์ไม่ได้ปลอมเอกสารตามที่จำเลยเบิกความ หากศาลเชื่อว่าโจทก์กระทำความผิดจริงก็จะทำให้โจทก์ถูกพิพากษาลงโทษโดยโจทก์แนบคำเบิกความของจำเลยตามสำเนาคำให้การและสำเนาคำพิพากษาคดีก่อนมาท้ายคำฟ้อง ถือว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องเป็นการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์ทั้งสองข้อหาชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว